++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

หมาขี้เรื้อน dog scabies เรื่องของหมาขี้เรื้อนที่คุณต้องอ่าน

สุขใจนะ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องหมาขี้เรื้อนให้เพื่อนๆ ฟังกัน เรื่องของหมาขี้เรื่อนที่ สุขใจนะ กำลังเล่าให้ฟังนี้ อาจจะเตือนใจเพื่อนๆ ที่คิดว่าคนอื่นไม่ดี ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจ นั้นมันมาจากสาเหตุใด เพราะแน่นอนว่าคุณก็อาจจะเคยคิดว่าสิ่งนี้ก็ไม่เหมาะกับฉัน สิ่งนั้นก็แย่ มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องหมาขี้เรื้อนนี้อาจจะเป็นเรื่องเตือนใจของคุณได้




เจ้าอาวาสนั่งทำวัตรที่โบสถ์ธรรมชาติกลางลานทราย พร้อมชี้ให้ภิกษุและเณรน้อยดูหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่งที่นอนอยู่ใต้ม้าหินอ่อนใต้ต้นอโศกที่อยู่ไกล้ๆ

เธอทั้งหลายเห็นหมาขี้เรื้อนตัวนั้นหรือไม่


เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันเป็นขี้เรื้อนคันไปทั้งตัว ฉันเห็นมันวิ่งวุ่นไปมาทั้งวัน เดี๋ยวก็วิ่งไปนอนตรงนั้น เดี๋ยวก็ย้ายมานอนตรงนี้ อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้นาน เพราะมันคัน

แต่พวกเธอรู้ไหม เจ้าหมาตัวนั้นน่ะมันไปนอนที่ไหน มันก็นึกด่าสถานที่นั้นอยู่ในใจ หาว่าแต่ละที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเองสักอย่าง นอนที่ไหนก็ไม่หายคัน สถานที่เหล่านั้นช่างสกปรกสิ้นดี คิดอย่างนี้แล้วมันจึงวิ่งหา ที่ที่ตัวเองนอนแล้วจะไม่คัน แต่หาเท่าไหร่มันก็หาไม่พบสักที เลยต้องวิ่งไปทางนี้ทางโน้นอยู่ทั้งวัน

เจ้าหมาโง่ตัวนั้นมันหารู้สักนิดไม่ว่า เจ้าสาเหตุแห่งอาการคันนั้น หาใช่เกิดจากสถานที่เหล่านั้นแต่อย่างใดไม่ แต่สาเหตุแห่งอาการคันอยู่ที่โรคของตัวมันเองนั้นต่างหาก




นี้ก็เป็นเรื่องหมาขี้เรื้อนที่ สุขใจนะ นำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังกัน คุณก็ควรมองดูตัวเองเสียก่อน ก่อนที่จะไปโทษคนอื่นว่า คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ชอบ สุขใจนะ หวังว่าเรื่องหมาขี้เรื้อนนี้ อาจจะเตือนใจเพื่อนๆ ที่ยังมองเห็นแต่ความไม่ดีของคนอื่นได้นะ

เรื่องเตือนใจ



*** ต้องขอบคุณที่มาจาก หนังสือ "หาเรื่องให้(ผู้ใหญ่)อ่าน"


---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: ทานตะวัน ใจเย็น
วันที่: 18 มีนาคม 2555, 11:34
หัวเรื่อง: คำถาม หมาขี้เรื้อน
หมาขี้เรื้อนเปลี่ยนคนใจดำ






เรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง
หมาขี้เรื้อน เปลื่ยนคนใจดำ เรื่อง มีอยู่ว่า.. พี่ชิตแกเป็นคนใจดำครับ ชอบยิงนกตกปลาไปเรื่อย
แต่ที่หนักก็คงเป็นเนื้อหมา แกกินแหลกครับแต่ แม่แกบอกมันบาปนะลูก(ไม่สนโว้ย) เมื่อราว 15 ปีก่อน มีเหตุการณ์ที่ทำให้แกเปลี่ยนไป
ครั้งนั้นมีหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่งครับมันมักวิ่งไปหาของกินแถวๆบ้านแกบ่อย
เพราะบ้านแกติดตลาด พี่แกกินหมาอยู่บ่อย ๆ แต่กรณีหมาขี้เรื้อนแกบอก ‘กินไม่ ลงว่ะ’
แกทำอย่างเดียวคือไล่ฆ่า แต่มันรอดได้ทุกครั้ง (สงสัยมีของ)
มันไปหาของกินบางทีก็ได้บางทีก็ไม่ได้ คราวนั้นเนื้อแห้งที่แกตากไว้หายไป
พอมองไปก็เห็นแม่หมาขี้เรื้อนวิ่งหลุน ๆ ไปแกเดือดทันทีครับวิ่งตามไป
คราวนี้ทันครับเพราะหมาขี้เรื้อนวิ่งช้ามาก แกทุบไปทีเดียวหมานั่นล้มลงชักทันที
(แกบอกว่าหากตีตรงจุด แค่ใช้ไม้บรรทัดก็ตาย)
แกทิ้งไว้ตรงนั้นไม่อยากจับแต่จะทำกินตรงนั้น
จึงกลับบ้านไปเตรียมของ (แค้นจัดอยากกินหมาขี้เรื้อน) ให้ผมเฝ้าไว้
ผมก็มัวแต่เก็บตะขบจนลืมดู (ในใจอยากให้มันรีบไปจะได้ไม่ตาย)
มันไปจริงครับหายวับไป พี่ชิตแกโกรธมากคงอยากเตะผมเต็มแก่
แต่ลุงผม แกเป็นนักเลงใหญ่และเป็นคนสอนวิธีฆ่าหมาให้
ก็ต้องวิ่งตามอย่างเดียวพร้อม บ่น ” ทำไมมันไม่ตายวะ “
พักหนึ่งก็ได้ยินเสียงหมาเห่าแกตามทันทีพอไปถึง ภาพที่เห็น ……………………………………….
หมาขี้เรื้อนกำลังจะตายมันมีลูกที่ต้องเลี้ยง 5 ตัวครับ วัยกำลังหย่านมบางตัวยังกินนมอยู่
บางตัวก็วิ่งไปคาบเนื้อที่แม่หมาขี้เรื้อนคาบไปฝาก (เห็นกับตา)
ที่มันยังไม่ยอมตายเพราะต้องกลับไปให้นมลูก
แม้น้ำนมแห้งกรัง เอาอาหารไปให้ลูกมัน เรียกลูกๆเพื่อให้นม
ให้อาหารเป็นครั้งสุดท้าย แม่หมาพยายามอย่างดีที่สุด

นิทานธรรมมะ เปรต : ญาติพระเจ้าพิมพิสาร

นิทานธรรมมะ

เปรต : ญาติพระเจ้าพิมพิสาร
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ณ
กรุงราชคฤห์

ทรงปรารถถึงบุตรเศรษฐีผู้ตายไปเป็นเปรต ให้เป็นต้นเหตุ มีความว่า
ณ กรุงราชคฤห์ มีเศรษฐีผู้หนึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีบริวารมากจนได้นามว่า มหาธนเศรษฐี เหตุเพราะเป็นผู้มีทรัพย์มาก

มหาธนเศรษฐี มีบุตรชายอยู่คนเดียว
จึงเป็นที่รักใคร่ของเศรษฐีและภรรยาเป็นอันมาก
ทั้งสองเฝ้าถนอมเกลาเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตรชายชนิดที่ยุงมิให้แตะ
ริ้นมิให้ไต่ ไรมิให้ตอม เท้ามิให้แตะพื้น ธุลีมิให้เปรอะเปื้อน มลทินใดๆ
มิให้มากล้ำกรายแตะต้อง ให้บุตรต้องมามัวหมอง

ครั้นบุตรชายเศรษฐีนั้นเจริญวัย บิดามารดา ก็มาคิดว่า
เราทั้งสองมีทรัพย์สินมากมายมหาศาล
ถึงลูกเราจะหยิบฉวยเอาไปใช้สักวันละพันกหาปณะ (๑ กหาปณะเท่ากับ ๔ บาท)
สิ้นเวลาไปสักร้อยปี ทรัพย์ของเราก็ยังไม่รู้จักหมด
แล้วประโยชน์อันใดเล่าที่เราจะเสือกไสให้บุตรของเราต้องไปศึกษาเล่าเรียน
ให้ได้รับความยากลำบาก

สองสามีภรรยาผู้เป็นเศรษฐี คิดดังนี้แล้ว
ก็มิได้ส่งบุตรชายตนไปศึกษาหาความรู้
ด้วยคิดว่าไปศึกษาวิชาก็เพื่อจะนำมาแสวงหาทรัพย์
แต่เวลานี้ทรัพย์เรามีมากมายจนใช้ไม่หมด แล้วจะยังไปแสวงหาอีกทำไม
สุดท้ายก็มิได้ส่งบุตรชายไปเรียนวิชาความรู้ใด
ได้แต่ปล่อยให้บุตรชายตนเที่ยวเล่นซุกซนไปตามประสาเด็ก

ครั้งเมื่อบุตรของผู้เป็นเศรษฐีเติบโตเป็นหนุ่ม
บิดามารดาก็ไปขอกุมารี ผู้เป็นบุตรสาวของพราหมณ์มหาศาล
ผู้เจริญด้วยชาติตระกูล มีรูปโฉมสะคราญตา
เพียบพร้อมไปด้วยจริตกิริยามารยาท แต่ขาดธรรม

บุตรชายเศรษฐีนั้น ได้อยู่กินร่วมกับกุมารีนั้น
ต่างฝ่ายต่างก็พากันมัวเมาต่อกามคุณทั้ง ๕ มี รูป รส กลิ่น เสียง
และสัมผัสเป็นต้น

ทั้งสองมิเคยรักษาศีลบริจาคทานบำเพ็ญภาวนาเลย
อีกทั้งยังตั้งข้อรังเกียจต่อสมณะชีพราหมณ์ทั้งปวง
ต่างพากันใช้จ่ายทรัพย์ที่มีเพื่อบำรุง บำเรอ ตนแต่ถ่ายเดียว
มิเคยเหลียวดูความทุกข์ยากของเพื่อมนุษย์ แถมยังดูถูกเหยียดหยามต่างๆ นาๆ

กาลต่อมา บิดามารดาก็ถึงกาลกิริยาตายลง
บุตรเศรษฐีพร้อมภรรยาแทนที่จะบังเกิดธรรมสังเวช
กลับยิ่งมัวเมาประมาทใช้จ่ายทรัพย์ที่มีอยู่อย่างฟุ่มเฟือย
จนในที่สุดทรัพย์สมบัติมหาศาลที่บิดามารดาทิ้งไว้ให้ก็ต้องหมดไป
ต้องไปกู้หนี้ยืมสิของผู้อื่นมาเลี้ยงชีวิต
ไอ้ครั้นจะคิดทำมาหากินก็ไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรเพราะไร้วิชา กู้มามากๆ
เข้าเจ้าหนี้เขาก็เข้ามาทวง เมื่อไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้
บุตรเศรษฐีและภรรยาจึงต้องยกบ้านและสมบัติที่มีให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงที่มาทวง
แล้วตนกับภรรยาจึงชวนกันไปอาศัยนอนตามโรงทานหรือศาลาพักร้อนริมทาง
ทั้งสองต้องซัดเซพเนจรรอนแรมเที่ยวขอทานเพื่อเลี้ยงชีวิตไปวันๆ
ต้องรับความลำบาก ทุกยากเหลือแสน เหตุเพราะขออาหารจากใครๆ ก็มิอยากจะให้
ด้วยเป็นเพราะตอนที่ร่ำรวยก็ชอบที่จะดูถูกเหยียดหยามแก่คนที่ต่ำกว่า
ครั้งเมื่อถึงเวลาตนตกต่ำแร้นแค้น เลยมีแต่คนจ้องดูแคลนมิให้อาหาร

ขณะนั้นมีโจรกลุ่มหนึ่ง เดินทางผ่านมาเห็นเข้า
จึงกล่าวแก่บุตรเศรษฐีขึ้นว่า เจ้ายังหนุ่มยังมีกำลังแข็งแรง
เหตุใดจึงทำตัวเหมือนคนพิการขาดมือ ขาดเท้า เที่ยวขอทาน มาเถิดสหาย
จงมาร่วมกับพวกเราเที่ยวลักขโมย ปล้นสดมภ์
ฉกชิงทรัพย์ของผู้คนทั้งหลายกันเถิด จะได้ทรัพย์มาพอเลี้ยงชีพได้
เจ้ามัวแต่เที่ยวขอทานอยู่เช่นนี้ คงมิอาจได้อาหารพอเลี้ยงชีพหรอก

บุตรเศรษฐี จึงกล่าวว่า พี่ชายข้าพเจ้าไม่รู้จักวิธีลักขดมย
ข้าพเจ้าคงจะทำมิได้

พวกโจรจึงกล่าวว่า สหายไม่เป็นไรหรอก
เรื่องวิธีลักขโมยปล้นสดมภ์น่ะ เดี๋ยวพวกเราจะช่วยสอนให้
ขอให้สหายและภรรยาจงตามไปอยู่กับเรา แล้วทำตามเราสอนก็แล้วกัน

เมื่อบุตรเศรษฐีและภรรยา ตามพวกโจรไปแล้ว
ต่อมาโจรก็พากันออกชิงทรัพย์ในบ้านหลังหนึ่ง พร้อมทั้งมอบไม้กระบอง
ให้แก่บุตรเศรษฐีแล้วกล่าวว่า

สหาย เมื่อพวกเราเจาะฝาเรือนเข้าไปในบ้าน เจ้าจงยืนดักรออยู่ ณ
ประตูเรือน ถ้ามีเจ้าของเรือนวิ่งออกมาทางประตู
เจ้าจงตีด้วยไม้ตะบองนี้ให้ตาย
จะได้ไม่ไปแจ้งแก่พระราชาว่าพวกเรามาปล้นเอาทรัพย์ไป
บุตรเศรษฐีผู้นี้เป็นคนขาดปัญญา ไม่รู้ว่าทำสิ่งใดมีสาระ หรือไม่มีสาระ
จึงทำตามคำสอนของพวกโจร
ยืนถือไม้ตะบองคุมเชิงอยู่ที่ปากประตูเรือนเช่นนั้น

พวกโจรเมื่อเข้าไปในเรือนได้แล้ว จึงเก็บขนข้าวของทรัพย์สมบัติ
ใส่ถุงแบกหนีออกไปทางช่องฝาเรือน

ขณะนั้นเจ้าของเรือน พอทราบว่าโจรเข้ามาขโมยทรัพย์
ก็พากันตื่นกลัว เอะอะโวยวาย หนีออกมาทางประตูบ้าน

บุตรชายเศรษฐีผู้ริเป็นโจร ก็ใช้ไม้ทุบตีเจ้าของบ้าน
แต่เนื่องจากเจ้าของทรัพย์ภายในเรือนมีหลายคน โจรมือใหม่จึงสู้แรงไม่ได้
จึงถูกจับประชาทัณฑ์พร้อมกับนำตัวไปถวายพระราชา
ฟ้องว่าเป็นโจรมาปล้นทรัพย์ในเรือน

พระราชาครั้นเมื่อไต่สวนเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้ว จึงทรงลงพระอาญา
ด้วยการมีรับสั่งให้อำมาตย์ นำบุตรเศรษฐีผูกเครื่องจองจำ
แล้วให้สวมคอด้วยพวกมาลัยดอกไม้แดง ทาศรีษะด้วยขี้อูฐ
พร้อมทั้งนำตระเวนตีกลองร้องป่าวประจานไปทั่วเขตพระนคร
เมื่อถึงเขตประหารที่นอกเมืองให้ตัดหัวเสียบประจาน

ขณะที่ขุนทหาร นำลูกเศรษฐีผู้บัดนี้กลายเป็นโจร
ถูกเครื่องพันธนาการร้อยรัดกาย ถูกบรรดาทหารเฆี่ยนตีด้วยแส้และหวาย
ผ่านมากลางเขตบ้าน ผู้คนชนทั้งปวงก็พากันออกมามุงดู
ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่อึงมี่

ครานั้นมีหญิงงามเมือง (โสเภณี) ผู้หนึ่ง มีนามว่า สุลสา
นางได้ยินเสียงหมู่ชนก่นด่าวิพากษ์วิจารณ์อยู่เซ็งแซ่
นางจึงชโงกหน้าออกมาดูจากบานหน้าต่างของปราสาทที่นางและมารดาพร้อมบริวารอาศัยอยู่
นางได้แลเห็นบุตรเศรษฐีถูกเฆี่ยนตีประชาทัณฑ์เช่นนั้น ก็เกิดใจเมตตาการุญ
ด้วยเหตุว่าเคยรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่กาลก่อน

นางจึงได้นำขนมสด ๔ ก้อน พร้อมกับน้ำดื่มไปให้แก่บุตรเศรษฐี
พร้อมทั้งยังช่วยขอร้องต่อขุนทหารผู้ควบคุมว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอได้โปรดกรุณาให้เวลาบุรุษผู้ควรรับโทษานุโทษนี้ ได้มีโอกาสหยุดพัก
ได้กินขนมสดและดื่มน้ำเสียก่อนเถิด ไหนๆ
เขาก็จะมิได้มีโอกาสได้ดื่มกินอีกต่อไปแล้ว ผู้คุมจึงอนุญาต

เวลานั้น พระโมคคัลลานะเถระเจ้า แลเห็นด้วยทิพยจักษุว่า
บุตรเศรษฐีผู้นี้จักมาตายเสียวันนี้
เขายังมิได้เคยทำบุญบำเพ็ญกุศลสิ่งใดมาเลยตั้งแต่เกิด มีแต่ทำบาปอกุศล
เมื่อตายไปจักไปบังเกิดในนรก ตกอบายภูมิ พระมหาเถระจึงมีใจกรุณา
คิดว่าถ้าเราไปอยู่ ณ ที่ตรงนั้นบุตรเศรษฐีผู้นี้
จะได้ถวายขนมสดและน้ำดื่มแก่เรา เมื่อเรารับทานของเขาแล้ว
เมื่อถึงคราวที่เขาตายจักได้ไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา
ดีหละ...เราจะไปเป็นที่พึ่งแก่เขา

ขณะที่นางสุลสา นำเอาขนมสดและน้ำ มอบให้แก่นักโทษ
ผู้กำลังจะโดนประหาร
พระมหาโมคคัลลานะจึงเนรมิตกายให้ปรากฏเฉพาะหน้าของนักโทษนั้น

บุตรเศรษฐีผู้เป็นนักโทษประหาร
เมื่อได้เห็นพระมหาเถระซึ่งเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์
ก็มีจิตเลื่อมใสยินดี จึงอังคาส (ถวายพระ) ขนมสดและน้ำดื่มแก่พระเถระ
ด้วยจิตคิดว่าชีวิตเรากำลังจะมอดม้วย
เราจะยังมาต้องการประโยชน์อันใดกับอาหารมื้อนี้
เราจะทำให้ขนมสดและน้ำดื่มนี้มีกินไปจนถึงโลกหน้าจะดีกว่า
คิดดังนั้นแล้วบุตรเศรษฐีผู้เป็นนักโทษประหาร
ก็ถวายขนมและน้ำนั้นแก่พระเถระ

พระมหาเถระเมื่อได้รับขนมและน้ำนั้นแล้ว
จึงลงนั้นในที่นั้นเพื่อดื่มและฉันให้บุตรเศรษฐีได้เห็น

บุตรเศรษฐี ได้เห็นเช่นนั้น ยิ่งบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น
ผู้คุมจึงพาเดินทางไปสู่ที่ประหาร
ขณะที่บุตรเศรษฐีบังเกิดปีติอิ่มเอิบในผลบุญของตนที่ได้กระทำมา
จวบจนกระทั่งผู้คุมพาตัวมายังที่ประหาร และลงดาบตัดคอเขา
จิตของเขาก็ยังดื่มด่ำเอิบอาบอยู่ในผลบุญที่ตนได้กระทำ

ด้วยเดชแห่งบุญที่บุตรเศรษฐีได้กระทำก่อนตาย หลังจากตายลงแล้ว
พลันได้อุบัติเป็นรุกขเทวดา สถิตอยู่ ณ ต้นไทรใหญ่
ที่ขึ้นอยู่ระหว่างซองเขาแห่งหนึ่งนอกกรุงราชคฤห์

ที่จริงบุตรเศรษฐี ควรจะมีวาสนาบังเกิดเป็นเทพยดาชั้นสูง
เหตุเพราะได้มีโอกาสทำบุญแก่พระมหาโมคคัลลานะเถระ ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์
แต่ด้วยจิตก่อนตายได้หวนระลึกนึกรัก นางสุลสา
ว่าของที่เราได้มาแล้วมีโอกาสทำบุญถวายทานแก่พระเถระ
เพราะจิตใจที่มากด้วยเมตตาของนาง นางช่างมีจิตใจที่ดีงามเสียเหลือเกิน
ตัวเราช่างมีวาสนาน้อย มิได้มีโอกาสอยู่ทำการอุปการะตอบแทนบุญคุณต่อนาง
ด้วยความคิดเหล่านี้จึงทำให้จิตของบุตรเศรษฐีนั้น เศร้าหมองลง
จึงได้ไปบังเกิดเป็นแค่รุกขเทวดา ถือว่าเป็นภุมเทวดาชั้นต่ำ

ถ้าบุตรเศรษฐีนั้น จักขวนขวายดำรงวงศ์ตระกูลในเวลาเจริญวัย
ก็จะได้เป็นเศรษฐีปานกลางดำรงวงศ์ตระกูลในเวลาเจริญวัย
ก็จะได้เป็นเศรษฐีปานกลาง ถ้าขยันประกอบการงานในปัจฉิมวัย
ก็จะได้มีโอกาสเป็นเศรษฐีน้อย แต่ถ้าบวชในปฐมวัย ก็จักได้เป็นพระอรหันต์
ถ้าบวชในมัชฉิมวัยจักได้บรรลุพระสกทาคามี หรือไม่ก็เป็นพระอนาคมี
แต่ถ้าบวชในปัจฉิมวัยจักได้บรรลุพระโสดาบัน แต่เพราะเขาคบคนพาล
จึงกลายเป็นนักเลงผู้หญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน
ชอบประพฤติทุจริตผิดศีลเสมอ
ไม่เคารพผู้ใหญ่จนเป็นเหตุให้ทรัพย์ทั้งหลายพินาศเสียหายจนสิ้น
แม้แต่ชีวิตก็ไม่เหลือ
กาลต่อมา นางสุลสา ได้มีโอกาสไปเที่ยวเล่นนอกเมือง
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งภูเขา อันต้นไทรใหญ่ขึ้นอยู่ และ ณ ต้นไทรนั้น
ยังเป็นที่สถิตของรุกขเทวดาบุตรเศรษฐี
รุกขเทวดานั้นเมื่อได้เห็นนางสุลสาจึงจำได้บังเกิดความพึงพอใจต่อนาง
จึงบันดาลให้มืดไปทั้งบริเวณรอบภูเขาทั่วภาคพื้น
แล้วรุกขเทวดานั้นได้นำนางสุลสาไปสู่ยังวิมานอันเป็นที่อยู่ของตนบนต้นไทรใหญ่นั้น
แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้นางสุลสาได้ทราบ
มนุษย์และเทวดาทั้งสองนั้นจึงอยู่ร่วมกันสิ้นเวลาตลอด ๗ วัน

กล่าวฝ่ายมารดาของนางสุลสา
เมื่อเห็นว่าบุตรีของตนหายไปจึงออกตามหาไปในที่ต่างๆ
ด้วยความอาลัยรักในบุตรีของตนจนสิ้นเวลาไป ๗ วัน
ก็ยังมิอาจได้พบบุตรีของตนได้
จึงนั่งลงร้องไห้อยู่ข้างทางที่ผู้คนสัญจรไปมา

คนทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสอบถาม พอรู้ความก็บังเกิดความสงสาร
แต่ก็สุดปัญญาที่จะช่วยนางผู้เฒ่านั้นได้
จวบจนเวลาล่วงเลยไปมีชายผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาเห็นเข้า
จึงชักชวนยายผู้เฒ่าให้เข้าไปเฝ้าถวายอภิวาท พระมหาโมคคัลลานะเถระ ณ
เวฬุวนาราม เพื่อขอให้พระเถระผู้มากไปด้วยฤทธิ์พิจารณาช่วยเหลือ

ครั้นพระมหาเถระโมคคัลลานะ ได้ทราบจึงกล่าวแก่มารดาของนางสุลสาว่า
นับแต่นี้ไปอีก ๗ วัน พระบรมสุคตเจ้า จักทรงแสดงธรรมที่เวฬุวันมหาวิหาร
ขออุบาสิกาจงเดินทางมาสดับพระสัทธรรมนั้น
แล้วอุบาสิกาจะได้เห็นนางสุลสาบุตรีปรากฏตัวอยู่นอกที่ประชุมนั้น

กาลต่อมานางสุลสา จึงได้กล่าวแก่รุกขเทวดานั้นว่า
นับแต่ข้าพเจ้ามาอยู่ในวิมานของท่าน ก็สิ้นเวลาไป ๗ วันแล้ว
บัดนี้ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นห่วงมารดาของข้าพเจ้า ถ้ามารดาออกตามหา
คงจะต้องได้รับความยากลำบากทุกข์มากเป็นแน่
ขอท่านจงนำข้าพเจ้ากลับไปส่งแก่มารดาเถิด

รุกขเทวดานั้นจึงได้นำนางสุลสาไปส่งให้แก่มารดา
ในขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร
ให้นางสุลสายืนอยู่นอกที่ประชุมพร้อมรุกขเทวดา
แต่มิมีใครมองเห็นรุกขเทวดา เห็นแต่นางสุลสา

ชนทั้งหลาย เมื่อเห็นนางสุลสามาปรากฎยืนอยู่
จึงพากันซักถามนางว่าเจ้าไปไหนมา มารดาของเจ้ากำลังเศร้าโศกทุกข์ร้อน
ดูคล้ายจะเป็นบ้า ทำไมเจ้าถึงทำเหตุฉิบหายให้เกิดแก่ตนเช่นนี้

นางสุลสา จึงเล่าให้แก่ชนทั้งหลายได้ฟังว่า ไปอยู่กับรุกขเทวดาบุตรเศรษฐี

ชนทั้งหลายพอได้ฟัง ต่างก็พากันส่ายหน้า
แสดงอาการกิริยาไม่เชื่อแล้วกล่าวว่าไม่จริงหรอก เจ้ากำลังพูดโกหก
บุตรเศรษฐีนั้นเป็นผู้มีความประพฤติเลวร้าย ชั่วช้าลามก
มีบุญอันใดที่จะทำให้ไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา

นางสุลสา จึงได้กล่าวขึ้นว่า
บุตรชายเศรษฐีแม้จะทำทุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ แต่ก่อนตาย
เมื่อข้าพเจ้านำขนมสดและน้ำดื่มไปให้เขากินก่อนตาย เขากลับไม่กิน
แต่มีศรัทธาบริจาคขนมสดและน้ำดื่มนั้นถวายแก่พระเป็นเจ้ามหาโมคคัลลานะผู้เรืองฤทธิ์
ด้วยกุศลกรรมดังกล่าวจึงทำให้เขาไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา

ชนทั้งหลาย พอได้ฟังนางสุลสาเล่า
ต่างก็พากันเปล่งสาธุพร้อมกับเกิดความเลื่อมใส อัศจรรย์ใจ
ปีติโสมนัสเป็นที่ยิ่งนัก แล้วพากันกล่าวจนเกิดโกลาหลว่า โอ้!
ช่างอัศจรรย์จริงหนอ... พระสมณะศากยบุตรช่างมีคุณอันวิเศษจริงหนอ...
พระอรหันต์ของพระผู้มีพระภาค
ช่างเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกจริงหนอ แม้แต่คนทุจริตเข็ญใจ
น้อมถวายเครื่องสักการบูชาเพียงเล็กน้อย
ก็ยังเป็นผลส่งให้ไปบังเกิดเป็นเทวดา ประเสริฐจริงหนอๆ... สาธุ...
สาธุ...

ภิกษุทั้งหลาย
ครั้นได้สดับเสียงของมหาชนเป็นโกลาหลอยู่นอกที่ประชุมเช่นนั้น
จึงนำความที่ได้สดับเอาไปกราบทูลถามแต่พระบรมสุคตเจ้า

องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงได้มีพุทธฏีกาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่บุคคลมาถวายทานแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย
ถือว่าประเสริฐแล้ว พระอรหันต์เปรียบประดุจดังเนื้อนา
ผู้ถวายทานทั้งหลายประดุจดังชาวนา
สิ่งของที่ควรถวายทั้งปวงเปรียบประดุจดังพันธุ์พืชที่จะปลูกลงบนเนื้อนา

เมื่อชาวนา ปลูกพืชพันธุ์ดีลงบนเนื้อนาที่ดี
พร้อมทั้งดูแลรักษาอย่างดี (หมายถึงมีศรัทธา) ย่อมเป็นที่มุ่งหวังได้ว่า
พันธุ์พืชนั้นๆ ย่อมเจริญเติบโตดี ผลก็ย่อมออกมาดี

ผลของพืชนั้น (หมายถึงบุญที่ได้) ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้
ผู้ถวาย ผู้บริจาค ผู้อุทิศ (ผู้ปลูกหรือชาวนา)
และยังเป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย แก่หมู่ญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว
เมื่อผู้ให้ทาน ผู้ถวาย หรือชาวนาผู้ปลูกพืชนั้น ทำการอุทิศ
บุญจึงมีแก่ผู้ให้ ผู้ถวาย ผู้อุทิศ
หรือชาวนาผู้ปลูกพืชแล้วแบ่งปันแก่เปรตและญาติทั้งหลาย ผู้ให้
ผู้ถวายนั้นย่อมรุ่งเรืองเจริญ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ส่วนเปรตผู้ได้รับผลบุญนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากสภาพความเป็นเปรตด้วย
การยินดีในบุญที่ญาติอุทิศให้ ตัวอย่างเช่น
เปรตผู้เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น ดังเรื่องที่มีมาแล้วความว่า

ครั้งเมื่อพระราชาพิมพิสาร
และบริวารได้ทรงสดับพระสัทธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโปรดจนบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผลพร้อมหมู่ชนและบริวารเป็นอันมาก

องค์ราชาพิมพิสาร ทรงมีจิตศรัทธา
ทรงถวายอุทยานเวฬุวันพร้อมสร้างเป็นวัด เพื่อให้พระผู้มีพระภาค
และภิกษุสงฆ์สาวก ได้อาศัยเจริญสมณะธรรม กาลต่อมา คืนวันหนึ่ง
องค์ราชาพิมพิสารขณะที่ทรงกำลังบรรทม
พลันทรงได้ยินเสียงร้องโหยหวนอันน่ากลัวปรากฎขึ้นภายในพระราชวัง

เช้าขึ้นพระราชาพิมพิสาร จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทรงกราบทูลถามถึงที่มาของเสียง ว่าเป็นเสียงอะไร
ทำไมถึงได้โหยหวนน่าสะพรึงกลัวเช่นนั้น

องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงทรงมีพุทธฏีกาตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตรทรงอย่าได้หวาดกลัวไปเลย
เสียงที่ทรงได้ยินนั้นจะไม่เป็นผลร้ายอันใดแก่พระองค์เลย
แล้วทรงเล่าเหตุที่มาของเสียงเหล่านั้นให้แก่พระราชาพิมพิสารได้ทรงสดับ
ความว่า

อดีตกาลนั้นย้อนหลังจากนี้ไป ๙๒ กัป
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงได้รับทูลอาราธนาจากพระราชาผู้ครองนครราชคฤห์ในอดีต
ให้เสด็จประทับอยู่ในพระราชอุทยานพร้อมภิกษุสงฆ์บริวารอีก ๕๐๐ รูป
เพื่อที่จะถวายภัตตาหาร เหตุการณ์ได้ดำเนินอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายวัน
จวบจนพระราชบุตรทั้ง ๓ ขององค์ราชา ได้ทูลขออนุญาตแก่พระบิดา
เพื่อที่จะมีโอกาสถวายทานแก่พระปุสสะพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์
ด้วยพระองค์เองบ้าง

ราชาราชคฤห์ จึงทรงอนุญาตให้พระราชบุตรทั้ง ๓
ทำการถวายทานแก่พระปุสสะพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ทั้งหลายได้

พระราชบุตรทั้ง ๓ จึงได้ไปชวนขุนคลัง
(ซึ่งก็คือพระราชาพิมพิสารในชาติปัจจุบัน)
ให้มารวมจัดหาอาหารทั้งคาวและหวาน
ขุนคลังพอได้รับหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าจัดหาอาหารเลี้ยงพระ
จึงชักชวนบรรดาญาติๆ ของตน ให้มาช่วยทำอาหารเลี้ยงพระ
ต่างฝ่ายต่างก็ช่วยกันเป็นที่โกลาหล ขยันขันแข็ง ใหม่ๆ ตอนช่วงแรกๆ
บรรดาญาติ ของขุนคลัง ก็ยังปฏิบัติตนดีอยู่ แต่พอเวลาล่วงเลยไป
ชักเกิดความประมาท แอบบริโภคอาหารก่อนพระภิกษุสงฆ์เสียบ้าง
แอบขโมยอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายแก่พระพุทธเจ้า
และหมู่สงฆ์ไปเลี้ยงลูกเมียและญาติของตนเสียบ้าง บรรดาญาติๆ
ของขุนคลังแอบทำผิดอยู่เช่นนี้เป็นนิตย์ ด้วยความละโมบ
กาลต่อมา พระราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง กับบรรดาญาติบริวารตายลง

พระราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง ตายแล้วได้ไปเสวยสุขอยู่บนสวรรค์
มีวิมานอันเรืองรองและโภคทรัพย์อันประณีตเลิศรสมากมายเป็นเครื่องอยู่
ส่วนบรรดาญาติๆ และบริวารของขุนคลัง ที่แอบขโมยอาหารของพระภิกษุสงฆ์
ต้องไปบังเกิดในขุมนรกสิ้นกาลช้างนาน ครั้นพ้นจากนรกนั้นแล้ว
ก็ได้ไปบังเกิดเป็นเปรต จำพวก ปรทัตตูปชีวี
คือเปรตจำพวกมีผลบุญของญาติเป็นอาหาร

ปรทัตตูปชีวีเปรต เป็นเปรตที่มีเศษอกุศลอันเบาบาง
จึงมีจิตอันระงับทุกข์โศกได้บางขณะ
จึงมีโอกาสรับรู้บุญที่หมู่ญาติอุทิศให้
เมื่อรับรู้แล้วอนุโมทนาผลบุญนั้นๆ ความอดอยาก ยากแค้น ก็จะบรรเทาเบาบาง
หรือหายไปสิ้น ด้วยเดชบุญของญาติ

แต่ถ้ายังมิได้มีญาติระลึกถึง ไม่อุทิศผลบุญให้ เปรตจำพวกนี้
ก็จะซัดเซพเนจร เร่ร่อน แสวงหาผลบุญจากหมู่ญาติคนต่อๆ ไป
ถ้ายังมิได้ก็จะเวียนกลับมา รอใหม่ วนเวียนอยู่ใกล้ๆ หมู่ญาติ
ด้วยความหวังว่า

"เมื่อใด ญาติของเรา ทำบุญกุศลแล้ว เขาคงอุทิศให้แก่เราบ้าง"
แต่เมื่อญาติทำบุญแล้วมิได้อุทิศผลบุญให้ หมู่เปรตพวกนี้
ก็จะเดินวนเวียนไปมา ด้วยความผิดหวัง หิวกระหาย ทุรนทุราย
บางทีถึงกับเป็นลมล้มลงหมดสติไป ครั้นพอมีลมพัดมากระทบกาย
ก็ฟื้นคืนสติมาได้แล้วคิดปลอบใจตนเองว่า

"วันนี้ญาติเราระลึกไม่ได้ว่ามีเรา คราวต่อไปเขาคงจะระลึกได้"

เมื่อทำบุญกุศล เขาคงจะอุทิศผลบุญให้เรา ในคราวหน้า
และแล้วเปรตนั้น ก็ทนอดอยาก หิวกระหายต่อไป ด้วยความหวังว่า
สักวันเราจะได้อาหารจากหมู่ญาติที่ระลึกถึง

ปรทัตตูปชีวีเปรต ผู้เป็นญาติของพระราชาพิมพิสาร
ได้รอคอยผลบุญของพระราชาพิมพิสาร ด้วยความอดอยาก หิวกระหาย
จนกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พระพุทธเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า
หมู่ชนผู้คนทั้งหลายพอได้ฟังพระสัทธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
ก็บังเกิดปีติโสมนัสยินดี มีศรัทธาที่จะบริจาคทานถวายปัจจัย ๔
แก่หมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระกกุสันโธพุทธเจ้าเป็นประมุข
แล้วแบ่งผลบุญอุทิศให้แก่หมู่ญาติของตนที่ล่วงลับไปแล้ว

ฝูงเปรตปรทัตตูปชีวี บางพวกที่ได้รับผลบุญของญาติ
ก็แสดงความชื่นชมโสมนัสยินดี ดุจดังบุรุษสตรีผู้เดินทางมากลางทะเลทราย
อดอยากและกระหายน้ำเป็นกำลัง
ครั้นเดินมาเจอแหล่งน้ำและอาหารก็ลิงโลดยินดีเปล่งสาธุการ
ฝูงเปรตเหล่านั้นก็ยกมือประนมเหนือเศียรเกล้า
กล่าวสาธุรับผลบุญของญาติที่อุทิศส่งให้
แล้วได้พ้นจากอัตภาพของเปรตชนิดนั้นไปบังเกิดตามแต่บุพกรรมของตนๆ
แสนสาหัสจึงชวนกันไปเฝ้า พระพุทธเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วทูลถามขึ้นว่า

"หมู่ญาติ ของพวกข้าพระบาท
จักระลึกถึงและอุทิศผลบุญให้พวกข้าพระบาทพ้นจากอัตภาพเปรตนี้เมื่อใดพระเจ้าข้า"

สมเด็จพระบรมศาสดา กกุสันโธพุทธเจ้า จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า

ดูก่อนผู้จมทุกข์ แม้สิ้นกาลในศาสนาของเรา
ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นอัตภาพของเปรต
จวบจนเราตถาคตนิพพานไปแล้วสิ้นเวลานานจนแผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์
ปรากฏพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะพุทธเจ้า
พวกท่านทั้งหลายจงไปถามพระพุทธโกนาคมนะ พระองค์นั้นเถิด

จำเนียรกาลหลังจากสูญสิ้นศาสนา ของพระกกุสันโธพุทธเจ้าแล้ว
กาลล่วงเลยมานับเป็นเวลาพุทธันดรหนึ่ง
(เวลาระหว่างพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งกับอีกพระองค์หนึ่งบังเกิดขึ้น)
ลุถึงศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมนะ
หมู่เปรตเหล่านั้นก็เข้าไปทูลถาม
องค์สมเด็จพระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

"แม้สิ้นศาสนาของเรา ท่านทั้งหลาย
ก็ยังมิได้พ้นจากอัตภาพเปรตจวบจนแผ่นดินสูงขึ้นอีก ๑ โยชน์
จักปรากฏพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้า
ขอท่านทั้งหลายจงรอทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเทอญ"

หมู่เปรตญาติพระราชาพิมพิสาร ก็อดทนอดกลั้นความหิวกระหาย
ทุกข์ทรมานต่อไปจนลุถึงสมัยที่พระมหามุนีศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
หมู่เปรตเหล่านั้นก็พากันเข้าไปทูลถามพระพุทธองค์
จึงทรงมีพระดำรัสตรัสว่า

"แม้ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังจะไม่พ้นอัตภาพของเปรต
จนกว่าเราตถาคตนิพพานไปแล้ว รอเวลาจนแผ่นดินสูงขึ้นมีประมาณ ๑ โยชน์
จักมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมมาตรัสรู้
ในกาลนั้นจะมีขัตติยราช ทรงนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร
ผู้เป็นญาติของพวกท่านทั้งหลาย
ได้สดับพระสัทธรรมจนมีดวงตาเห็นธรรมมีจิตโสมนัสเลื่อมใส
สร้างวัดเวฬุวันถวาย รุ่งขึ้นจะถวายทานอันมีปัจจัย ๔ เป็นต้น

"องค์สมเด็จพระบรมศาสดาศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า
จักนำพาญาติของเธออุทิศผลบุญให้แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเมื่อได้รับผลแห่งทานครั้งนั้นแล้ว
ก็จักพ้นจากความทุกข์เดือดร้อน
เปรตวิสัยก็จะอันตรธานหายไปจากตัวเธอทั้งหลายในกาลนั้น"

เมื่อองค์สมเด็จพระจอมมุนีกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีพระดำรัสตรัสดังนี้แล้ว หมู่เปรตทั้งหลายนั้นก็พากันยินดี
ต่างฝ่ายต่างละล่ำละลัก กล่าวว่า ข่าวดีแล้ว ข่าวมงคลแล้ว ชาวเราเอย
อัตภาพนี้จักสิ้นสุดแก่พวกเราอีกไม่ช้าแล้ว
ความหิวกระหายทุกข์ยากเดือดร้อนจักได้รับการผ่อนคลาย
ชำระให้หายด้วยผลบุญของพระราชาพิมพิสารผู้เป็นญาติของเรา
แม้จะต้องทนรอไปอีกจนสิ้นเวลาพุทธันดร
ก็ยังดีกว่าที่ชาวเราจะรอโดยไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ความหวังเรามีแล้ว
แสงสว่างจะปรากฏแล้ว ข่าวนี้ช่างเป็นมงคลนัก ข่าวนี้ช่างเป็นมงคลนัก

หมู่เปรตเหล่านั้นต่างพากันแสดงกิริยาลิงโลดยินดี
ในข่าวที่ได้รับรู้ด้วยเดชแห่งข่าวดีมีหวังนี้ สามารถทำให้ความหิวกระหาย
ความทุกข์เดือดร้อนที่ปรากฏอยู่อย่างมิรู้เวลาจบสิ้น
พอได้ฟังข่าวดีความทุกข์เดือดร้อนเหล่านั้น พลันได้ผ่อนคลายลงไป
ช่างเป็นเวลาที่น่ายินดีของหมู่เปรต

ครั้นกาลเวลาเนิ่นนานมา
จนสิ้นสุดศาสนาของพระมหามุนีกัสสปะพุทธเจ้า วันคืนผันผ่านไปนานแสนนาน
จนแผ่นดินสูงขึ้นอีก ๑ โยชน์ จนมาถึงกาลศาสนาของเราสมณโคดม
ญาติของหมู่เปรตเหล่านั้นก็ได้บังเกิดมาเป็น องค์มหาบพิตรพิมพิสารราชา
เมื่อพระองค์ทรงถวายอุทยานแล้วสร้างอารามเวฬุวันถวายแก่ตถาคตและหมู่สงฆ์
แต่มิได้อุทิศผลบุญนั้นให้แก่หมู่ญาติเปรตผู้ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาช้านาน
เปรตเหล่านั้นจึงมาส่งเสียงร้องเพื่อขอส่วนบุญ

เมื่อองค์ราชาพิมพิสาร ทรงสดับพุทธฎีกาดังนั้น
จึงทรงทูลถามว่าข้าพระองค์จักถวายทานในวันรุ่งขึ้น
แล้วแบ่งบุญให้แก่หมู่เปรตเหล่านั้นจักได้รับส่วนบุญหรือไม่พระเจ้าข้า

พระบรมศาสดาทรงตรัสตอบว่า "ได้ซิมหาบพิตร"

พระราชาพิมพิสาร จึงทูลอาราธนาพระบรมศาสดาให้เสด็จพร้อมหมู่สงฆ์
เข้าไปรับทานในพระราชวังในวันรุ่งขึ้นแล้วจึงเสด็จกลับ

พอถึงเวลารุ่งเช้า องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์
จึงเสด็จไปยังพระราชฐาน ของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อรับมหาทาน

องค์ราชาพิมพิสาร พร้อมบริวาร
ได้ทรงให้การถวายสักการะต้อนรับพระผู้มีพระภาคและสงฆ์บริษัทเป็นอย่างดียิ่ง
ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาทรงถวายฐานียะโภชนาหารอันประณีต
แต่ละอย่างล้วนเลิศรส ทั้งคาวและหวาน

เมื่อพระผู้มีพระภาคและหมู่สงฆ์ ทรงทำภัตรกิจเสร็จแล้ว
ทรงแนะให้พระราชาพิมพิสาร ทรงหลั่งน้ำอุทิศผลบุญแก่หมู่เปรตด้วยคำว่า

"อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย"
ขอผลบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด

ครานั้นพระบรมสุคตเจ้า ได้ทรงเนรมิต
ให้องค์ราชาพิมพิสารและบริวารได้เห็นเปรตทั้งหลาย
ว่าเมื่อได้รับผลบุญจากญาติอุทิศให้แล้ว มีสภาพเช่นไร

เมื่อพระราชาพิมพิสาร ทรงหลั่งน้ำ
ขณะนั้นสระโบกขรณีอันประกอบด้วยดอกปทุม ก็บังเกิดแก่บรรดาเปรตเหล่านั้น
ให้ได้ดื่มกิน อาบชำระล้างร่างกาย บรรเทาความกระหาย
หมดความกระวนกระวายลงไปด้วยพลัน
อีกทั้งยังมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองเนื้องามดูแล้วเจริญตา
ร่างกายที่พิกลพิการก็กลับคืนดังคนปกติที่งามสง่า
อีกทั้งยังได้รับความซึมซาบ
จากอาหารทั้งคาวและหวานที่เป็นทิพย์ทำให้ร่างกายที่ผอมแคระแกร็น
ก็กลับกลายมีน้ำมีนวลอ้วนพี มีความสุข อิ่มเอิบ ที่ได้รับซึมซาบจากรส
ฝูงเปรตเหล่านั้น แม้จะมีสภาพร่างกายที่ผ่องใสเป็นสุข
แต่ก็ยังมิได้มีผ้านุ่งผ้าห่ม องค์ราชาพิมพิสาร
จึงได้ทูลถามพระบรมสุคตเจ้าว่าจะทำประการใด

องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า
ให้ถวายผ้าสบงจีวร และผ้านิสีทนะ แก่พระภิกษุสงฆ์

พระราชาพิมพิสาร มีรับสั่งให้บริวาร จัดหาผ้านุ่ง ผ้าห่ม
ผ้ารองนั่งนำมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
แล้วทรงอุทิศผลบุญนั้นให้แก่บรรดาหมู่เปรตทั้งหลาย

ผลบุญอันนั้น ทำให้บังเกิดเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน
ที่นั่งอันเป็นทิพย์พร้อมวิมานที่ปรากฎบนอากาศแก่เปรตเหล่านั้น

เปรตเหล่านั้น เมื่อได้รับผลบุญของญาติ แล้วจึงเปล่งสาธุการ
พากันเข้าไปอยู่ยังวิมานที่ปรากฏอยู่บนอากาศ

พระราชาพิมพิสาร ครั้นได้เห็นอานิสงส์ในการให้ทาน
และอุทิศผลบุญแก่บรรดาหมู่เปรตที่เป็นญาติ
ทำให้ผู้จมทุกข์มีความสุขเห็นปานนี้ทรงมีความรื่นเริงยินดี
เลื่อมใสศรัทธาในการทำทานมากยิ่งขึ้น
จึงทรงทูลอาราธนาพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ มารับทานต่ออีก ๗ วัน

พระบรมศาสดาพร้อมหมู่สงฆ์ เมื่อได้ทรงฉลองศรัทธา
แก่องค์ราชาพิมพิสารสิ้นเวลา ๗ วันแล้ว จึงทรงกล่าวอนุโมทนาคาถาว่า

"การทำบุญ เพื่ออุทิศผลบุญแก่เปรตนั้น ชื่อว่าเป็นการบูชาญาติอย่างยิ่ง"

พวกเปรตเมื่อได้รับผลบุญแล้ว ย่อมพ้นจากอัตภาพของเปรตในทันที

สรุป

มหาธนะศาลและภรรยา แม้จะมีทรัพย์มาก แต่ขาดปัญญา
เลี้ยงบุตรด้วยความหลง มิได้ให้แม้การศึกษาปัญญาแก่บุตร
และในที่สุดบุตรก็มิอาจดำรงวงศ์สกุลเอาไว้ได้
แม้แต่บ้านก็รักษาเอาไว้มิได้ เหตุเพราะพ่อแม่รังแกบุตร

บุตรเศรษฐี เป็นผู้มัวเมาประมาทขาดสติ หลงระเริงอยู่ในกามคุณ
มัวเมาอยู่ในวัย จมปรักอยู่ในทจริตทั้งกาย วาจา ใจ
จนต้องทำร้ายตนและคนรอบข้าง แม้แต่ภรรยาสุดที่รัก
ก็ต้องตกไปเป็นทาสของโจร
ถึงแม้จะยังพอมีวาสนาให้ได้ถวายทานแก่พระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้าก่อนตาย
แต่ด้วยใจที่หมกมุ่นจมปรัก จึงไปหลงรักนางสุลสา ด้วยจิตครุ่นคิดแก่อกุศล
จึงพาตนอับจนต้องมาเกิดเป็นรุกขเทวดาชั้นต่ำ
แทนที่จะไปบังเกิดในที่ที่ดีกว่า ทั้งที่วาสนาพอจะนำพาไปได้
มาเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มหาศาลก็นับว่ามีวาสนาดีกว่าผู้อื่นอยู่แล้ว
ซึ่งก่อนตายยังได้รับการโปรดด้วยเมตตาจากพระโมคคัลลานะผู้เรืองฤทธิ์
แทนที่ชีวิตจะไปดีกว่าที่เป็นอยู่
สุดท้ายก็ต้องไปทนคุดคู้อยู่ในวิมานแคบๆ บนต้นไทร เช่นนี้ก็ต้องเรียกว่า
เกิดมาด้วยบุญ แต่ไม่ยอมสร้างบุญ เลยต้องมาขาดทุน เพราะไม่ทำบุญเพิ่ม

นางสุลสา เป็นผู้มีวาสนาผูกพันกันมากับบุตรเศรษฐี
ถึงได้อนุเคราะห์กันข้ามภพข้ามชาติ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า
ผู้คนที่เกิดมาแล้วจะรักใคร่ศรัทธา คบหากันได้นั้น
ต้องอาศัยเหตุปัจจัยคือ บุญวาสนาและบุพกรรมในปัจจุบัน เป็นเครื่องนำพา

บุญวาสนา คือ สิ่งที่สร้างสมกันมาแต่อดีตชาติ
บุพกรรม คือ สิ่งที่ร่วมกระทำในปัจจุบันอันเป็นการกระทำที่น่ายินดีต่อกัน

มารดาของนางสุลสา ทำให้เราท่านทั้งหลายได้เห็นว่า
ความหมายของความเป็นแม่ไม่มีคำว่าแก่เกินกาล จะอายุมากหรือน้อย
ผู้เป็นแม่ก็ยังคอยที่จะอนุเคราะห์ ดูแลลูกหลานด้วยหัวใจที่รักและห่วงใย
ใส่ใจในทุกกาล ถึงลูกจะทอดทิ้ง ทำสิ่งที่เลวร้ายต่อมารดาสักปานใด
แต่หัวใจของแม่ก็ให้อภัยแก่บุตรได้เสมอ

พระมหาโมคคัลลานะ พระเถระผู้รุ่งเรืองฤทธิ์
คงจะเป็นเพราะบุพกรรมที่เคยร่วมกระทำกับบุตรเศรษฐี
จึงทำให้ท่านได้เห็นบุรุษนี้ปรากฏอยู่ในข่ายญาณ
ท่านจึงมาโปรดให้บุรุษนั้นพ้นจากการตกนรก เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติปางก่อน ย่อมได้รับผลในปัจจุบัน

พระราชบุตรทั้ง ๓ ของราชานครราชคฤห์
เห็นประโยชน์ของการถวายทานแก่พระบรมศาสดาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมหมู่ภิกษุสงฆ์
ว่ามีผลส่งให้ตนได้รับผลอันเป็นสุขจึงชวนขุนคลังผู้เป็นสหายพร้อมบริวาร
จัดอาหารถวายทานตลอด ๓ เดือน ครั้นถึงกาลกิริยา พระราชบุตรทั้ง ๓
และขุนคลังก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์เจริญสุขอยู่ในทิพย์วิมาน
เหตุเพราะทำทานประพฤติธรรมอันสุจริต

บริวารและหมู่ญาติของขุนคลัง
เมื่อขุนคลังมาชักชวนให้รวมทำบุญแทนที่จะเห็นประโยชน์ด้วยจิตที่กอปรด้วยศรัทธามีปัญญา
กลับมีแต่ความละโมบ โลภในอาหาร แอบลักขโมยอาหารไปเลี้ยงตนและหมู่ญาติ
เรียกว่า ปฏิบัติธรรม ทำทานด้วยอาการทุจริต ผลที่ได้เมื่อตายจึงต้องตกนรก
พอพ้นจากขุมนรกนั้นๆ แล้ว จึงต้องมารับเศษกรรมอันหนัก
เป็นเปรตมีความอดยากมีชีวิตด้วยความลำบาก ทนทุกข์ยากอยู่เป็นแสนมหากัป
จึงพ้นทุกข์ได้ด้วยรับบุญของหมู่ญาติ

พระราชาพิมพิสาร ที่อดีตชาติเกิดเป็นขุนคลัง
ได้ร่วมกับพระราชบุตรทั้ง ๓ ของราชาผู้ครองกรุงราชคฤห์
ถวายทานแก่พระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมหมู่สงฆ์
กุศลผลแห่งกรรมดีที่ได้กระทำส่งให้ไปบังเกิดในสวรรค์ จนสิ้นเวลาไปถึ ๕
แสนกัป ทำให้หมู่ญาติที่เป็นเปรตตามหาไม่พบ
พอหมดบุญจึงจุติมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร
พอได้ทำทานหมู่ญาติที่เปรตจึงได้มาร้องขอส่วนบุญ

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า
สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมจริงๆ กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้ดี ชั่ว เลว หยาบ
ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ไม่มีใคร
ผู้ใดหนีพ้นจากบ่วงกรรมไปได้เลย สาธุ สาธุ

เพราะไม่วาง...จึงหนัก

นาวาเอกผู้ หนึ่งได้เข้าไปกราบสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากร มหลวงวชิรญาณวงศ์
ซึ่งเคย เป็นพระอุปัชฌาย์เขาเมื่อครั้งบวชที่วัดบวรนิเวศ

หน้าตา ของนาวาเอกดูหม่นหมองและอิดโรย ท่าทางอมทุกข์
สมเด็จฯ จึงรับสั่งถามว่า “เป็นไงมั่งพักนี้?”

“หนักครับ” เขาทูล “ช่วงนี้แย่มากเลยครับ”
“หนัก อะไร” สมเด็จฯ ถาม

แล้วนาวาเอกก็ทูลเล่าถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ประดังประเดเข้ามาทั้งเรื่องชีวิต
เรื่องการงาน เขาบอกว่าตอนนี้จวนจะแบกไม่ไหวแล้ว
จึงมาเฝ้าสมเด็จฯ ขอบารมีเป็นที่พึ่ง

สมเด็จฯ นั่งสักพัก ก็รับสั่งให้เขานั่งคุกเข่าและยื่นมือทั้งสองออกมาข้างหน้า
แล้ว พระองค์ก็หยิบกระดาษชิ้นหนึ่งมาวางบนฝ่ามือทั้งสองของนาวาเอก
จากนั้น พระองค์ก็เสด็จออกไปจากที่ประทับ
พร้อมกับรับสั่งว่า “นั่งอยู่นี่แหล่ะ อย่าขยับหรือไปไหนจนกว่าข้าจะกลับมา
จะเข้าไปข้างในสักประเดี๋ยว” แล้วจึงเสด็จเข้าไป

นาวาเอกนั่งอยู่ในท่าคุกเข่า และประคองกระดาษทั้งสองมืออยู่เป็นเวลานาน ๑๐ นาทีก็แล้ว
๒๐ นาทีก็แล้ว สมเด็จฯ ก็ยังไม่ออกมา

เขา เริ่มเหนื่อย แขนก็เริ่มเมื่อยล้า กระดาษชิ้นเล็ก ๆ
ซึ่งเบาหวิวดูจะ หนักขึ้นเรื่อย ๆ จนเหงื่อเริ่มออก


ในที่สุด สมเด็จฯ ก็เสด็จเข้ามาประทับที่เดิม ทำทีเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สักพักก็มองกระดาษที่มือนาวาเอก แล้วทรงถามว่า “เป็นไง?”


“หนักครับ พระเดชพระคุณ เมื่อยจนจะทนไม่ไหว”
“อ้าว ทำไม ไม่วางมันลงเสียละ?” สมเด็จฯ รับสั่ง
“ก็ ไปยอมให้มันอยู่อย่างนั้น มันก็หนักอยู่อย่างนั้นนะสิ
มันจะเป็นอย่าง อื่นไปได้ยังไง”


กระดาษชิ้นเล็ก ๆ ที่เบาหวิว หากถือไปนาน ๆ เข้า ก็ย่อมกลายเป็นของหนัก
ตรงกันข้าม ก้อนหินก้อนใหญ่ ถ้าไม่ไปแบกหรืออุ้มมัน ก็ไม่รู้สึกหนัก
ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ ชีวิตหรือจิตใจหนักอึ้ง ควรรู้จักปล่อยวางเสียบ้าง


แม้ แต่ของที่มีประโยชน์ เราควรยึดถือก็ต่อเมื่อถึงเวลาใช้งาน
เมื่อใช้ เสร็จ ก็ควรวางลงเสีย นับประสาอะไรกับของที่ไร้ประโยชน์
เช่นความทุกข์ ความห่วงกังวล ยิ่งต้องวางทันที ที่รู้ตัวว่ามาครองใจ
หาไม่แล้วจะกลาย เป็นของหนักจนเอาตัวไม่รอด

ขอบคุณบทความจาก ลานธรรมจักร

คำบวก - คำลบ

นักเขียนสุนทรพจน์พิถีพิถันกับการเลือกใช้คำ เช่นเดียวกับจิตรกรเลือกใช้สีและขนาดพู่กัน เพราะหากเลือกคำไม่เหมาะสมเพียงคำเดียว ความหมายก็อาจผิดไปเลย หรือเป็นแง่ลบได้โดยไม่ตั้งใจ

ยกตัวอย่างเช่น ยาสีฟันยี่ห้อหนึ่งใช้สโลแกนโฆษณาว่า "เค็ม... แต่ดี"



แม้ว่าความหมายจะชัดเจนว่า ความเค็มช่วยรักษาเหงือกและฟันให้แข็งแรง คำว่า 'แต่' มีนัยของด้านลบอยู่บ้าง โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ชอบยาสีฟันรสเค็ม



หากจะพูดแบบด้านบวกก็คือ "เค็ม... จึงดี" จะสวยงามกว่า นั่นคือก็เพราะ มันเค็ม มันจึงดี โฆษณาบ้านจัดสรรหลายแห่งใช้คำว่า "ราคาเพียง 35 ล้าน" หรือ "แค่ 35 ล้าน บาท"



35 ล้านบาท ย่อมไม่ใช่เงินเล็กน้อย การใช้คำว่า 'เพียง' หรือ 'แค่' จึงเหมือนกับคนพูดอยู่ในอีกจักรวาลหนึ่ง



'ราคาเพียงหนึ่งพันบาท' กับ 'ราคาถึงหนึ่งพันบาท' อาจให้ความหมายต่างกัน ขึ้นกับลักษณะการใช้ เช่น ....

เมื่อได้รับส่วนลดในการซื้อรถยนต์คันหนึ่งเป็นเงินหนึ่งพันบาท ถ้าคนขายใช้คำว่า "ลดให้ถึงหนึ่งพันบาท" คนซื้ออาจรู้สึกว่าลดไม่มาก แต่หากเป็นการซื้อรองเท้าหรือเสื้อผ้า "ลดให้ถึงหนึ่งพันบาท" อาจจะให้ความรู้สึกที่ดีกว่ามาก

การใช้คำเล็กๆ น้อยๆ จึงมีความสำคัญ

ในชีวิตจริงของคนเรา ต้องเจอะหน้าเจอตาผู้คนมากมาย เราไม่อาจเลี่ยงการพูดจากับคนอื่น มันจะเป็นเครื่องมือหรืออาวุธก็แล้วแต่การใช้ การใช้คำพูดที่เหมาะสมเป็นเรื่องจำเป็น


เช่นเจ้านายสั่งงานลูกน้องว่า "ทำให้เสร็จภายในห้าโมงเย็น" อาจให้ความรู้สึกต่างกับ "ขอโทษด้วยที่เร่งคุณ แต่ช่วยทำให้เสร็จภายในห้าโมงเย็นนะครับ"


ในหลายกรณี คนที่ใกล้ชิดกัน มักจะลืมไปว่า คำพูดอ่อนโยนยังเป็นสิ่งจำเป็น เช่นสามีพูดกับภรรยาว่า "เอาน้ำมาแก้วนึง" ย่อมให้ความรู้สึกต่างจาก "ช่วยรินน้ำมาแก้วนึงได้มั้ยจ๊ะ" แค่เติม 'จ๊ะจ๋า' ในประโยค ความรู้สึกก็ต่างกันใหญ่หลวง


ภรรยาบางท่านนิยมใช้คำว่า "นี่คุณ" นำหน้าประโยค คำนี้มีนัยของแง่ลบอยู่บ้าง เพราะ "นี่คุณ" มีความหมายในเชิงว่า ประโยคที่ตามคำนี้ จะเป็นประโยคคำสั่ง แค่เปลี่ยนคำนี้เป็น "คุณคะ" หรือ "คุณขา" ก็ดีกว่าเดิมหลายเท่า



จริงไหมจ๊ะ?


23 พฤษภาคม 2552 (พิมพ์ครั้งแรก : เปรียว 2552)
โดย วินทร์ เลียววาริณ

จาก หนอนในตะกร้า เว็บ winbookclub.com

แจ้งประกาศตำแหน่งงานใหม่ ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. ::31 มึ.ค.2555

ตำแหน่งงาน ณ : วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

1.) ชื่อตำแหน่งงาน : วิศวกรโยธาปฏิบัติการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมธนารักษ์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634684672932371250

2.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน จำนวนตำแหน่งว่าง : 10 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมธนารักษ์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634684674829246250

3.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างโลหะปฏิบัติงาน จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมธนารักษ์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634684676752527500

ตำแหน่งงาน ณ : วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

1.) ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าพนักงานธุรการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมปศุสัตว์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681060935027500

2.) ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าพนักงานธุรการ (สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมส่งเสริมการเกษตร
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681075131121250

3.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชาการแรงงาน (สรจ.สกลนคร) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681138142371250

4.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชาการเงินและบัญชี(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681168569090000

5.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักกายภาพบำบัด(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681122418308750

6.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักเทคนิคการแพทย์(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681124939715000

7.) ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าพนักงานพัสดุ(รพ.อ่างทอง) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681132613152500

8.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างเทคนิค(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634681161138777500

ตำแหน่งงาน ณ : วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

1.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักจิตวิทยา จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมการแพทย์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634680120439668241

2.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 2 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมปศุสัตว์
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634680283304607992

3.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชการแรงงาน(สรจ.สุราษฎร์ธานี) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634680308518457812

ตำแหน่งงาน ณ : วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

1.) ชื่อตำแหน่งงาน : อาจารย์ จำนวนตำแหน่งว่าง : 14 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679235314082500

2.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างศิลป์ปฏิบัีติงาน จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมส่งเสริมการเกษตร
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679404231582500

3.) ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าพนักงานพัสดุ,นักวิชาการโสตทัศนศึกษา,นักประชาสัมพันธ์,นักกายภาพบำบัด,นักเทคนิคการแพทย์(รพ.พระพุทธบาท) จำนวนตำแหน่งว่าง : 5 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679378950176250

4.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชาการขนส่ง (ด้านภาษาอังกฤษ) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมการบินพลเรือน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679198955332500

5.) ชื่อตำแหน่งงาน : พนักงานธุรการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 3 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมการบินพลเรือน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679202727832500

6.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างพิมพ์ปฏิบัติงาน จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมที่ดิน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679329379082500

7.) ชื่อตำแหน่งงาน : นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมที่ดิน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634679330191113750


ตำแหน่งงาน ณ : วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

1.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชาการแรงงาน (สรจ.สุโขทัย) จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678634288301250

2.) ชื่อตำแหน่งงาน : พนักงานผู้ช่วยประมง จำนวนตำแหน่งว่าง : 2 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมประมง
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678574482676250

3.) ชื่อตำแหน่งงาน : เศรษฐกร (โท) และเศรษฐกร (ตรี) จำนวนตำแหน่งว่าง : 0 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678535610176250

4.) ชื่อตำแหน่งงาน : เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) จำนวนตำแหน่งว่าง : 4 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กรมที่ดิน
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678638811270000

5.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กองการเจ้าหน้าที่
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678568627832500

6.) ชื่อตำแหน่งงาน : นักโภชนาการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กองการเจ้าหน้าที่
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678569761582500

7.) ชื่อตำแหน่งงาน : พนักงานธุรการ จำนวนตำแหน่งว่าง : 1 ตำแหน่ง
ชื่อหน่วยงาน : กองทัพอากาศ
ช่วงรับสมัคร : วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
คุณสามารถคัดลอก URL ต่อไปนี้ไปเปิดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป http://job.ocsc.go.th/JobShow.aspx?JobID=634678346326426250

การทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระ
ความหมาย

บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยทั่วไป ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการ สิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง ในเรื่องเหล่านี้นิยมทำบุญทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระและ ตักบาตร เป็นต้น เพราะประเพณีนิยมดังนี้ จึงเกิดมีพิธีกรรม ที่จะต้องปฏิบัติขึ้นและถือสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล ฉะนั้น ในเรื่องพิธีทำบุญ หรือเรียกว่า บุญพิธี จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำมากล่าวในหมวดนี้ โดยแยกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ทำบุญงานมงคล

๒. ทำบุญงานอวมงคล

แต่ละประเภทมีความมุ่งหมายและเหตุผล ตลอดถึงระเบียบปฏิบัติพิธี แตกต่างออกไป เป็นกรณี ๆ อีกหลายอย่าง ดังจะนำมาชี้แจงแต่เพียงที่สำคัญ ๆ ให้เข้าใจต่อไป

พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ
การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล

การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้

ระเบียบพิธี

๑. ทำบุญงานมงคล

พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า “เจ้าภาพ” เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้

ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา

ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี

ฆ. วงด้ายสายสิญจน์

ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา

จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์

ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ

ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์

เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้

ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)

ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้

ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง

ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล

ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี

จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม
อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด

ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ

๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น

๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “โต๊ะบูชา” สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง

การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น

สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร

สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้

หลักโต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน

๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ

๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง

การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด

อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป

๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม

๖. เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ นิยมใช้กันอยู่ ๒ วิธี คือ ยกพื้นอาสน์สงฆ์ ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์ อีกวิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะ บนพื้นธรรมดา อาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะ ชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ ข้อที่ควร ระวัง คือ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาด ให้แยกจากกัน ถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ ควรจัด ปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ

๗. เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ ตามแบบและประเพณี ก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่า ต้องวางทางด้านขวามือของพระ ระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกัน ด้านขวามือของรูปใด ก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้น การวางให้วางกระโถนข้างในสุด เพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคน ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น ออกมา อีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างใน ออกมาหาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคน ตั้งแต่ข้างในออกมา หาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลัง ไม่ต้องตั้งประจำ ที่เหมือนอย่าง เครื่องดังกล่าวแล้ว เครื่องรับรองดังกล่าวนี้ ถ้าจำกัด จะจัดรับรอง ๒ รูป ต่อ ๑ ที่ก็ได้ และให้จัดวางตามลำดับ ในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน

๘. เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรก ถ้าไม่มีครอบ น้ำมนต์ ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำ พานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำ เพราะเงินและทองเป็นวัตถุ อนามาสไม่ควรแก่การจับต้อง ของพระ ต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝน ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่า น้ำที่ จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ต้องมาจากธรณี ส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยม น้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียง ค่อนภาชนะเท่านั้น ควรหาใบเงินใบทอง ใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย (ถ้าหาไม่ได้ จะใช้ ดอกบัวใส่แทนก็ได้ แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร) ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ติดที่ปากบาตรหรือขอบขัน หรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ ไม่ต้องจุด แล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า เพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก

๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ

ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า

พออาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท
อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป

๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้ว เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อน เสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนา พระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ถ้ามีการตักบาตรด้วย พึงเริ่มลงมือตักบาตร ขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหุํ และให้เสร็จก่อน พระสงฆ์สวดจบ เตรียมยกบาตรและภัตตาหาร มาตั้งไว้ให้พร้อม พอสวดจบก็ประเคนให้ พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือ ฟังพระสวดไปพอสมควรแล้ว เตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ

แต่ถ้าเป็นงานวันเดียว คือ สวดมนต์ก่อนฉัน การตระเตรียมต่าง ๆ ก็คงจัดครั้งเดียว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระ จึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อม พอพระสวดจบก็ยกประเคน ได้

สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ

อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สีลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว

เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย

การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว

ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า

ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓

ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ

ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน

เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย

เมื่อไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ

เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า “ติสรณคมนํ นิฏ€ิตํ” เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค

พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม

การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลัก ดังนี้

เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป

สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง สุดแต่เจ้าภาพ ประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ งานมงคลสมรส สวดมหาสมัย และเจ็ดตำนานย่อ

ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้ พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุด เทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตร ถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวา ปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียน ควบกับสายสิญจน์ เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยด ๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าวตามธรรมเนียม แต่ก่อน แต่ในปัจจุบัน พอสวดถึง
เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ

อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธี หรือเสร็จ การเลี้ยงพระในวันฉัน มักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าภาพ และบริเวณ สถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย เจ้าภาพ จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรม คือ หญ้าคา หรือก้าน มะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อม การใช้หญ้าคา เป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้ง อสูรกับเทวดาร่วมกันกวน เกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จ พวกเทวดาหาอุบายกีดกัน ไม่ให้พวกอสูรได้ดื่ม น้ำอำมฤตนั้น จึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ ในการรบกันนั้น น้ำอมฤตได้ กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา ๒ - ๓ หยด โดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยาก เลยนำมาใช้ในพิธีการ
ต่าง ๆ หลายอย่าง ติดมา จนทุกวันนี้

สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคล เพราะปรากฏ เป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้ จึงนิยมใช้ หญ้าคากันสืบต่อมา

ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลัง และอาจจะ นิยมเฉพาะในประเทศไทย อย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์ เรื่องใช้ก้าน มะยมในหมู่ชาวไทยนี้ ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่า ท่านถือว่า “ไม้มะยม” มีชื่อพ้องกัน กับ “ยมทัณฑ์” คือ ไม้อาญาสิทธิ์ของพญายม ผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจ ไม้ยมทัณฑ์นั้น สามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทาง ชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมา ใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร และเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ในการใช้ก้านมะยมนี้ จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้องใช้ ๗ ก้านมัดรวมกัน โดยถือว่าได้จำนวน เท่ากันกับหัวข้อธรรม ในโพชฌงคสูตร ซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษ และเท่าจำนวนพระปริตร ๗ ตำนาน ที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม เรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทน หญ้าคาที่นิยมมาเดิม เห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้ว เช่น ในเมือง เป็นต้น หาหญ้าคาได้ยาก เพราะไม่มีป่า แต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไป จึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่าย เป็นประมาณนั่นเอง

๒. ทำบุญงานอวมงคล

การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้

ก. งานทำบุญหน้าศพ

พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ

๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่”ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า “ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์”

๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์

๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร

ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล

สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้

๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร

๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร

๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร

๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตรอื่นใดนอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย

ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด

ก. นมการปาฐะ (นโม......)

ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)

ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)

พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ

ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)

ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)

ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)

ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....

ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท

เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล

ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท “อทาสิ เม” เพราะศพยังปรากฏอยู่

ข. งานทำบุญอัฐิ

พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอื่นนอกจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวันปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น

โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล

โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา



ความเป็นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมา ณ ลุมพินี โดยคำแนะนำของพระอุปคุตเถระว่า สถานที่แห่งนี้คือที่ประสูติจากพระครรภ์มารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานสี่แห่งที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งกับพระอานนท์ก่อนจะปรินิพพานว่า ให้เป็นสถานที่แทนตัวพระพุทธองค์ภายหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วสำหรับให้พุทธบริษัทมาสักการะและปลงธรรมสังเวช พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงให้สร้างเสาหินอโศกและพระสถูปไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้รับรู้และมาสักการะบูชาสังเวชนียสถานแห่งนี้ได้อย่างถูกต้อง

แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ร้อยปี ลุมพินีก็ถูกปล่อยให้รกร้างมายาวนานเกือบยี่สิบศตวรรษ จนมีการขุดค้นพบเสาหินอโศก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2438 และเมื่อถึงสมัยกึ่งพุทธกาล ฯพณฯ อูถั่น ชาวพุทธพม่าซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตอนนั้น ก็ได้พยายามผลักดันโครงการพัฒนาลุมพินีให้เป็นโครงการขององค์การสหประชาชาติเป็นผลสำเร็จ และได้ตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาลุมพินีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2513 ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศที่นับถือพุทธศาสนา 13 ประเทศร่วมเป็นกรรมการ โดยมีการทำแผนแม่บทพัฒนาลุมพินีสถานให้เป็นพุทธอุทยานขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่นับหมื่นเอเคอร์ อย่างไรก็ตามกาลเวลาผ่านไปแล้วกว่า 40 ปี จนถึงทุกวันนี้การพัฒนาลุมพินีตามแผนแม่บทที่วางไว้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนัก




อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีชาวพุทธจากหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยพยายามจะขออนุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ลุมพินีในบริเวณ " สวนอันศักดิ์สิทธิ์ " ( Sacred Garden ) ตามแผนแม่บทซึ่งเป็นที่ตั้งเสาหินอโศกและวิหารมายาเทวีมานานนับสิบ ๆ ปี แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเพราะบริเวณสถานแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก จนปัจจุบันสถานที่บริเวณดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมลงมาก

จนเมื่อคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มีโอกาสไปสักการะบูชาลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ได้เห็นความทรุดโทรมของสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เช่น ทางเดินบริเวณรอบวิหารมายาเทวีเฉอะแฉะเป็นดินโคลนเวลาฝนตก ลานที่จะนั่งสวดมนต์หรือนั่งเจริญภาวนาก็ไม่มี รวมถึงไม่มีห้องสุขาในบริเวณนั้นด้วยซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับผู้สูงอายุที่เดินทางมาสักการะบูชา เป็นต้น จึงตั้งจิตอธิษฐานขอทำหน้าที่เป็น "สะพานบุญ" ชักชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาร่วมบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติจากพระครรภ์มารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และได้ทำเรื่องขออนุญาตบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" ของลุมพินี ในนามประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย โดยได้รับการอนุเคราะห์ช่วยติดต่อประสานงานเป็นอย่างดียิ่งจากท่าน เจ้าคุณราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) ท่านเอกอัคราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ และ ท่านพระมหาสุพจน์ กิตฺติวณฺโณ ซึ่งหากปราศจากการช่วยเหลือจากทั้ง 3 ท่านการดำเนินการขออนุญาตคงไม่สำเร็จลุล่วงได้

ซึ่งในที่สุดก็ได้รับการตอบอนุญาตจากกองทุนพัฒนาลุมพินี (Lumbini Development Trust หรือ LDT) ให้สามารถดำเนินการบูรณะปรับปรุงบริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" และได้รับอนุมัติแบบจากคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 (11/01/2011)

ถือเป็นโชคดีของชาวไทยเพราะการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่การดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรกโดย พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อน และการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 2 โดยท่านอู่ถั่น ในนามขององค์กรสหประชาชาติเมื่อ 40 ปีก่อน และในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 รอบ 2554 ปีที่เราชาวไทยจะได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติจาก LUMBINI DEVELOPMENT TRUST และคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อร่วมถวายเป็นพุทธบูชาในวโรกาสที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุครบ 2,600 ปี ในพ.ศ. 2555 ตลอดจนเพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องวโรกาสมหามงคล 60 ปี ราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา


การออกแบบบูรณปฏิสังขรณ์มี อาจารย์วันชัย รวยอารีย์ เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบ อาจารย์อนุสรณ์ ภักดิ์สุขเจริญและผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาคภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ โดยมีMR. BASANTA Senior Archaeology Officer ของ Lumbini Development Trust เป็นผ้ร่วมออกแบบ

ทางมูลนิธิจึงได้กราบเรียนเชิญท่านเจ้าคุณราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) เป็นที่ปรึกษาโครงการและผู้ควบคุมกำกับโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยหลังสุดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้เดินทางไปประเทศเนปาลเพื่อ ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติร่วมกับท่านลามะACHARYA KARMA SANGBO SHERPA ตำแหน่ง VICE-CHAIRPERSON ของ LUMBINI DEVELOPMENT TRUST ณ บริเวณหน้าวิหารมายาเทวี และได้วางศิลาฤกษ์ทางเดินรอบวิหารมายาเทวี โดยท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ ท่าน ส.ส.สมพล เกยุราพันธุ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ตลอดจนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงทางเดินเท้าบริเวณรอบวิหารมายาเทวีแล้ว

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อบูรณะปรับปรุงสถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ตามกรอบการดำเนินงานที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี ( Lumbini Development Trust )

2.2 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา

2.3 เพื่อเทิดพระเกียรติ และประกาศเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ให้ชาวพุทธทั่วโลกได้รับทราบ ในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภก

2.4 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสร่วมสร้างบุญกุศลในการบูรณะปรับปรุงสังเวชนียสถานที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก ตลอดจนช่วยเสริมสร้างสามัคคีธรรมในหมู่คนไทย ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมปัจจุบัน

3. รายละเอียดการบูรณปฎิสังขรณ์
3.1 สร้างทางเดินโดยรอบบริเวณวิหารมายาเทวี

3.2 สร้างลานปฏิบัติธรรม จำนวน 5 ลาน บริเวณหน้าเสาหินอโศก, ต้นมหาโพธิ์ และบริเวณใกล้เคียง

3.3 ขอพระราชทาน"กังหันชัยพัฒนา"มาติดตั้งเพื่อปรับปรุงสภาพน้ำ ณ สระอโนดาต สระน้ำ อันศักดิ์ที่สรงพระวรกายของสิทธัตถะราชกุมาร ภายหลังการประสูติจากพระครรภ์มารดา

3.4 สร้างอาคารเอนกประสงค์ และห้องน้ำสำหรับผู้สักการะ (กำลังรอการอนุมัติแบบจาก LDT.)

3.5 ปรับปรุงถนนทางเข้าสู่บริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" (Sacred Garden)

3.6 จัดสร้างสวนโดยรอบวิหารมายาเทวี และบริเวณสวนอันศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Garden) เพื่อให้สวยงามดุจดั่งเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าประสูติ



4. แนวทางดำเนินการ
4.1 ทำเรื่องกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงทราบถึงความเป็นมาของโครงการ ที่คนไทยทั้งประเทศได้มี ส่วนร่วมทำถวายเป็นพระราชกุศลนี้ด้วยสามัคคีธรรม

4.2 ออกแบบแปลนการบูรณะปรับปรุงลุมพินีสถาน ซึ่งเป็นที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ณ ประเทศเนปาล ร่วมกับเจ้าหน้าที่โบราณคดีจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี ( Lumbini Development Trust )

4.3 ขออนุมัติแบบแปลนการบูรณะปรับปรุงจากคณะกรรมการ Lumbini Development Trust และจากคณะกรรมการมรดกโลก

4.4 เมื่ออนุมัติแบบแปลนแล้วคณะกรรมการ Lumbini Development Trust จะเป็นผู้จัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง
โดยวัดไทยลุมพินีจะเป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินและเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมารวมทั้งจะเป็นผู้ควบคุมการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้

4.5 ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ชักชวนให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ ได้มีส่วนร่วมทำบุญในการบูรณะปรับปรุงสังเวชนียสถาน ที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลกนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจะมุ่งเน้นที่จำนวนคน ซึ่งมีส่วนร่วมทำบุญคนละเล็กละน้อย ให้ได้ปริมาณคนที่มีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่ออาศัยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งการเสริมสร้างสามัคคีธรรมในหมู่คนไทย

4.6 เมื่อการบูรณะปรับปรุงเสร็จตามเป้าหมายแล้ว จะจัดตั้งกองทุนถาวรเพื่อไว้ใช้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเช่น การดูแลสวน, ห้องน้ำ ฯลฯ รวมทั้งไว้ใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในอนาคต โดยจะมอบให้วัดไทยลุมพินีโดยท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี เป็นผู้ดูแลกองทุนนี้ต่อไป

5. ระยะเวลาดำเนินการ
มีนาคม – ธันวาคม 2554

6. ช่องทางการบริจาคเงิน
1) โอนเงินผ่านธนาคาร ชื่อบัญชี "กองทุนลุมพินีสถาน"
1.1 "กองทุนลุมพินีสถาน" ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าวซอย 10 เลขที่ 047-255916-4 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.2 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคารกสิกรไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาประดิษฐ์มนูธรรม เลขที่613-2-10884-4 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.3 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคาร กรุงไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาลาดปลาเค้า 41 เลขที่199-0-17327-6หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.4 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร บัญชีออมทรัพย์ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร B) เลขที่บัญชี199-2-03083-3 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม "กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

2) SMS พิมพ์คำว่า LUM ส่งมาที่หมายเลข 4596999 (ครั้งละ 9 บาท)

3) ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 สังเวชนียสถานที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ได้รับการบูรณะปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่มีส่วนร่วมการทำบุญอย่างกว้างขวาง

7.2 ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสร่วมทำบุญมหากุศลถวายเป็นพุทธบูชา และพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสปีมหามงคล

7.3 สังคมไทยมีบรรยากาศแห่งสามัคคีธรรมมากขึ้น จากกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมสร้างบุญกุศลในโครงการนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสปีมหามงคล

หมายเหตุ ติดต่อสำนักงานกองทุนได้ที่ โทร. 02-971-7575 (ในเวลาราชการ) โทรสาร 02-971-6777
www.lumbinidevelopment.org‏ หรือ www.sudarat.com

สังคมทุกวันนี้วุ่นวาย ก็เพราะมีคนหลายประเภท

สังคมทุกวันนี้วุ่นวาย ก็เพราะมีคนหลายประเภท หลากหลายอารมณ์ ที่สำคัญ หลากหลายสันดาน เข้าอยู่ปะปนกัน จะอยู่ที่ว่า คนเหล่านั้น จะยอมรับ หรือต้องยอมหดหัวอยู่ใต้อุ้งตรีนของใคร หากยอมที่จะเป็นหมาไล่เนื้อให้พวกคนเลว เพื่อยอมจะอยู่ในกะลาแห่งความเลว และ ให้ความโง่เขลาครอบหัวไว้ นั่นก็จะกลายเป็นพวกกัน หากมีใครคนใดทะลุกลางปล้อง บอกว่าบางเรื่องมันไม่ใช่ ไม่เห็นด้วย คนๆนั้นจะถูกเฉดหัวออกจากสังคม พร้อมทั้งจะถูกประณามหยามเหยียด โดยที่พวกมันไม่ได้กลับไปดูตัวเองเลย ช่างน่าสมเพชยิ่งนัก สำหรับคนประเภทนี้ !!

ดั่งโคลงโลกนิติของ สมเด็จพระเดชาดิสร ได้เปรียบเทียบถึงความแตกต่างของ กบในสระ กับ พวกผีเสื้อและผึ้ง ว่าไว้ ดังนี้ :

“กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
ฤาห่อนรู้รสมาลย์ หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกมาค้อมค้อย เกลือกเคล้าเสาวคนธ์”

ขอไว้อาลัยให้กับ ความจริง ความดี ความน่าเชื่อถือ ให้กับสังคมนี้ด้วย

อำนาจรัฐหรืออำนาจโลก -อหังการจักรพรรดิแห่งทุน

Give me control of a nation's money and I care not who makes her laws.
Mayer Amschel Rothschild

“ถ้าข้าพเจ้ามีอำนาจควบคุมการออกเงินตราของประเทศ ข้าพเจ้าก็ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าใครคือผู้ออกกฎหมาย” - Mayer Amschel Rothschild

....ย้อนกลับไปดูโครงสร้างทางสังคมหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบใหม่ คือการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งก่อให้เกิดก้าวกระโดดใหญ่แห่งสหัสวรรษ ที่ได้สร้างความสับสนต่อยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา มีโจทย์ข้อใหญ่ท้าทายวิจารณญานปัญญาชน โดยเฉพาะเหล่าบรรดานักคิดที่เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวสังคมและเรียกตนเองเป็นพลังก้าวหน้า ว่าจะให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลง “อำนาจรัฐ” ซึ่งเคยคิดว่า เป็นอำนาจที่คอยควบคุม ปกครอง อันเป็นการมองปัญหาแค่เพียงขอบเขตปริมณฑลของรัฐชาตินั้น หรือจะให้ความสำคัญกับ “อำนาจโลก” ในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งโลกทั้งใบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว

ในยุคอำนาจทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังเทคโนโลยีสามารถครอบงำโลกได้ทั้งใบ และเป็นที่แจ่มชัดขณะนี้ว่า อำนาจโลกดังกล่าวมีอิทธิพลเหนือรัฐชาติ ได้เข้าแทรกแซงเบียดเสียดทุกพื้นที่ของสังคมที่มีอยู่เดิม เข้าดูดซับความมั่งคั่งจากบรรดารัฐชาติอย่างฝังลึกและซ่อนเร้น ปรากฎการณ์ดังนี้ ทำให้มองได้ว่า ในยุคปัจจุบันเกิดการแบ่งสังคมโลกเป็นเพียงสองขั้วใหญ่ และทำให้คนแยกเป็นสองกลุ่มใหญ่เผชิญหน้ากันอย่างแหลมคมทั้งในขอบเขตปริมณฑลของรัฐในความหมายขอบเขตโลกและรัฐ เกิดแนวคิดสองสภาพ-สองโลก นั่นก็คือ โลกทุนนิยมศูนย์กลางและโลกของทุนนิยมบริวาร

ซึ่งปัจจุบัน เป็นขณะเวลาที่ “อำนาจรัฐ”กำลังเผชิญหน้าต่อการท้าทายของ “อำนาจโลก”อย่างแหลมคม และกำลังทบทวนบทบาท ภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของมันอย่างงวยงง (บางตอนจากหนังสือ"วิกฤติที่ไม่บอกกล่าว THE UNTOLD CRISIS)

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=363068037067121&set=a.126946130679314.9913.100000917839270&type=1&theater

วาทะ ท่านพุทธทาส กับประชาธิปไตย

วาทะ ท่านพุทธทาส กับประชาธิปไตย

" ระบบประชาธิปไตย มันเป็นระบบครองโลกหรือเกี่ยวถึงกันไปหมดทั้งโลก ถ้าว่าระบบนี้มันมืดมิดแล้วก็ ทั้งโลกมันจะมืดมิด แล้วมันก็กำลังมืดมิดเพราะว่าความเป็นประชาธิปไตยมันไม่ค่อยจะมี

ทางประชาธิปไตยนั่นฟ้าสางอย่างไร พูดสั้น ๆ ก็ว่า คือการทำให้ศีลธรรมกลับมาเป็นรากฐานของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยนี้มันดีต่อเมื่อมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ถ้าไม่มีศีลธรรมเป็นรากฐานมันก็เป็นประชาธิปไตยโกง

ประชาธิปไตยโกงนั่นมันร้ายกาจอย่างไร คือประชาชนทั้งหลายไม่มีศีลธรรม แต่ถือระบบประชาธิปไตย มันก็มีโอกาสที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเสรี แต่ละคน ๆ มีเสรีภาพที่จะใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่ แล้วจะทนไหวหรือ ในเมื่อทุกคนใช้กิเลสของตนอย่างเต็มที่

เมื่อประชาชนทุกคนมันไม่มีศีลธรรม มันโกง มันก็เลือกผู้แทนโกง
ระวังให้ดี อย่าเป็นประชาชนโกง เลือกผู้แทนโกง มันจะเป็นการทำลายเกินไป
เมื่อประชาชนเลือกผู้แทนโกง ก็ได้ผู้แทนโกง ผู้แทนโกงทั้งหลายไปประกอบกันเป็นรัฐสภา ก็เป็นรัฐสภาโกง รัฐสภาโกงไปตั้งคณะรัฐบาล ก็เป็นคณะรัฐบาลโกง เจ้าหน้าที่ทุกคนก็เป็นคนโกง โกงกันทั้งบ้านทั้งเมือง จนกระทั่งพระเจ้าพระสงฆ์ก็ไม่เว้น หรือจะโกงขึ้นไปถึงเทวดา เพราะว่าคนโกงมันทำบุญทำกุศลไปเกิดเป็นเทวดา มันก็เป็นเทวดาโกง โกงกันหมดทั้งจักรวาล แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร

ประชาธิปไตยต้องมีศีลธรรมเป็นรากฐาน ไม่อย่างนั้นจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ที่พูดกันว่า ประชาธิปไตยดีกว่าระบบใดนั้น หลับตาพูด คนไทยนับถือฝรั่งเป็นอาจารย์ เมื่อฝรั่งเขาว่าอย่างไร ก็พูดตามกันไปอย่างนั้น ว่าประชาธิปไตยนี้เพื่อประชาชน ของประชาชน โดยประชาชน แต่ลืมพูดไปว่าที่นี่มีศีลธรรม

เมื่อไม่มีศีลธรรมเป็นพื้นฐานแล้ว ระบบประชาธิปไตยนั่นแหละ จะเป็นระบบที่เลวร้ายที่สุด"

นิทานจีนเรื่อง "ถังรั่ว"

อ่านพบนิทานจีนเรื่อง "ถังรั่ว" ทำให้มีกำลังใจค่ะ

ชายชราชาวจีนผู้หนึ่ง มีอาชีพเป็นคนหาบน้ำ ทุกวันเขาต้องไปหาบน้ำที่ลำธาร แต่เมื่อถึงหมู่บ้านถังด้านหนึ่งจะรั่วเหลือน้ำเพียงครึ่งถังเสมอ แต่ชายชรากลับมิเคยปริปากบ่น

เจ้าถังน้ำที่มีรอยรั่ว โทษตัวเองว่าช่างไร้ประโยชน์ ที่ทำให้ชายชราต้องลำบาก ทนแบกหามตัวเองที่รองรับน้ำได้เพียงครึ่งเมื่อถึงบ้านมานานหลายปี

แต่ชายชรากลับพูดว่า.."เจ้าถังน้ำเอ๋ย เจ้าหาได้ไร้ประโยชน์ไม่ หากเจ้าสังเกตสักนิด จะเห็นว่าตลอดทางด้านที่ข้าหาบเจ้าไว้บนบ่านั้น มีดอกไม้งดงามนานานาพันธุ์ขึ้นเต็มไปหมด นั่นเป็นเพราะข้าได้โปรยเม็ดดอกไม้ลงข้างทาง และได้น้ำที่รั่วออกมาจากเจ้าช่วยรดทุกวัน ทำให้ดอกไม้เหล่านั้นเจริญงอกงาม ถ้าหากไม่มีรอยรั่วในตัวเจ้า ข้าคงไม่มีวันได้ชมเชยดอกไม้สวยงามพวกนี้เป็นแน่ จริงไหม?"

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

คาถาลดความอ้วนของพระพุทธเจ้า

ปัญหาสำหรับคนวัยทำงานที่พบบ่อยก็คือปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทุ่มเททำงานจนขาดการดู
แลรักษาร่างกายตามสมควร หนุ่มสาวออฟฟิศหลายคนเมื่ออายุมากขึ้น หน้าท้องที่เคยแบนราบกลับป่องขึ้น สิ่งที่เคยเรียกว่าท้องเปลี่ยนเป็นพุง ลำแขนเล็กเรียวเพรียวงามกลับใหญ่ขึ้นจนมีขนาดปานท่อนขา ไฟท้ายเคยตึงเต่งกลับขยายตัวออกทุกทิศทางอย่างไม่หยุดยั้งเหมือนจักรวาลตามทฤษฎีบิ๊กแบง

การกินมากอ้วนมากย่อมส่งผลต่อชีวิต และอันที่จริงปัญหานี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไรเลย เพราะนับแต่สมัยพุทธกาลปัญหาโรคอ้วนก็ได้มีการบันทึกไว้แล้ว เคยมีคนทูลถามพระพุทธองค์ ซึ่งก็ได้พระราชทาน “คาถาลดความอ้วน” ไว้เสียด้วย

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งสาวัตถี แคว้นโกศล เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อสนทนาธรรม คุยกันไปคุยกันมาพระเจ้าปเสนฯ ได้ตรัสปรึกษาว่าตัวพระองค์เองเป็นพวกช่างกิน เสวยจุบจิบทั้งวันไม่หยุดหย่อน จนร่างกายอ้วนใหญ่ รู้สึกอึดอัด เดินอุ้ยอ้ายไม่คล่องแคล่ว เสด็จไหนนิดหน่อยก็เหนื่อยหอบ กลางวันก็ง่วงเหงาหาวนอน ออกว่าราชการไม่ค่อยไหว

พระพุทธเจ้าจึงทรงเมตตาพระราชทานคาถา (อันแปลว่าบทกลอนท่องบ่น ไม่ใช่หมายถึงคาถาอาคมแนวเดรัจฉานวิชา [ความรู้ที่ขวางการหลุดพ้น] อย่างที่เรามักเข้าใจนะครับ) บทหนึ่งแก่พระเจ้าปเสนฯ ความว่า

มะนุชัสสะ สะทา สตีมะโต มัตตัง ชานะโต ลัทธะโภชะเน
ตะนุกุสสะ ภะวันติ เวทะนา สะณิกัง ชีระติ อายุ ปาละยัง

หลังจากได้คาถามา ก็ทรงดีพระทัยยิ่ง ทุกครั้งเมื่อถึงเวลาเสวย พระเจ้าปเสนฯ จะทรงให้มหาดเล็กคนหนึ่งยืนระวังอยู่ตรงข้างโต๊ะเสวย โดยทรงกำชับว่าหากมหาดเล็กเห็นพระองค์เสวยจนอิ่มแล้ว แต่ยังไม่มีทีท่าที่จะหยุด ก็ให้ท่องคาถาลดความอ้วนที่พระพุทธเจ้าพระราชทานไว้ ออกมาให้ดังๆ เพื่อเตือนสติให้ทรงหยุดเสวย

ผลจากการปฏิบัติตนตามคอร์สไดเอ็ตที่พระเจ้าปเสนฯ ทรงดีไซน์ขึ้นนี้ ก็คือ พระองค์ทรงสามารถลดปริมาณพระกระยาหารที่เสวยต่อมื้อลงได้เรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดก็ทรงลดความพระอ้วนลงไปได้หลายกิโล

จะว่าไปแล้ว การที่พระเจ้าปเสนฯ ทรงลดน้ำหนักได้นั้น ไม่ได้เป็นเพราะผลจากอิทธิฤทธิ์ความขลังของคาถาลดความอ้วนที่รับพระราชทานมาจากพระพุ
ทธองค์หรอกครับ แต่การที่ทรงสามารถระงับพระทัยให้ทรงหยุดเสวยได้เมื่อได้ยินมหาดเล็กท่องคาถาให้ฟัง ก็เพราะทรงได้ฉุกคิดตามเนื้อความในคาถาต่างหาก

ผู้อ่านก็คงอยากทราบแล้วใช่ไหมครับว่า คาถาลดความอ้วนของพระพุทธเจ้ามีเนื้อความว่าอย่างไร ถ้างั้นก็ขอเฉลยเลยแล้วกันนะครับ คาถาข้างบนถอดความได้ว่า

....ผู้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาขณะกินอาหาร จะมีโรคน้อย แก่ช้า และอายุยืน....

เป็นไงครับ ทีนี้ก็คงสว่างกระจ่างใจกันแล้วนะครับ ว่าทำไมพระเจ้าปเสนฯ จึงลดความอ้วนได้สำเร็จ นั่นก็เพราะพระองค์ทรงฟังคาถาออกนั่นเอง

ทุกมื้อ ขณะกำลังเสวยพระกระยาหารอย่างเมามัน หากเริ่มจะมากจนเลยเถิด ก็จะมีเสียงมหาดเล็กลอยเตือนขึ้นมา ทำนองว่าอย่าทรงเหวยมากนะพะย่ะค่ะ ไม่งั้นจะทรงอ้วน สมองไม่แล่น ง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน แล้วจะทรงว่าราชการไม่ได้ผลดี

จะว่าไปแล้ว อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของการเจริญภาวนาจนเกิดปัญญาถึงขั้นหลุดพ้น ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ซึ่งถือเป็น “งาน” สำคัญที่สุดในมุมมองของชาวพุทธ ก็คือ “ความง่วงเหงาหาวนอน” ที่จัดเป็นหนึ่งใน ๕ ของตัวถ่วงความเจริญของจิตใจ (นิวรณ์ ๕) อันประกอบด้วย ความพอใจในกาม ความผูกใจพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอนขณะภาวนา ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญหงุดหงิด และความลังเลสงสัยในประโยชน์ของการภาวนา

หัวใจสำคัญของคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ดูจะหนีไม่พ้นการภาวนาเจริญสติให้รู้อยู่ในปัจจุบันอย่างไม่ประมาท เพราะการมีสติถือว่ามีประโยชน์ทั้งในทางธรรมและทางโลก ไม่ว่ากิจการงานใด หากกระทำไปโดยขาดสติกำกับ ก็อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่องานที่ตนรับผิดชอบ จนถึงต่อองค์กรที่ตนทำงานอยู่ได้ เช่น การขาดสติบันดาลโทสะจนทำร้ายเพื่อนร่วมงาน หรือการขาดสติไม่รู้ถึงความละโมบที่เกิดขึ้นในใจตนจนถึงกับหลงไปยักยอกทรัพย์สินบริษ
ัทมาเป็นของตน

ความมีสติมีคุณในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ บุคคลผู้มีปัญญาย่อมสามารถตักตวงประโยชน์จากความมีสติได้อย่างไม่จำกัด ดังเช่นพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ทรงลดความอ้วนได้ก็เพราะทรงมีสติในบริโภคนั่นเอง สาวๆ ท่านใดสนใจจะนำคาถานี้ไปประกอบการลดน้ำหนักก็เชิญได้เลยนะครับ.....

ที่มา http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/vie...ntID=CNT0004030
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic....f=7&t=18548

เล่นเกมออนไลน์นานๆ ส่งผลให้จิตตกหรือไม่

ถาม - ปัจจุบันนี้มีเกมออนไลน์หลายเกม
ซึ่งมีทั้งภาพและแสงที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
อยากทราบว่าคนที่เล่นเกมแบบนี้นานๆ จะจิตตกไหมคะ


คืออันนี้พูดรวมๆ เลยก็แล้วกัน มันไม่เกี่ยวกับแสงสีหรอก
มันเกี่ยวกับการดึงใจของเราให้ไปอยู่กับอะไรที่มันวุ่นวาย
อะไรที่มันสับสน อะไรที่มันเร็วปุ๊บปั๊บๆ นี่นะ
อยากได้อะไร ผ่านมาผ่านไปอย่างรวดเร็วนะครับ
อะไรแบบนี้เนี่ยมันก่อให้เกิดพายุความฟุ้งซ่านได้ทั้งสิ้น
ไม่จำเป็นต้องเป็นเกมออนไลน์อย่างเดียว
เป็นละครก็ได้ หรือว่าเป็นโฆษณาก็ได้
โฆษณาบางชิ้นนี่ถึงกับถูกแบนเลยนะ
หลังจากที่ออกอากาศไปแล้วมีวูบๆ วาบๆ
แล้วคนดูนี่อาเจียน ถึงกับมาอาเจียน
แบบนี้ก็มีนะ เคยมีมาแล้ว
คือถ้าหากว่าแสงมันจ้าเกินไปแล้วมันกะพริบถี่ๆ
มันทำให้เกิดอาการคลื่นเหียนวิงเวียนหรืออาการวิงเวียนข้างในได้


ทีนี้ประเด็นคือว่าถ้าหากว่าเราจะเอาความเป็นอกุศลของจิตกันจริงๆ
มันต้องการความร่วมมือจากเรา
ไอ้อย่างประเภทที่ เกมออนไลน์ที่ทำให้เกิดภาพเสียงที่ผ่านมาผ่านไปรวดเร็ว
แล้วทำให้วิงเวียนหรือว่าเกิดความฟุ้งซ่านมาก
อันนั้นยังไม่ได้ทำให้เกิดบาป ยังไม่ทำให้เกิดความโลภโมโทสันอะไรขึ้นมาแท้จริง
มันเป็นแค่อกุศลจิตที่เกิดขึ้น
มีความหม่นหมอง มีความรู้สึกที่แย่ๆ เกิดขึ้นเพียงไม่นาน


แต่ถ้าหากอะไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเป็นเกม
อะไรที่เป็นละครก็ได้ อะไรที่เป็นโฆษณาก็ได้
มันสามารถเหนี่ยวนำให้ใจเราสมยอม คิดตาม
คือมีความคิดของตัวเองว่าอยากได้ อยากเอา อยากมีแบบอย่างที่เห็นบ้าง
ยกตัวอย่างเช่นเพลงบางเพลง โฆษณาบางชิ้น
มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าการมีชู้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้อย่างนี้
ปัจจุบันนี่มีเยอะ ไอ้แบบนี้เนี่ย ถ้าเราดูไปบ่อยๆ แล้วมันเกิดความคล้อยตามขึ้นมา
มันไม่มีภูมิคุ้มกัน มันเกิดความเชื่อขึ้นว่าทำแบบนั้นได้
เห็นคนหล่อคนสวยในโฆษณาทำได้ เราก็น่าจะทำได้บ้าง
นี่แหละแบบนี้แหละที่เรียกว่าได้ความร่วมมือจากเรา
มาทำให้เกิดบาปเกิดความจิตตกถาวรจริงๆ นะครับ

ทุกข์เกิดจาก เหตุและปัจจัย

ทุกข์เกิดจาก เหตุและปัจจัย
ทางพระเรียกว่า “อิทัปปัจจยตา”
สิ่งนี้มี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ดับ เพราะสิ่งนี้ดับ
ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันต้องมีเหตุของมัน
มันต้องมีปัจจัยของมัน

ถ้าจะเอาง่ายๆ “ทุกข์เกิดจากใจ”
ชีวิตคนเรา มันต้องมีขึ้นมีลงเป็นธรรมดา
ทำให้ใจสบาย ทำให้ใจเป็นสุข สนุกกับชีวิตเข้าไว้
มองโลกในแง่ดี เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
อย่าไปซีเรียสอะไร ถ้าไม่เชื่อ ลองไปถามลิฟท์ดู
เดี๋ยวก็อยู่ชั้น 20 เดี๋ยวก็อยู่ชั้น 2 ขึ้นๆ ลงๆ ทั้งวัน

“เขาว่าหลงทางเสียเวลา หลงสีกาก็เสียผ้าเหลือง
เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก็จะเปิด
แต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิด
จนไม่ทันเห็นว่า มีอีกบานที่เปิดอยู่”




-------------------------------//////--------พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

เหนือสิ่งอื่นใดคือ...การทดแทนคุณ

เหนือสิ่งอื่นใดคือ...
(การทดแทนคุณ)
แม้ว่าบุคคลใด เอาพ่อแบกไว้
ที่ไหล่ซ้าย เอาแม่แบกไว้ที่
ไหล่ขวา วนรอบเขาพระสุเมรุ
เป็นจำนวนถึงหนึ่งแสนกัป
จนไหล่ทั้งสองข้างบดเนื้อ
เถือกกระดูกแทงกระฉุดถึงไข
ข้อ โลหิตไหลอาบท่วมถึง
ข้อเท้า ก็มิอาจจะทดแทน
พระคุณอันยิ่งใหญ่ของ
บุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด กำลังประสพ
ภัยอดอยาก เพื่อช่วยพ่อแม่
ให้มีชีวิตรอด จึงตัดเอาเนื้อของ
ตนหั่นเป็นชิ้นๆทำเป็นอาหาร
ให้พ่อแม่กินประทังความหิว
ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ จึงควัก
ลูกนัยต์ตาทั้งสองของตนมา
ถวายแด่องค์ตถาคต เอาบุญ
กุศลนี้อุทิศให้พ่อแม่
ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ ใช้มีด
กรีดควักหัวใจของตนเอง
ออกมา กระทั่งเลือดหลั่งไหล
นองท่วมแผ่นดินโดยไม่กลัว
เกรงต่อความเจ็บปวด
ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ ยอมพลี
ตนให้คมศาสตรากรูเข้ามา
ทิ่มแทงทั่วร่างกายานับพัน
หมืนแผล ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ เอาร่าง
กายทุบตีจนข้อกระดูกแตก
แหลกราญ แล้ว รีดไขเป็น
เชื้อไฟจุดประทีบถวาย เบื้อง
หน้าพระปฏิมาเพื่อสักการะ
พระตถาคต ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ เอาร่าง
กายกระโจนเข้าไปในดงไฟ
ร้อนระอุ แผลผุพองแสบร้อน
แสบไหม้จนร่างกายเป็นผุย
ผง ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
แม้ว่าบุคคลใด เพื่อที่จะตอบ
แทนพระคุณพ่อแม่ กลืนกิน
ลูกเหล็กร้อน ไฟผลาญเผา
ทรวงใน ตับ ไต หัวใจ ไส้ พุง
จนประทุ ทะลักออกมา
ทำเช่นนี้เป็นจำนวนหนึ่งแสน
กัปก็มิอาจจะทดแทนพระคุณ
อันยิ่งใหญ่ของบุพการีได้
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤
!บัดนั้น เมื่อชนทั้งหลาย ได้
สดับฟังพระธรรมเทศนา ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจบลง
ต่างรู้สึกรันทดใจในหัวอก
หลั่งน้ำตาด้วยความปวดร้าว
ในดวงใจ...
ร้องไห้คร่ำครวญไม่หยุด
รู้สึกสำนึกต่อ ความผิดบาป
ละอายแก่ใจเป็นยิ่งนัก
เมื่อพิจราณาดูแล้วทุกวิถึทาง
เพื่อกระทำการตอบแทน
จึงได้เปล่งวาจาออกมาพร้อมกัน
กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า " ข้าพระองค์ฯ อันตัวเรา
ทั้งหลายช่างบาปหนักหนา
ทำอย่าไรหนอจึงจะทดแทน
พระคุณแห่งบุพการีได้ ? "
(พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ตอบว่า " มาตรแม้นปรารถนา
ทดแทนพระคุณ จงคัดลอก
พระสูตรเพื่อพ่อแม่ ทั้งสวด
ท่องด้วยจิตศรัทธาแท้ สร้าง
บุญญาอุทิศให้แก่ท่าน จิตบัง
เกิดสำนึกขอขมา ปรนนิบัติ
รับใช้ดูแลท่าน ทำนุพระรัตน
ตรัยถือศีลสมาทาน อีกหมั่น
บริจาคบำเพ็ญกุศลบุญ แม้น
ทำได้เช่นนี้หนาจึงได้
ชื่อว่า บุตรกตัญญู ")
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

.....................................................
เห็นสิ่งใด เอามาคิด พินิจไว้

เพื่อเตือนใจ ตนเอง มิให้หลง

เห็นเขาผิด คิดแก้ตน ให้อาจอง

ใจมั่นคง น้อมมาดู รู้ภายใน

credit : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=37144&sid=b25c1ecd38d046dab70d80763f923820

นิทานเซน - ซื้อกระดูกม้าด้วยเงินพันตำลึง

千(qiān) อ่านว่า เชียน แปลว่า พัน
金(jīn) อ่านว่า จิน แปลว่า ทอง
买(mǎi) อ่านว่า ใหม่ แปลว่า ซื้อ
骨(gǔ) อ่านว่า กู่ แปลว่า กระดูก

ในสมัย 314 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่รัฐเอียนเกิดจลาจลภายใน รัฐฉีจึงถือโอกาสนำกำลังทหารมาบุกโจมตีและยึดดินแดนบางส่วนของรัฐเอียนไป

กระทั่งเมื่อ อ๋องเอียนเจา ขึ้นครองรัฐเอียน ได้ทำการปราบปรามจลาจลภายในจนราบคาบ และให้มีการป่าวประกาศเพื่อรับคนที่มีความรู้ความสามารถทั่วแผ่นดินมาช่วยงานราชการแผ่นดินและเอาดินแดนที่ถูกยึดไปกลับคืนมา ทว่าคนที่มาเข้าร่วมสวามิภักดิ์ต่ออ๋องเอียนเจากลับมีไม่มาก ดังนั้นอ๋องเอียนเจาจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษากับขุนนางคนสนิท นามว่า กัวเหว่ย เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้คนดีมีคุณธรรม-ความสามารถ เข้ามารับใช้แผ่นดิน

เมื่อได้ทราบปัญหา กัวเหว่ยจึงได้เล่าเรื่องราวหนึ่งถวายอ๋องเอียนเจา ดังนี้

"กาลครั้งหนึ่ง มีกษัตริย์ผู้หนึ่งทุ่มเงินหนึ่งพันตำลึงทองเพื่อต้องการซื้อยอดอาชาพันลี้ ทว่าเวลาผ่านไป 3 ปียังมิอาจหาซื้อได้ กษัตริย์ผู้นี้มีข้ารับใช้อยู่ผู้หนึ่งไม่ปรากฏนาม เป็นผู้ขอรับอาสาทำหน้าที่หาซื้อยอดอาชา โดยเขาใช้เวลาจากนั้นตลอด 3 เดือน จึงค่อยสืบเสาะพบว่ามีชาวบ้านบ้านหนึ่งได้เลี้ยงม้าพันธุ์ดีเอาไว้ ทว่าเมื่อไปถึงหน้าประตูบ้านหลังนั้น ม้าตัวดังกล่าวกลับชิงตายไปเสียก่อน ข้ารับใช้ของกษัตริย์จึงนำเงิน 500 ตำลึงทองขอซื้อกระดูกของม้ากลับมา เมื่อกษัตริย์ทราบว่าต้องเสียเงินมากมายเพียงเพื่อได้มาซึ่งกระดูกม้าเปล่า ๆ จึงโมโหเป็นอันมาก ข้ารับใช้คนดังกล่าวจึงรีบชี้แจงว่า "ที่ข้าน้อยทำเช่นนี้ก็เพื่อบอกให้ผู้คนทราบว่า ท่านเป็นกษัตริย์ที่ต้องการซื้อยอดอาชาในราคาสูงด้วยใจจริง มิใช่ต้องการหลอกลวงผู้อื่น" ซึ่งวิธีการนี้ได้ผลดียิ่งนัก เมื่อเวลาผ่านไปอีกไม่ถึงปีก็มีผู้มาเสนอขายยอดอาชาของตนเองให้กับกษัตริย์ผู้นั้นถึง 3 รายด้วยกัน"

เมื่อเล่าจบ กัวเหว่ยจึงกล่าวกับอ๋องเอียนเจาต่อไปว่า "หากท่านอ๋องต้องการที่จะได้ผู้มีความรู้ความสามารถมาช่วยงานแผ่นดินจริงๆ ก็ย่อมต้องทำอย่างกษัตริย์ในเรื่องเล่า โดยทำให้ทุกผู้คนทราบว่าท่านอ๋องมีความตั้งใจจริง อาจเริ่มจากตัวข้าน้อย ซึ่งหากคนทั่วไปทราบว่าแม้แต่คนธรรมดาอย่างข้าน้อย ก็ยังได้รับบทบาทหน้าที่สำคัญในราชสำนัก คนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าข้าน้อยย่อมมีโอกาสยิ่งกว่า ย่อมต้องการมาเข้าร่วมกับท่านอ๋องเอง"

อ๋องเอียนเจาเห็นพ้องกับข้อเสนอของกัวเหว่ย จึงตั้งกัวเหว่ยเป็นที่ปรึกษา ทั้งยังมอบค่าตอบแทนเป็นเงินมหาศาล และรับสั่งให้กัวเหว่ยสร้าง "หอทอง" เพื่อใช้เป็นที่สำหรับรับสมัครผู้มีความรู้ความสามารถ เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปไม่นาน ก็มีผู้คนทยอยมาสมัครเข้ารับราชการอย่างไม่ขาดสาย และแสดงเจตจำนงที่จะช่วยเหลืออ๋องเอียนเจาปกครองบ้านเมือง

เมื่อผ่านความพยายามมากว่า 20 ปี รัฐเอียนจึงได้กล้าแข็งขึ้นจนกระทั่งสามารถรบชนะรัฐฉี นำเอาดินแดนที่ถูกแย่งไปกลับคืนมาได้ในที่สุด

สำนวน "เชียนจินใหม่กู่" หรือ "ซื้อกระดูกด้วยเงินพันตำลึงทอง" ใช้เปรียบเทียบกับการให้ความสำคัญแก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือการทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความสามารถ

ที่มา http://baike.baidu.com

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

มือสอง ช่วยน้องประเทศลาว

มือสอง ช่วยน้องประเทศลาว
...เพราะเราให้ เราจึงหลุดจาก "จน" คนจนเท่านั้นถึงจะรู้รสชาตความจน
...เพราะเราให้ เราจึงสุข หลุดจากทุกข์
...บ้านหลังใหญ่..ไล่ทุกข์ไม่ได้
...เงินแสนล้าน ดับทุกข์ไม่ได้
...รถราคาแพง ละทุกข์ไม่ไ้ด้
.... สิ่งที่ทุกคนต้องเจอ ต้องเจอทุกคน คือ "ทุกข์"
.. สิ่งที่จะช่วยให้ "หลุดพ้นจากทุกข์" ไ้ด้คือ "บุญ"
.. ทาน ศีล ภาวนา..จะทำช่วยให้ ทุกข์มาก เป็นทุกข์น้อย
..ทุกข์นานเป็นทุกข์สั้น..จะช่วยทำให้อยู่กับทุกข์ได้อย่างสุข
....... คุณเริ่มลงทุน เพื่อเป็นรากฐานกับการต่อสู้กับทุกข์ ให้กับตัวเองหรือยัง..





Borworn Baanbc
ความตั้งใจของพระอาจารย์
...ไปบริจาคมือสองช่วยน้องลาวแล้ว...แต่..ความตั้งใจของพระอาจารย์อยากได้เสื้อนักเรียนสีขาวให้เด็กประถม..เพราะเขาไม่มีใส่..
...โรงเรียนนี้เด็กมีแผ่นไม้กระดาน(เขียนแทนสมุด)อยู่ 10 แผ่น มีนักเรียน 50 คน..เวลาเขียนก็ต้อง share แผ่นกระดานกัน..เรื่อง เกิบ เรื่องชุดนักเรียนไม่ต้องพูดถึง "ไม่มี"
...พระอาจารย์บอกว่า ถ้าไม่มีเสื้อนักเรียนสีขาวใส่ไปโรงเรียน..จะเป็นเสื้ออะไรก็ใส่ไปได้...
... เราช่วยโรงเรียนในประเทศไทยหลายที่แล้ว...คราวนี้..แม้มีเงินน้อยนิด..ก็จะเจียดแบ่งซื้อเสื้อสีขาวให้น้องลาวได้ใส่........คน..คน..คนไม่ว่าประเทศไหนก็คนเหมือนกัน..ต้องการโอกาส และการศึกษา พอ ๆ กัน
... ใครที่คิดว่า..บุญจะเกื้อหนุนชีวิต..ก้อเชิญทำบุญกันได้ที่วัดประชานิยม..(พระอาจารย์โบ้)..
.... ใครจะร่วมซื้อเสื้อนักเรียนมือหนึ่ง กับครู...ก็บอกมาได้เด้ออออออ...โอนเงินมาเดี๋ยวจัดการให้....
.. พระอาจารย์บอกว่าสงสารเด็กที่ไม่มีเสื้อผ้า เกิบ ใส่..แล้วมองหน้าเรา เหมือนกะมั่นใจว่าเราไม่เคยสัมผัสพวกนี้...
...ที่จริง เรานี่หละ..ตัวจริง..เสียงจริง...ตอนเด็ก เสื้อตัวเดี่ยวขาดวิ่น..กางเกงขาดดาก..เกิบไม่มีใส่..เดินไปโรงเรียน..เพื่อนทั้งโรงเรียนเขามีกันหมด แต่เราไม่มี..
..อิอิ...วันนี้มีกิน มีใช้..เราก็อยากแบ่งให้..คนที่จนเหมือนเรา...ให้เขาจะได้มีโอกาสทางการศึกษา..เหมือนเรา....เพราะการศึกษาเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
permanent growth must be activated by edducation.




Borworn Baanbc ธนาคารกรุงไทย กาฬสินธุ์ ฝากออมทรัพย์ 404-0-18249-9 ชื่อบัญชี นายบวร ฉายถวิล
15 มีนาคมเวลา 15:37 น.

Borworn Baanbc โรงเรียนนี้..นักเรียนครรึ่งหนึ่งไม่มีโต๊ะเรียน..ต้องนั่งกับพื้น..บางทีนั่งเรียนอยู่..ก็จะีมีวัวควายเดินมาเรียนด้วย..ส่วนฝาห้องหลังคาก็ผุพัง มองทะลุฟ้า..ใครทำบุญกับโรงเรียนนี้คงไ้ด้บุญมโหฬาร แน่นอนเลย...เพราะเหมือนกับเราช่วยคนที่จำเป็นจริง ๆ เงินบาทสองบาท เสื้อผ้าแต่ละผืน จะเป็นประโยชน์เต็ม ๆ ๆ ๆ ๆ ..ใครพอมีเงินเหลือ ร้อยสองร้อย ก็มาช่วยกันเด้อออออออออออ

Borworn Baanbc
ใครอยากทำบุญกับครู เชิญได้ คนละร้อยสองร้อย
รวมพลังกัน สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กลาว เกิบไม่มีใส่ เสื้อขาด กางเกงขาดดาก ..ต้องนั่งเรียนกับพื้น..ใช้ไม้กระดานเขียนแทนกระดาษ
... ลองให้สิ แล้วคุณจะได้......... confirm
ธนาคารกรุงไทย กาฬสินธุ์ ฝากออมทรัพย์ 404-0-18249-9 ชื่อบัญชี นายบวร ฉายถวิล
ถูกใจ · · แชร์ · 15 มีนาคมเวลา 15:59 น.



Borworn Baanbc
ไปบริจาคเสื้อผ้า(รอบสองแล้ว)
ถวายพระอาจารย์โบ้ ผ่านหลวงพ่อวัดประชานิยม
..ต้องการเสื้อ 50 ตัว..ร้านแรก..เงินไม่พอ..ร้านสอง เงินไม่ถึง..ร้านสามต้องสั่งหลายวัน..ร้านสี่เจอคนใจบุญด้วยกันเขาก็เลยยอมลดราคาให้..ก็เลยได้ตามที่ต้องการ..คุยไปคุยมา..ถูกคอกัน เราก็เลยแนะนำตัวว่าเราชื่อบวร อยู่ กพส.
.. แม่ค้าบอกว่า "อ้าววววววว..นี่เบาะ อาจารย์บอ ว้อน.." เค้ย ได้หยิ้น แต ซือ
..แสดงว่าเราชื่อเสียงดัง..อิอิ..แม่ค้าเลยร่วมบริจาคมาอีก 10 ตัว..รวมแล้วได้เสื้อเพื่อช่วยน้อง ๆ ประเทศลาว..จำนวน 60 ตัว ด้วยเงินบริจาคจาก ดร.จักรี คุณหมอฉัตรชัย อ.บวร และแม่ค้าที่ตลาด (ใครที่โอนเงินแล้ว..ครูไม่ได้เอ่ยนาม แจ้งครูด้วย)....พระอาจารย์โบ้จะออกเดินทางไปประเทศลาว เมืองกาสี วันที่ 3 เมย ..ส่วนอาจารย์บวร คงไม่ได้ไปด้วย..เพราะต้องเร่งเขียนบทที่ 2 ต่อไป..
ขอให้ส่วนบุญส่วนกุศลนี้แก่ผู้ที่มีใจบุญทั้งหลายและผู้มีจิตใจงามทั้งหลาย(ที่ร่วมเชียร์)..ได้รับผลบุญกันอย่างถ้วนทั่ว..สุขภาพดี ร่ำรวย ร่ำรวย กันทุก ๆ ๆ คน
สาธุ สาธุ
your life afresh, get wealth..for UUUU all....