++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

เสวนาจานส้มตำ ๒๕๕๕/๑- แลมองโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว จ.ชลบุรี ครอบครัวอุ่นรัก ปี3

          ได้เวลาของเสวนาที่มีต้นทุนในการจัดที่ต่ำที่สุดในประเทศไทยอีกแล้วนะครับ กับบันทึกการเสวนาที่แตกต่างจากที่อื่นๆ

         เรื่องราวของสื่อวิทยุ ที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ความคิด ความรู้สึกของผู้ฟังมากมาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีสื่อให้เลือกหลากหลาย และมีคนพูดถึงมากกว่าสื่อวิทยุ แต่ยังมีผู้คนฟังวิทยุอยู่เป็นจำนวนมาก มีสถานีวิทยุให้หมุนฟังมากมาย แต่ในจำนวนที่มากมาย ล้วนมีแต่รายการบันเทิง ขายสินค้า  รายการวิทยุที่มีเนื้อหาสาระดีๆ มีเฉพาะคลื่นหลักๆ เท่านั้น นี่คือ อีกหนึ่งโครงการที่ต้องการสร้างพื้นที่สื่อดีๆมีประโยชน์  ถ้ามาแลมองโครงการนี้ในมุมมองของเสวนาจานส้มตำดูบ้าง จะมีประโยชน์จริงหรือไม่!!

นายบอน  - มีเอกสารโครงการเกี่ยวกับวิทยุจากชลบุรี มาให้ดูครับ เผื่อจะเอาไปเป็นต้นแบบ ทำโครงการดีๆแบบนี้ออกมาที่ขอนแก่นมั่ง

คู่สนทนา1- โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว .. เอาเด็กมาฝึกจัดรายการวิทยุหรือ ดีนะ เด็กจะได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์บ้าง

คู่สนทนา2- เด็กแค่ไหน ชั้นประถม มัธยม ล่ะ แต่เห็นหลักการที่เขียนแล้ว คงเป็นผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสมั้ง ถึงจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องครอบครัว

นายบอน - คนหนุ่มสาวก็มี อายุ 30-40 นักจัดรายการที่ชลบุรีหลายคน อายุอยู่ในช่วงนี้

คู่สนทนา2- แล้วเค้ามีความเข้าใจเรื่องครอบครัวมากแค่ไหนล่ะ นักจัดรายการทุกคนมีครอบครัว มีลูกทุกคนแล้วสิ

คู่สนทนา1- ดูรายละเอียดก่อนสิ อย่าพึ่งพูด จะได้เข้าใจมากขึ้น

photo

photo


คู่สนทนา2- เออ โครงการปีที่ 3 แล้ว เนื้อหาเขียนดี แต่อยากรู้ว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทำได้ตามเป้ามากแค่ไหน

คู่สนทนา1-  โครงการเค้ามีรูปแบบชัดเจนทุกขั้นตอน ตรวจสอบประเมินผล ลดจุดด้อย เสริมจุดเด่นจนเป็นโครงการปี 3 นี้ล่ะ

คู่สนทนา2- เขียนดี อ่านเพลิน แต่ดูเหมือนโครงการวิจัยที่ขึ้นหิ้งยังไงไม่รู้ อ่านเนื้อหาแล้ว ดูดี ใช้สำนวนภาษาน่าอ่าน แต่ดูเป็นวิชาการมากๆ

photo

photo


คู่สนทนา1- ดูวัตถุประสงค์ ที่เขียนออกมา วัดและประเมินผลได้ 2 ปีที่ผ่านมา คงได้แนวทางที่ชัดเจนอย่างที่ได้อ่านนี้

คู่สนทนา2- นี่คงเป็นความพยายามสร้างกลุ่มคนฟัง แย่งชิงพื้นที่ แย่งชิงคนฟังบนหน้าปัดวิทยุ เคยเห็นแต่คลื่นที่พยายามดึงคนให้มาฟังรายการของตัวเองให้มากๆ แต่นี่กลับสร้างคนจัดรายการ ให้เพิ่มขึ้น แล้วจะไม่มาแย่งชิงคนฟังบนหน้าปัดวิทยุ แย่งกันเองหรือ

คู่สนทนา1- แต่ละคลื่นมีรัศมีการรับฟังเฉพาะเขตพื้นที่เท่านั้น ดีเจชุมชน คนในชุมชนรู้จัก ก็คงพูดคุยกับคนในชุมชนได้อย่างสนิทสนมมากกว่าคนนอกชุมชน

คู่สนทนา2- ความตั้งใจดีนะ แต่จะดึงกลุ่มคนให้มาสนใจฟังจากสือทีวี อินเตอร์เนต ได้ยังไงล่ะ นอกจากกลุ่มเป้าหมาย ที่เขียนในเอกสาร คงทำตามระยะเวลาของโครงการเท่านั้น พอหมดช่วงก็เขียนสรุป ตามปฎิทินการทำงาน

คู่สนทนา1- คนที่อยากให้เกิดสิ่งที่ดีๆ มีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์รายการดีๆก็มีไม่น้อยเหมือนกันนะ

คู่สนทนา2- โครงการทำมา 2 ปีแล้ว ความจริงต้องวัดกันที่ คนทำโครงการด้วยว่า มีการพัฒนาตัวเองให้เป็นตัวอย่างได้บ้างหรือเปล่า ก่อนที่จะไปสอนไปอบรมคนอื่น แล้วตัวเองพัฒนาขึ้นหรือยัง

คู่สนทนา1-  พูดแปลกๆ ทำโครงการมา 2 ปี ก็ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นสิ พัฒนาแนวคิด แนวทาง แก้ไขข้อด้อย เสริมจุดเด่น ให้โครงการมันดีขึ้นเรื่อยๆ

คู่สนทนา2- มองโลกในแง่ดีเกินไปรึเปล่า แบบนี้ถึงไม่รู้เท่าทันสื่อ โดนสื่อ สร้างสื่อหลอกลวง ให้หลงเชื่อง่ายๆ ดูข้อมูลต้องคิดถึงความเป็นจริงด้วย อย่างโครงการนี้ก็เหมือนกัน ต้องมองให้ลึก มองให้รู้ด้วย จากข้อความที่ดูสละสลวยด้วยสำนวนที่น่าอ่าน แต่อาจจะซุกซ่อนความจริงหลายอย่างไว้ใต้พรม

นายบอน - นี่มองทะลุตัวหนังสือเลยหรือเนี่ย

photo

photo


คู่สนทนา2- เนื้อหาโครงการนี้ ที่บอกว่า "ครอบครัวอุ่นรัก" เค้าเขียนร่ายมา ยกข้อความต่างๆมา พูดถึงความสำคัญของสื่อวิทยุ ที่จะทำให้คนฟังเกิดความคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้บ้าง เปิดฟังหลายคลื่น พูดถึงการรณรงค์ลดเหล้าช่วงเข้าพรรษา ดีเจใช้ลีลาการพูด ฟังจนเคลิ้มตาม คงต้องลดเหล้าในช่วงนี้ แต่ดีเจที่พูด กลับไปนั่งกินเหล้าซะเอง กินเหมือนเดิม แถมบางวัน กินมากกว่าเดิมซะอีก แล้วแบบนี้เป็นตัวอย่างรึเปล่า พูดให้คนฟังลดเหล้า แต่ตัวเองทำไม่ได้ แล้วพวกนักจัดรายการที่ทำโครงการนี้ ลดเหล้าได้รึเปล่า หรือ ลดเฉพาะช่วงที่จัดรายการ แต่ยังไปเมาที่ร้านตามปกติ

คู่สนทนา1-   บางคนก็ไม่ดื่มเหล้านะ บางคนไม่ได้ตั้งใจลดเหล้า ไปจำกัดสิทธิ์คนอื่นไม่ได้นะ ต้องยอมรับ แบบประชาธิปไตย

คู่สนทนา2- อย่างเรื่อง "ครอบครัวอุ่นรัก" นักจัดรายการแต่ละคน เข้าใจเรื่องครอบครัวอุ่นรัก มากแค่ไหน พูดตามสคริปรึเปล่า แล้วในชีวิตจริง ดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัวมากแค่ไหน ดีเจหลายคน พูดจาคารมคมคายดี แต่เจ้าชู้มากๆ มีพ่อยก แม่ยกให้การสนับสนุน บางคนมีเรื่องชู้สาวอีก มีกิ๊กอีก จัดรายการก็พูดทักทาย แซว ทำให้คนฟังคิดมาก มีความหวังอีก ถ้าเป็นตัวอย่างไม่ได้ อย่าหวังว่า จะไปสอนใครได้

คู่สนทนา1- นั่นเป็นดีเจทั่วไป ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้มั้ง

คู่สนทนา2- งั้นที่ร่วมโครงการนี้ 2 ปีแล้ว เป็นคนดี ไม่มีเล็กมีน้อย ไม่มีกิ๊ก ไม่เป็นคนหลายใจงั้นหรือ  เมื่อกี้บอกว่า นักจัดรายการเป็นคนหนุ่มสาววัย 30-40 พวกนี้ยิ่งอ่อนไหวง่าย แล้วจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้แค่ไหนล่ะ

คู่สนทนา1- คงเป็นพวกผู้ชายเจ้าชู้มากกว่า เดี๋ยวนี้ ดีเจผู้หญิง มีเยอะ

คู่สนทนา2- นั่นล่ะตัวดี เสียงอ่อนเสียงหวาน ออดอ้อนเก่งจริงๆ คนพูดเก่ง ใช่ว่าจะเป็นคนดีนะ พูดเก่ง ก็เอาตัวรอดเก่ง โกหกเก่ง

คู่สนทนา1- ทำโครงการมา 2 ปีแล้ว คงได้ประสบการณ์มากขึ้น คิดเป็น ทำเป็น ไม่งั้นจะไปอบรม ไปสอนคนอื่นไม่ได้หรอก

คู่สนทนา2- ถ้าทำโครงการแล้ว พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้จริง ก็ดีสิ แต่เดี๋ยวนี้ มีโครงการอบรมมากมาย ตอนอบรม ทำได้ตามเป้าหมายโครงการ แต่นานๆไปก็เหมือนเดิม แต่โครงการเขียนสรุปด้วยถ้อยคำที่สวยงาม แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างที่เขียน

คู่สนทนา1-  แหม โครงการเค้าวัดและประเมินผลที่กลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่ทีมงานจัดอบรม หรือ ทีมพี่เลี้ยงนะ แหกตาดูข้อมูลสิ

คู่สนทนา2- ถ้าคณผลิต "สื่อดี ผู้ใช้ดี ผู้บริโภคสื่อดี สังคมดี" อย่างแนวคิดที่ใส่มาในเอกสาร ถ้าคุณสอนให้คนที่มาอบรมดีขึ้นได้ คุณก็ต้องดีขึ้นด้วยสิ ถ้าคุณ ไม่ดี ก็คือ "สื่อไม่ดี" แม้คุณจะจัดรายการเนื้อหาดีแค่ไหน แต่คุณไม่เป็นตัวอย่างให้เห็น มันก็เหมือนสิ่งที่ไม่ได้ออกมาจากใจจริง บอกให้คนอื่นทำดี แต่ตัวเองทำตัวไม่ดี แล้วสังคมจะดีได้ยังไงล่ะ

คู่สนทนา1- อันนี้ ต้องดูรายละเอียดให้ดีๆ คนที่ทำไม่ดี จะรู้ว่า อะไรดีไม่ดี เมื่อรู้ตัวก็แก้ตัวใหม่ ทำดี มากกว่า ทำไม่ดี

คู่สนทนา2- อยากรู้จริงๆ 2 ปีที่ผ่านไป โครงการนี้ ทำให้สังคมเมืองชลบุรี ดีขึ้นหรือเปล่า ดูข่าว ค้นหาข่าวชลบุรี ทำไมมีข่าวร้ายๆเยอะจัง ปัญหาสังคมหลายอย่าง มีเยอะมาก
อยากรู้ว่า 2 ปีที่ทำโครงการ อยากรู้ว่า พื้นที่ดำเนินงานอยู่ตรงไหน ทำโครงการไปแล้ว พื้นที่ตรงนั้น มันดีขึ้นรึเปล่า มีปัญหาสังคมลดลงมั้ย เดี๋ยวนี้ข่าวค้นย้อนหลังได้ จะได้รู้ว่า ที่ทำโครงการมา 2 ปี มันได้ผลจริงแค่ไหน ไม่ใช่ไปวัดตามที่เขียนในเอกสาร แต่ต้องวัดของจริงไปเลย

คู่สนทนา1-  เวลาการทำงาน มีจำกัด ที่ว่ามา ต้องไปตรวจสอบข้อมูลกันเอง แต่คิดว่า มีรายการเนื้อหาดีๆ อย่างน้อย สังคมก็ต้องดีขึ้นบ้างล่ะ

คู่สนทนา2- อย่าจินตนาการเองตามข้อมูลวิชาการที่ได้อ่านในเอกสารสิ ที่บอกว่า เป็นรายการที่ดี แล้วมันดีแค่ไหน มันตรงกับที่คนต้องการฟังจริงหรือเปล่า ใช้ประโยชน์ได้จริงมั้ย หรือว่าทางทีมงานโครงการ กำหนดรูปแบบเนื้อหาว่าต้องเป็นอย่างนี้ แต่คนในชุมชนล่ะ เค้าอยากฟังเนื้อหาที่กำหนดมาหรือเปล่า ถึงจะทำรายการเนื้อหาดี แต่ไม่ใช่เรื่องที่คนฟังอยากรู้ เค้าก็ไม่ฟังหรอก  หลายเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว พ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง จะเข้าใจตัวปัญหาได้มากกว่า

คู่สนทนา1-  ก็ต้องเรียนรู้กันไป ไม่มีใครเก่ง รู้ทุกอย่างหรอก ไม่งั้นปัญหาสังคม ก็ไม่เกิดหรอก แล้วโครงการแบบนี้ ไม่ดีเลยเหรอ

คู่สนทนา2- ความคิดดี ตั้งใจดี แต่ความจริง รายการลักษณะนี้ ก็ยังดึงดูดความสนใจติดตามจากสื่ออื่นได้ยากเหมือนกัน โครงการเน้นที่รายการวิทยุ ในขณะที่สื่ออื่นๆ ก็ดึงดูดให้ติดตาม โครงการแบบนี้ ทำให้เกิดผลจริงๆ ยาก ทำได้แค่ตามรายละเอียดที่เขียนในโครงการเท่านั้น แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แม้จะได้ผลกับคนส่วนน้อยในสังคม แต่คนส่วนน้อยนี่ล่ะ ก็ลดปัญหาสังคมลงได้ มากทีเดียว ที่สำคัญ ตัวของทีมงานที่ทำโครงการ น่าจะพัฒนาตัวเองไปด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีเช่นกัน ถ้าคิดดี ทำสิ่งที่ดี ก็จะเป็นเบ้าหลอมที่ดีไปเอง แต่ถ้าเบ้าหลอมมันไม่ดี แต่ไปพูดย้ำๆๆ ให้คนอื่น ทำดี เมื่อเป้าหลอมไม่ดี มันก็ไม่ดีวันยังค่ำล่ะ



     นี่คือ เสวนาจานส้มตำ  จากมุมมองที่แตกต่างต่อโครงการ Happy Family ครอบครัวอุ่นรัก ปี 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น