นาวาเอกผู้ หนึ่งได้เข้าไปกราบสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากร มหลวงวชิรญาณวงศ์
ซึ่งเคย เป็นพระอุปัชฌาย์เขาเมื่อครั้งบวชที่วัดบวรนิเวศ
หน้าตา ของนาวาเอกดูหม่นหมองและอิดโรย ท่าทางอมทุกข์
สมเด็จฯ จึงรับสั่งถามว่า “เป็นไงมั่งพักนี้?”
“หนักครับ” เขาทูล “ช่วงนี้แย่มากเลยครับ”
“หนัก อะไร” สมเด็จฯ ถาม
แล้วนาวาเอกก็ทูลเล่าถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ประดังประเดเข้ามาทั้งเรื่องชีวิต
เรื่องการงาน เขาบอกว่าตอนนี้จวนจะแบกไม่ไหวแล้ว
จึงมาเฝ้าสมเด็จฯ ขอบารมีเป็นที่พึ่ง
สมเด็จฯ นั่งสักพัก ก็รับสั่งให้เขานั่งคุกเข่าและยื่นมือทั้งสองออกมาข้างหน้า
แล้ว พระองค์ก็หยิบกระดาษชิ้นหนึ่งมาวางบนฝ่ามือทั้งสองของนาวาเอก
จากนั้น พระองค์ก็เสด็จออกไปจากที่ประทับ
พร้อมกับรับสั่งว่า “นั่งอยู่นี่แหล่ะ อย่าขยับหรือไปไหนจนกว่าข้าจะกลับมา
จะเข้าไปข้างในสักประเดี๋ยว” แล้วจึงเสด็จเข้าไป
นาวาเอกนั่งอยู่ในท่าคุกเข่า และประคองกระดาษทั้งสองมืออยู่เป็นเวลานาน ๑๐ นาทีก็แล้ว
๒๐ นาทีก็แล้ว สมเด็จฯ ก็ยังไม่ออกมา
เขา เริ่มเหนื่อย แขนก็เริ่มเมื่อยล้า กระดาษชิ้นเล็ก ๆ
ซึ่งเบาหวิวดูจะ หนักขึ้นเรื่อย ๆ จนเหงื่อเริ่มออก
ในที่สุด สมเด็จฯ ก็เสด็จเข้ามาประทับที่เดิม ทำทีเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สักพักก็มองกระดาษที่มือนาวาเอก แล้วทรงถามว่า “เป็นไง?”
“หนักครับ พระเดชพระคุณ เมื่อยจนจะทนไม่ไหว”
“อ้าว ทำไม ไม่วางมันลงเสียละ?” สมเด็จฯ รับสั่ง
“ก็ ไปยอมให้มันอยู่อย่างนั้น มันก็หนักอยู่อย่างนั้นนะสิ
มันจะเป็นอย่าง อื่นไปได้ยังไง”
กระดาษชิ้นเล็ก ๆ ที่เบาหวิว หากถือไปนาน ๆ เข้า ก็ย่อมกลายเป็นของหนัก
ตรงกันข้าม ก้อนหินก้อนใหญ่ ถ้าไม่ไปแบกหรืออุ้มมัน ก็ไม่รู้สึกหนัก
ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ ชีวิตหรือจิตใจหนักอึ้ง ควรรู้จักปล่อยวางเสียบ้าง
แม้ แต่ของที่มีประโยชน์ เราควรยึดถือก็ต่อเมื่อถึงเวลาใช้งาน
เมื่อใช้ เสร็จ ก็ควรวางลงเสีย นับประสาอะไรกับของที่ไร้ประโยชน์
เช่นความทุกข์ ความห่วงกังวล ยิ่งต้องวางทันที ที่รู้ตัวว่ามาครองใจ
หาไม่แล้วจะกลาย เป็นของหนักจนเอาตัวไม่รอด
ขอบคุณบทความจาก ลานธรรมจักร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น