++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

วันนี้ที่ผมมาบรรยาย สำหรับนักศึกษาปริญญาโททางด้านสาธารณสุขศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเรื่องของนโยบายสาธารณด้านสุขภาพ ซึ่งก็คงจะเน้นในเรื่องของนโยบายในด้านระบบบริการสุขภาพในเรื่องที่กำลัง ดำเนินการกันอยู่ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค และเรื่องนโยบายของการปฏิรูประบบสุขภาพทั้งระบบที่กำลังมีการร่างพระราช บัญญัติสุขภาพแห่งชาติซึ่งกำลังรับฟังความเห็นจากทั้งประเทศ และนอกจากนั้นจะเป็นการปฏิรูประบบราชการที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องระบบสุขภาพ วันนี้ที่ตั้งในมาพูดให้กับนักศึกษาที่นี่ฟัง เพราะเห็นว่าการที่ทำให้ผู้ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคนที่กำลังศึกษาในเรื่องของนโยบายสาธารณะน่าจะเป็นประโยชน์ที่เรา สามารถที่จะสร้างบุคลากรที่มีความสามารถที่จะช่วยคิดค้น คิดต่อยอด เพื่อช่วยให้นโยบายของรัฐบาลได้มีคนเข้ามาสนใจ ใส่ใจปรับปรุงนโยบายให้ดียิ่งขึ้น

คำกล่าวในพิธีเปิดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ของคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 24 มิถุนายน 2545

...... การที่มีการศึกษาด้านสาธารณสุขอย่างลึกซึ้งซึ่งจะช่วยให้มีความสามารถ เตรียมรับกับการปฏิรูปทั้งหลายที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างน่าตื่นใจในปีที่ ผ่านมา ปีนี้ และปีหน้านั้น ก็คงจะต้องมีการทำความเข้าใจนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพ ในส่วนของทั้งภาคของประชาชนและภาคของเอกชน เพื่อที่เราจะสามารถเข้าใจ และศึกษาต่อยอด ผมขอชื่นชมนิสิตทุกท่านที่สามารถมาอยู่ในจุดนี้และทุกท่านซึ่งเป็นนิสิต รุ่นแรกของหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต เพราะฉะนั้นจึงตั้งความหวังว่า ทุกท่านจะได้ศึกษาเพิ่มเติมและเก็บรับองค์ความรู้ทั้งหมดเพื่อที่จะได้ไปทำ หน้าที่ในการที่จะช่วยกันพัฒนาระบบสุขภาพต่อไปในอนาคต และเชื่อว่า ทุกท่านที่ได้เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกท่านจะได้เรียน พากเพียร ขยันค้นคว้า คิดนอกกรอบเพื่อที่จะให้พวกเราสามารถเรียนรู้และเป็นผู้มีความมุ่งมั่นใน การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนเวลาที่เราออกไปทำหน้าที่การงานในอนาคต ขณะนี้ก็ได้เวลาอันสมควรแล้วกระผมขอเปิดการสัมมนาวิชาการด้านนโยบาย สาธารณสุข ณ บัดนี้

=============

ก่อนอื่นคงต้องพูดนิดหน่อยว่าที่มาบรรยายในวันนี้ ทุกท่านคงทราบเรื่องที่รัฐบาลดำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นใจแก่ทุกคนได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตามทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเป็นหลักประกันที่รัฐได้ให้กับเขาไว้ ในการที่จะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าระบบบริการสุขภาพที่เป็นอยู่ในอดีตที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่กำลัง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆนั้นยังเป็นระบบบริการสุขภาพที่มีปัญหาทั้งระบบ การที่จะทำความเข้าใจศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อการปฏิรูปครั้งใหญ่นั้นจึง เป็นเรื่องที่จำเป็น การที่เราจำเป็นต้องเร่งพัฒนาองค์ความรู้เพื่อที่จะหาทางออกที่สำคัญให้กับ ประเทศชาติ จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพากันเรียกร้องกันตลอดในช่วงที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาสารคามอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นอีกที่หนึ่งที่ได้เริ่มต้นพัฒนา ระบบเครือข่ายของร้านขายยาที่เชื่อมต่อกับระบบบริการสุขภาพในสถานพยาบาล และมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ ผมเข้าใจเป็นที่แรกและเป็นที่เดียวในปัจจุบันนี้ ผมถือว่านี่คือคณูปการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และโรงพยาบาลมหาสารคาม

สิ่งที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ เราสามารถคาดการณ์ได้หรือไม่ว่าวันต่อไปจะเป็นอย่างไร โลกที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เราสามารถที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตได้ยากขึ้นเรื่อยๆ บางคนถึงขนาดบอกกันว่า ถนนเส้นที่เรากำลังขับรถกันมาตลอดด้วยทางที่ราบเรียบอาจจะลาดยาง ถนนที่เห็นอยู่ตรงหน้าเราไม่สามารถบอกได้เลยว่า เส้นทางที่อยู่ข้างหน้าจะเป็นเส้นทางแบบไหน มีอุปสรรค มีปัญหามากน้อยเพียงใด เรื่องที่เกิดขึ้นทุกบริบท ไม่ใช่เฉพาะเรื่องทางสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงหลายๆเรื่อง เป็นยุคที่เราจะทำนายการเปลี่ยนแปลงของอนาคตได้ยากขึ้น มีนักจัดการท่านหนึ่งเคยบอกว่า เมื่อก่อนนี้เราทำนายว่า 5 ปี 10 ปี จะมีแนวโน้มอย่างไร บริษัทธุรกิจสามารถเตรียมแผนสำหรับ 5 ปี 10 ปี ข้างหน้าได้ ว่าจะเป็นอย่างไร มันเปรียบเสมือนกับการที่เราขับรถไปยังเส้นทางข้างหน้า แต่แทนที่เราจะมองไปยังข้างหน้า เรากลับมองไปยังกระจกหลัง ดูเส้นทางที่ผ่านมา แล้วถามต่อไปถึงเส้นทางข้างหน้า (อนาคตข้างหน้า) ทุกคนมักจะคิดว่าทางข้างหน้าจะเหมือนกับเส้นทางที่ผ่านมาแล้ว แต่ในโลกยุคศตวรรษนี้ มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว หลายๆเรื่องมันได้พลิกความคาดหมายในทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเรื่องธุรกิจ ด้านไอที- สารสนเทศ เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้วใครบอกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจด้านไอทีจะตกต่ำ กลุ่ม AOL ซึ่งไปรวมธุรกิจกับ Time Warner ซึ่งตอนนั้นหุ้น AOL สูงกว่า TimeWarner มาก และก็คิดกันว่า AOL อุ้ม Timewarner แต่กลายเป็นว่าในยุคนี้ Timewarner กลับต้องมาอุ้ม AOL แม้แต่หุ้นของมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก บิลเกตแห่งไมโครซอฟต์ในปีที่ผ่านมามูลค่าหุ้นก็ตกลงไปเยอะ แต่เมื่อ 3 ปีที่แล้วไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้น เรื่องอื่นก็เช่นกันในทุกๆเรื่อง เพราะฉะนั้นในยุคนี้ เปรียบเสมือนถนนที่วิ่งมาก็หยุดลงเฉยๆและทำนายไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เพราะฉะนั้นในฐานะของคนที่บริหารจัดการไม่ว่าจะอยู่ในภาคไหนก็ตามไม่ว่าจะ ทางด้านสาธารณสุข ด้านมหาวิทยาลัยหรือทางด้านเศรษฐกิจ ีทุกอย่างต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาปรับตัว เราต้องมีทั้งข้อมูลและต้องมีทั้งวิสัยทัศน์ การที่จะมีทั้งข้อมูลได้สิ่งที่สำคัญคือ เราจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ฟังดูเหมือนกับจะง่าย แต่ระบบสาธารณสุขเป็นระบบที่ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลที่มีอยู่ในประเทศของเรา มันมีปัญหามาก การตัดสินใจในอดัตที่ผ่านมา ต่อเนื่องไปจนถึงอนาคต ถ้าหากเราไม่ระแวดระวังสงสัยในข้อมูล อาจจะทำให้เราตัดสินใจผิดได้ ผมยกตัวอย่างเรื่องข้อมูลสาธารณสุขทั่วๆไป ข้อมูลด้านประชาชน ประชากรไทยมีกี่คน ผมถาม ณ วันนี้ประชากรไทยมีกี่คนไม่มีใครตอบได้แน่นอน บางคนบอก 61 บางคนบอก 62 บางคนบอก 63 ล้านคน ถ้าเราไปเปิดเวบไซต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะบอกไว้เลยว่า ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์เขามีประชาชนอเมริกันอยู่กี่คน แต่วันนี้ไม่รู้จะไปหาที่ไหนว่าประชาชนไทยมีอยู่กี่คนกันแน่ เพราะว่าระบบฐานข้อมูลของเรามีปัญหามาก พูดอย่างนี้เกี่ยวกับประชากร 60 ล้านคนดูกว้างไป.. เอามันแคบกว่านั้นได้ไหม เอาแคบกว่านั้น ทุกวันนี้ถ้าถามว่าข้าราชการไทยมีกี่คน ก็ตอบไม่ได้ด้วย ทุกวันนี้ที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการทุกๆเดือน ท่านเชื่อไหมครับ กรมบัญชีกลางไม่มีรายชื่อข้าราชการทั้งระบบอยู่ในมือ งั้นเมื่อเราออกบัตรทองให้ ข้าราชการบางคนจึงได้รับบัตรทองด้วย และเรามาคิดต่อว่างั้นญาติข้าราชการที่เป็น สามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูกจะได้รับบัตรทองเช่นเดียวกัน เพราะว่าไม่มีหน่วยงานใดเลยที่เป็นหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลข้าราชการทั้งหมด และตอบไม่ได้ด้วยว่าข้าราชการมีกี่คน ตอนนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลเองต้องลงไปสำรวจทุกๆหน่วยงานว่าหน่วยงาน ของคุณมีใครบ้างชื่ออะไรบ้าง เริ่มต้นมาประมาณเดือนตุลาคม 2544 จนป่านนี้ยังสำรวจไม่จบ เพราะมีหน่วยงานอยู่ประมาณ 7-8 หน่วยงานที่จนป่านนี่ยังส่งรายชื่อข้าราชการในหน่วยงานของตัวเองไม่ได้ และบางหน่วยงานมีข้าราชการอยู่ในหน่วยงานนั้นหลายแสนคน ที่คือตัวอย่างของเราที่หากจะวางแผนทำอะไรต่อไป ก็ไม่รู้ว่าจะวางแผนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ พอพูดถึงเรื่องนักโทษที่ห้องขัง ผมไปเยี่ยมกรมราชทัณฑ์ นักโทษต้องขังมีอยู่ประมาณ 250,000 คน แต่ท่านเชื่อไหมครับมีอยู่ประมาณ 150,000 คนที่ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 150,000 คนนี้ไม่รู้ว่าชื่อที่บอก เป็นชื่อจริงหรือชื่อเท็จ 150,000 คนที่ว่า ผมถามอธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า เป็นคนเดียวกับคนที่ถูกพิพากษาจำคุกท่านตอบว่า ท่านก็ไม่แน่ใจ นี่แหละครับคือเรื่องง่ายๆของระบบข้อมูลของเรา เอาแค่เรื่องง่ายๆเรื่องระบบข้อมูลประชาชน เอาข้อมูลลงลึกในเรื่องสาธารณสุข ทุกวันนี้สถิติการตาย การตายอันดับ 1 เป็นโรคนั้นโรคนี้ ผมเคยเรียกหน่วยงานโรงพยาบาลหนึ่งมาถาม ก็จะบอกว่าสถิติการตายอันดับหนึ่งคือ โรคหัวใจ และเมื่อผมไปเยี่ยมสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติบอกว่าสถิติการตายอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง.. ตกลง คนไทยตายอันดับหนึ่งจากโรคอะไรกันแน่ มีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งทำการวิจัยว่าตายเพราะอะไร โดยสอบถามจากญาติพี่น้องโทรไปสอบถามว่าตายเพราะอะไร งานวิจัยนี้พบว่าคนไทยตายอันดับหนึ่งคือตายจากโรคเอดส์ นี่คือตัวอย่างความน่าเชือถือของข้อมูลทั้งหมดมีน้อยมาก ประเด็นต่อไป สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นมันเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นๆ เราจำเป็นต้องละทิ้งกรอบความเชื่อแบบเดิม ที่เคยมีมาทั้งหมดพร้อมที่จะยอมรับเปลี่ยนแปลง คิดนอกกรอบ เพราะสิ่งที่เคยใช้ในอดีต อาจจะใช้ต่อไปไม่ได้ในอนาคตอีกต่อไปแล้ว มีอีกหลายๆเรื่องที่ตอนนี้มันท้าทายความคิดนอกกรอบมากขึ้นเรื่องๆ เช่น บทบาทของเภสัชกรในอนาคต ปัญหาเรื่อง พรบ.ยาที่เป็นเรื่องความขัดแย้งในวิชาชีพ หรือเรื่อง PCU ที่อยากให้มีแพทย์ไปประจำใน PCU นี่เป็นตัวอย่างการคิดนอกกรอบที่เป็นการเรียกร้องความต้องการต่างๆที่น่า เกิดขึ้นในอนาคต ในเรื่องการวางแผนคน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีการคุยเรืองการวางแผนบุคลากรที่จะมาเรียนต่อ เดิมมีการคุยกันว่า กรอบของโรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง ควรจะต้องมีแพทย์สาขานั้น สาขานี้จำนวนกี่คน โรงพยาบาลมากกว่า 300 เตียงควรจะมีแพทย์สาขานั้นสาขานี้เท่าไหร่ นี่เป็นการตั้งก รอบเอาไว้ตามกำลังคน สิ่งที่เราคิดเช่นนี้จะถูกต้องก็ต่อเมื่อขนาดของโรงพยาบาลได้ถูกกระจาย อย่างเหมาะสมแล้ว จึงจะสามารถระบุได้ว่าจะเอาจำนวนของบุคลากรไปผูกพันกับขนาดเตียงของโรง พยาบาล แต่ถ้าสมมติฐานตรงนี้ผิด มันก็จะติดต่อกันเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ งั้นต้องย้อนกลับมาดูว่า การสร้างโรงพยาบาล มันแปรผันไปตามความต้องการของประชากรในพื้นที่หรือเปล่า ซึ่งพอฟังแล้ว ไม่ใช่ อันนี้มีแนวคิดที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เราเรียกกันว่า GIS - Geographic Information System นำเอาข้อมูลต่างๆมาจับและพล็อตกระจายไปตามพื้นที่ ทำให้เราเห็นสภาพของปัญหาที่ใดหนักที่ใดเบา เราสามารถอ้างได้ว่าปัญหานั้นเป็นอย่างไร ถ้าเราเอาประชาชนที่ตามข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ซึ่ง....แน่นอนจำนวนที่มีอยู่อาจจะผิดไปบ้าง แต่เอาเท่าที่มีอยู่ในพื้นที่มาพล๊อตดูก็จะรู้ว่า บางจังหวัดนี้มีคนอยู่ 2 ล้านกว่าคน แต่ขณะที่บางจังหวัดในภาคกลางมีคนอยู่ 2 แสนกว่าคน แต่บางจังหวัดที่มีคนอยู่ 2 ล้านกว่าคน นับดูจำนวนโรงพยาบาลแล้วพบว่าจำนวนเตียงมีอยู่น้อยมาก อย่างท่านผู้ช่วยเลขาผม นายแพทย์พรมินทร์ ตรีอินทรประเสริฐท่านมาจากอำเภอหนึ่งในศรีสะเกษ มีประชากร 2 แสนคน เกือบเท่าจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง โรงพยาบาลมีเตียง 90 เตียงดูแลคน 2 แสนคน แต่ในจังหวัดภาคกลาง บางจังหวัดมี 2 แสนคน มีเตียงดูแลผู้ป่วยอยู่ตรงนั้นประมาณ 400 กว่าเตียง มันชี้ให้เห็นว่าการวางแผนนี้มองให้เห็นถึงลักษณะการกระจายให้เหมาะสมตาม ความต้องการตามกำลังคน ดังนั้นการวางแผนคนต้องมาคิดนอกกรอบ ทำตามแนวเดิมไม่ได้ต้องมาตั้งกันใหม่ว่าโรงพยาบาลที่มีอยู่เปรียบเทียบกับ คนที่มีอยู่แล้ว คนที่มีอยู่ต้องการหมอจำนวนเท่าไหร่ให้ไปตามจำนวนคน งั้นนี้คือจุดใหญ่ว่า เราจะคิดแบบเดิม หรือคิดเพื่ออนาคต..ทีนี้ก็จะขอกล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งผลกระทบต่อ ไปในอนาคต.. มาถึงเรื่องนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทที่เกริ่นในช่วงแรก ผมจะพูดว่ากำลังจะทำอะไรกันบ้าง อาจจะไม่ลงลึกมาก ไว้เปิดให้ทุกท่านได้ถามในช่วงท้ายๆ อยากให้ท่านำได้ลองถาม หรือได้ฝักคิดดูว่าประเด็นใดบ้างที่ควรจะคิดต่อไปได้อีก เรื่อง 30 บาท ถ้าจะคิดเพียง แค่ว่าทุกคนได้บัตรไป ถึงเวลาก็มารักษาพยาบาลและก็จ่ายเพียงแค่ 30 บาท ออกบัตรไป 1 ใบอันนั้นคิดง่ายครับ เหมือนในกรณีที่เราคิดกันแค่ว่า ออกบัตร สปร. รัฐจ่ายให้หัวละ 270 บาท จ่ายไปแล้วถึงเวลาโรงพยาบาลก็ไปตามบัตรเอา ไม่ได้มีการปฏิรูปไม่ได้มีอะไรชัดเจน สิ่งที่โรงพยาบาลทำได้ก็คือว่าได้หัวแค่นี้ เพราะฉะนั้นจะให้โรงพยาบาลอยู่รอดได้ก็ต้องเก็บเงินจากคนที่ไม่มีบัตร สปร. ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ใช่ประกันสังคม อยู่ๆเดินเข้ามารักษาพยาบาล แล้วจ่ายเงินเองนี่ก็ต้องเรียกเก็บเงินจากคนเหล่านั้นมากขึ้น เพื่อพยุงฐานะโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการดูแลคนถือบัตร สปร.ที่รัฐจ่ายให้หัวละ 270 บาท เพราะทุกวันนี้บอกว่าให้หัวละ 1202 บาทยังบอกว่า ไม่พอ 1202 ถ้าหักเงินเดือนไปแล้วนี่อย่างน้อยก็ต้อง 5-600 บาท ยังบอกไม่พอ แต่เมื่อก่อนหัวละ 270 บาทบอกว่าพอได้อย่างไร ก็เพราะว่าเราไปชักจากสวัสดิการข้างราชการบ้าง ชักจากคนที่เดินเข้ามาเสียเงินเองบ้าง เพื่อที่จะให้โรงพยาบาลอยู่รอดได้ โรงพยาบาลก็อยู่รอดได้จริงๆ จึงเป็นเหตุให้เงินสวัสดิการข้าราชการต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เงินสวัสดิการข้าราชการในอดีต ถ้าผมจำไม่ผิด ประมาณปี 2533 มีแค่ประมาณ 3 พันกว่าล้านบาทเท่านั้นเอง พอมาถึงปี 2538 ขึ้นมาประมาณเกือบ 8 พันล้าน พอ 2543 ขึ้นมาประมาณเกือบ 1หมื่น 6 พันล้านบาท เฉลี่ยแล้วทุก 5 ปี เพิ่มขึ้นเท่าตัว ปีที่ผ่านมาตั้งไว้ 1 หมื่น 8 พันล้าน กรมบัญชีกลางที่ได้ดูแลสวัสดิการข้าราชการเองถึงได้บอกว่า ไม่ไหวแล้ว ทุกวันนี้ระบบสวัสดิการข้าราชการ รักษา 1 พัน แต่เรียกเก็บ 2 พันเพราะเอาเงินไปช่วยเหลือโรงพยาบาลในการที่จะให้อยู่รอดได้ เพราะเก็บได้จากบัตร สปร. แค่ 270 บาท งั้นกรมบัญชีกลางก็จะปฏิรูประบบการเก็บเงินเช่นกัน เริ่มต้นจากการทำระบบ DRGs ที่เริ่มทำตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าหากรัฐบาลชุดนี้จะทำแบบนี้บ้าง ให้หัวละ 30 บาท แล้วโรงพยาบาลจะอยู่ได้หรือ เมื่อเดินเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล จะไม่จ่ายเงินอีกแล้ว มันไม่มีแหล่งเงินที่จะไปสนับสนุนอีกแล้ว งั้นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นคืออะไร ก็จะต้องกลับมามองย้อนการบริหารจัดการของโรงพยาบาลว่า อะไรที่เราเคยทำแล้วมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการ ก็ต้องเริ่มมองเห็นและแก้กันให้เสร็จ เริ่มต้นกันจากจุดแรกๆ พูดกันเรื่องเงินพอ เงินไม่พอ คำถามแรกก็คอืว่า ระบบการเงินบัญชีในปัจจุบันนี้ มันเอื้ออำนวยมั้ยที่จะให้ผู้บริหารรู้ว่าเงินพอหรือไม่พอ ท่านที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล ท่านคงพอตอบได้ ว่าแต่ละปีโรงพยาบาลของเรา ทำงบดุลหรือเปล่า แต่ละปีเรามีการทำบัญชีรับจ่ายและวิเคราะห์ต้นทุนกันทุกเดือนหรือเปล่า เพราะคำว่าวิเคราะห์ต้นทุนนี่ยังมีความเข้าใจกันที่คาดเคลื่อนพอสมควร อย่างผมไปเยี่ยม PCU แห่งหนึ่งแถวภาคเหนือ มีคนถามว่า มีผู้ป่วยมารับบริการที่สถานีอนามัยนี่ เขาบอกว่าต้นทุนการรักษาผู้ป่วยที่เป็นหวัดนี้ตกประมาณ 70 บาท ผมถามว่า 70 บาท คือ ต้นทุน หรือการเสียโอกาสในการเก็บเงิน ซึ่งคนละอย่างกัน ถ้าหาก 70 บาทคือการเสียโอกาสในการเก็บเงิน หมายความว่า เมื่อก่อนนี้ คนๆนี้เป็นหวัด และให้ยาอย่างนี่เราเรียกเก็บ 70 บาท แต่ตอนนี้เราเรียกเก็บไม่ได้เพรามีบัตรทอง ในโครงการ 30 บาทแล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ นั่นคือเราเสียโอกาสในการเก็บเงิน 70 บาทจากเขา แต่ต้นทุนอาจจะไม่ใช่ ต้นทุนอาจจะวิเคราะห์ว่าถ้าค่าตอบแทนในการดูแลผู้ป่วย 1 คนที่มาเป็นหวัดและมารักษากับเรานั้นเป็นเท่าไหร่ ต้นทุนพาราเซตามอล 1 เม็ด เท่าไหร่ คูณเข้าไป ต้นทุนของยาอื่นเท่าไหร่คูณเข้าไป อาจจะออกมาเหลือแค่ประมาณ 30 กว่าบาทเท่านั้น เพราะฉะนั้น 30 บาทกับ 70 บาท คนละอย่างกันแล้ว อย่างที่ผ่านมาเราเข้าใจกันมาตลอดว่า 70 บาท คือต้นทุน ผมไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแถวภาคกลางเช่นกัน ก็มานำเสนอว่ารายจ่ายคือเท่านี้ รายรับคือเท่านี้ รายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะฉะนั้นเงินมีปัญหา ผมถามว่ารายจ่ายคือต้นทุน หรือค่าเสียโอกาส ผลลัพธ์ก็คือค่าเสียโอกาสหรือที่เรียกว่า Charge นั่นคือประเด็นที่เราจะต้องกลับมานั่งดูกันว่าระบบบัญชีการเงินในโรงพยาบาล ขณะนี้ของเรานี่มันรองรับที่จะช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ไหม ทุกวันนี้เรายังทำ Course report เป็นไหม ทุกวันนี้ผู้บริหารรู้ไหมครับว่าต้นทุนแต่ละที่เป็นเท่าไหร่กันแน่ และต้นทุนเท่าไหร่ที่ไหนมันเกินและจะพัฒนาประสิทธิภาพได้อย่างไรผมไปดูงาน ที่โรงพยาบาลที่อเมริกา ทุกๆปีเขาจะส่ง Course report ให้ แต่ของเรายังทำไม่ได้ เพราะระบบการเงินบัญชีทุกวันนี้ทำไว้เพื่อให้ สตง.ตรวจ ระบบของเราไม่ได้ทำไว้เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ เพราะฉะนั้นงานนี้จะต้องมีการปฏิรูประบบการเงินบัญชีครั้งใหญ่ กำลังมีการพัฒนาบุคลากรสายพิเศษ ที่เราเรียกว่า CFO Chief financial officer เพื่อที่จะให้เป็นคนที่วิเคราะห์ทางด้านการเงิน เป็นมือขวาให้กับผู้บริหารโรงพยาบาล ให้เข้าในนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ เพื่อให้การบริหารการเงินการบัญชีของโรงพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ก็จำเป็นจะต้องมี CFO เช่นกัน แต่นี่เป็นเพียงก้าวแรกๆ เรื่องการเงินการบัญชีจึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำกันต่อไป ก็ไปถึงอีกหลายๆเรื่อง ตั้งแต่เรื่องระบบคุณภาพของโรงพยาบาลและเรื่องของ HA ซึ่งก็ต้องมีการตั้งเป้าหมายกันให้ชัดเจนว่าอยากให้โรงพยาบาลทุกแห่งมี HA กันภายใน 5 ปี HA เริ่มต้นเมื่อปี 2539 ในปี 2545 พึ่งมี HA เพียงแค่ 40 กว่าแห่ง เราไปได้ช้ามาก โรงพยาบาลทั้งระบบมีเกือบกว่า 1000 แห่ง ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนว่าเราต้องการให้โรงพยาบาลต่างๆเข้า สู่ HA ในระยะเวลาเท่าไหร่ ดังนั้นเราจึงบอกว่า ภายใน 5 ปี น่าจะต้องมี HA มาถึงเรื่องใหญ่ การปฏิรูปร้านยา ไม่ใช่มีเพียงเรื่องการจัดซื้อยาที่มีปัญหากันไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แน่นอนเรื่องระบบการจัดซื้อยาให้โปร่งใสให้มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดขึ้น แต่ว่าในเรื่องการวิเคราะห์การใช้ยา เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น บริษัทยาข้ามชาติกำลังประสบปัญหา เพราะว่าการเติบโตกำลังลดลงเรื่อยๆ และก็บอกว่า โครงการ 30 บาททำเสีย ซึ่งหากโครงการ 30 บาททำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผมจะมีความสุขมากที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เพราะคนไทยควรจะเลิกใช้ยาแพง โดยที่รู้สึกว่ายาแพง ดี ยาถูกไม่ดี เพราะเราถูกหลอก ถูกทำให้เชื่ออย่างนั่นมานานแล้ว ไม่ใช่เฉพาะประชาชน แม้แต่คนในวงการสาธารณสุขเอง เราก็เคยเชื่อเช่นนั้น และทุกวันนี้ก็ยังคงเชื่อเช่นนั้น จะเชื่อด้วยบริสุทธิ์ใจหรือเชื่อด้วยหวั่นวิตกก็ตาม ผมยกตัวอย่าง ยารักษาวัณโรคตัวหนึ่ง ซึ่งอาจารย์ทางด้านวัณโรคที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทยก็เล่าให้ฟัง ยานี้ที่เข้ามาในประเทศไทย เข้าใจว่าเมื่อ 20 ปีก่อน 1 เม็ด ราคา 20 บาท อยู่ๆก็มีบริษัทผลิตยานี้ขึ้นมาในประเทศ จดสิทธิบัตรแล้ววางขาย ราคาไม่ถึง 10 บาท บริษัทยาข้ามชาติ ก็นำเข้า Proffessor ชื่อดัง มาเดินสายไปตามคณะแพทย์และโรงพยาาลต่างๆ มาบอกว่ายาของบริษัทที่ผลิตในประเทศไม่ได้ผลหรอก ต้องใช้ยาที่มียี่ห้อของเขา เพราะกินยาถูกๆก็ไม่สามารถจะรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้สามารถหายได้ คนในวงการก็เชื่อและยังคงใช้ยานี้มาตลอด จนกระทั่งมีการวิจัยชิ้นที่สอง เปรียบเทียบผลการใช้ยานั้น ทั้งในแง่ห้องทดลอง ทั้งในแง่การรักษาผู้ป่วยทางคลีนิค และวิจัยออกมาแล้วพบว่า ความแตกต่างของยาทั้งในแง่ของการกระจายตัว และทั้งในแง่ของการรักษาผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ พองานวิจัยชิ้นนั้นตีพิมพ์ปั๊บภายในช่วงระยะเวลาอันสั้น ยาที่เม็ดราคาเม็ด 20 บาท ลดลงมาเหลือ 10 บาท เท่าตัว คนในวงการและเรามีความตั้งใจที่จะเลือกใช้ยาอย่างฉลาด ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อยาแพง มาซื้อยาที่ผลิตในประเทศไทยดีกว่า หรือถ้าเป็นยาต้านไวรัสเอดส์ พวก ARV ก็เหมือนกัน ถ้าท่านไปเปิดดูข้อมูล ยา ARV ในอเมริกา ขายแพงกว่าประเทศไทยอีก และยา ARV แบรนเนมที่ขายไนประเทศไทย แพงกว่าที่ขายในประเทศแอฟริกา นี่คือต้นทุนหรือเปล่า ไม่ใช่นะ.. มันขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์กำลังซื้อของคนในประเทศนั้น พฤติกรรมการกินยา ปฏิกิริยาของผู้ซื้อในประเทศนั้นคิดอย่างไร ต่อยาที่จะวางขายในท้องตลาด ถ้าการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคบอกว่า ยาดี ต้องแพง ถ้าตั้งราคาถูกจะทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกรับรู้อยู่ในใจว่ายาถูก มันจะไม่ดี เขาก็จะไม่ตั้งราคาถูก แต่ในแอฟริกา กำลังซื้อของผู้บริโภคไม่มากพอ ราคายาของที่แอฟริกาจึงได้ถูกกว่าในประเทศไทย ARV ในประเทศไทย ในประมาณ 1 ปีก่อนตกเดือนนึงประมาณ หมื่นกว่าบาท มีบางบริษัทเสนอให้กับกรมควบคุมโรคติดต่อว่านี่นะ เสนอให้ราคาพิเศษเลย ฉะนั้นจึงคิดว่ากรมควบคุมโรคติดต่อให้ยาฟรีกับผู้ป่วย เพราะซื้อมาในราคา 5000 กว่าบาท แต่ถ้าผู้ป่วยเดินเข้าไปซื้อเอง เขาจะไม่ขายให้ในราคานี้ จะขายให้ในราคาหมื่นกว่าบาท องค์การเภสัชกรรม ผลิตยา ARV สูตรค๊อคเทล ยังไม่ครบทุกสูตร ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมขายในราคาไม่ถึง 2 พันบาท สุดท้ายตอนนี้ยา ARV ของบริษัทข้ามชาติขายน้อยลงไปเรื่อยๆ นี่คือตัวอย่างว่า เอาแค่เรื่องยาง่ายๆแค่นี้เอง มีเรื่องอีกเยอะที่ผ่านมาที่ถูกทำให้เชื่อว่าสิ่งที่เราทำน่ะดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันจึงมีเรื่องที่เราจะต้องตั้งคำถามเสมอว่า ที่เราทำอยู่นี้ดีแล้วหรือยัง จริงๆแล้วมันเป็นแค่ความเคยชิน เป็นแค่ความเชื่อ การปฏิรูปในเรื่องของระบบการจัดซื้อยา ปฏิรูปพฤติกรรมการบริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเรื่องนี้จะต้องถูกกล่าวถึงไปจนอีกสักระยะหนึ่งไปจนถึงจะมีงานวิจัย หรือมีนักวิชาการออกมาพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นโครงการ 30 บาทจึงมักจะพูดถึงอยู่เสมอว่า ให้ยาไม่ดี เพราะเมื่อก่อนเคยได้ยานี้ แต่ตอนนี้ เปลี่ยนเม็ดยาหลัก เปลี่ยนสียาหลัก เปลี่ยนยี่ห้อยาหลัก แต่คนที่พูดไม่ใช่ผู้ป่วย ผู้ป่วยจริงๆ คือผู้ป่วยที่ไม่มีทางเลือกจริงๆ และในอดีตเขาไม่สามารถเข้าถึงยาได้ว่าเอาไปกินแล้วก็หาย มีการวิจัยว่าผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลว่ายาที่ได้รับดีขึ้นหรือ ไม่ มีเพียงแค่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าแย่ลง คงต้องติดตามกันต่อไป มาถึงเรื่องอื่นที่จะต้องทำการปฏิรูป คือระบบสารสนเทศ ผมว่ามี major สารสนเทศในที่นี้ คงจะต้องฝากว่าท่านจะได้ช่วยวิเคราะห์เรื่องระบบสารสนเทศในวงการสาธารณสุขว่าเราจะทำกันอย่างไร ระบบสารสนเทศของแพทย์หรือของสาธารณสุขคงไม่สามารถจะแยกเป็นอิสระกับระบบสารสนเทศของ ประเทศ ท่านคงได้ยินคำว่า E-government และนี่เป็นทิศทางที่สำคัญที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เราพูดในตอนแรก เราจะได้แก้กันเสียทีว่า ตกลงตอนนี้ประชาชนไทยกี่คนกันแน่ เพราะว่าระบบของการสำรวจจำนวนประชากรบ้าง ระบบการขึ้นทะเบียนเกิดทะเบียนตายในอดีต ผมก็ยอมรับว่า มันมีเรืองที่ไม่ชอบมาพากลอยู่ แต่เราก็คิดว่า ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างมันเข้าถึงข้อมูลอย่างโปร่งใส เรื่องไม่ชอบมาพากลนั้นก็จะต้องหมดไป อย่างเช่น บางคนตายไปแล้ว แต่เลขประจำตัว 13 หลักยังอยู่ ชื่อยังอยู่ แต่เปลี่ยนตัวคนไปแล้วนี่ มีการสวมทะเบียนเกิดขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลของประชาชน ในอนาคตรัฐบาลจะทำบัตรที่เราเรียกว่า e-citizen card ก็จะคล้ายๆกับ smart card ของกระทรวงแรงงาน นี่เป็นเรื่องที่มีการพูดกัน แต่เราไม่อยากให้กระทรวงมหาดไทยก็มี card นึง เป็นการ์ดของบัตรประชาชน กระทรวงแรงงานก็มีอีก card นึงที่เป็นบัตรประกันสังคม กระทรวงสาธารณสุขก็มาทำอีก card นึง ไม่ใช่ ในอนาคตประชาชนจะถือเพียงบัตรเดียว และในนั้นจะมีข้อมลทั้งหมด โดยอิงจากบัตรประชาชน กระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกบัตรทั้งหมดแล้วทุกๆกระทรวงก็จะ มาเชื่อมโยงข้อมูลกัน บัตรนี้เมื่อไปติดต่อกับราชการ เมื่อรูดบัตรแล้วสิ่งที่แสดงออกมาคือ 1 รูปถ่าย ตรงมั้ย ดังนั้นบัตรประชาชนจะมีรูปหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่เวลา access ข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วควรจะต้องมีรูปถ่าย มีชื่อ ที่อยู่จริงด้วย อนาคตโรงพยาบาลอาจจะเป็นหน่วยงานหนึ่งที่จะขึ้นทะเบียนที่อยู่ให้ด้วยก็ได้ เพราะว่าเมือมีการย้ายสถานพยาบาล มีการแจ้งที่อยู่ใหม่จะสามารถ Update ตรงกับข้อมูลจริง บอกได้ว่า ทำงานที่ไหน มีประกันสุขภาพระบบไหนบ้าง โรงพยาบาลอะไร กรุ๊ปเลือดไหน มีบัตรไดบ้าง ฯลฯ นี่คือตัวอย่าง เพราะฉะนั้นเมื่อมีระบบ e-citizen ทุกๆกระทรวงก็๋จะมีระบบที่เชื่อมต่อเข้ากับโครงข่าย ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่เรากระทำอยู่ก็คือว่า จะต้องมีโครงข่ายในระดับชาติ ที่เชื่อมโยงถึงเครือข่ายในระดับของโรงพยาบาลทุกๆแห่งในช่วงต้นและต่อไปเรา จะลงลึกกันให้มากกว่านั้น เมื่อประชาชนมาใช้บริการก็สามารถที่จะรูดบัตรและยืนยันได้ว่าตัวเขาเป็นผู้ มาใช้บริการที่โรงพยาบาล ถ้าเกิดอุบัติเหตุที่ไหนก็๋ตาม เช่น อยู่ที่กรุงเทพ ไปเกิดเหตุที่เชียงใหม่ เมื่อทำการรักษาแล้วก็มั่นใจได้ว่า เรียกเก็บเงินที่โรงพยาบาลเลิดสินได้ และถ้าระบบเราสมบูรณ์อยากจะให้สามารถเรียกเก็บเงินผ่านระบบออนไลน์กลับมา ที่เชียงใหม่ได้เช่นกัน และถ้าผู้ป่วยอยากจะไปที่ใหม่ ก็เพียงแต่รูดการ์ดระบบก็จะขึ้นทะเบียนให้อัตโนมัติ เงินงบประมาณรายหัวก็จะกระจายไปตามระบบ ถ้าหากวันนี้เราอยากจะรู้สถิติว่าวันนี้มีคนเป็นไข้เลือดออกกี่คน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ระบบโครงข่ายควรจะสามารถรวบรวมระบบข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโครงข่ายนี้ ทั้งหมด หรือถ้าวันนี้อยากจะรู้ว่ามีคนมา OPD ทั้งประเทศกี่คน ในวันที่ 20 มิถุนายน ก็บอกได้ว่าวันนี้มีมากี่คนทั่วประเทศในระบบโครงข่าย แต่ระบบโครงข่ายนี้อาจจะยังไม่สามารถครบถ้วนในโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ก็คงจะต้องมีการพัฒนาโครงข่ายในทุกๆแห่งต่อไปในอนาคต พูดง่ายแต่ทำยาก ตอนนี้ มันเป็นช่วงของการวางระบบที่เป็นแผนแม่บท กำลังจะเริ่มมีการเขียนโปรแกรม จัดซื้อฮาร์ดแวร์บางส่วน มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายทั่วประเทศในระบบอินเตอร์เนต คงต้องใช้เวลา ในเรื่องการพัฒนาโครงข่ายนี้ถ้าหลายท่านต้องการเรียนรู้ ต้องการเข้ามาช่วยก็เข้ามาได้ ยังเรียกร้องให้ทุกๆท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยผลักดันเครือข่ายสารสนเทศต่อ ไป เรื่อง 30 บาทขอกล่าวเพียงเท่านี้ก่อน เอาไว้เผื่อท่านมีข้อสงสัยในรายละเอียดปลีกย่อย.... ขอไปเรื่องที่สอง เรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมาก และก็มักจะเกิดความสับสนว่า การร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ กับการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นการร่างกฏหมายฉบับ เดียวกันซึ่งไม่ใช่ ขณะนี้กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นการพูดถึงหลักเกี่ยวกับการ บริหารจัดการสุขภาพ อยู่ในขั้นตอนของวุฒิสภาแล้ว ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ด้วยเสียงเอกฉันท์ ไม่มีแม้แต่เสียงเดียวไม่เห็นด้วย ผมจำได้ว่าตอนที่โหวตนี่ก็ 300 กว่าเสียงและไม่มีผู้คัดค้านเลย พอมาถึงขั้นวุฒิสภา วุฒิสภารับหลักการในวาระที่ 1 ไปแล้วด้วยคะแนนเสียง 111 ที่ผมจำได้เพราะตัวเลขสวย และไม่มีผู้คัดค้านแม้แต่เสียงเดียวเช่นเดียวกัน ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภาและคาดว่า พ.ย.นี้จะจบ สำหรับร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติที่ท่านจะได้เห็นโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ ฉบับต่างๆ ว่าเราจะทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นต่างๆจากทั่วประเทศในช่วงระยะเดือน ถึงสองเดือนนี้นะครับ เป็นร่างที่เป็นแผนแม่บทของระบบสุขภาพทั้งระบบและพูดได้ว่าวิสัยทัศน์ตรง นี้คือ ทำอย่างไรให้มีการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งทำควบคู่กัน ซึ่งทุกท่านคงเข้าใจ และจะมีการกล่าวว่า โครงการ 30 บาทเป็นการซ่อมสุขภาพอย่างเดียวที่รัฐบาลกำลังดำเนินการซึ่งผมบอกว่า ไม่ใช่ นั่นคือก้าวแรก ถ้าเราจะให้มีการปฏิรูประบบการสร้างสุขภาพ แน่นอนเราก็จะต้องไม่ทำให้คนที่มีปัญหาอยู่ถูกละทิ้งไป และต้องสามารถแก้ปัญหาคนเจ็บป่วยที่ถูกละทิ้งไว้เบื้องหลังให้ได้ ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้ทิศทางการสร้างสุขภาพเป็นจริงได้ การสร้างสุขภาพ เราพูดกันมามากพอสมควร แต่ว่าการสร้างสุขภาพที่ชัดเจนเป็นเนื้อเป็นหนังเนี่ย มีน้อยมาก เรื่องที่เรารณรงค์กันอย่างมาก เช่นเรื่องการไม่สูบบุหรี่ จนถึงปัจจุบันเค้า comment ว่า ในส่วนของผู้ชายลดลงก็จริง แต่ในส่วนของผู้หญิงในส่วนของเด็กกลับเพิ่มขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่ากระบวนการต่างๆที่ใช้ในการรณรงค์ไม่น่าจะเพียงพอ มันต้องมีกระบวนการอะไรที่มากกว่านั้น เรื่องโรคเรื้อรังที่เคยพูดกันบ่อยๆ โรคอุจจาระร่วง โรคเบาหวาน โรคความดันก็ยังเพิ่มขึ้น โรคติดต่อที่ควรจะป้องกันได้ โรคไข้เลือดออกที่เริ่มระบาดในประเทศไทยเมื่อปี 2501จนถึงขณะนี้ 44 ปีเต็มก็ยังคงมีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นระยะๆอยู่ตลอดมา แล้วเราบอกว่าจะป้องกันโรคเพื่อสร้างสุขภาพ คงไม่ใช่แค่กฏหมายฉบับเดียวที่จะเป็นแผนแม่บทที่จะทำให้เกิดการสร้างสุขภาพ เพิ่มขึ้น แต่ผมก็เข้าใจว่า การตั้งกฏหมายขึ้นมาฉบับหนึ่งโดยที่ระดมความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่นั้น สิ่งที่สำคัญมากกว่าจะเป็นกฏหมายออกมาจากสภา คือ ทำอย่างไรให้คนส่วนใหญ่มีส่วนในการระดมความเห็นครั้งใหญ่ รวมถึงการสร้างความเข้าใจในเรื่องสุขภาพให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ก็ต้องเรียนว่าคนที่สนใจในการสร้างสุขภาพก็ยังเป็นคนส่วนน้อยในสังคม อยู่นั่นเอง เป็นคนกลุ่มที่มีการศึกษา เป็นคนชั้นกลาง เป็นปัญญาชน ทุกวันนี้ที่มาออกกำลังกายเต้นแอโรบิค รำไทเก็กที่สวนลุมหรือตามสวนประชาคมต่างๆทั่วประเทศเป็นคนที่ไม่ใช่กลุ่มคน ส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งยังคงปากกัดตีนถีบหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาจะมาใส่ใจเรื่องการสร้างสุขภาพ ดังนั้นการร่างพระราชบัญญัติคงเป็นคำตอบส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร ผมเรียนตรงนี้ว่าขณะนี้รัฐบาลหาคำตอบที่สมบูรณ์ยังไม่เจอ ไม่เหมือนเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เรารู้ว่ามีปัญหาอะไรแล้วเมื่อ เราปฏิรูประบบแล้วมันควรจะดีขึ้น แต่ทุกวันนี้ ถามจริงๆเรื่องสร้างสุขภาพ ทำไมคนจึงไม่ยอมเลิกบุหรี่ มีสาเหตุปัจจัยหลักอะไรบ้าง อะไรเป็นสาเหตุหลักสาเหตุรอง แล้วเรามีกระบวนการวิจัยว่าจะทำให้คนเลิกบุหรี่วิธีไหน การวิจัยแบบนี้ยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงพรรณามาก ว่าคนสูบบุหรี่เท่าไหร่ กลุ่มอายุเท่าไหร่ เท่านั้นเอง แต่การวิจัยที่เปลี่ยนพฤติกรรมมีค่อนข้างน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าความฝันมันจะเกิดขึ้นไม่ได้ มีบางประเทศในแถบสแกนดิเนเวียเริ่มประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างสุข ภาพอย่างชัดเจน 2 ปีที่ผ่านมางบประมาณด้านสุขภาพ หรือรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศนั้นลดลงมาเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นมันคงชี้ให้เห็นได้ว่ามันมีบางประเทศ ที่สังคมวัฒนธรรมของเขามีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพซึ่งก็คงจะต้อง พูดถึงกันต่อ แต่ว่ามันมีลู่ทางที่น่าจะทำได้ แม้แต่ในสังคมอเมริกันก็ตาม สังคมอเมริกันเป็นสังคมที่เงินเป็นใหญ่หรือสังคมของธุรกิจก็ตาม ขณะนี้สังคมอเมริกันเริ่มเปลี่ยนแนวคิดไปแล้ว มีนักเศรษฐศาสตรซึ่งเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีอเมริกา 2 คน เขียนคาดการณ์ไว้อย่างชัดเจนและยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศอเมริกาที่ นั่นที่นี่ก็ว่ากันไป แล้วบอกให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า Health Insurance กำลังลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ สิ่งที่จะมาทดแานในอนาคตเรียกว่า wellness insurance คือจะเป็นระบบที่ทำให้คนเจ็บป่วยคิดว่าเมื่อตนเองเจ็บป่วยจะเลิกใช้เงิน ประกันตรงนี้ แต่จะเป็นระบบประกันที่คนจะขอให้ตัวเองให้เข้าสู่ระบบของการสร้างสุขภาพ และมีการเสนอให้ลดภาษีสำหรับคนที่ซื้อประกันในการสร้างสุขภาพ นี่ก็เป็นเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นและอย่างที่ว่าสังคมอเมริกันมองทุกอย่าง เป็นเรื่องของธุรกิจ เขาบอกว่าเรื่องของการสร้างสุขภาพอะไรก็ตาม สิ่งที่จะตามมาก็จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดมหาศาล เขาใช้คำว่า trillian dollar เป็นล้านล้านดอลลาร์ ยกตัวอย่างเรื่องน้ำเต้าหู้ที่เราดื่มทุกเช้า ธุรกิจนมถั่วเหลืองในสังคมอเมริกันกลายเป็นธุรกิจที่มียอดขายหลายร้อยล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นความรู้สึกในการสร้างสุขภาพ เป็นเรื่องที่สังคมยุคใหม่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้น แน่นอนสังคมไทยในอนาคตก็คงจะได้รับอิทธิพลจากสังคมโลกตามลำดับ ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นเป็นระยะๆอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องชีวจิต แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับการออกกำลังกายต่างๆ แต่ทั้งหลายทั้งปวงยังอยู่ในคนกลุ่มเล็กๆ และยังคงรอการท้าทายการพิสูจน์ว่าได้ผลจริงๆหรือไม่ และทำอย่างไรที่จะให้คนกลุ่มใหญ่ ทำอย่างไรจะทำให้สถานพยาบาลในอนาคตเริ่มมองเห็นทิศทางเหล่านี้สำคัญมากขึ้น ในอนาคต ผมเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้าคนรุ่นใหม่จะพยายามเรียกร้องให้ตนเองไม่ป่วยแทน การเรียกร้องที่ว่า เมื่อป่วยจะต้องไปรักษาที่ไหน ดังนั้นการปฏิรูประบบสุขภาพที่กำลังจะตามมา ในช่วง 1-2 ปีแรกคงยังไม่เห็นผลกระทบอะไรอย่างชัดเจนมากนัก แต่เรื่องนี้จะมีผลกระทบในทศวรรษหน้า และพวกเราจะมีส่วนเข้าไปร่วมสร้างองค์ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน เพื่อให้เกิดคณูปการที่สำคัญครับ เรื่องที่สามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือการปกิรูประ บบราชการ นั่นก็คือการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงทบวงกรม นโยบายการปฏิรูประบบราชการจะทำให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้าง ที่แต่เดิมมีโครงสร้างที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายพอสมควร ให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น การปฏิรูปกรมกองที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อจัดระบบให้เหมาะสม และมีเจ้าภาพของงานชิ้นนั้นที่ชัดเจน ที่ไหนอยู่ที่ที่ไม่ควรอยู่ก็แก้ไขใหม่

ส่วนหนึ่งจากการบรรยายในรายวิชา นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ 24 มิถุนายน 2545 เวลา 9.30-11.30 น. ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2547

พบวิธีใหม่ตรวจเลือดแม่ หาลักษณะปัญญาอ่อนลูก

วารสารการแพทย์แลนเซ็ทของอังกฤษ รายงานผลการวิจัยเบื้องต้นของทีมนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้หน่วยถ่ายพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของทารกที่พบในเลือดของแม่ มาตรวจหาลักษณะอาการปัญญาอ่อนหรือ ดาวน์ ซินโดรม ของลูกในท้องได้สำเร็จแล้ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกออกมา กลายเป็นคนปัญญาอ่อนสูง

ใน ปัจจุบัน วิธีตรวจสอบอาการปัญญาอ่อนของทารกในครรภ์ จะอาศัยวิธี "แอมนิโอเซนทีซิสิ" (Am-niocentesis) โดยใช้เข็มจิ้มดูดของเหลว จากถุงน้ำคร่ำในท้องแม่มาตรวจ แต่บางรายแม่อุ้มท้องมาหลายเดือนแล้ว ทำให้แทบไม่มีเวลาตัดสินใจทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวเตือนว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไป ที่จะด่วนสรุปว่า จะสามารถนำวิธีการใหม่นี้ ไปใช้แทนวิธีการเดิม และเสนอให้มีการทดสอบกลุ่มใหญ่กว่านี้ เพื่อประเมินผลความแม่นยำ ในการวินิจฉัยของวิธีตรวจสอบแบบล่าสุด

"ปัสสาวะวัว" ทางเลือกใหม่เพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

ปัจจุบันการใช้สารเคมีสังเคราะห์เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในระบบ เกษตรกรรม ได้สร้างปัญหามากมาย ต่อเกษตรกรผู้ใช้เอง ผู้บริโภค รวมถึงระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการศึกษาและนำผลผลิตจากธรรมชาติ เช่น สารจากพืช และสัตว์ ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมศัตรูพืชมาใช้ทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เหล่านี้ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมสูงกว่า

ในประเทศศรีลังกา ได้มีการนำปัสสาวะวัวมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลเป็นที่น่าพอใจ พบว่า ในแมลงศัตรูพืช ปัสสาวะวัวสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับเพลี้ยแป้ง แมลงอื่นๆ ที่เป็นศัตรูกับถั่วต่างๆ แตง กะหล่ำ ผักโขม มะเขือเทศ และกระเจี๊ยบ รวมถึงการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ และไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปัสสาวะวัวยังสามารถใช้ควบคุมไวรัสได้ เช่น โรคใบหงิกของพริก และโรคใบด่างในพริก และมะเขือเทศอีกด้วย

ในการนำปัสสาวะวัวมาใช้ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ จะต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการเก็บปัสสาวะวัว ในประเทศศรีลังกาจะเลี้ยงวัวบนพื้นคอนกรีต ซึ่งมีรางน้ำต่อไปยังถัง โดยถังมีขนาด 0.75x 1.35 เมตร จะสามารถเก็บปัสสาวะของวัว 3 ตัวได้อย่างเพียงพอ ปัสสาวะที่ถูกเก็บรวบรวมได้จะถูกตั้งทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ ซึ่งพบว่า ระหว่างการเก็บนั้น แสงแดดไม่ได้ทำให้ปัสสาวะวัวเสื่อมประสิทธิภาพลงแต่อย่างใด

Peries (1986) แนะนำให้ละลายปัสสาวะวัว 1 ส่วนในน้ำ 6 ส่วน แต่อย่างไรก็ตามอัตราส่วนที่เหมาะสมนั้น เกษตรกรควรจะเป็นผู้ทดลองเอง นอกจากนี้ Peries ยังพบว่ามีพืชหลายชนิด เช่น ขมิ้น สะเดา และยาสูบ สามารถนำมาผสมกับปัสสาวะวัว ใช้ฉีดพ่นเป็นประจำ สามารถป้องกันและลดจำนวนศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมนั้น เกษตรกรสามารถทดลองสารดังกล่าวที่ความเข้มข้นต่างๆกันกับพืชจำนวนหนึ่ง และอาจทดสอบได้โดยการดมกลิ่นซึ่งมักจะมีกลิ่นไม่ฉุนนัก

Rankin (1986) ได้ทดลองผสมปัสสาวะวัว 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน ในการฉีดพ่นพบว่าส่วนผสมนี้ สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ 60% และหนอนเจาะสมอฝ้าย 10% สำหรับปัสสาวะล้วนๆ พบว่า สามารถใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ 95% หนอนต่างๆ 67% และไร 83% แต่เนื่องจากปัสสาวะวัวเข้มข้นมากเกินไปอาจทำความเสียหายต่อพืชได้ จึงแนะนำให้ใช้ส่วนผสมของปัสสาวะ 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน

การนำปัสสาวะมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์นี้ นับเป็นการนำเอาของเสียจากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ น่าสนใจมาก อีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงอีกด้วย นับเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี สังเคราะห์ในการเกษตร

โดยคุณ : พรรณีกา อัตตนนท์

เด็กผู้ชายอ่อนแอกว่าผู้หญิง

Reuters - การวิจัยบอกว่าเด็กผู้ชายอ่อนแอกว่าเด็กผู้หญิงตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์แล้ว และพ่อแม่ควรจะปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างระมัดระวังกว่าที่เป็นี


เซ บาสเตียน แครเมอร์ ที่ปรึกษาทางจิตที่ ทาวิสต๊อกแอนด์พอร์ทแมน เนชั่นแนล เฮลท์เซอร์วิส ทรัส ในประเทศอังกฤษกล่าวว่า ผู้คนยังไม่สนใจกับความเสียเปรียบทางชีววิทยาและสังคมที่เพศที่ควรจะเข้ม แข็งกว่าต้องเผชิญ
"ทัศนคติก็ยังคงมีว่าเด็กผู้ชายควรจะเข้มแข็งกว่า หน่อย" แครเมอร์กล่า จากการศึกษาของเขา ตัวอ่อนเด็กชายในครรภ์มารดา มีความเสี่ยงที่จะตายหรือเสียหายมากกว่า และพอถึงตอนคลอด เด็กผู้ชายก็จะพัฒนาช้ากว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 4-6
สัปดาห์
โดยปกติแล้วเด็กผู้ชายจะมีปัญหาทางจิตมากกว่าเด็กผู้หญิงในช่วงถูกเลี้ยงมาตอนแรก
ๆ และต้องการความเอาใจใส่มากกว่า ทำให้พวกเขาอ่อนแอต่อการเลี้ยงดูไม่ดี

จอพีซีมีสารกระตุ้นภูมิแพ้

ชี้สารเคมีจากจอคอม พิวเตอร์อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ทั้งนี้ จากผล
การศึกษาของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์มในสวีเดนซึ่งตีพิมพ์ลงใน
วารสารเอนไวรอนเมนทัล ไซนซ์ แอนด์ เทคโนโลยีฉบับวันจันทร์ที่ผ่านมา

ตัวการที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้คือ สารประกอบทางเคมีที่มีชื่อว่า
"triphenyl phosphate" ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์
เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านทาน ความร้อนแต่ขณะเดียวกัน สารตัวนี้ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาของโรคภูมิแพ้ อาทิ คัน
คัดจมูก และปวดศีรษะ จากการเปิดเผยของคอนนี่ ออสต์แมน ซึ่งเป็น ผู้เขียนหลักของรายงาน
ฉบับนี้ระบุว่า สารเคมีดังกล่าวจะแพร่ออกมาเมื่อจอภาพร้อนขึ้น

"เราเริ่มพุ่งความสนใจไปที่สารเคมีชนิดนี้หลังจากพิสูจน์ได้ว่าสารเคมีนี้
เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และจากข้อเท็จจริงที่ว่าพนักงาน
จำนวนมากในสวีเดนมีปัญหาสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานกับ
คอมพิวเตอร์" ออสต์แมนกล่าวและ ว่าคอมพิวเตอร์อาจเป็นต้นเหตุสำคัญที่แพร่
กระจายสารเคมีที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ โดยเฉพาะสถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด
ดังนั้น การระบายอากาศที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ผลการวิจัยยังพบว่า มีคอมพิวเตอร์ถึง 10 ยี่ห้อ ใน 18 ยี่ห้อที่ทำการ
ทดสอบ มีระดับของสารเคมี triphenyl phosphate สูงมาก


ผู้จัดการรายวัน