++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548

เราประเมินตัวเองสูงเกินไปรึเปล่า?

โดยปกติคนเราจะเห็นตัวเองเป็นคนอ่อนโยน ใจดี และสวย หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าคนทั่วไป การศึกษาชิ้นใหม่บอกว่า คนพวกนี้กำลังหลอกตัวเอง
นักวิจัยเห็นตรงกันว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนส่วนใหญ่เห็นว่าตัวเองเป็นคนดีกว่าคนอื่น คำถามหนึ่งก็คือ คนพวกนี้ประเมินคนอื่นต่ำ หรือว่าเขาประเมินตัวเองสูงเกินไปกันแน่ การศึกษาใหม่ 4 ชิ้น ของนักศึกษามหาวิทยาลัยคอร์แนลรายงานว่าเป็นอย่างหลัง

"คนส่วนใหญ่ประเมินตัวเองสูงเกินไป แต่ประเมินคนอื่นได้ค่อนข้างถูกต้อง" เดวิด ดันนิ่ง ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอิทาคากล่าว

ในการทดสอบหลายครั้ง ดันนิ่งและผู้ร่วมวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ทำได้ดีในการทำนายว่าเพื่อนร่วมชั้นจะทำตัวแบบไม่เห็นแก่ตัวหรือเปล่า แต่พวกเขาสร้างภาพไม่เหมือนจริงให้กับตัวเอง ตัวอย่างเช่น ให้นักศึกษาทำนายว่าพวกเขาจะซื้อดอกไม่อย่างน้อยหนึ่งดอกเพื่อการกุศลหรือเปล่า และให้ทำนายเปอร์เซ็นต์ที่เพื่อน ๆ ที่จะบริจาคด้วย

83% บอกว่าพวกเขาจะซื้อดอกไม้ และโดยเฉลี่ยแล้วจะประมาณเพื่อนต่ำกว่า นักศึกษาบอกว่า เพื่อนร่วมชั้น 56% จะบริจาคเงินเพื่อการกุศล แต่เมื่อถึงเวลาบริจาคจริง มีนักศึกษาที่บอกว่าจะซื้อดอกไม้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ทำอย่างนั้นจริง แต่ตัวเลขที่ทำนายเกี่ยวกับเพื่อนร่วมชั้นไว้ค่อนข้างจะตรง ซึ่งรูปแบบนี้เป็นเหมือนกันในการศึกษาทั้งสี่

ดันนิ่งอธิบายว่า เวลาที่ต้องเดาว่าคนอื่นจะทำอะไร คนมักจะใช้สิ่งที่เขาสังเกตคนทั่วไปโดยเฉลี่ยมาตัดสินใจ แต่เวลาประเมินตัวเองแล้ว พวกเขามักจะ "ปั่นเรื่อง" เพื่อหาข้อแก้ตัวให้เรื่องไม่ดีของตัวเองในอดีต และเน้นไปที่เรื่องดี ๆ ที่ตัวเองได้ทำ
โดยคุณ : Reuters Health

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2548

เรียนรู้สู้ได้

จาก HOW TO BE TWICE AS SMART
โดย สก๊อตต์ วิทท์

โลกเรานั้น ชื่นชมในบุคคลที่มีความสามารถ ในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและตอบแทนผลรางวัลให้ด้วย
photo บุคคลผู้มีหน้าที่ตัดสินใจ จะจับตามองบุคคลที่สามารถหยิบจับงานชิ้นใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว และถือว่าบุคคลผู้นั้น เป็นผู้ที่มีหัวก้าวหน้า เหมาะสมแก่การที่จะมอบโอกาสให้
ความเป็นจริง 2 ประการ ในการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
  1. แม้ว่า การเรียนรู้อย่างรวดเร็ว จะเท่าเทียมกับการมีไอคิวสูง แต่การวัดพลังสมอง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ระดับของไอคิว มีความสำคัญน้อยกว่าการที่คุณนำมันออกมาใช้
  2. จะต้องถือว่า คุณเป็นบุคคลที่โชคดีอย่างยิ่ง ถ้าจะมีใครสักคนคอยช่วยแนะแนวทางให้ เพราะคุณจะต้องใช้เวลานานเป็นปี ในการฝึกฝนตนเองกว่าจะเรียนรู้เทคนิคในการเรียนรู้อย่างเร็ว ซึ่งมีอยู่ในเอกสารหน้านี้แล้ว
เมือคุณกำลังอ่านเอกสารหน้านี้อยู่ คุณย่อมนับตัวเองว่า เป็นผู้โชคดีได้ในทันที เพราะคุณกำลังจะได้รับการชี้แนะแนวทาง ซึ่งบุคคลอื่นจะต้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ กว่าจะเรียนรู้เทคนิคนี้ได้ หลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาแล้วนี้ สามารถจะทำให้ใครก็ตาม ได้รับความรู้ความชำนาญ ในช่วงเวลาอันสั้นกว่าที่คาดหมายไว้

อะไรคือเทคนิคการเรียนเร็วซึ่งมีประสิทธิภาพที่สุด? ต่อไปนี้ เป็นบางประการ ที่คุณจะได้พบในเอกสารชิ้นนี้
  1. การฝึกสมองให้มีความคล่องแคล่ว
  2. การนำตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
  3. การเรียนรู้วิธีการตั้งโปรแกรม
  4. การคิดประดิษฐ์วิชาชวเลขขึ้นใช้ส่วนตัว
  5. เพิ่มพูนสมาธิ

การฝึกสมองให้คล่องแคล่ว - เทคนิคที่เรียนรู้ได้ในทันที


นักกรีฑา นักเล่นหมากรุก ผู้บริหาร นักศึกษา และบุคคลในทุกวงการ ล้วนแล้วแต่แสวงหาความเป็นเลิศในกิจกรรมที่ตนประกอบอยู่ต่อกันทั้งสิ้น แล้วเขาเหล่านั้นทำอย่างไร?

เมื่อใดก็ตาม ที่เขาจะต้องเรียนวิชาที่ต้องการการฝึกหัดหรือจะต้องซักซ้อมอยู่เสมอ เขาจะใช้พลังสมองเข้ามาช่วย ผมจะอธิบายถึงการฝึกพลังสมอง ด้วยการเล่าเรื่องของทีมโบว์ลิ่งทีมหนึ่งให้คุณฟัง

บุคคลในทีมนี้ มีความสงสัยว่า พลังสมองจะช่วยให้แต้มในการโยนลูกของพวกเขาเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ จึงตัดสินใจว่า จะต้องทดลองดู ด้วยการแบ่งสมาชิกในทีมออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม เอ. ทุกคนในกลุ่มจะซ้อมโยนโบว์ลิ่ง วันละครึ่งชั่วโมง เป็นเวลาทั้งสิ้น 20 วัน และจะมีการจดแต้มการโยนในวันแรก กับวันสุดท้ายของการซ้อมไว้
กลุ่ม บี. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มนี้ จะโยนเฉพาะในวันแรก กับวันที่ 20 ของการซ้อม ซึ่งจะมีการจดแต้มลงไว้เช่นกัน แต่ตลอด 19 วันที่เหลือนั้น พวกเขาจะไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแค่จะอุทิศเวลาวันละครึ่งชั่วโมง ซักซ้อมการโยนโบว์ลิ่งทางสมอง โดยจะต้องมองให้เห็นภาพตนเอง ปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมทีมในกลุ่ม เอ. รวมทั้งจะต้องสร้างความรู้สึก ในการโยนทั้งมวล ให้บังเกิดขึ้นในจิตใจด้วย
กลุ่ม ซี. สมาชิกทุกคนในกลุ่มนี้ จะโยนโบว์ลิ่งในวันแรกกับวันที่ 20 เช่นกัน เพียงแต่ว่าอีก 19 วันที่เหลือนั้น คนกลุ่มนี้ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น (ไม่ว่าทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ และมีการจดแต้มลงไว้เช่นกัน

ผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมาก็คือ
  • กลุ่ม เอ. ซึ่งมีการฝึกซ้อมโดยตลอดวันๆละครึ่งชั่วโมง เป็นเวลา 20 วัน สามารถปรับปรุงความสามารถในการทำแต้มเพิ่มขึ้น 23 เปอร์เซ็นต์
  • กลุ่ม บี. ซึ่งมีการฝึกซ้อมทางสมอง (หรือทางจิต) อยู่ตลอดเวลา 19 วัน สามารถปรับปรุงความสามารถในการทำแต้ม เพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์
  • กลุ่ม ซี. ซึ่งมิได้มีการฝึกซ้อมเลย มิได้มีแต้มเพิ่มขึ้น
จากการนี้ ทำให้นักโยนโบว์ลิ่งทีมนี้ ได้ค้นพบความจริงประการหนึ่งว่า ในขณะที่การซ้อมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มการทำแต้มให้กับตนเองนั้น มันไม่จำเป็นจะต้องมีการฝึกซ้อมทางกายเสมอไป ซึ่งหมายถึงว่า ไม่ว่าจะเป็นการฝึกซ้อมทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ ก็สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวเองได้ทั้งสิ้น

แต่คุณก็อาจจะกังขาว่า "แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร สำหรับการฝึกซ้อมทางสมอง หรือทางจิตใจนั่น ถ้ามันจะมีผลเพียงแค่การเพิ่มประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมทางร่างกาย ก็แล้วทำไมเราจึงไม่ปฏิบัติของจริงกันเสียเลยเล่า?"

photoประโยชน์ของการนี้อยู่ตรงที่ว่า การฝึกซ้อมทางสมองนั้น คุณสามารถทำได้มากกว่า เพราะคุณจะทำที่ไหนก็ได้ เช่น
  • ขณะกำลังพักผ่อนอยู่กับบ้าน
  • ขณะที่อยู่ในห้องนั่งเล่น
  • ขณะที่เดิน หรือจ๊อกกิ้งออกกำลังในตอนเช้า
  • ขณะที่เดินทางอยู่ในรถยนต์ รถประจำทาง รถไฟ หรือเครื่องบิน
  • ขณะรับประทานอาหาร
  • ขณะที่รับฟังการบรรยายที่น่าง่วง
  • ขณะที่คุณทำอะไรอยู่ก็ตาม ซึ่งไม่ต้องการสมาธิ
บุคคลที่รู้จักการนำพลังสมองมาใช้ จะพัฒนาความสามารถของตนเหนือเพื่อนร่วมงาน หรือคู่แข่งขัน ได้อย่างน้อยถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้เขาได้รับประโยชน์มากกว่า แต่ขณะเดียวกัน ผมก็รู้สึกว่า คุณอาจจะมีคำถามที่ต้องการคำตอบขึ้นมาอีกแล้วว่า "การฝึกสมองให้คล่องแคล่วนี้ เพียงเพื่อจะพัมนาความชำนาญทางร่างกายเท่านั้นหรือ?"

มันมิได้มีขอบเขตจำกัดอยู่เพียงแค่นั้นแน่ แต่มันยังช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของคุณ ให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย

การที่อเล็กซานเดอร์ อะเลคิน มีความเชี่ยวชาญในสนามหมากรุก ก็เนื่องจากการใช้พลังสมองให้เป็นประโยชน์ ด้วยการมองให้เห็นภาพการเล่นโดนตลอดทั้งเกม ซึ่งการฝึกซ้อมในลักษณะนี้เพียงแค่ 3 เดือน ก็ทำให้เขาได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกมาครอง และยังได้ชื่อเสียงว่า เป็นนักเล่นหมากรุกผู้ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย

การฝึกสมอง ยังนำมาใช้ในการเรียนภาษาต่างประเทศได้อีกด้วย นั่นคือ การฝึกฝนด้วยวิธีการพูดภาษานั้นๆกับตนเองในใจ ในลักษณะเดียวกับการเรียนด้วยของจริง แต่ทว่าได้ผลมากกว่าการเรียนในห้องเรียน หรือจากตำรา

การฝึกสมอง จะช่วยให้คุณ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาทุกแขนง ซึ่ง
  1. ได้มีการวางรูปแบบของโครงสร้างขึ้นมา ไม่ว่าโครงสร้างนั้นจะใช้พลังกายหรือพลังสมอง
  2. ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง ก็คือ เป็นการฝึกสมองให้มีปฏิกิริยาตอบโต้ ต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อัตโนมัติ

เพื่อนของผมคนหนึ่ง เป็นนักแข่งเรือใบ ซึ่งเธอได้นำพลังสมองเข้ามาช่วยฝึกฝนให้ตนเอง มีความเชี่ยวชาญเกิดขึ้นอย่างมาก เธอได้สร้างภาพขึ้น มองให้เห็นตัวเองตกอยู่ในสถานะต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการแข่งเรือใบ และมองให้เห็นภาพวิธีการที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหานั้นๆ

เธอเล่าให้ผมฟังว่า "ฉันพยายามทำให้สถานการณ์ต่างๆ มันเลวร้ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งถ้าจะพูดกันตามความจริงแล้ว ฉันเคยชนะการแข่งขันในชีวิตจริง มากครั้งกว่าในการฝึกซ้อมทางสมองมาก" ซึ่งสถานการณ์เลวร้าย ที่เธอสร้างขึ้นให้กับตนเอง ตลอดเวลาที่ฝึกซ้อมอยู่ในสมองนั้น ทำให้เธอสามารถเตรียมตัวได้อย่างเต็มที่ เพื่อต้อนรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ และกระแสลมในขณะที่มีการแข่งขันจริงๆ เกิดขึ้น

วิธีนำพลังสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์


หลังจากที่คุณได้ทดลองทำด้วยตนเองสักไม่กี่ครั้ง คุณจะพัฒนาวิธีที่ชอบที่สุด ในการนำพลังสมองมาใช้ และต่อไปนี้ เป็นบางข้อเสนอแนะก่อนที่คุณจะเริ่มต้น

  1. จงฝึกในขณะที่สมองของคุณปลอดโปร่งแจ่มใส และตื่นอยู่เต็มที่( เพราะถ้าคุณมิได้ลืมตาตื่นอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ผลที่เกิดขึ้น ก็จะเหมือนกับการนับ 1-100 แทนที่จะเป็นการฝึกที่ให้ผล กลับจะทำให้คุณรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน) ถ้าคุณเป็นบุคคลที่ออกกำลังกายอยู่อย่างสม่ำเสมอ เวลาที่ดีที่สุด คือ ภายหลังจากการออกกำลังกายแล้วในทันที
  2. จงกระทำในสถานที่ซึ่งปราศจากการรบกวน
  3. จงทำไปให้ตลอดตามโครงการที่คุณได้ตั้งขึ้นไว้ และต้องการจะให้ได้ผลสมบูรณ์แบบที่สุด ตั้งแต่ต้นจนจบ จงมองให้เห็นภาพของตัวเองในทุกบทบาท สร้างอารมณ์ให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน ถ้าในโครงการดังกล่าว จำเป็นจะต้องใช้กล้ามเนื้อในร่างกายเข้ามาช่วย ก็จงสร้างความรู้สึกให้กล้ามเนื้อตึงตัวขึ้น จะช่วยให้โครงการของคุณสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
  4. จงมองให้เห็นภาพของตนเอง กระทำไปตามโครงการ อย่างปราศจากความผิดพลาดเสมอ (ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณวาดภาพว่า กำลังเล่นบาสเกตบอลอยู่ การโยนลูกลงห่วงจะต้องตรงเป้าทุกครั้ง) ซึ่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะนั่นคือการสร้างภาพพจน์ของตัวเองในทางบวก ทำให้คุณบังเกิดความมั่นใจในความสำเร็จอย่างแรงกล้า
  5. ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก ควรจะอยู่ระหว่าง 15-30 นาที ถ้าคุณฝึกน้อยกว่า 15 นาที ย่อมไม่ได้รับผลตามที่ต้องการ และถ้าคุณฝึกนานเกินกว่า 30 นาที คุณจะรู้สึกเหนื่อยอ่อน และประโยชน์ที่ได้รับจะลดน้อยลงมา โดยเฉพาะการสร้างภาพพจน์ของตนเองในทางบวก
photoสมาชิก ของทีมโบว์ลิ่ง ที่คุณได้อ่านผ่านมาแล้วนั้น จะทำการฝึกในลักษณะนี้วันละหลายๆครั้ง โดยประสมประสานกันอยู่ระหว่างการฝึกทางกาย และฝึกทางจิต

เรย์ จี. กล่าวว่า " ในตอนบ่าย ผมจะฝึกซ้อมด้วยการโยนลูกจริง เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง แต่ในวันเดียวกันนั้น ทุกครั้งที่มีโอกาส ผมจะฝึกซ้อมทางจิตไปด้วย ซึ่งผมได้พบว่า การฝึกซ้อมด้วยวิธีการเช่นนี้ ได้ผลดีสำหรับผมอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนมันจะไม่ได้ทำให้ผมเกิดความรู้สึกแตกต่าง ระหว่างการโยนในราง กับการโยนด้วยสมองเลย"

นักจิตวิทยา ไม่สามารถจะให้คำตอบอย่างสมบูรณ์ได้ว่า เพราะเหตุใด การฝึกสมอง จึงสามารถจะนำมาใช้ได้ประโยชน์อย่างดียิ่ง? แต่เขาก็เชื่อว่า การสร้างภาพพจน์ของตนเองในทางบวก เป็นผลดีต่อจิตใจอย่างยิ่ง

การที่คนเราทำอะไรประสพความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่า แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นภาพที่เกิดขึ้นในสมอง ก็สามารถจะสร้างความมั่นใจ ให้บังเกิดขึ้นในการทำงานในชีวิจจริงได้

การฝึกฝนตนเอง ให้มองเห็นภาพสะท้อนที่เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ความคล่องแคล่วในการใช้สมอง จะช่วยสร้างภาพสะท้อน ให้เกิดขึ้นได้ เท่ากับคุณได้เตรียมตัวเองไว้ให้พร้อม เพื่อที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์อันจะเกิดขึ้น และคุณสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะจัดการกับสถานการณ์นั้นๆอย่างไร

การใช้พลังสมองของเรย์ จี.นั้น มิได้เพียงแต่เฉพาะในเรื่องของโบว์ลิ่งเท่านั้น แต่เขายังใช้มันในการสร้างอาชีพใหม่ให้กับตนเองอีกด้วย

เมื่อบริษัทที่เรย์ ทำงานอยู่ สั่งย้ายเขาไปอยู่ในเมืองที่ห่างไกล เรย์ก็ตัดสินใจว่า จะไม่ยอมย้าย เขาลาออก เอาเงินที่ฝากไว้ ออกมาทำทุนตั้งร้านอาหาร "ผมมีความรู้ในเรื่องธุรกิจการตั้งร้านอาหาร พอๆ กับที่คนทั่วๆไปมี ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของไอน์สไตน์ นั่นแหละ " เรย์ บอก " แต่ผมคิดว่า มันเป็นสิ่งที่เรียนกันได้ และผมก็เอาการฝึกสมองมาใช้ให้เป็นประโยชน์"

แม้ว่า เขาจะตั้งตัวเองเป็นพ่อครัวสมัครเล่น แต่เรย์ก็ไม่เคยยึดถือเป็นอาชีพมาก่อน แต่เมื่อมาถึงปัจจุบันนี้ เขามีอาหารจานพิเศษ ไว้คอยบริการลูกค้าที่ติดใจอย่างมาก

"ก่อนหน้าที่ผมจะเปิดร้านอาหารนั้น ผมก็ไปรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับอาหารประเภทต่างๆแล้วก็มีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นคนที่โง่เง่าที่สุด เพราะฉะนั้น ผมก็เลยต้องใช้การฝึกสมองเข้ามาช่วย ไม่ว่าผมจะมีเวลาว่างมากน้อยเท่าไรก็ตาม ผมจะนั่งลง แล้วลงมือ ปรุงอาหาร ขึ้นทีละจาน ๆ เช่นเดียวกับเวลาทีเราทำในร้าน ผมพยายามมองให้เห็นภาพว่า อาหารแต่ละจาน จะต้องมีส่วนผสมอย่างไรบ้าง จะต้องปรุงมันขึ้นมาอย่างไรจึงจะอร่อย และผมก็เพิ่มความเร็ว และความมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น พอถึ วันเปิดร้านเข้าจริงๆ ผมก็เลยทำงานทุกอย่างในร้านได้ ด้วยความสบายใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ ผมยกประโยชน์ให้กับการฝึกทางสมอง ที่ทำให้ร้านอาหารของผมประสพความสำเร็จ มาตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว "

การใช้ตัวเองลงไปเกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการเรียนให้เร็วขึ้น


มีคำพังเพยอยู่ประโยคหนึ่งว่า "คุณจะว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าไม่เอาตัวเองลงไปในน้ำเสียก่อน" นั่นเป็นข้อความที่ผมได้ยินมา ในขณะที่ผมไปเรียนว่ายน้ำ ในแค้มป์ฤดูร้อนร่วมกับเด็กๆ และผมก็ได้ตระหนักว่า คำพังเพยดังกล่าวนี้ มิได้ใช้แต่เฉพาะกับในเรื่องของการว่ายน้ำเท่านั้น แต่ใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราต้องการจะเรียนรู้

คุณอาจจะเรียนทฤษฎีต่างๆ โดยทั้งจากคำพูด และจากตำรา แต่คุณจะมิได้เรียนรู้ในเนื้อแท้ของมัน จนกว่าจะได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

ควรพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง หมายถึง การลงมือปฏิบัติมากกว่าการศึกษาหาความรู้ มันจะเป็นเครื่องส่งเสริมความรู้ใหม่ที่คุณได้รับมา และทำให้ความรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น อัตราของความรู้จะเพิ่มพูนขึ้น ตามความเกี่ยวข้องที่คุณพาตัวเองลงไปเสริม

ดังนั้น ถ้าคุณได้รับคำแนะนำพร้อมๆกับเพื่อนในกลุ่ม และคุณเสมอตัวเองเข้าไปทดลองปฏิบัติแล้ว คุณย่อมจะเรียนรู้ได้เร็วกว่า และดีกว่าเพื่อนๆทุกคน

ถ้าเราจะมองอย่างผิวเผิน มันก็ออกจะเป็นการง่าย ที่จะแสดงออกในเรื่องของกิจกรรมทางร่างกาย อาทิ การว่ายน้ำ หรือ การโยนโบว์ลิ่ง... แต่แล้ว ในเรื่องของวิชาคณิตศาสตร์ หรือ จิตวิทยา หรือความรู้ใหม่อื่นๆ ที่คุณต้องการเรียนรู้เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเล่า? ในกรณีเช่นนี้ การพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง จะต้องเป็นไปในรูปแบบที่แตกต่างออกไป แต่มันก็ยังเพิ่มความเร็ว ให้กับกระบวนการในการเรียนรู้ เพราะคุณสามารถประยุกต์ข้อมูลที่เรียนรู้มา เข้ากับหนทางในการปฏิบัติได้

เพราะ มีวิธีการอันทรงพลังอยู่มากมาย สำหรับการที่คนเรา จะประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมานั้น ให้จำหลักลงไว้ในจิตใจ ซึ่งทำให้คุณสามารถจะเรียนได้เร็วกว่า ผู้อื่น

photoแต่ไม่ว่าคุณจะเรียนสูตรใดมาก็ตาม ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณพึงปฏิบัติ
  1. จงวางแผนในการใช้เทคนิคการพาตัวเองลงไปเกี่ยวข้อง เมื่อใดก็ตามที่คุณได้อ่าน หรือได้พบเห็นความรู้ใหม่ๆ ซึ่งคุณเชื่อว่า จำเป็นจะต้องมีการเสริมพลังขึ้นในจิตใจ
  2. คุณจะต้องเตรียมการที่จะให้การเกี่ยวข้องของตัวเอง แยกออกจากการอ่าน หรือการปฏิบัติตามคำสั่งที่กระทำอยู่เป็นประจำ ซึ่งถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เมื่อคุณอ่านพบ หรือได้ความรู้ใหม่ๆมา จงปล่อยให้จิตใจของคุณ ได้ซึมซับความรู้นั้นเข้าไว้ ก่อนที่คุณจะนำมันไปประยุกต์ เข้ากับเทคนิคการพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
  3. แทนที่คุณจะฝึกฝนตนเองด้วยช่วงระยะเวลายาวนาน จงแบ่งการฝึกออกเป็นช่วงสั้นๆ ซึ่งเท่ากับคุณเปิดโอกาสให้สมองของตนเองได้พัก และซึมซับในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา และสร้างภาพออกมาได้อย่างถูกต้อง และช่วงเวลาในการฝึก ควรจะเป็นระยะสั้นๆ ประมาณ 3-5 นาที ซึ่งช่วงเวลาขนาดนี้ จะทำให้คุณสามารถฝีกได้ตลอดเวลาในช่วงวัน

เทคนิคการพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง 2 รูปแบบ


ในขณะที่การฝึกฝนในเชิงปฏิบัติ ช่วยให้คุณสามารถแสดงออกถึงกิจกรรมทางร่างกายได้คล่องขึ้น เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้นนั้น แต่วิธีการต่อไปนี้ จะแปลกออกไป เพราะเป็นการพาตัวคุณเอง ลงไปฝึกปฏิบัติ โดยมิได้ใช้กิจกรรมทางด้านร่างกายเลย แต่ก็ให้คุณประโยชน์กับคุณได้อย่างมาก..และต่อไปนี้ คือตัวอย่าง

นักธุรกิจผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังศึกษาภาษาต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ตนเอง มีความสามารถในการติดต่อกับลูกค้าต่างประเทศได้สะดวกขึ้น ได้นำเทคนิคดังกล่าวนี้มาใช้ด้วยการ
  1. เข้าไปรับประทานอาหาร ในร้านที่มีการใช้ภาษาที่ตนเรียนอยู่
  2. เข้าไปซื้อสินค้า ในร้านที่มีผู้คนซึ่งจะสนทนาด้วยภาษานั้นได้
  3. รับฟังวิทยุจากสถานีวีโอเอ. ภาคภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ เพราะโฆษกของสถานีวิทยุแห่งนี้ จะพูดช้าๆ เป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจ
นักพิมพ์ดีดคนหนึ่ง ซึ่งกำลังศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ อนู่ในมหาวิทยาลัยเอกชนประจำท้องถิ่น มีความรู้สึกว่า เธอจะได้รับประโยชน์ ในการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านภาคปฏิบัติมากขึ้น ดังนั้น เธอจึงซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะราคาไม่แพงมาฝึกที่บ้าน ซึ่งทำให้เธอเรียนรู้ได้เหนือกว่าเพื่อนร่วมชั้นอย่างมาก .. ยิ่งกว่านั้น เธอยังเป็นคนแรกในชั้น ที่ได้รับการว่าจ้าง ให้ไปทำงานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์

ดังนั้น รูปแบบแรกของเทคนิคในการพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงหมายถึง การที่คุณนำความรู้ใหม่ที่เรียนมา เข้ามาใช้ในชีวิตจริง ซึ่งคุณจะเห็นว่า คุณสามารถจะนำมันไปใช้ได้ในทุกสาขาวิชาการ

คุณอาจจะตั้งข้อสงสัยขึ้นมาว่า " แล้วอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อคุณไม่สามารถจะนำความรู้นั้นไปใช้กับสถานการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตจริง ได้? " ถ้าเช่นนั้น คุณก็จะต้องนำวิชานั้น มาใช้ในรูปแบบที่ 2 ของการพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง คุณอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ได้รู้ว่า วิธีการดังกล่าวช่างง่ายเสียเหลือเกิน

ทันทีที่คุณลงมือใช้มัน คุณก็จะต้องแปลกในอีก ในประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ นั่นคือ "จงเขียนถ้อยคำจากความทรงจำ ในสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ หรือเพิ่งผ่านการอบรมมาสดๆร้อนๆ ลงในกระดาษ" การเขียนเพื่อทบทวนความทรงจำของตนเองนี้ ควรจะกระทำภายหลังที่สมองของคุณได้พักสักชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้มันได้ซึมซับข้อมูลต่างๆลงไว้

อะไรคือ สิ่งที่ทำให้เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพ?
"กระบวนการที่ทบทวนข้อมูลในสมอง และบันทึกลงไว้ในกระดาษ มีผลดีเช่นเดียวกับการฝึกสมอง และเหมือนกับการลงฝึกซ้อมของด้านร่างกายในสนาม" ในทั้งสองกรณี คุณจะมีความคล่องตัว ในการฝึกซ้อมความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้มา เท่ากับคุณกำลังบังคับความทรงจำให้ผลักดันข้อมูล เข้าไปสู่สามัญสำนึกที่มีสมรรถภาพที่สุด

และแล้ว คุณก็ใช้ข้อมูลนั้น มาเป็นหนทางในการปฏิบัติ ซึ่งมันได้รับการพิสูจน์แล้วว่า วิธีการที่ดีที่สุดในการจดจำข้อมูล ก็คือ นำมันออกมาใช้ ภายหลังจากที่ได้เรียนมาเกือบจะในทันที ต่อ ไปนี้ เป็นอีก 2 ตัวอย่างที่เพื่อนร่วมงานของผม ใช้เทคนิคในการทบทวนความรู้ด้วยการเขียน เพื่อให้ตัวเองได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับความรู้ที่เรียนมา

- เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเข้าร่วมประชุมสัมมนา ตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานประจำที่ทำอยู่ตลอดเวลา ได้ใช้เวลาว่างในตอนเย็นชั่วครู่ เพื่อทำการสรุปประเด็นสำคัญที่เขาได้ความรู้มาในวันนั้น เขากล่าวว่า "การสรุปของผมนั้น ไม่เหมือนกับการที่เราจดบันทึกในระหว่างการเรียน เพราะหลักสูตรในขั้นนั้น เราจะต้องจดลงตามที่อาจารย์บอกหรือบรรยาย แต่วัตถุประสงค์ในการสรุปประเด็นสำคัญจากความทรงจำ เป็นการฝึกซ้อมไปในตัว เป็นสิ่งที่เราได้รับข้อมูลอันเป็นเนื้อแท้ และง่ายมาก ผมใช้วิธีนำข้อมูลมาเปรียบเทียบไว้กับหนทางในการปฏิบัติ โดยอธิบายตามความเข้าใจของผมเอง หลังจากที่ทำเช่นนั้นแล้ว ผมก็จะจดจำข้อมูลนั้นไปได้นานเท่านั้น"

- วิศวกรีเล็คโทรนิคส์คนหนึ่ง ซึ่งจะต้องติดตามพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวีชาชีพของตน มีหน้าที่จะต้องอ่านหนังสือทั้งแม๊กกาซีน และหนังสือความรู้ทางด้านเทคนิคอย่างมากมาย เขากล่าวว่า "ทุกเช้า สิ่งแรกที่ผมจะต้องทำ ก็คือ เอากระดาษดินสอออกมา แล้วสรุปข้อมูลสำคัญๆ ที่ผมได้อ่านมาตั้งแต่เมื่อคืน หรือวันก่อน และผมได้พบว่า มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่ผมจะเสริมทักษะให้กับความทรงจำในความรู้ที่ ผมได้รับมา และใส่มันลงในแฟ้มซึ่งผมมีช่องอยู่ในสมอง"

บุคคลทั้งสอง ได้ให้เครดิตในการเขียน เพื่อทบทวนวิชาการต่างๆ โดยการพาตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เขาได้รับความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในวิชาชีพที่ทำอยู่ และแต่ละคน ต่างก็ได้รับชื่อเสียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านความรู้ ซึ่งเทคนิคง่ายๆเช่นนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ได้สำหรับทุกคน

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่มิได้รู้ซึ้งถึงเรื่องนี้ และถึงแม้จะรู้ ก็มักจะไม่ใคร่กระทำ โดยมิได้ตระหนักถึงพลังที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพในการเรียนรู้ของตน แต่ขณะนี้ คุณก็ได้รู้แล้ว เพราะฉะนั้น คุณควรจะลองทำดู และผมก็เชื่อว่า คุณเองก็จะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ในเทคนิคการพาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนี้เช่นกัน

วิธีหาประโยชน์จากการเรียนรู้ ในการตั้งโปรแกรมการศึกษา


photoใน หลักสูตรการศึกษาด้วยตนเองนั้น เป็นหลักสูตรที่มีการซื้อขายกันด้วยราคาเป็นร้อยๆเหรียญ ส่วนใหญ่ที่หลักสูตรนี้ประสพความสำเร็จ เนื่องมาจากพวกเขา ได้ใช้ในสิ่งที่เราเรียกกันว่า การตั้งโปรแกรมการศึกษา

แม้ราคาค่างวดของหลักสูตรดังกล่าว กับเอกสารในหน้านี้ จะแตกต่างกันอย่างมาก แต่คุณก็จะได้รับข้อมูลเดียวกัน จากการศึกษาในเอกสารหน้านี้ และการเรียนตามหลักสูตร ซึ่งการศึกษาในเรื่องของการตั้งโปรแกรมนี้ มีค่าอย่างยิ่ง ซึ่งคนทุกคนควรยินดีที่จะเสียเงินเพื่อหาความรู้ไว้ ทั้งนี้ เพราะการตั้งโปรแกรมจะช่วยให้คุณ
  1. ทำให้คุณเรียนได้เร็ว และจดจำได้มากขึ้น
  2. คุณสามารถจะทบทวนความรู้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านตำรายาวๆในแต่ละบท
  3. เป็นที่น่าเพลิดเพลินกว่าการเรียนตามปกติ
  4. ใช้วิธีการตั้งคำถาม - คำตอบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณมั่นใจว่า มีความเข้าใจในข้อมูลอย่างกระจ่างชัด
แทนที่คุณจะใช้เวลาอันยาวนานในการอ่านตำรา การตั้งโปรแกรมการศึกษา จะมีการให้ข้อมูลที่สมเหตุสมผล ตามมาด้วยคำถามทบทวนง่ายๆ ดังนั้น คุณจะยังไม่ก้าวไปสู่ข้อมูลอันใหม่ จนกว่า คุณจะได้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่านผ่านมาโดยชัดเจนแล้ว ทั้งนี้ เพราะมันก็เหมือนกับการเล่นเกมนั่นเอง

กระบวนการทบทวนความจำในลักษณะนี้ ทำให้การเรียนสนุกขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีประสิทธิภาพด้วย และไม่เป็นการสำคัญแต่อย่างใดเลย ว่าสิ่งที่คุณอ่านพบมา จะเป็นอะไร มันอาจจะเป็น
  • ตำราเรียน
  • บทความในแม๊กกาซีน
  • เลคเชอร์
  • การแสดงในชั้นเรียน
  • และ ฯลฯ
การเรียนรู้การตั้งโปรแกรมการศึกษา (PROGRAMMED LEARNING ซึ่งต่อไปเราจะเรียกว่า PL) เป็นความรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ

  1. ความทรงจำของคุณ เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญต่างๆจะเพิ่มขึ้น เมื่อคุณนำประสาทสัมผัสทางร่างกายหนึ่งอย่างเข้ามาใช้ ดังนั้น ในรูปแบบของ PL ที่เราเสนอแนะนี้ คุณจะทบทวนข้อมูลสำคัญๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางร่างกายมากว่าวิธีอื่นๆ
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณศึกษาข้อมูลด้วยการใช้สายตา (เช่นการอ่าน) คุณก็จะใช้หู (รับฟัง) ในการทบทวนความรู้ในการตั้งโปรแกรมไปในตัว
  2. เนื่องจากมีการ ย้ำ ถึงมูลเหตุความเป็นจริง เข้าสนับสนุนความทรงจำของคุณอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ก็เท่ากับคุณได้ย้ำ ความรู้ใหม่ที่เรียนมา เข้าไว้ในความทรงจำด้วยวิธีที่วิเศษสุด
  3. การตั้งโปรแกรมการศึกษานี้ ได้นำเอากระบวนการที่เรียกว่า การเรียกความทรงจำ เข้ามาใช้ ซึ่งทำให้คุณสามารถใช้ความคิดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆได้อย่างคล่องตัว ซึ่งการจำหลักความรู้ลงในความทรงจำลักษณะนี้ จะทำให้คุณได้รู้ว่า คุณเรียนรู้ในวิชาใดได้ดี และวิชาใดที่ต้องการศึกษามากกว่านั้น
ในหลักสูตรที่นำ PL ไปใช้ทางด้านการค้านั้น ปรกติแล้ว จะมีการบรรยายยืดยาว ตามมาด้วยบททบทวนความจำสั้นๆ ซึ่งบททบทวนนี้ จะประกอบด้วยคำอธิบาย 5 ประโยค ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับข้อมูล ซึ่งมีอยู่ในคำบรรยาย อย่างไรก็ตาม ในบททบทวนดังกล่าว ประโยคที่ตั้งขึ้นไว้นั้น ก็ยังไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก มีการนำเอาช่องว่างเข้ามาแทนที่คำ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ และขึ้นอยู่กับคุณว่า จะเติมคำในช่องว่างนั้นอย่างไร

ดังนั้น นักศึกษาจะต้องอ่านตำราที่มีอยู่แต่ละช่วงตอน และเติมคำลงในช่องว่าง ซึ่งวิธีการนี้ ไม่สำคัญว่า จะทำในใจหรือด้วยการเขียนลงไป เพราะ ส่วนที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่า คุณจะต้องใช้ความพยายามตั้งสมาธิให้มั่น เพื่อทบทวนในสิ่งที่ตนเองได้อ่านไปแล้ว และช่องว่างที่ได้ให้ไว้ ก็เพื่อที่จะให้คุณเติมคำตอบง่ายๆ ลงไปนั่นเอง

เพิ่นพูนคุณภาพและอัตราเร็ว


วิธีการง่ายๆที่คุณจะได้เรียนรู้ เพื่อการตั้งโปรแกรมการศึกษาให้กับตนเองนี้ ผมได้รับความรู้มาจากผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารของชมรมสาขาวิชาชีพคนหนึ่ง จุดประสงค์หนึ่งของชมรมนี้ คือ การทำให้สมาชิกทุกคน มีความรู้ในพัฒนาการล่าสุดในสาขาวิชาชีพของตน ซึ่งในทุกปี จะมีหนังสือออกมาแจกให้กับสมาชิกด้วย ซึ่งผู้อำนวยการคนนั้นมองเห็นว่า สมาชิกทั้งหลาย ออกจะมีความยุ่งยากในการศึกษาหาความรู้ และการที่จะจดจำทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้โดยตลอด

ดังนั้น เขาจึงตั้งโปรแกรมการศึกษาขึ้นมาด้วยตนเอง จากนั้น เขาก็จัดให้มีการสัมมนาระหว่างประเทศขึ้น เพื่อแนะนำระบบใหม่กับทุกคน และทุกคน ก็เข้ารับการอบรมด้วยความกระตือรือร้น

ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ผู้คนนับร้อย ก็ต้องขอบคุณเขาเป็นการส่วนตัว ที่ได้ให้ความรู้ในการตั้งโปรแกรมการศึกษาขึ้น หลายคนบอกกับเขาว่า ตนสามารถจะเรียนได้เร็วขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งทำให้มีเวลาว่างมากพอที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆ และคุณภาพของการศึกษา ก็เพิ่มตามอัตราความเร็วขึ้นมาด้วย

หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เขาเรียนได้ดีขึ้น พร้อมๆกับเร็วขึ้น
photoผม ได้เห็นหลักสูตรนี้เป็นครั้งแรก ในการประชุมสัมมนาครั้งหนึ่ง และได้เคยนำไปทดลองใช้ด้วยตนเองมาแล้ว ซึ่งผมรู้สึกพอใจในระบบง่ายๆที่ใครๆก็นำไปใช้ จึงได้ขออนุญาตนำมาอธิบายไว้ในที่นี้ เพื่อที่ว่าคนอื่นๆ จะได้พลอยรับประโยชน์ไปด้วย

วิธีสร้างโปรแกรมการศึกษาขึ้นด้วยตนเอง


ถ้าข้อมูลที่คุณต้องการจะเรียนรู้ อยู่ในรูปของหนังสือ หรือบทความในแม๊กกาซีน การตั้งโปรแกรมการศึกษาจะต้องมีการนำเครื่องบันทึกเสียงหรือเทปเข้ามาช่วย ซึ่งคุณทำได้ดังนี้

1.ขณะที่คุณอ่านบทความ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่สำหรับคุณ จงหยุดอ่านในทันที ที่คุณพบประเด็นสำคัญ ซึ่งควรแก่การจดจำ แล้วพูดใส่ลงไว้ในเทป แต่ใช้คำว่า ช่องว่าง แทนคำอันเป็นกุญแจสำคัญในประโยคนั้น ตัวอย่างเช่น ข้อความนั้นมีอยู่ว่า

"ถ้าที่คุณต้องการจะเรียนรู้ อยู่ในรูปของหนังสือ หรือบทความในแม๊กกาซีน การตั้งโปรแกรมการศึกษา จะต้องมีการนำช่องว่า ช่องว่าง"

จากนั้น คุณก็หยุดเว้นระยะสัก 2-3 วินาที แล้วจึงพูดคำตอบของช่องว่างตามลงไป (จากตัวอย่าง คำๆนั้น คือ เครื่องบันทึกเสียงหรือเทป) จากนั้น ก็จงหยุดเทป แล้วจึงเปิดมันขึ้นใหม่ เมื่อถึงตอนสำคัญที่จะต้องจดจำ ก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน

2. เมื่อคุณได้บันทึกไปแล้วประมาณ 5-10 ประโยคตามลำดับ หรือมาถึงจุดที่จะต้องหยุดในข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่ เช่น ตอนจบบท หรือขึ้นย่อหน้าก็ดี จงเริ่มเล่นเทปใหม่ ในแต่ละประโยคนั้น เมื่อถึงตอนที่เว้นช่อง จงหยุดเทปลง แล้วเติมคำที่ถูกต้องลงไป พยายามนึกคำตอบนั้นให้ออก

ถ้าคุณสามารถตอบได้ถูกต้อง ก็เดินหน้าต่อไป แต่ถ้ายังไม่สามารถจะนึกคำตอบที่ถูกต้องได้ จงกลับไปดูจากบทความที่อ่านต่อมา และพิจารณามันอย่างใกล้ชิด แล้วจึงเริ่มใหม่ต่อไป

ผมเคยถามว่า ทำไมคนที่ใช้ PL แบบนี้ จึงได้รับอนุญาติให้ดูคำตอบที่ถูกต้องได้? คำตอบก็คือ นั่น คือส่วนหนึ่งของกระบวนการในการศึกษา เป็นการทบทวนในสิ่งที่คุณอ่านผ่านมา เมื่อคุณไม่สามารถจดจำคำตอบที่ถูกต้องได้ คุณย่อมตระหนักว่า คุณมิได้ศึกษาในต้นเรื่องมาแล้วอย่างดี ดังนั้น คุณจึงมีสิทธิ์ที่จะกลับไปอ่านใหม่ได้

และจงอย่าได้ลบเทปในการทบทวนความรู้นี้ออก จนกว่าคุณจะได้ศึกษาตามหลักสูตรไปจนครบ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว คุณก็สามารถจะนำเทปมาเปิดฟังได้ใหม่ เป็นการทบทวนความจำครั้งสุดท้าย เพื่อเป็นการประกันว่า คุณได้รับความรู้ที่ต้องการครวบถ้วนแล้ว

การจดบันทึกที่ให้ผลเป็นสองเท่า

การจดบันทึกนั้น มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ แต่คนส่วนมากมักจะไม่ใคร่มีความสามารถ ในการจดบันทึก และใช้เวลาค่อนข้างมากในการเขียนสิ่งที่ตนได้ยินได้ฟังมาลงไปทั้งหมด ซึ่งในขณะที่จิตใจพะวงอยู่กับประโยคแรก สามารถจะทำให้พลาดประเด็นสำคัญในประโยคหลังไปได้

มีคุณสมบัติอยู่ 2 ประการ ซึ่งถ้าคุณสามารถฝึกฝนให้เชี่ยวชาญแล้ว ย่อมสามารถทำให้การจดบันทึกของคุณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ
  1. การประดิษฐ์ตังอักษรชวเลขขึ้นมาเอง
  2. การเรียบเรียงข้อความในใจ
ซึ่งถ้าคุณใช้เวลาในการฝึกซ้อมไม่นาน คุณจะสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะใช้ไปได้ชั่วชีวิตนี้ ให้เพิ่มความเร็วขึ้นไปได้เรื่อยๆ และผมเอง ก็ใช้เทคนิคทั้งสองประการนี้ มาเป็นเวลานานนับปี และมันไม่เพียงแต่จะช่วยผมได้อย่างมากเท่านั้น แต่ยังสร้างความแปลกใจให้กับผู้อื่นอีกด้วย

บ่อยครั้ง เมื่อมีผู้ให้ข้อมูลกับผมทางโทรศัพท์ ผมสามารถจะจดบันทึกลงได้อย่างรวดเร็ว จนผู้อื่นเกิดความพิศวงและถามว่า "คุณอัดเทปไว้หรือ?"

ผมถูกถามเช่นนี้มานับครั้งไม่ถ้วน และคำตอบของผม ก็มีอยู่เพียงประโยคเดียว คือ "เปล่า ผมจดชวเลขต่างหาก"

แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ชวเลข หรืออย่างน้อย ก็มิใช่ชวเลขแบบที่เลขานุการทั้งหลายเขาใช้กัน แต่มันเป็นรูปแบบที่ง่ายมาก เป็นแบบเดียวกับที่นักข่าว พนักงานสอบสวน และบุคคลในสาขาอาชีพอื่นจะต้องใช้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของงานในหน้าที่ที่เขาทำอยู่

ชวเลขแบบที่ผมเขียนนั้น เป็นวิธีการเขียนข้อความโดยย่นย่อตัวอักษรที่มีอยู่ในถ้อยคำลง และการตรวจสอบข้อความที่เขียนไว้ในใจ จะช่วยทำให้คุณพิจารณาได้ว่า คุณได้เขียนคำว่าอะไรลงไว้

การคิดประดิษฐ์ชวเลขส่วนตัว - เครื่องมือชิ้นที่ 1


ชวเลขส่วนตัว เป็นที่นิยมใช้สำหรับบุคคลที่มีอาชีพผู้สื่อข่าว ทนายความ พนักงานสอบสวน และบุคคลในวิชาชีพอื่น ที่ต้องการเขียนข้อความให้ได้เร็ว ซึ่งชวเลขแบบนี้ ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า มิได้เป็นแบบเดียวกันกับที่เลขานุการอาชีพใช้อยู่ ทั้งนี้ เพราะชวเลขแบบส่วนตัวใช้ตัวอักษรจริงๆ และเขียนไปตามแบบการเขียนหนังสือธรรมดา เพียงแต่ย่นย่อข้อความ ด้วยการใช้ตัวอักษรให้น้อยลงเท่านั้น และพยายามกำจัดสระออกให้หมด

ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และอย่างง่ายๆ คุณสามารถขจัดตัวอักษรที่เกินความจำเป็นลงได้กว่า 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ผู้ที่จะอ่านข้อความนั้นออกจะมีเพียงผู้เขียนเท่านั้น และเนื่องจากคุณเป็นผู้เขียน ที่รับฟังข้อมูลทั้งหมดมาด้วยตัวเอง ดังนั้น คุณจึงสามารถจะรู้ความหมาย หรือคำเต็มของตัวย่อทั้งหมดที่เขียนลงไว้

ดังนั้น ในการประดิษฐ์ชวเลขส่วนตัวขึ้นใช้ จึงมีกฏอยู่เพียงประการเดียวคือ คุณ จะต้องพยายามกำจัดตัวอักษร กับสระที่ไม่ต้องการ ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่อเมื่อจะต้องนำกลับมาเรียบเรียงใหม่ จึงจะใส่ลงให้เต็มเนื้อความ

การเรียบเรียงในใจ - เครื่องมือชิ้นที่ 2


photoมีสิ่งที่ควรจดจำในการนี้ คือ ขณะที่คุณเขียนข้อความลงด้วยชวเลขส่วนตัวนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่า คุณ มิได้มีอาชีพเป็นเลขานุการ ที่จะต้องจดทุกถ้อยคำที่ได้รับคำสั่ง หรือได้ยินมา เพราะตามความจริงแล้ว คุณไม่จำเป็นจะต้องเขียนทุกสิ่งทุกอย่างลง แต่เขียนเฉพาะข้อมูลอันสำคัญที่คุณต้องการจะจดจำก็พอ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณใช้ข้อความน้อยกว่า ผู้พูด

ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญพอ คุณสามารถตัดสินใจได้ว่า ข้อความใดที่ควรจะต้องเขียน และข้อความใดที่จะผ่านไปได้

เมื่อบุคคลที่เป็นมืออาชีพต้องการจะแถลงข้อมูล โดยปรกติแล้ว เขาจะทำอยู่ 3 ประการ คือ
  1. เขาจะบอกเล่าให้คุณทราบถึงธรรมชาติ และความสำคัญของข้อมูลที่เขาจะแถลง
  2. เขาจะให้ข้อมูลตามความเป็นจริง และ
  3. เขาจะเตือนคุณอีกครั้งหนึ่ง ถึงธรรมชาติ และความสำคัญของข้อมูลที่ได้แถลงไปแล้ว
หรือถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เขาบอกให้คุณรู้ว่า เขากำลังจะบอกอะไรกับคุณ แล้วเขาก็บอกคุณ และเขาจะบอกคุณซ้ำ ถึงสิ่งที่ได้บอกไปแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเลขานุการอาชีพ จะต้องจดหมดทุกถ้อยกระทงความ แต่สำหรับคุณ สิ่งที่คุณจะต้องจดคือส่วนกลางเท่านั้น จงอย่าเสียเวลากับบทเสนอแนะ และบททบทวนเป็นอันขาด

คุณอาจจะไม่เคยสังเกตมาก่อนก็ได้ว่า เวลาที่มีการแถลงข้อมูลนั้น ผู้แถลงมักจะพูดซ้ำๆ วนเวียนไปมา เพื่ออธิบายประเด็นสำคัญให้เป็นที่เข้าใจ ดัง นั้น คุณเพียงแต่จดประเด็นสำคัญลงก็พอ เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่คุณกลับมาทบทวนในประเด็นสำคัญนี้ คุณก็จะนึกถึงข้อความที่ขยายความเข้าใจของผู้พูดได้นั่นเอง

วิธีเพิ่มพลังสมาธิ


ถ้าคุณจับตาดูการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ คุณจะได้พบว่า เคล็ดลับประการหนึ่ง ซึ่งทำให้เขาประสพความสำเร็จ คือ สมาธิ

ทั้งนี้ เพราะเขารู้ว่า สมาธิ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของเขา บุคคลที่ได้มีการฝึกฝนการใช้พลังสมอง รู้จักกฏในการที่จะเพิ่มพลังจิตของตนให้มีประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง เขาสามารถจะทำให้การศึกษาหาความรู้ของตนก้าวไกลได้ ด้วยการสร้างเงื่อนไขอันถูกต้องให้กับตนเอง ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว คือกุญแจดอกสำคัญ ในการเพิ่มพลังสมาธิอย่างมีประสิทธิภาพ

เงื่อนไขประการแรกคือ ตั้งความปรารถนา
คุณจะไม่สามารถตั้งสมาธิได้ นอกเสียจากคุณจะมีความสนใจในเรื่องนี้อย่างมองเห็นว่า มันมีความสำคัญต่อชีวิต ก็แล้วถ้าคุณไม่บังเกิดความสนใจอย่างใหญ่หลวงเช่นนั้นเล่า?

ถ้าเช่นนั้น คุณก็ยังเพิ่มพลังสมาธิได้ ด้วยการพิจารณาเป้าหมายของตนเอง เมื่อใดก็ตาม ที่คุณมีความรู้สึก ท้อถอย ในการศึกษาวิชาต่างๆ เกิดขึ้น คุณจะต้องตั้งคำถามแก่ตัวเอง 2 ข้อ คือ
  1. ผมจะได้ประโยชน์อะไรจากการศึกษาในเรื่องนี้บ้าง?
  2. ผมจะต้องเสียประโยชน์อะไรบ้าง ถ้าไม่ได้ศึกษาวิชานี้?
เมื่อคุณมองเห็นเป้าหมาย และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทั้งสองสิ่งนั้น จะจุดไฟแห่งความสนใจให้เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกันนั้น ความสามารถในการเพิ่มพลังสมาธิก็จะติดตามมา

เงื่อนไขประการที่สอง ก็คือ คุณจะต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เพื่อที่จะซึมซับความรู้ใหม่ๆได้ง่ายขึ้น
เทคนิคหนึ่งก็คือ คุณจะต้องอยู่ในห้องที่มีความเย็นของอากาศ ระดับที่พอดี คือประมาณ 65 องศาฟาเรนไฮต์ หรือต่ำกว่านั้นเล็กน้อย เพราะอุณหภูมิในระดับนี้ จะไม่ทำให้บุคคลรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ซึ่งถ้าคุณสังเกตอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่าในห้องที่มีอากาศอุ่นเกินไป ทำให้คนเราอยากจะนอน หรือพักผ่อนมากกว่าทำงาน

กับอีกประการหนึ่ง การศึกษาในระหว่างที่ท้องอิ่มเต็มที่ ทำให้คุณง่วงงุนได้ง่าย ดังนั้น จงพยายามหลีกเลี่ยงถ้าทำได้

เงื่อนไขประการที่สาม ก็คือ จงสังเกตว่า ช่วงใดของวัน เป็นช่วงที่คุณสามารถทำงานได้ดีที่สุด
ในตอนเช้า หรือตอนกลางคืน ใช้ช่วงเวลานั้นให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจะทำให้การศึกษาของคุณเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับเงื่อนไขประการที่สี่ ก็คือ คุณจะต้องมีสมองที่ปลอดโปร่งแจ่มใส
จากการทดลอง ได้แสดงผลให้เห็นว่า การศึกษาในวิชาใหม่ๆนั้น บุคคลอาจจะลืมได้โดยง่าย ถ้าเขาจะต้องหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ซึ่งต้องการสมาธิที่มากกว่า สมองที่ปลอดโปร่งแจ่มใส ย่อมสามารถซึมซับความรู้ไว้ได้ดีกว่าสมองที่วุ่นวายสับสน

ซึ่งถ้าคุณสร้างเงื่อนไขทั้ง 4 ประการนี้ ขึ้นกับตนเองแล้ว พลังแห่งสมาธิของคุณจะเพิ่มขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ และคุณจะได้พบว่า เพราะเหตุใด พลังที่มีประสิทธิภาพนี้ จึงเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ซึ่งสามารถจะซึมซับความรู้ใหม่ได้อย่างรวดเร็วราวกับเสกคาถา

แผนผังชีวิต

วิธีเขียนแผนผังชีวิต

แผนผังชีวิต คือ เครื่องมือเพื่อการค้นพบตนเอง และยังเป็นเครื่องชี้นำไปสู่จุดประสงค์อันหลากหลายในชีวิต มันเป็นวิธีการที่จะร่างโครงสร้างอาณาเขต ติดตั้งป้ายตามพื้นที่ และสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้นกับทัศนียภาพแห่งชีวิต

แผนผังนี้ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมทิศทางต่างๆเข้าด้วยกัน โดยตั้งจุดเชื่อมต่อเข้าระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และระดับความแตกต่างของความเป็นมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น จิตใจ ร่างกาย อารมณ์ และจิตวิญญาณ มันจะช่วยให้คุณสามารถเพ่งความสนใจในรายละเอียดของบริเวณที่แน่ชัดในชีวิต ได้

แผนผังทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณรู้จักตัวเอง รวมไปถึงพลังความเข้มแข็ง ความอ่อนแอ และยังช่วยให้คุณสามารถวางแผนในอันที่จะปรับเปลี่ยนตรงจุดที่ต้องการได้อีก ด้วย

เพื่อให้แผนผังดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง คุณจำเป็นจะต้องพิจารณาระบบการเขียนแผนที่ ซึ่งมีเส้นทางเชื่อมโยงไปจนถึงจุดศูนย์กลางแห่งชีวิตคุณ และมีคำอธิบายไว้อย่างชัดเจน

มันเป็นระบบที่จอห์น เฮรอน ที่ปรึกษาคนสำคัญได้คิดขึ้น มันจะมีเส้นทางที่ถอยหลังเข้าสู่อดีต เชื่อมโยงประวัติความเป็นจริงในชีวิตมาจนถึงวันที่คุณจะต้องสร้างศักยภาพ ขึ้นเพื่ออนาคต

แผนผังชีวิตของคุณ

แผนผังแผ่นนี้จะนำมาใช้ในกรสำรวจชีวิตทั้งหมดหรือเฮพาะจุดใดจุดหนึ่งที่ คุณต้องการปรับปรุง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ก้าวหน้าและมีความต่อเนื่องดังนี้

การเดินทางในชีวิตของคุณ

1. ผมคือใคร?
2. ผมมาจากไหน?
3. ผมกำลังจะไปไหน?
4. อะไรคืออุปสรรคที่ขัดขวาง?
5. ผมจะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร?
6. ผมต้องการความช่วยเหลือในเรื่องอะไรบ้าง?
7. เมื่อผมไปถึงจุดหมาย ถึงจุดหมายแล้วจะเป็นอย่างไร?

ซึ่งแต่ละคำถามนั้นจะบ่งบอกถึงทิศทางอันนำมาซึ่งความสำเร็จของแผนผังนี้ เช่น คำถามที่ว่า "ผมคือใคร?" ย่อมเกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตนของคุณเอง มันชี้ไปยังทิศทางหลากหลายในชีวิตของคุณ และกับการที่คุณได้อุทิศพลังเพื่อมัน

"ผมมาจากไหน?" เป็นการแสวงหาประวัติของบรรพบุรุษที่บ่งชี้มายังชีงิตที่คุณดำรงอยู่ในทุกวันนี้

"ผมกำลังจะไปไหน?" เป็นคำถามที่มีความตั้งใจจะขยายศักยภาพ ให้แสงสว่างแก่ทิศทางและจุดหมายปลายทางในการดำเนินชีวิต มันยังเป็นสิ่งที่จำกัดเป้าหมายและสร้างสรรค์ภาพแห่งการชี้แนะแนวทางอีกด้วย

"อะไรคืออุปสรรคที่ขัดขวาง?" มันเป็นคำถามที่ทำให้คุณต้องมองสิ่งที่เข้ามากีดขวาง เป็นอุปสรรคที่ทำให้ความก้าวหน้าต้องสะดุดหยุดลง ทำให้ไม่สามารถเดินไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

"ผมจะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร?" เป็นคำถามที่ทำให้คุณต้องใช้ความพยายามที่จะสร้างบันไดให้ตนเองเดินขึ้นไปจน บรรลุถึงจุดหมายได้ มันเป็นแผนการที่แน่นอน ชัดเจน ซึ่งเข้ามาเป็นตัววางโครงสร้างให้คุณเดินไปตามเส้นทางอย่างมีเหตุผล

"ผมต้องการความช่วยเหลือในเรื่องอะไรบ้าง?" คำถามนี้เกี่ยวข้องกับการคิดหาลู่ทางการสนับสนุนช่วยเหลือที่จำเป็นใน ระหว่างการเดินทางนั้น

และมันยังบ่งบอกถึงความสามารถพิเศษที่คุณจะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น รวมไปถึงความมีคุณสมบัติอันจำเป็นและผู้คนที่จะให้ความช่วยเหลือคุณด้วย

"เมื่อผมไปถึงจุดหมายแล้ว จะเป็นอย่างไร?" มันเป็นการสร้างภาพขึ้นในจินตนาการอย่างที่คุณต้องการให้ชีวิตเป็นเช่นนั้น เมื่อการเดินทางได้สิ้นสุดลง

ซึ่งมันจะช่วยให้คุณสามารถชี้ชัดในรายละเอียดประกอบด้วยภาพของจุดหมายที่ คุณต้องการไปให้ถึง มันจะปลุกเร้าอารมณ์ เร้าความรู้สึกและความปรารถนา ซึ่งวิธีนี้มันจะเสริมพลังกับความเคลื่อนไหวในการเตรียมตัวเพื่อลงมือ ปฏิบัติการ

ทดลองทำเดี๋ยวนี้

หยิบกระดาษเปล่าขึ้นมา 7 แผ่น พร้อมด้วยดินสอสี นั่งเงียบๆในท่าสบายๆที่สุด สูดลมหายใจลึกๆหลายๆครั้ง เมื่อระบายลมหายใจออกแต่ละครั้งนั้น ก็ให้มันพาเอาความตรึงเครียดไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจออกมาด้วย

หลังจากนั้นคุณก็ตั้งสมาธิให้มั่นอยู่กับขั้นตอนทั้ง 7 ของแผนที่ พิจารณาแต่ละคำถามสร้างภาพพจน์ให้เกิดขึ้น สัมผัสความรู้สึกหรือความคิดที่เกิดขึ้น ขณะที่คุณพิจารณาแต่ละคำถามนั้นอยู่

แต่ละคำถามควรจะใช้เวลาประมาณ ห้านาทีหลังจากนั้นก็เขียนหรือลากเส้นในสิ่งที่สังเกตเห็น ถ้าคุณไม่สามารถทำพร้อมกันได้ทั้งหมด จงทำแต่เฉพาะคำถามที่คิดว่าสำคัญที่สุด ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นทั้ง 7 คำถามนั้น

คุณได้ค้นพบอะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง.... คุณต้องการรู้กว่านั้นมากหรือไม่?

ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณสามารถจะขยายความแในแต่ละหน้ากระดาษโดยใช้คำแนะนำที่มีอยู่ต่อไปนี้ ผลที่เกิดตามมาจะช่วยให้คุณรู้จักตัวเองและมองเห็นทิศทางที่จะดำเนินชีวิต ต่อไป

* * *

เมื่อพิจารณาสถานะปัจจุบัน คุณย่อมต้องการมองให้เห็นว่า คุณมีความพอใจมากน้อยเพียงไรกับบริเวณต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต

สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องไปถึงการวินิจฉัยว่า คุณมีความเคลื่อนไหวอย่างขยันขันแข็งและสม่ำเสมอ อยู่ในบริเวณอื่นอย่างไร

และคุณมีความพึงพอใจกับสถานการณ์ดังกล่าวหรือยังแสวงหาความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นอยู่ต่อไป ขอให้อ่านต่อไป เพื่อที่คุณจะได้รับข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะการวินิจฉัยจากเรื่องนี้

* * *
คุณคือใคร?
* * *

เมื่อคุณได้รับฟงัคำถามที่ว่า "คุณคือใคร?" สิ่งที่คุณจะตอบก็คือ บอกชื่อให้ผู้ถามทราบ เพราะชื่อคือป้ายที่ติดไว้ในความเป็นตัวตนของคุณเอง แต่ถ้ามีการตั้งคำถามนั้นซ้ำ คุณก็จะให้คำตอบที่ลึกซึ้งลงไปกว่านั้น เช่น อาจจะบอกสัญชาติ บอกสถานะทางสังคม บอกหน้าที่การงาน หรือ สิ่งที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จด้วย

ทั้งหมดนี้อ้างถึงสภาพภายนอกความเป็นตัวของคุณ แต่ถ้าคำถามดังกล่าวยังถูกตั้งขึ้นต่อไป มันอาจจะทำให้คุณเริ่มเปิดเผยสภาพภายในของตัวตน เช่น ความเชื่อ, ความมีคุณค่า, สิ่งที่สนใจ , ความวิตกกังวล หรือไม่ก็อาจจะเป็นความทะเยอทะยานในชีวิต คำถามยังคงดำเนินต่อไป จนในที่สุดคุณก็หมดคำตอบที่อธิบายถึงความเป็นตัวของตนเองได้

แต่ว่านั้นเป็นเพียงสิ่งใกล้ที่สุดที่คุณจะนำมาใช้เป็นคำตอบได้เท่านั้น ซึ่งยังเป็นคำตอบที่ขัดแย้งกับการที่ว่า ... ตัวตนที่แท้จริงของคุณนั้นเป็นใคร เพราะคำตอบต่อคำถามนั้น มันยังมีความหมายลึกซึ้งเข้าไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นตัวตนของคุณอีกด้วย ซึ่งการที่จะตอบคำถามนี้ให้ได้ จะต้องมีประสบการณ์อันทรงพลัง เป็นคำตอบที่หาสิ่งที่หาจะเข้าเชื่อมโยงเพื่อสื่อความเข้าใจได้ยากมาก

แต่ละคนก็อธิบายความเป็นตัวตนที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่การแสดงออกก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย บางคนก็โดยหน้าที่การงานหรือยานพาหนะที่ขับขี่อยู่ คนส่วนมากมักจะแสดงออกถึงความเป็นตัวตนด้วยองค์ประกอบภายนอก น้อยคนนักที่จะบ่งชี้ความเป็นตัวตนด้วยสภาพภายใน

แต่ทว่า ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบภายในนี้เอง ที่เกี่ยวข้องกับความรู้จักตนกับสามัญสำนึกแห่งตน สำหรับองค์ประกอบภายนอกนั้นคือ การสร้างภาพพจน์ให้เกิดขึ้นในสายตาผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมองเห็นความเชื่อ, การประเมินในคุณค่า, ความปรารถนาและความต้องการของคุณเท่านั้น

* * *
รูปแบบเชื่อมโยง
* * *

วิธีหนึ่งที่จะเขียนขึ้นเป็นแผนผังเพื่อบอกให้รู้ว่าคุณมีความรู้เกี่ยว กับตัวเอง ทั้งสภาพภายในและสภาพทางสังคมภายนอกได้ ก็คือ เขียนเป็นรูปแบบที่มีการเชื่อมโยงขึ้น โดยเชื่อมต่อคำตอบที่เป็นไปได้เข้ากับคำถามที่อยู่ตรงกลาง

แต่ละคำตอบจะขยายความเข้าไปในจุดเล็กๆ อันเป็นแขนงย่อยต่อไป แบบฝึกหัดนี้สามารถนำไปใช้ในการประมวลแนวความคิดและพัฒนาการทำความรู้จักตัว ตนที่มีกาารติดต่อเชื่อมโยงกันอยู่ภายในระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในชีวิตของคุณได้

จินตนาการชี้แนะแนวทาง

วิธีที่สองที่จะทำให้รู้จักตัวตนแท้จริงของคุณก็คือ ทดลองด้วยการสร้างภาพจินตนาการขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยหให้คุณรู้จักแวดวงภายในตนเองหรือภายใต้สำนึกได้

เพราะมันหมายถึงบทบาทที่แสดงอยู่ภายในหรือส่วนประกอบในความเป็นตัวตนที่ แสดงออกทั้งในขณะทำงานและหาความสำราญให้กับตัวเอง นอกจากนั้นมันก็ยังรวมไปถึงความเป็นนักวิจารณ์, ความเป็นคนช่างฝัน ความเป็นคนก้าวร้าว นิสัยที่ได้รับการอบรมปลูกฝัง, ความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย

* * *
พิสูจน์ตัวเอง
* * *

การทำความรู้จักกับสถานภาพภายในของตัวคุณเองทำดังนี้

คุณเดินออกจากประตูบ้านในยามเช้า เดินไปตามเส้นทางที่เคยเดินอยู่เป็นประจำทุกวัน แล้วคุณก็สังเกตเห็นว่ามันมีเส้นทางสายใหม่ที่แยกไปทางด้านซ้ายมือ เมื่อคุณออกเดินทางไปตามเส้นทางสายนั้น มันก็พาคุณออกไปสู่ท้องทุ่งโล่งที่อาบไล้ด้วยแสงตะวัน เต็มไปด้วยสีสัน สรรพสำเนียง กลิ่นไอ และทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์

เส้นทางที่คุณเคยเดินอยู่นั้นพาคุณเข้าไปในราวป่า ซึ่งยิ่งคุณเดินลึกเข้าไปเพียงใดก็ยิ่งมืดครึ้มด้วยแสงแห่งตะวันชิงพลบมากเท่านั้น

ทั้งที่ยังอยู่ในระยะไกล คุณก็สามารถมองเห็นลานโล่งที่มีบ้านหลังหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง เมื่อคุณเดินเข้าไปใกล้คุณก็เห็นป้ายติดไว้ตรงหน้าประตู คุณอ่านป้ายนั้นแล้วจึงเดินเข้าไปในบ้าน ใช้เวลาอยู่กับการสำรวจภายในบ้านหลังนั้นและพบปะผู้ที่อาศัยอยู่พักใหญ่

คุณสังเกตเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่คุณสำรวจบ้านเสร็จแล้ว จึงได้เดินกลับออกมาข้างนอกอีกครั้ง แล้วหันหน้าไปทางบ้านหลังนั้น คุณเห็นประตูที่เปิดออกเห็นผู้ที่อยู่อาศัยในนั้นเดินออกมา แต่ละคนเป็นฝ่ายที่เดินเข้ามาหาคุณบ้าง สังเกตว่า มันมีอะไรเกิดขึ้น และในตอนนั้นคุณมีความรู้สึกอย่างไร

เมื่อคุณได้ทำความรู้จักกับทุกคนแล้ว คุณจึงได้หันหลังเดินกลับ ผ่านราวป่าไปยังเส้นทางเดิม ใช้เวลารวบรวมความคิด ความรู้สึกทั้งมวล และสะท้อนให้เห็นภาพว่าคุณได้ค้นพบอะไรมาบ้าง

ใช้เวลาอีกเช่นกัน ในการเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านพบลงไว้ มันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าจะตั้งสมมติฐานขึ้นว่า บ้านหลังนั้นคือสัญลักษณ์แห่งตัวตนของคุณ และผู้ที่อยู่อาศัยภายใน ก็คือ องค์ประกอบต่างๆที่อยู่ภายในตัวตนอังแท้จริงของคุณนั่นเอง

* คุณสร้าวความสัมพันธ์กับพวกเขาในลักษณะใด?
* พวกเขาจะพูดว่าอย่างไร?
* พวกเขาเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคยหรือไม่?
* บรรยากาศภายในบ้านเป็นอย่างไร?
* มีห้องมากน้อยเท่าไร มีองค์ประกอบใดที่ผิดปกติบ้างหรือไม่?
* ทั้งหมดนี้มันบอกอะไรเกี่ยวกับตัวคุณบ้าง และมันบอกให้ตัวคุณรู้ถึงความสัมพันธ์ที่คุณมีต่อองค์ประกอบภายในนั้นบ้าง หรือไม่ มีอะไรที่คุณอยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างหรือไม่?

คุณมาจากไหน?
* * *

การที่จะทำความรู้จักกับตัวเองนั้น หมายถึง คุณจะต้องทำความรู้จักกับประวัติชีวิต ซึ่งนั่นหมายถึงทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถ้าคุณเขียนแผนผังถึงเหตุการณ์อันสำคัญ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ หนทางเลือก และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตคุณ มันจะทำให้คุณเกิดแนวความคิด และทำให้รู้ได้ว่าคุณเป็นบุคคลที่ล้ำเลิศเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้อย่าง ไร

ทำแผนผังรากเหง้า
* *

การทำแผนผังประวัติแต่หนหลัง จะทำให้คุณได้ตระหนักว่า สิ่งที่คุณเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น มันมิได้เกิดขึ้นด้วยเหตุบังเอิญ คุณได้ถูกสร้างขึ้นด้วยอิทธิพลอันหลากหลาย เพื่อที่ว่าเมื่อคุณเจริญวัยขึ้น คุณย่อมมีอิทธิพลในอันที่จะสร้างรูปแบบให้กับชีวิตของตนเอง

แผนผังนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจในมรดกที่ตกทอดมาแต่อดีต รวมทั้งพลังหลายและแต้มต่อความทุกข์และความสุข

หลักประการสำคัญหนึ่งในการทำสิ่งนี้อยู่ตรงที่ว่า คุณจะต้องไม่ทำมันขึ้นด้วยเจตนาจะหลีกเลี่ยงหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือประณามกล่าวโทษในความโชคดีหรือโชคร้ายของตนว่ามีสาเหตุมาจากผู้อื่น

ทั้งนี้ เพราะถ้าคุณมีความเข้าใจกับเรื่องราวในอดีตแล้ว มันจะเป็นประหนึ่งแสงสว่างที่ส่องลงมายังเส้นาทางแห่งชีวิตในอนาคต

* * *
ทดสอบตนเอง
* * *

หยิบกระดาษขึ้นมาแผ่นหนึ่ง ขีดเส้นกลาง เส้นระนาบนี้คือเส้นที่สมมติว่า เป็นเส้นทางเดินของเวลาจากจุดเริ่มต้นนับแต่ถือกำเนิดไปจนถึงจุดสุดท้ายแห่ง ชีวิต ส่วนเส้นหยักหรือเส้นแนวยืน สมมติให้เป็นความรู้สึกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

คุณจะต้องเขียนเส้นความรู้สึกในทางบวกไว้เหนือเส้นแนวนอน ส่วนความรู้สึกในด้านลบอยู่ในระดับต่ำ

หลังจากนั้นคุณก็เขียนเหตุการณ์สำคัญกับช่วงเวลาในชีวิต เรียงลำดับของกาล/ภาพในลักษณะที่ข้องเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของคุณ

สังเกตความเปลี่ยนแปลงในความเป็นอยู่ ว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร มันทำให้คุณมีทัศนคติหรือเจตนารมณ์สนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ทุกวันนี้ มันยังเป็นประโยชน์ต่อคุณอยู่หรือจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง

คุณอาจต้องการให้เพื่อนสักคนได้มามีส่วนร่วมในการตั้งข้อสังเกตครั้งนี้ ด้วย เพื่อสร้างความกระจ่างชัดให้มากขึ้น และทำให้มันเป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจยิ่งขึ้น การเปิดเผยตัวเอง หรือการได้พูดถึงตัวเอง หรือการที่ได้พูดถึงตัวเองให้ใครบางคนที่พร้อมจะรับฟังได้ทราบไว้ เป็นหนึ่งในวิธีดีที่สุดจะทำให้คุณรู้จักตนเองมากขึ้น

การตั้งข้อสังเกตของเขาและการสนองตอบกลับมาย่อมเป็นสิ่งที่มีค่าด้วยเช่น กัน และประสบการณ์จากการที่เขาได้เข้ามามีส่วนรับรู้ในเรื่องนี้ จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างคุณกับเขาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

* * *
ค้นหารากเหง้า
* * *

การทำความเข้าใจกับภูมิหลังของตนเอง จะช่วยให้คุณสบายใจกับการตัดสินใจและหนทางเลือกต่างๆที่คุณได้กระทำลงไป

ทำแผนที่อิทธิพลของรูปแบบชี้ชัดในความสำคัญของมัน หรือเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ในชีวิต จะช่วยให้คุณค้นพบว่าตัวตนที่แท้จริงของคุณเป็นอย่างไร แตกต่างจากบุคคลที่คนอื่นอยากให้เป็นมากน้อยแค่ไหน

การกระทำตนให้เป็นคนอิสระ หมายถึง แยกตัวเองมาจากประวัติเหล่านั้นแล้วหาตัวตนใหม่ให้พบ แต่ประวัติที่ดีออกจะทำให้คุณเกิดความลังเลที่จะแยกตัวออกมา เป็นไปได้ที่จะทำให้คุณเกิดความรู้สึกว่า ขาดสิ่งสนับสนุนค้ำจุนอยู่เบื้องหลัง

แต่การแยกตัวออกมาจากประวัติทั้งที่ยังรักอยู่เช่นนี้เป็นสิ่งจำเป็น และจะทำให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้น

* * *
บทแห่งชีวิต
* * *

บทในที่นี้ หมายถึง สคริ๊ป แม้มันจะดูคล้ายกับว่า เมื่อครั้งยังเด็กมิได้มีการควบคุมหรือใช้อิทธิพลต่อสิ่งที่เลือกสรรเพื่อ ตัวอย่างแน่นอนเท่าใดนัก การตัดสินใจดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์ในวัยนั้น แต่เมื่อมาถึงวัยนี้มันอาจจะกลายเป็นอุปสรรคไปแล้วก็ได้

คุณจะต้องทำความรู้จักกับลักษณะการตัดสินใจในวัยเด็ก ซึ่งหมายรวมถึง เจตนารมณ์และความศรัทธาเชื่อมั่นด้วย มันจะช่วยให้คุณบังเกิดความระมัดระวังพฤติกรรมในวัยนี้

การตัดสินใจต่างๆเหล่านี้ บางครั้งเราเรียกว่า "บทหรือสคริพชีวิต" บางครั้งอาจจะเรียกว่า รากฐาน ซึ่งมันเป็นปริมณฑลของสามัญสำนึก จะคงอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะถึงวันที่คุณมองเห็นมัน มันสามารถเป็นตัวสร้างพลังอำนาจหรืออาจจะบ่อนทำลายลงได้ ขณะเดียวกันก็อาจจะปรับตัวให้ชีวิตในวัยเยาว์กับความเป็นผู้ใหญ่มีความสมดุล ได้ระดับอยู่เสมอ

บทชีวิตนี้ควรจะได้รับการประเมินทบทวน และเสริมสร้างด้วยสคริ๊พที่มีความถาวรกว่า ถ้าคุณต้องการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งขึ้นไว้

* *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

เขียนรูปแบบที่แตกกิ่งก้านสาขาออกโดยรอบคำถามที่ว่า "ผมมาจากไหน" ให้ผู้ที่คุ้นเคยกับคุณช่วยเขียนเหตุการณ์สำคัญต่างๆ รวมทั้งการตัดสินใจเข้ามาเชื่อมต่อศูนย์กลางนั้นตามความเหมาะสม

ขณะเดียวกันก็ควรเขียนเส้นโยงใยถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ต่างๆลงไว้ ด้วย พยายามปลุกเร้าความรู้สึก พิจารณาลึกลงไปถึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเหตุการณณ์ที่เคยประสบมาเหล่า นั้น ราวกับมันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน ซึ่งวิธีการนี้ยังจะช่วยพัฒนาความทรงจำของคุณเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้น ได้ด้วย ให้เวลากับการคิดหาคำถามมาบรรยายถึงความรู้สึกที่คุณมีต่อเหตุการณ์นั้นๆ แล้วใส่ลงตรงที่มีเส้นโยงใยไปถึง

แล้วลองรับฟังการสนองตอบที่จะเกิดตามมา ลองสังเกตดูว่าตอนนั้นคุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นหรือเป็นอุปสรรคก็ตาม

จุดประสงค์ในการทำเช่นนี้ ก็เพื่อชำระล้างสิ่งที่คุณยังทำไม่สำเร็จ ยังค้าคาอยู่กับชีวิตในอดีต เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถปิดประเด็นลงได้ เพื่อที่ความตั้งใจใหม่จะได้มีอิสระ และปฏิบัติไปตามความคิดใหม่ที่ได้กำหนดขึ้น และชีวิตของคุณก็จะได้ดำเนินต่อไป

* * *
คุณกำลังจะไปไหน
* * *

เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองเป็นใคร และกำลังออกเดินทางต่อไปแล้ว คุณย่อมต้องการรู้ว่า ตนเองกำลังมุ่งหน้าเดินไปสู่ทิศทางใด มีคนเป็นจำนวนมากที่เริ่มออกเดินทางไปในหลายทิศทางพร้อมๆกัน หรือไม่ก็มีความรู้สึกว่า พลังกายของตนถูกแย่งไปในหลายทิศทางดังกล่าว ซึ่งทำให้หาความก้าวหน้าให้กับตนเองเป็นไปได้ยาก

การค้นหาให้พบทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะทำให้เวลาในชีวิตของคุณมีค่า นอกจากนั้นมันยังแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง ความต้องการ หรือไม่ก็แรงกระทบที่ได้รับมาจากภายนอก และยังทำให้คุณสามารถสังเคราะห์หรือนำประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้นมารวมกันเข้า เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าขึ้น

ดังนั้น มันจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องมองให้เห็นภาพแห่งจุดหมายปลายทางในชีวิตของตน

* * *
สร้างทางเลือก
* * *

ทางเลือกใดที่เกิดขึ้น ย่อมหมายถึงว่า คุณละวางทางเลือกอื่นๆแล้ว บางครั้ง เมื่อคุณเดินมาถึงทางแยกของชีวิต คุณอาจจะเกิดความลังเลตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจะเดินไปทางไหนดี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคุณอยากเปิดโอกาสในทางเลือกให้กับตัวเองให้กว้างไว้ แต่ผลที่จะเกิดตามมาก็คือ มันจะทำให้คุณหยุดชะงักอยู่กับที่ ไม่มีความก้าวหน้าที่หวังไว้เกิดตามมา

คนเรานั้นย่อมจะต้องพบกับทางแยกในชีวิตมากมาย ซึ่งหมายรวมไปถึงบทบาทการดำเนินชีวิต และความเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งด้วย

มันคือเวลาที่คุณจะต้องนำไปใช้ในการพิจารณาการประเมินคุณค่าการเชื่อมโยง อีกครั้ง กับภาพในจินตนาการที่คุณสร้างขึ้น เพื่อเป็นการชี้แนะแนวทาง เลยไปถึงการดำเนินชีวิตและแผนการในชีวิตการทำงานด้วย

เมื่อคุณได้เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง หรือตัดสินใจได้ว่าจะเดินไปทางไหนแล้ว ซึ่งแน่นอนที่มันจะต้องประกอบด้วยการรู้จักตนเอง มันจะไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะละวางทางเลือกอื่นๆลง การที่คุณเกิดความหวั่นเกรงที่จะละวางทางเลือกที่มองเห็นอยู่ว่า มันเป็นสิ่งที่มีค่านั้น อาจจะเป็นเพราะคุณยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะเดินทางไปทางไหนก็ได้

การที่จะรู้ว่าตนเองกำลังจะเดินไปทางไหนนั้น จำเป็นจะต้องรู้เสียก่อนว่า ขณะนี้คุณกำลังยืนอยู่ตรงจุดไหน ถ้าคุณสามารถสร้างความกระจ่างกับตนเองในเรื่องสถานะปัจจุบันแล้ว อย่างน้อยมันก็จะช่วยให้คุณรู้ได้ว่าทิศทางที่กำลังจะมุ่งหน้าไปนั้นคืออะไร

และบางทีคุณอาจจะได้พบว่า มันไม่ใช่จุดหมายที่คุณคิดว่าตัวเองกำลังมุ่งหน้าเดินมาเลย มันอาจไม่ใช่จุดที่คุณต้องการจะไปให้ถึงก็ได้

* *
ทำแผนผังพัฒนาการของตัวเอง
* *

เพื่อเป็นการทำแผนผังพัฒนาการของตนเองขึ้นไว้ คุณหยิบกระดาษออกมาแผ่นหนึ่ง จากนั้นก็เขียนหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตของตนเองลงด้านหนึ่งของหน้ากระดาษ

ในแต่ละจุดของชีวิตนั้น เขียนลงไปด้วยว่า คุณมีความตั้งใจในเรื่องดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน และเขียนขยายความว่า คุณมีความสุขในจุดดังกล่าวนั้นบ้างหรือไม่ หลังจากนั้นก็ให้คำตอบกับตนเอง

ในที่สุดคุณจะต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดว่า ถ้าจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว คุณอยากจะให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวออกมาในรูปใด คุณอาจจะใช้วิธีจัดกลุ่มบทบาทในชีวิตเข้าด้วยกัน และพิจารณาว่าบทบาทต่างๆเหล่านั้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าสิ่งนี้จะเปิดเผยให้คุณได้เห็นถึงความเฉื่อยชา หยุดอยู่กับที่ หรือ ความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตต่อไปได้

สุขภาพ - (ความกระฉับกระเฉง, ความเฉื่อยชา, ความพอใจ, ความไม่พอใจ, เปลี่ยนแปลง (หรือ) ปรับปรุง, ความปรารถนา

การศึกษา - (ความกระฉับกระเฉง, ความเฉื่อยชา, ความพอใจ, ความไม่พอใจ, เปลี่ยนแปลง (หรือ) ปรับปรุง, ความปรารถนา

* *
ทำแผนผังการใช้จ่ายพลัง (กาย)
* *

การทำแผนผังเกี่ยวกับการใช้จ่ายพลังกายนั้น คุณจะต้องชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนและถูกต้องตรงต่อความจริงที่สุด ว่าในแต่ละส่วนของชีวิตนั้นคุณได้แจกจ่ายเวลาออกไปอย่างไรบ้าง

วิธีนี้จะทำให้คุณมองเห็นส่วนที่ดึงดูดพลังกายไปจากคุณจนหมดสิ้น และส่วนที่ช่วยให้คุณมีพลังกายเพิ่มขึ้นได้

เมื่อคุณทำแผนผังอันแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำขึ้นมาอีกแผ่นหนึ่ง คราวนี้แสดงให้เห็นว่า คุณต้องการแจกจ่ายเวลาลงตรงส่วนไหนอย่างไร

วิธีนี้จะช่วยให้คุณเน้นในความต้องการที่จะตรวจสอบการทุ่มเทพลังลงตาม ความสำคัญของลำดับก่อนหลังที่จัดขึ้นไว้ ขณะเดียวกันมันก็ยังจะชี้ให้คุณเห็นได้ด้วยว่า ถ้าจะขยายส่วนหนึ่งแล้ว ควรจะต้องตัดส่วนไหนลง

* *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

สร้างแผนภาพที่แยกแขนงขึ้นเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า "ผมกำลังจะไปไหน?" จดบันทึกข้อมูลในแขนงต่างๆ ที่ชี้ชัดถึงอาชีพ วิชาชีพ หรือแรงบันดาลใจ

ซึ่งสิ่งนี้อาจจะรวมถึงโอกาสต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา สัญลักษณ์ในวัยเด็ก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของความใฝ่ฝันในเทพนิยาย หรือประวัติบุคคลสำคัญ และการบันทึกถึงสิ่งที่สร้างความปลาบปลื้มยินดีเสริมสร้างพลังให้เกิดขึ้น กับคุณไว้ด้วย

โยงรูปแบบของแผนภาพให้เชื่อมต่อเข้ากับงานอื่นที่ทำอยู่และที่มันยังคง ความสำคัญสำหรับชีวิตคุณ แลัวพิจารณาว่ามันมีหัวข้อใดหรือทิศทางใดที่ปรากฏขึ้นให้เห็นได้บ้าง

ไม่ว่าคุณจะได้พบกับคำตอบนั้นหรือจะต้องเสาะแสวงหาแต่ละทางเลือกก็ตาม สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำตามคือ

1. ประเมินค่าของทางเลือกดังกล่าว
2. ชั่งน้ำหนักในผลได้ผลเสีย
3. ชี้ชัดในความเกี่ยวพัน
4. ตรวจระดับแรงผลักดันที่เกี่ยวโยงไปถึงความสำเร็จตามเป้าหมาย

ถ้าคุณพบว่ามันมีทิศทางเกิดอยู่อย่างมากมาย คุณย่อมจะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่ามันมความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นหนึ่งอย่างไร

คุณอาจจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังขึ้น และละทิ้งในบางประเด็นที่ไม่สำคัญไปเสีย

* *
อะไรเป็นอุปสรรคที่ขัดขวาง
* *

การที่คนเราจะต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งต่างๆนั้น แน่นอนที่จะต้องพบกับอุปสรรคมากมาย และจำเป็นที่จะต้องแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้นในขณะที่ตกอยู่ในสภาพที่ถูกบีบ บังคับให้ก้าวหน้าต่อไปพร้อมกันอีกด้วย

ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นมรดกจากการกระทำในอดีต หรืออาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงเส้นทางในการดำเนินชีวิตที่มิได้ราบ รื่น อุปสรรคเหล่านี้ก็มีทั้งที่เห็นได้อย่างชัดแจ้ง และเกิดขึ้นทั้งที่รู้ หรือไม่ก็อาจจะเคลือบคลุมและเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวได้

การที่เราจะมองให้เห็นอุปสรรคดังกล่าวด้วยสามัญสำนึกนั้น เราจะต้องเลือกวิธีที่จะจัดการกับมัน บางคนใช้วิธีรุนแรง บางคนใช้เล่ห์เหลี่ยมแบบฉลาดแกมโกง บางคนใช้วิธีเดินอ้อม แต่บางคนก็พยายามหลีกเลี่ยง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สร้างความลำบากยากเย็นให้เกิดขึ้น สามารถประเมินหรือวัดได้จากความเคลื่อนไหวด้วยแรงผลักดัน ความชำนาญพิเศษที่คุณมีอยู่ ไม่เช่นนั้นแล้วคุณย่อมมิได้เดินอยู่บนเส้นทางในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

บางคนอาจจะมีความรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องง่ายที่จะมองให้เห็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตน แต่บางคนก็มิได้เป็นเช่นนั้น บางคนคิดว่าตนเองรู้ แต่ความจริงแล้วมิได้รู้เลย แต่กระนั้นก็ยังมีบางคนที่รู้จักอุปสรรคนั้นอย่างดีเพียงแต่มิได้ตระหนักว่า มันเป็นอุปสรรคเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ยังมีบางคนที่มองเห็นอย่างคลุมเครือ ไม่สามารถบ่งชี้ออกมาได้ว่ามันจะเป็นประโยชน์หรือโทษแก่ตนอย่างไรหรือไม่

* *
สำรวจอุปสรรค
* *

การทำแผนที่ภาพที่ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคที่ขัดขวางคุณไว้ในรูปแบบของปัญหา จะช่วยได้อย่างมาก เมื่อคุณอยู่ในฐานะที่ตระหนักว่าอุปสรรคนั้นคืออะไร หรือไม่ก็อาจชี้ชัดให้คุณมองเห็นปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เราได้พบว่า คุณอาจไม่สามารถทำในสิ่งนี้
ที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณเกิดความอับจนปัญญา หรือไม่ก็เพียงสัมผัสความรู้สึกอย่างคลุมเครือว่ามันมีอุปสรรคเกิดขึ้นอยู่ เพียงแต่คุณยังมองไม่เห็นวิธีที่จะชี้ให้แน่ชัดลงไปว่ามันเกิดอยู่ตรงไหน และนำมันออกมาพิจารณาหาความรู้ได้

* *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

วิธีง่ายที่สุดที่จะทำให้คุณรู้ถึงปัญหาหรืออุปสรรคก็คือ รับฟังการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่สติปัญญาระดับเดียวกัน

การเขีนแผนภาพดังกล่าว จะช่วยให้คุณมองเห็นความเกี่ยวพันระหว่างอุปสรรคต่างๆที่กีดขวางความก้าวหน้าของคุณไว้

เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่า ที่จะทำได้ หลังจากนั้นถ้าคุณสามารถให้อุปสรรคออกมาในรูปของปัญหา คุณก็ย่อมสามารถจะเอาวงจรของวิธีการแก้ไขปัญหาเข้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นด้วยปัญหาความขัดแย้งทางด้านทัศนคติส่วนบุคคลนั้น เป็นความยุ่งยากที่คล้ายคลึงกับปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่คุณเคยผ่านพบมาแล้ว คุณอาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าอะไรคือต้นเหตุแห่งปัญหานั้นก็ได้ ขณะเดียวกันคุณก็อาจจะไม่รู้ว่าจะนำมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อความเชื่อ มั่นศรัทธาและพฤติกรรมของคุณได้อย่างไร

* *
ทดสอบตนเอง
* *

จงนั่งหันหน้าเข้าหาผนังห้อง สมมติว่าผนังห้องคืออุปสรรคที่คุณกำลังเผชิญอยู่ (ควรจะหลับตาลงเพื่อสร้างมโนภาพด้วย ถ้าคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ช่วยได้ดีขึ้น) แล้วลองพิจารณาว่าคุณสามารถสร้างภาพอุปสรรคนั้นขึ้นในจิตใจได้หรือไม่

ถามตัวเองว่า อุปสรรคนั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น มองให้เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สีสัน ขนาด และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย ให้เวลาตัวคุณเองสำหรับการสำรวจมันอย่างถ้วนถี่เท่าที่ทำได้

อุปสรรคนั้นเป็นบุคคล เป็นวัตถุ หรือว่าเป็นแนวความคิด พิจารณาถึงความคิด ความรู้สึก และทัศนคติที่เกิดขึ้นขณะเผชิญปัญหาที่เป็นอุปสรรคดังกล่าว

ต่อมา คุณทำตัวเป็นอุปสรรคเสียเอง หันหลังพิงผนังห้องหันหน้าสู่เก้าอี้แล้วลองดูสิว่า การทำตัวเองเป็นอุปสรรคเช่นนี้มันเป็นอย่างไร คุณมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร คุณมีทัศนคติต่อคนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ตรงหน้าอย่างไร คุณชอบหรือไม่ชอบบุคคลผู้นั้น ในฐานะที่เป็นอุปสรรค คุณควรจะเอ่ยถึงจุดประสงค์ในการดำรงชีวิตออกมา

เมื่อคุณได้ใช้เวลากับการสำรวจอุปสรรคจากความรู้สึกนึกคิดภายในแล้ว คุณจะต้องเริ่มพูดกับตัวเอง (เก้าอี้ตัวที่ตั้งอยู่ตรงหน้า) ว่าสิ่งที่อุปสรรคต้องการพูดออกมาคืออะไร มันอยากให้คุณเดินให้ช้าลง หรือบอกว่าไม่ให้เดินไปในทิศทางที่เลือกไว้บ้างหรือเปล่า?

คุณจะต้องปล่อยให้อุปสรรคสื่อความเข้าใจออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมาก ได้หลังจากนั้นก็กลับมาเป็นตัวของคุณเอง ปรับเปลี่ยนกลับมาเป็นเก้าอี้ให้ได้ แล้วเริ่มตอบคำถามคำตอบระหว่างผนังห้องกับเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา ให้แต่ละฝ่ายได้เสนอข้อเรียกร้องของตนเองออกมา ซึ่งก็ต้องมีความพอใจและไม่พอใจ

แล้วลองพิจารณาต่อไปว่า มันจะสามารถเจรจาต่อรองเพื่อให้บรรลุข้อตกลงตามความประสงค์ของทั้งสองฝ่าย และช่วยให้อุปสรรรคหายไปได้อย่างไร

ถ้าอุปสรรคดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง คุณอาจจะพบว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าคุณจะให้ตัวอุปสรรคนั้นได้พูดกับบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิต เช่น คู่ครอง หรือลูก

แล้วคุณจะพบว่า ผลที่เกิดตามมานั้นเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง มันจะทำให้เกิดแสงสว่างและยังสร้างสรรค์ หนทางในการแก้ปัญหาให้คุณได้อีกด้วย

* *
คุณจะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร
* *

มีการตัดสินใจที่ดีมากมาย ที่แม้จะมีการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพไว้ แต่ก็ยังมิได้บรรลุผลสมความปรารถนา บางคนนั้นเมื่อเกิดความคิดก็ลงมือทำไปเลย แต่แล้วก็ต้องพบกับการที่ได้ตระหนักว่า ความม่งมั่นของตนเองยิ่งใหญ่กว่าที่คิดไว้มาก เขาอาจจะพบว่าตนเองไม่มีทั้งเวลา พลังกาย หรือแรงผลักดันที่เข้ามาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการตัดสินใจในครั้งนี้ได้

สิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ จะต้องวางแผนด้วยความรอบคอบระมัดระวัง

ประการแรก คุณจะต้องรู้อย่างแน่ชัดว่า คุณจะออกเดินทางจากจุดยืนอยู่ไปยังจุดที่ตัดสินใจว่าจะต้องเดินไปให้ถึงได้ด้วยวิธีใด

ประการที่สอง แผนการที่คุณวางขึ้นไว้นั้นอาจจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นขั้นตอน

ประการที่สาม จะต้องมีการจัดระเบียบให้กับขั้นตอนดังกล่าว เพื่อให้เกิดผลที่สามรถดำเนินการต่อไปได้ การกระทำแต่ละขั้นตอนจะต้องมีการกำหนดเวลาควบคู่กันไว้ด้วย หลังจากนั้นแล้วคุณยังจำเป็นจะต้องหาข้อมูลว่าอะไรจะเป็นสิ่งช่วยให้คุณก้าว ไปสู่จุดหมายนั้น

* *
การวิเคราะห์สนามแห่งพลัง
* *

หลักสูตรที่ว่าต้องการทำแผนภาพ วิธีการที่จะไปให้ถึงจุดหมายที่คุณต้องการไปนั้นได้รับการสรรค์สร้างขึ้น โดยเคิร์ท เลวิน นักสังคมศาสตร์ โดยตั้งสมมติฐานขึ้นว่าคุณอยู่ในสภาพที่สมดุล ซึ่งความสมดุลที่ก่อให้เกิดความมั่นคงดังกล่าวนั้นถูกยึดเหนี่ยวไว้ด้วยทั้ง แรงผลักและแรงดัน

การวิเคราะห์สนามพลัง จะช่วยให้คุณเขียนแผนภาพของพลังที่ทั้งผลักและดัน ความเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการสร้างให้เกิดขึ้น

โดยกำหนดให้ตัวคุณเองเป็นเส้นขวางแนวนอน ส่วนความสูงต่ำของเส้น ในแนวตั้งนั้นกำลังแรงของพลังที่มีอยู่ในสนาม

ทางเลือกที่จะทำให้คุณสามารถเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อการปรับเปลี่ยนตามความต้องการมีดังนี้

1. เพิ่มพลังของความเปลี่ยนแปลง (แรงผลัก)
2. ลดพลังที่ต่อต้าน (แรงดัน)
3. จะต้องทำทั้งสองสิ่งนั้นในเวลาเดียวกัน
4. สร้างพลังใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
5. ลดพลังต่อต้านลง บางครั้งแรงกดันที่เกิดอยู่ในใจคุณนั่นเองเป็นแรงต่อต้าน

* *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

เขียนแผนภาพแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงกับคำถามที่ว่า .. ผมจะไปถึงทั่นั่นได้อย่างไร ? .... แสดงขั้นตอนที่เป็นไปได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะขั้นตอนที่จะทำให้คุณก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งขึ้นไว้ได้ แม้มันจะดูเป็นเรื่องเพื่อฝันหรือไม่ตรงต่อความเป็นจริงไปบ้าง แต่เป็นเรื่องที่เราจะเอาไว้พูดกันต่อไปภายหลัง

อย่างไรก็ตาม คุณควรจะเชื่อมโยงความมีอารมณ์ขันหรือข้อแนะนำที่ไร้เหตุผลนี้เข้าไว้ เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวความมุ่งหวังตั้งใจในอันที่จะแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพได้

หลังจากนั้นคุณจึงนำทางออกต่างๆ เหล่านี้มีประเมินคุณค่าดู ซึ่งจะต้องมีการชั่งน้ำหนักทั้งข้อมูลที่มันบีบบังคับอยู่ เพื่อที่จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าอะไรคือหนทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

และในที่สุดคุณจะได้พบว่า ทางออกที่คุณเลือกให้กับตัวเองนั้น มันมีขอบเขตของหนทางในการแก้ปัญหาจากแง่มุมต่างๆเข้ามารวมอยู่ด้วย

* *
ผมต้องการความช่วยเหลืออะไรเพื่อไปให้ถึงที่นั่นบ้าง?
* *

เมื่อใดก็ตามที่คุณรับงานใหม่หรือโครงการใไม่ คุณย่อมต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมจะหยิบฉวยมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เพราะถ้าคุณไม่มีความรู้ในเรื่องที่สำคัญแล้ว มันอาจสร้างความวิบัติให้กับชีวิตและการทำงานของคุณได้ มันอาจหมายถึงคณต้องยกเลิกโครงการทั้งหมด หรือถ้าไม่รุนแรงถึงขั้นนั้นมันก็ยังทำให้งานล่าช้ากว่าที่ควรเป็นอยู่ดี

เพราะฉะนั้น คุณควรจะสร้างแผนภาพข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นขึ้น ซึ่งแผนภาพดังกล่าวมันจะต้องสมบูรณ์แบบ คือ หยิบใช้ได้เมื่อเริ่มต้นการทำงานได้ทุกเมื่อ ข้อมูลที่อยู่ในข่ายรายการพิจารณาสำคัญ มีอยู่สามประการ คือ

* เกี่ยวกับส่วนบุคคล
* เกี่ยวกับผู้คน
* เกี่ยวกับวัตถุดิบ

* *
ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนบุคคล
* *

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน สามารถบ่งชี้ได้ในบางรูปแบบของการประเมินคุณค่า ซึ่งขอบข่ายของมันมีตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับตัวเองที่มีอยู่ ความรู้ที่ได้รับมาจากเพื่อนสนิทหรือเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะเป็นความรู้จากจิตแพทย์และการทดสอบเกี่ยวกับด้านการ ศึกษา เป็นต้น

ข้อมูลดังกล่าว จำเป็นต้องทำขึ้นหลายลักษณะ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตน ความรู้ความสามารถพิเศษ ทัศนคติและความเชื่อถือศรัทธา และต้องขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงที่คุณกำลังแสวงหาด้วย

คุณยังจะต้องเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองกับบุคคลบางคนที่จำเป็น ถ้าคุณหวังที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย และยังรักษาระดับความพอใจไว้ได้เมื่อไปถึงที่นั่นแล้ว

ซึ่งการเปรียบเทียบดังกล่าวจะช่วยให้คุณเห็นข้อมูลสำคัญที่ต้องการจะนำมา ปรับปรุงตัวเอง เพื่อพัฒนาคุณสมบัติให้ดีขึ้นก่อนที่จะเริ่มลงมือ หรือบุคคลที่คุณยังจะต้องทำงานร่วมกับเขาต่อไป

* *
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คน
* *

คุณจะต้องแน่ใจว่ามีข้อมูลมากพอที่จะสนับสนุนตนเอง โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้คนนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าคุณต้องการให้ตนเองได้พบกับโอกสแห่งความสำเร็จ

ในที่ทำงานนั้น คุณอาจจะได้พบกับผู้ร่วมงานที่สูงวัยและสูงด้วยประสบการณ์ ซึ่งคุณรู้สึกประทับใจในตัวเขามาก บุคคลแบบนี้ย่อมสามรถเป็นที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยแนะแนวทางให้กับคุณได้ คุณอาจจะได้พบกับเพื่อนร่วมงานผู้สามารถให้ข้อมูลอันเป็นผลที่สะท้อนกลับมา ได้ หรือคุณอาจจะได้พบเพื่อนผู้พร้อมจะรับฟังปัญหาของคุณ และยังเป็นผู้แสดงความคิดเห็นที่ทำให้คุณเกิดปัญญาและนำไปสู่ความก้าวหน้า ได้

เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณย่อมต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนจากครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังริเริ่มโครงการใหญ่ ซึ่งพวกเขาจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ซึ่งมันหมายความว่าพวกเขาจะไม่ใคร่ได้เห็นหน้าตาคุณบ่อยเหมือนเวลาปกติ ธรรมดา และในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เขายินดีที่จะรับภระทำงานจิปาถะต่างๆ แทนคุณด้วย หรือก็ยังอาจจะเป็นเพื่อนของคุณได้ด้วย

นอกเหนือจากในสถานที่ทำงานและที่บ้านแล้ว ก็ยังเป็นไปได้ที่คุณจะต้องพบปะกับผู้คนที่สามารถจะให้ข้อมูลอันเป็น ประโยชน์รวมไปถึงความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ คุณอาจจะเข้าร่วมกลุ่มผู้สนับสนุนและสร้างข่ายงานขึ้นร่วมกับบุคคลที่มีความ คิดเห็นคล้ายคลึงกัน

คุณอาจจะเข้ารับการอบรมกับกลุ่มพัฒนาตนเองกลุ่มที่ปรึกษา หรือหาความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอะไรก็ตาม

แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ คุณจะต้องแน่ใจว่า คุณได้ทำงานร่วมกันกับบุคคลที่คุณมีความสนใจในตัวเขาอย่างจริงจัง เขาจะไม่เข้ามาขัดขวางในสิ่งที่คุณไม่ต้องการทำ และจะไม่ยึดครองอำนาจไปเสียหมดคนเดียว

ขณะเดียวกันคุณจะต้องแน่ใจด้วยว่า เขาเป็นบุคคลประเภทเอาใจเขามาใส่ใจเรา และมีความรักใคร่ในตัวคุณไม่น้อยไปกว่า พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณเมื่อคราวจำเป็น

แต่ในบางครั้งคุณก็จำเป็นที่จะต้องพบกับบุคคลที่คุณไม่เคยชอบหน้าเขามา ก่อน เพียงเพื่อจะเรียนรู้ว่า คุณค่าที่แท้จริงของตัวเองนั้น เป็นอย่างไร

* *
ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ
* *

ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนี้ มีตั้งแต่เรื่องเงิน เรื่องชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญและโอกาสที่จะพัฒนาและทดลองในวิธีการแนวใหม่

ซึ่งความพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง มันอาจจะออกมาในรูปของการลงทุนสูง มันอาจจะออกมาในรูปของการลงทุนด้วยเงิน ด้วยเวลา เรื่องของตัวบุคคล แผนกงาน ไปจนกระทั่งวัตถุดิบ ซึ่งค่าใช้จ่ายในสิ่งต่างๆเหล่านี้ ถ้าจะทำให้คุณเห็นศักยภาพส่วนบุคคลของตนเองแล้ว มันอาจจะสร้างความแปลกใจให้เกิดขึ้นได้อย่างมากทีเดียว

ก่อนที่คุณจะพิจารณาทำความรู้จักกับตนเองอย่างถ่องแท้นั้น คุณจะต้องมีความสามารถที่จะทำให้ตัวเองอยู่รอดและดำรงสถานะของตนเองให้มั่น คงเสียก่อน

ดังนั้น มันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่คุณจะต้องแสวงหาหรือสร้างสรรค์ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุขึ้น และยังมีข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการ

แต่จงอย่าได้นั่งรอเวลาที่ข้อมูลเหล่านั้นจะปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างเด็ดขาด เพราะมันจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นแน่

* *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

สร้างแผนภาพโดยให้ตัวคุณอยู่ตรงกลาง แล้วลากเส้นออกไปอันเป็นความหมายบ่งบอกถึงบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ใน ชีวิต แสดงให้เห็นด้วยว่าพวกเขามีความใกล้ชิดสนิทสนมและมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน

ในการนี้คุณอาจจะมีข้อผุกมัดต่อบุคคลที่คาดหมายไว้ ลองดูสิว่าคุณสามารถชี้บ่งข้อผูกมัดเหล่านั้นได้บ้างหรือไม่ และในความเท่าเทียมกันนั้น เขาเองก็ย่อมจะต้องมีข้อผูกมัดและความคาดหวังจากคุณด้วย

คุณอาจต้องการเขียนสิ่งต่างๆเหล่านี้ลง แล้วตรวจสอบกับบุคคลผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้น และมันก็มีทางที่จะเป็นไปได้ว่าพวกเขาย่อมจะต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นกับคุณด้วย

คุณจะต้องแสดงความกระจ่างชัดในข้อผูกมัดต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้เพื่อช่วยทางด้านการปูพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรองเพื่อหาหนทางและ การสนับสนุนซึ่งการเจรจาต่อรองในรูปแบบดังกล่าว ย่อมต้องการการแลกเปลี่ยนความเข้าใจอันดียิ่งต่อกัน

สำหรับบุคคลในแผนภาพเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนอยู่ หรืออาจจะได้รับการสนับสนุนต่อไปในโอกาสข้างหน้า คุณจะต้องถามตัวเองด้วยว่า คุณอยากได้รับการสนับสนุนแบบไหน และเขาจะให้การสนับสนุนคุณได้อย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ... คุณจะต้องถามตัวเองว่า เขาให้ความช่วยเหลือในเรื่องภายในหรืองานที่ทำอยู่อันเป็นการแสดงออกภายนอก? บุคคลเหล่านี้สามารถให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในสิ่งที่คุณต้องการหรือ ไม่..? หรือว่าคุณจะต้องไปหาแรงสนับสนุนนั้นนอกแวดวงที่มีอยู่..?

**
ทดสอบตนเอง
**

สร้างแผนภาพเป็นการวางโครงสร้างของข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง ชี้ชัดว่าข้อใดในจำนวนนี้ที่มีความสำคัญมากหรือเพียงแค่เป็นประโยชน์ ทั้งที่มีอยู่แล้วตรงจุดหมายปลายทางที่คุณกำลังต้องการในปัจจุบัน และที่คุณต้องการนำมาใช้ในภายหลัง

ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ คุณสามารถสอบถามจากเพื่อนหรือผูเชี่ยวชาญได้

* *
จุดมุ่งหมายเป็นอย่างไร
* *

มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องมองเห็นภาพของสิ่งที่คุณตั้งขึ้น เป็นเป้าหมายไว้ในใจอย่างกระจ่างชัด ก่อนที่คุณจะทุ่มเทพลังกายพลังใจลงไปเพื่อแสวงหามัน ซึ่งก็เช่นเดียวกับสถาปนิกที่จะต้องสร้างโมเดลขึ้นก่อนที่เขาจะลงมือก่อ สร้างอาคารตัวจริง

ซึ่งการมองเห็นภาพดังกล่าว จะสนองจุดประสงค์สามประการ

ประการแรก ภาพที่คุณมองเห็นอยู่นั้น คุณสามารถปรับแต่งให้เป็นรูปแบบที่ต้องการได้

ประการที่สอง มันเป็นการง่ายที่จะมองเห็นปัญหาขณะที่มันยังเป็นเพียงภาพ

ประการที่สาม มันจะก่อให้เกิดความกระตือรือร้น มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะทำให้การก่อสร้างนั้นดำเนินไปอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องทำสิ่งนี้ เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่ตั้งขึ้นไว้

* *
สร้างโมเดลขึ้น
* *

เมื่อคุณได้ผ่านขั้นตอนต่างๆมาแล้ว คุณย่อมเกิดแนวความคิดที่ดีขึ้นมาได้ว่าจะเลือกเดินไปในทิศทางใด จะไปให้ถึงจุดหมายได้อย่างไร ขณะเดียวกันคุณก็ยังมีประสบการณ์พานพบกับความยากลำบากต่างๆ ในระหว่างการเดินทางอีกด้วย แต่เมื่อไปถึงที่นั่นคุณอาจจะได้พบว่า แท้ที่จริงแล้วมันมิใช่สิ่งที่เป็นจุดหมายซึ่งคุณตั้งไว้ในใจเลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่คุณจะต้องสสร้าง "โมเดล" ขึ้นไว้ก่อน มันเป็นโมเดลของคุณเองที่จะเป็นสิ่งชี้แนะแนวทาง หรือฉุดรั้งให้คุณเดินต่อไปพื่อบรรลุจุดหมายนั้น

ขณะที่คุณใช้เวลาอยู่กับการใช้ความคิดพิจารณาถึงแนวทางต่างๆ นั้น เท่ากับคุณได้สร้างความเคลื่อนไหวและทำให้ภาพนั้นมีพลังอำนาจมากขึ้น ภาพที่เกิดจะเป็นการกระตุ้นอารมณ์และความปรารถนาที่จะลงมือปฏิบัติ

เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องยอมอนุญาตให้ตัวเองสร้างความฝัน และจินตนาการว่า คุณจะเป็นอย่างไรเมื่อไปถึงที่นั่น การมองให้เห็นภาพดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ มันทำให้ความรู้สึกผูกพัน กล้าแข็ง มีกำลังขึ้น การยืนยันต่อตัวเองเช่นนี้จะเป็นการเสริมทั้งสถานะของตัวคุณเอง และทิศทางที่จะดำเนินต่อไปและมันจะยิ่งทำให้เงื่อนไขข้อผูกมัดต่างๆ มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นด้วย

* *
เผชิญอุปสรรคภายนอก
* *

คุณไม่สามารถกำหนดพลังแห่งความตั้งใจ เมื่อเผชิญหน้าอุปสรรคด้วยองค์ประกอบภายในหลากหลายที่มีอยู่แต่เพียงอย่าง เดียวได้ คุณอาจจะพบว่าไม่สามารถประคับประคองภาพที่สร้างขึ้นไว้ได้ ถ้าคุณเริ่มเกิดความกลัวหรือมีแรงต่อต้านเกิดขึ้นในใจ เพราะฉะนั้นคุณจะต้องยอมรับในความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องพยายามต่อต้านมันไว้ และทำให้ความฝันของคุณมีองค์ประกอบที่จะช่วยให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้

ถ้าคุณดึงดัน ถ้าคุณแสร้งทำเป็นละเลยต่อความรู้สึกดังกล่าว หรือใช้ความพยายามที่จะกำหนดใจขึ้นต่อต้านกับมันแล้ว มันจะยิ่งเป็นการสร้างแรงต้านให้เพิ่มความรุนแรงขึ้น และในที่สุดคุณก็จะตกเป็นเหยื่อกับพลังต่อต้านทั้งหลายที่เกิดอยู่ในใจของตน เอง

เมื่อคุณเผชิญหน้ากับอุปสรรคภายในทั้งหลายเหล่านี้ คุณก็จะต้องไม่ต่อสู้กับมันอย่างเด็ดขาด แต่จะต้องทำใจให้ยอมรับมันเข้าไว้

การเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนตัวเข้าไปสู่เหตุการณ์ที่คุณไม่เคยมี ประสบการณ์มาก่อน คือ การท้าทายและออกจะเป็นการเสี่ยงอยู่มาก ถ้าคุณเตรียมตัวไว้ให้พร้อมที่จะพบอุปสรรคแล้ว เมื่อใดที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นคุณย่อมไม่หวั่นไหวหรือเสียกำลังใจ อย่างแน่นอน

ถ้าคุณสามารถเปิดใจให้ยอมรับกับอุปสรรคทั้งหลายที่จะผ่านเข้ามาได้ ในที่สุดคุณก็จะได้พบกับหนทางที่จะปราบความรู้สึกดังกล่าวให้สงบลง หรือไม่ก็นำมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อแนวความคิดของคุณได้

ซึ่งในเรื่องนี้คุณจำเป็นจะต้องอดทน ยืนยันในเจตนารมณ์ของตัวเอง จงอย่าให้ความรู้สึกในทางลบซึ่งเกิดก่ออยู่ในใจเข้ามามีอำนาจเหนืออย่างเด็ด ขาด

* *
สรรค์สร้างภาพพจน์
* *

ขณะที่คุณสร้างภาพพจน์ของตัวเองขึ้นด้วยวิธีนี้นั้นคุณจะพบว่าตัวเอง กำลังเดินหน้าถอยหลังอยู่กับขั้นตอนต่างๆที่มีอยู่ ในแผนภาพดังกล่าวจะทำให้คุณสามารถสร้างทัศนคติในทางบวกให้เกิดขึ้นในใจ ซึ่งนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อคุณจะต้องทำความรู้จักกับแนวความคิดของ ตัวเอง

ขณะสร้างภาพพจน์หรือแนวความคิดขึ้น คุณก็จะต้องนำวิธีการต่างๆเข้ามาใช้ เพื่อสร้างและขยายภาพแห่งอนาคตที่คณมุ่งหวังตั้งใจไว้ด้วย คุณอาจจะต้องใช้ทั้งวิธีเขียนรูปวาดเค้าโครง จดบันทึกลงไว้ในสมุดบันทึกประจำวัน แปลความหมายของความฝันที่สร้างขึ้น อ่านประวสัติบุคคลสำคัญ หรือไม่ก็หนังสือที่นำมาใช้ประกอบอย่างมากมาย

เหล่านี้ คือสิ่งที่จะเข้ามาเสริมส่งมโนภาพให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพฤติกรรมที่จะต้องกำหนดว่า เมื่อไปถึงจุดหมายแล้วจะต้องปฏิบัติอย่างไร

เมื่อคุณสร้างภาพแนวความคิดต่างๆขึ้นแล้ว ควรจะเก็บมันไว้ในความทรงจำถาวร พยายามปลุกเร้าความมุ่งหวังตั้งใจขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำพลังที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยน์กับภาพที่ สร้างไว้

* * *
ทดลองทำเดี๋ยวนี้
* *

ก่อนที่คุณจะนำความคิดหรือแผนการมาลงมือปฏิบัติคุณจะต้องมองให้เห็นภาพ ว่าชีวิตของตนเองจะเป็นอย่างไรเมื่อบรรลุผลสมตามเป้าหมายที่ได้ตั้งขึ้นไว้ แล้ว

ถ้านี่คือความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ คุณอาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างโมเดลหรือมโนภาพ ตกแต่งให้รูปลักษณ์ดีขึ้นทุกครั้งที่ทบทวนถึงมันมากกว่าปกติ

ขั้นตอนต่อไปคือ คุณจะต้องกำจัดแนวความคิดที่ผิดพลาดหรือไม่มีความเป็นไปได้ออกไปให้หมดสิ้น จะต้องรู้จักวิจารณ์แผนการที่ตนเองได้สร้างขึ้นไว้ อาจจะขอความร่วมมือให้ใครบางคนช่วยวิเคราะห์วิจารณ์ เพื่อให้คุณมีความเข้าใจกระจ่างแจ้งต่อเงื่อนไขต่างๆที่สร้างขึ้นไว้ด้วย

ในที่สุด เมื่อคุณมองเห็นภาพแห่งอนาคตที่แน่ใจว่าตนเองต้องการให้เป็นเช่นนั้นแล้ว ลองนึกภาพเปรียบเทียบว่าจะเป็นอย่างไรถ้าคุณไปไม่ถึงจุดหมายนั้น ใช้เวลาทบทวนความคิดและพิจารณา เพื่อมองให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะก้าวไปให้ถึงจุดหมายดังกล่าว

วิธีการนี้จะช่วยเป็นพลังผลักดันให้คุณก้าวเข้าไปสู่ขั้นของการลงมือปฏิบัติได้อย่างเต็มที่

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548

12 คำถามคาใจจากผู้ชายถึงผู้หญิง

มี คำกล่าวคุ้นหูว่าผู้ชายมาจากดาวอังคาร ผู้หญิงมาจากดาวศุกร์ แต่เมื่อต้องมาอยู่คู่กันบนโลก ต่างฝ่ายจึงไม่เข้าใจในพฤติกรรมบางอย่างของกันและกัน ผู้ชายคง นึกรำคาญที่เวลาไปเดทกันทีไรคุณเธอก็เอาแต่ปรี่เข้าหากองเสื้อผ้าลดราคาทุก ที หรือนั่งคุยกันอยู่ดีๆ เกิดองค์ลงขึ้นมาเสียอย่างนั้น นั่งนิ่งเงียบไม่พูดไม่จา ถามว่าเป็น อะไรก็เอาแต่ตอบว่าเปล่าๆๆ นึกไปนึกมาตูไปทำอะไรผิดตอนไหนกันนี่ แล้วเจ๊คนนั้นนุ่งสั้นมาให้มอง พอเหลือบไปมองเข้าหน่อยดันหันมาค้อนตาเขียว ตกลง พวกเธอต้องการอะไรกันแน่



เพื่อช่วยแก้ปัญหาค้างคาใจของเหล่าชายหนุ่ม เรามีคำตอบจาก 12 สาวที่จะมาขอเคลียร์ให้ชัดๆ ไปเลยว่าผู้หญิงคิดอะไร ลองมาเดากันเล่นๆ ดูซิว่าใครเป็นเจ้าของ คำตอบแต่ละข้อ อยากรู้ต้องไปดูคำตอบและคำเฉลยในฉบับ 1 สิงหาคมนี้เท่านั้น!!

  • "ทำไมผู้หญิงถึงบ้าช้อปปิ้งครับ เห็นกะบะเซลล์ไม่ได้เป็นต้องวิ่งเข้าใส่ บางทีแค่เข้าไปคุ้ยๆ เสร็จแล้วก็เดินออกมาซะงั้น ไม่ซื้อสักตัว"

  • "ผู้หญิงชอบแต่งตัวเซ็กซี่ ใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก กระโปรงสั้นๆ เหมือนอยากให้คนมอง แต่พอมองเข้าจริงกลับหันมาค้อนขวับตาเขียว แล้วตกลงจะเซ็กซี่มาเพื่ออะไรครับ"
    • "ทำไมผู้หญิงชอบคิดว่าตัวเองอ้วนอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่บางคนก็ผอมอยู่แล้ว น้ำหนักแค่ไหนพวกเธอถึงจะพอใจ"
  • "ทำไมผู้หญิงชอบพูดจาง๊องแง๊งกับแฟนครับ"
    • "...เอ่อ...ผมอยากรู้ว่าผู้หญิงดูหนังโป๊กันบ้างรึเปล่าครับ"
  • "ผู้ชายหล่อแต่จน ไม่หล่อแต่เร้าใจ กับผู้ชายรวยแต่งี่เง่า อยากรู้ว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับหน้าตาและฐานะของผู้ชายแค่ไหนครับ"
    • "ทำไมผู้หญิงต้องอิจฉาคนที่เซ็กซี่กว่าตัวเองด้วยล่ะครับ"
  • "ผมไม่ได้หมกมุ่นเรื่องพรรค์นั้นนะครับ แค่อยากรู้ว่าผู้หญิงสนใจเรื่อง ‘ขนาด’ ของผู้ชายมากแค่ไหน"
    • "ทำไมแฟนผมต้องโทรตามตัวตลอดเวลา แทบจะทุก 10 นาทีเลย แล้วก็ถามทุกทีว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่"
  • "ทำไมผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบห้ามไม่ให้ผู้ชายไปเที่ยวกับเพื่อนด้วยล่ะครับ ต้องให้เลือกตลอดเลยว่าจะเลือกฉันหรือเพื่อนเธอ"
    • "ขอรู้หน่อยได้ไหมครับว่าผู้หญิงนึกถึงอะไรเวลาช่วยตัวเอง"
  • "สงสัยมากว่าทำไมผู้หญิงชอบปากไม่ตรงกับใจ รู้สึกอย่างหนึ่ง แต่พูดออกมาอีกอย่างหนึ่ง พอทำอะไรไม่ถูกใจก็งอน แล้วทำไมไม่บอกกันตรงๆ ตั้งแต่ แรกล่ะครับ"
  • แล้วคุณผู้หญิงที่อ่านอยู่ล่ะ ถ้าเป็นคุณจะตอบคำถามเหล่านี้ว่าอย่างไร?

    ภูมิปัญญาตะวันออก;ไต ประตูแห่งชีว

    ไตในทัศนะของแพทย์จีนได้ให้ความกินใจและความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหัวใจ
    ไตนั้น คนจีนถือว่ามีคุณสมบัติเป็นธาตุน้ำในธาตุทั้ง 5 (หวู่-ซิง)
    (โหวง-ฮัง)

    ธาตุน้ำนั้นเป็นธาตุแรกผู้ให้กำเนิดธาตุอื่นตามมา
    และน้ำเป็นต้นกำเนิดแห่งวงจรการหมุนเวียนพลังลมปราณ และเลือดในร่างกาย

    น้ำเป็นธาตุหยิน หยินเป็นเวลากลางคืนไตจึงมีพลังเด่นในยามค่ำคืน
    ตื่นเช้าเราจึงต้องปัสสาวะเป็นอันดับแรกเพราะ

    ผลงานของไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นผู้ช่วยไตที่รองรับเก็บกักน้ำปัสสาวะไว้
    เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกาย
    แต่หน้าที่สำคัญของไต นอกเหนือจากการกลั่นกรองเลือดและของเหลวในร่าง
    กายแล้วที่สำคัญที่สุดคือ
    ไตข้างขวาของคนเราคือประตูแห่งชีวิต
    (เมี่ย-มึ้ง) ที่เป็นผู้เก็บและสร้างหัวเชื้อพลังเพศของแต่ละคน และเป็นที่รวม
    ของจิตวิญญาณบริสุทธิ์ก่อนเกิด ที่ได้รับเป็นมรดกธาตุสืบพันธุ์
    ผ่านทางพันธุกรรม
    ในระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา พลังเพศนี้เป็นพลังละเอียดอ่อนจะพัฒนาเป็น
    หัวเชื้ออสุจิเมื่อตอนเป็นหนุ่ม คนจีนเรียก ชิง (Ching) ซึ่งเป็นพลังเพศ
    บริสุทธิ์ที่สามารถพัฒนาเป็นอสุจิเพื่อผสมผสานกับเลือดและพลังลมปราณ
    ชิงนี้มีพลังศักยะที่สามารถให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตได้

    ไตข้างขวาของคนเราจึงมีความสำคัญดั่งเจ้าชีวิตที่กำชะตาเราและกำหนดธาตุภูมิลูกหลาน
    ของเรารุ่นต่อไปสุขภาพรุ่นลูกหลานจะแข็งแรงหรือ
    อ่อน แอก็เพราะปัจจัยของน้ำเชื้ออสุจิที่ผลิตจากไตขวานี้ และจากไตขวานี้เองที่จุติแรกของดวงวิญญาณคลื่นบริสุทธิ์ กำหนดและแพร่กระจายต่อไป

    สำหรับไตซ้ายถือว่าทำหน้าที่เป็นไตตามปกติของร่างกาย
    ในการวินิจฉัยโรคจึงให้ความสำคัญของไตเป็นหลักเพราะความอ่อนแอและการเสื่อมของร่าง

    กายมนุษย์มักเริ่มต้นจากไตและพัฒนาไปสู่อวัยวะอื่นๆ
    และด้วยเหตุผลที่ว่า ไตเป็นอวัยวะตัวแม่ของธาตุ
    เมื่อแม่ป่วย ลูกก็จะอ่อนแอและป่วยตามไปด้วย

    ในวิชากำลังภายในและศาสตร์ว่าด้วยการฝึกสมาธิบำเพ็ญเพียรของพระจีนใน
    อดีตกาล จึงเน้นการดูแลปกป้องรักษาอวัยวะไตให้แข็งแรงและแกร่งนานที่
    สุด สิ่งที่ทำลายไตได้ก็คือ ธาตุหยินทำลายหยิน
    น้ำจะทำลายไตได้ก็คือ การดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ
    คนจีนจึงเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น แต่จิบน้ำชาอุ่นที ละน้อยแทน
    ไตอาจถูกทำลายได้ด้วยพลังหยางของความเค็ม
    เกลือมีธรรมชาติเป็นหยาง การรับประทานอาหารเค็มเป็นโทษต่อไตโดยตรง

    คนจีนจึงเลี่ยงทานเกลือ แต่ใช้ซีอิ๊วหรือผักกาดดอง เกี้ยมฉ่าย ผักเค็มแทน
    โดยให้เกลือผ่านการดูดซึมสู่พืชหรือถั่ว แล้วจึงรับประทานผลิตผลที่เค็มของ
    อาหารนั้นๆ จึงเป็นการเลี่ยงความเค็มจากเกลือโดยตรง
    จะสังเกตว่าคนจีนไม่รับประทานเกลือ
    โดยตรง อย่างฝรั่งทำให้เกลือ พริกไทย ใส่อาหารโดยตรง
    คนจีนใช้ผลิตภัณฑ์ทางอ้อมเช่น ซีอิ๊ว ปลาเค็ม บ๊วยเค็ม
    ของเค็มต้องผ่านตัวกลางอื่นก่อนเข้าร่างกาย
    นับเป็นการใช้วิจารณญาณในการรับประทานอาหาร
    เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสารอาหารที่ไม่จำเป็น
    อันจะเป็นต้นเหตุของการบั่นทอนสภาพสุขภาพคนเรา

    ในอดีตคนไทยเราใช้ผ้าขาวม้าพันเอวก็ถือเป็นผลพลอยได้
    ต่อสุขภาพประการหนึ่ง เพราะเป็นการเพิ่มความอบอุ่น
    บริเวณเอว หน้าท้อง ซึ่งรวมถึงไตด้านหลังที่ได้รับ
    พลังอุ่นทำให้เลือดลมไหลวนมาสะสมบริเวณนี้มากกว่าปกติ
    ด้วยเหตุนี้คนไทยในอดีตจึงมีอวัยวะไตแข็งแรง ผู้ชายใส่แว่นน้อย

    ผู้ชายบ้านนอก หัวไม่ล้านเร็ว และติ่งหูจะยานใหญ่
    กว่าคนในยุคปัจจุบันแสดงว่า คนไทยในอดีตโดยเฉลี่ย ไตแข็งแรง ลูกหลานรุ่นต่อมาจึงแข็งแรง
    แต่พอน้ำตาลทรายเริ่มมีบทบาทในอาหารประจำวัน
    ไม่นานต่อมา ธาตุภูมิคุ้มกัน ไตและสุขภาพ
    ทั้งระบบของคนไทยเริ่มอ่อนแอ และเสื่อมลงปรากฏให้เห็นเป็นจุดเสื่อมและ
    การล่มสลายของสังคมทุกระดับชั้นจนในที่สุด
    เศรษฐกิจที่ถดถอยล่าสุดนี้คงจะเป็นฉากสุดท้าย
    ของผลกรรมภาพรวมที่เราได้รับสืบเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่เราแพ้
    ภัยตัวเราเองคือ ความหวานของน้ำตาล

    ผู้จัดการรายวัน

    องค์การและการจัดการ

    ผลของแนวคิดทางการจัดการโดยยึดหลักมนุษย์สัมพันธ์อาจสรุปได้ดังนี้

    1. หลักการจัดการไม่ได้ยึดถืออย่างเคร่งครัดตามกระบวนการทางด้านการผลิตอย่าง เดียว คนก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของงาน
    2. ผู้จัดการจะต้องได้รับการอบรมมาอย่างดี จนมีความรู้ทางด้านการจัดการ สามารถที่จะนำเอาหลักการบังคับบัญชามาใช้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์

    3. องค์การหรือหน่วยงานจะต้องจัดให้มีบรรยากาศในการทำงาน สร้างสรรค์และส่งเสริมให้บุคคลที่ทำงานมีความสนใจในการปฏิบัติงาน

    4. งานจะสำเร็จลงได้ จะต้องอาศัยการจัดการที่ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

    5. แบบหรือหลักของการบังคับบัญชา การควบคุม จะต้องยึดถือปรัชญาการปฏิบัติในทางสร้างสรรค์ (Positive Philosophy) เกิดความรู้สึกในทางดีต่อคนและต่องาน จะนำเอาหลักการใช้อำนาจอย่างเดียว (Pure Authority) มาใช้กับคนโดยไม่มีการยืดหยุ่นเลยไม่ได้

    6. การกำหนดโครงสร้างของงาน หรือการจัดองค์การจะต้องกระทำในทางที่มีความหมายและให้ความสำคัญต่อคนงาน

    บริหารแบบการสร้างทีมงาน TW (Team Work)

    คำว่า “ทีมงาน” หมายถึง กลุ่มคนที่รวมตัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกันให้สำเร็จตามความประสงค์ขององค์การ

    การทำงานเป็นทีมจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลเนื่องจาก ความรู้ความสามารถของบุคคล จะมีอยู่ในแต่ละคนโดยเป็นความสามารถที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ฉะนั้นการทำงานเป็นทีมจึงเท่ากับ ให้แต่ละคนนำความรู้ความสามารถของเขาออกมา แล้วปฏิบัติงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดหลักการ บริหารทีมงาน ดังต่อไปนี้

      1. มีการแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย
      2. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
      3. จัดระบบการติดต่อสื่อสาร
      4. มีการประสานงานร่วมกัน

    กระบวนการสร้างทีมงาน (Team Work Process) เป็นการจัดขั้นตอนเพื่อกำหนดทิศทางการทำงาน ให้บุคลากรได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของแต่ละคน

    รูปแบบของกระบวนการสร้างทีมงาน ได้แก่

    1. มีการประชุม อภิปราย ภาระหน้าที่ จุดมุ่งหมายกระบวนการการทำงาน ลักษณะงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ

    2. ประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ในการทำงานร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพของทีมงาน

    3. พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ให้เกิดแก่สมาชิกเพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจ ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

    4. สร้างกลไกการติดต่อสื่อสาร ระหว่างสมาชิกผู้ร่วมงาน เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดี

    5. ปรึกษาหารือ ประชุมติดตามผลการทำงาน เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

    ลักษณะของการสร้างทีมงาน (Formalization of Team Work) เพื่อให้การทำงานบังเกิดผลดี จำเป็นต้องจัดระบบทีมงานให้เหมาะสม ซึ่งลักษณะของการสร้างทีมงานที่ดีคือ

      1. ควรให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม รู้บทบาทและหน้าที่
      2. สมาชิกแต่ละคนต่างเคารพในสิทธิและหน้าที่ซึ่งกันและกัน
      3. ไม่เอาเรื่องส่วนตัว มาเกี่ยวข้องในการในทำงาน
      4. ให้มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างทั่วถึง
      5. สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน
      6. ให้สมาชิกทุกคนสนับสนุนและช่วยเหลือกัน
      7. ระดมความคิดสร้างสรรค์เพื่อศักยภาพของทีมงาน

    การติดต่อสื่อสารของทีมงาน (Communication of Team Work) เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิก มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการทำงาน รวมทั้งก่อให้เกิดความรู้สึกและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ลักษณะของการติดต่อสื่อสารที่ดีได้แก่

      1. สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างใกล้ชิดสนิทสนม
      2. เป็นการสื่อสารสองทางในการรับรู้ข่าวสารระหว่างกัน
      3. มีอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย
      4. ไม่สร้างความขัดแย้งระหว่างสมาชิกของกลุ่ม
      5. เสริมสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ
      6. สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งการให้กำลังใจ

    ผู้จัดการ คือ ผู้ใช้ทรัพยากรทุกชนิดที่มีอยู่ ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้จัดการควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

      1. ควรเป็นผู้ที่มีความรู้พอสมควร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
      2. มีความคิดเห็นที่ทันสมัย ต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ
      3. มีความคิดริเริ่ม
      4. สนับสนุนความคิดใหม่ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา
      5. ทำงานอย่างมีระบบ
      6. มีความสามารถในการประสาน และรู้หลักมนุษย์สัมพันธ์
      7. มีความยุติธรรม

    การพัฒนาตัวเพื่อเป็นผู้นำ (Self Development for Leadership)

      1. พัฒนาตนเองด้านต่างๆ
        1. การมีความสุภาพอ่อนโยน
        2. ปรับตัวเข้ากับบุคคลโดยทั่วไป
        3. ฝึกตนเองให้มีใจคอกว้างขวาง
      2. การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้ร่วมงาน
        1. มีความมานะ อดทน
        2. มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
        3. ละเว้นการประพฤติชั่ว
        4. ทำตัวเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
        5. มีความเฉลียวฉลาดและรอบรู้
        6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
      3. พัฒนาจิตสำนึกต่อการเป็นผู้นำ
        1. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
        2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
        3. เคารพสิทธิหน้าที่ผู้อื่น
        4. มีความวิริยะอุตสาหะ
        5. เสียสละทุ่มเทเวลาให้กับงาน
        6. สร้างความรักและศรัทธาแก่ผู้ร่วมงาน
      4. การพัฒนาการทำงาน
        1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายขององค์การ
        2. รู้กฎหมายระเบียบในหน้าที่การงาน
        3. รู้แนวทางการวิวัฒนาความก้าวหน้าเพื่อส่วนรวม
        4. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
        5. เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อผลการทำงานที่เกิดขึ้น
        6. มีความคิดริเริ่มและรู้จักใช้คนให้เหมาะสม
      5. การปฏิบัติตัวในฐานะผู้นำ
        1. เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าพบแบบเป็นกันเอง
        2. พูดคุยโดยไม่ถือตัวและสุภาพเรียบร้อย
        3. มีความเสมอภาคและเที่ยงธรรม
        4. ไม่ทำตนเป็นคนเห็นแก่ตัว
        5. สำรวจตนเองถึงความบกพร่องต่างๆ
        6. ใฝ่ความความรู้เพิ่มเติมอยู่สมอ
        7. ปรุงปรุงบุคลิกภาคให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
        8. ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีเหตุผล
        9. ศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นผู้นำที่ดี
      6. บุคลิกท่าทางของผู้นำ
        1. มีบุคลิกภาพโดยรวมสง่างาม
        2. มีการแต่งกายเหมาะสมและทันสมัย
        3. พูดเก่ง มีสาระ เสียงดัง ฟังไพเราะ
        4. มีอัธยาศัย ต้อนรับด้วยมิตรไมตรี
        5. เข้าสังคมได้ดีทุกโอกาส
      7. การใช้ดุลยพินิจตัดสินใจ
        1. ศึกษาปัญหาด้วยความรอบรู้
        2. คิดค้นสาเหตุแห่งปัญหาและมูลเหตุที่เกี่ยวข้อง
        3. ประเมินค่า ข่าวสาร ข้อมูล พร้อมด้วยการวิเคราะห์
        4. กำหนดทิศทางเลิกเพื่อแก้ปัญหา
        5. ปฏิบัติการตัดสินใจด้วยความสุขุมรอบคอบ
      8. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
        1. โดยการใช้อำนาจและสิทธิเข้าจัดการแก้ปัญหา (Domination)
        2. โดยใช้วิธีประนีประนอม (Compromise)
        3. โดยวิธีการประสานความเข้าใจ (Integration)

    ประโยชน์ของการสร้างแรงจูงใจ มีดังต่อไปนี้

      1. ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ
      2. ก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การ
      3. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรในองค์การ
      4. ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
      5. เสริมสร้างความก้าวหน้าแก่พนักงานและองค์การ
      6. ทำให้การบริหารทีมงานขององค์การดีขึ้น
      7. การใช้ทรัพยากรขององค์การเกิดประโยชน์สูงสุด
      8. ลดความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ ขององค์การได้มาก
      9. สร้างความเป็นธรรมของบุคลากรในองค์การ
      10. เพิ่มผลผลิตมากขึ้น แก่องค์การ

    มนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ

    (Human Relation in Organization)

    เครื่องมือทำงานของผู้บริหาร (Tools for Administration) ที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้สมาชิกในองค์การเกิดความร่วมมือในการทำงาน และลดปัญหาความขัดแย้งในองค์การ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

      1. เครื่องมือกระตุ้น (Simulation Tools)
        1. ความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
        2. ความสดชื่นรื่นเริง (Cheerfulness)
        3. ความไม่เห็นแก่ตัว (Unselfishness)
      2. เครื่องมือรักษาความมั่นคง (Stabiling Tools)
        1. ความสุขุมเยือกเย็น (Calmness)
        2. ความสม่ำเสมอ (Consistency)
      3. เครื่องมือใช้ประหยัดเวลา (Time Saving Tools)
        1. ความง่าย (Simplicity)
        2. ความรับฟัง (Receptive)
        3. ความเปิดเผย (Frankness)
        4. ความประทับใจ (Impressiveness)
      4. เครื่องมือสร้างความคล้อยตาม (Conforming Tools)
        1. ความมั่นคง (Firmness)
        2. ความแนบเนียน (Tacful)
        3. ความอดทน (Patience)
      5. เครื่องมือเหนี่ยวรั้ง (Restraining Tools)
        1. เกียรติศักดิ์ (Dignity)
        2. ความสุภาพอ่อนโยน (Courtesy)
      6. เครื่องมือสร้างความจงรักภักดี (Loyalty Tools)
        1. ความเมตตากรุณา (Kindness)
        2. ความเป็นกันเอง (Friendliness)

    แนวทางการสร้างมนุษย์สัมพันธ์โดยทั่วไปได้แก่

      1. ไม่ถือตัวและพูดกับทุกคน
      2. มีความสุภาพ วางตัวเหมาะสมตามกาลเทศะ
      3. สร้างความสัมพันธ์ และเป็นมิตรกับทุกคน
      4. มีความสนใจต่อบุคคลอื่นด้วยความจริงใจ
      5. เรียกชื่อบุคคลอื่นได้ถูกต้อง
      6. พูดจายกย่องคนอื่นมากกว่าการตำหนิติเตียน
      7. หลีกเลี่ยงการยกตนข่มท่าน
      8. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      9. ให้ความต้อนรับแก่ทุกคนด้วยความสุภาพอ่อนโยน
      10. นำความคิดผู้อื่นมาประกอบการพิจารณาดำเนินการ
      11. ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส

    การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารมีรายละเอียดโดยสรุป คือ

      1. การทักทายผู้อื่นก่อน
      2. เป็นคนเปิดเผยโดยไม่ปิดบัง
      3. มีความสุภาพ อ่อนโยน
      4. มีอารมณ์ขัน และรักสนุก
      5. ยิ้มแย้ม แจ่มใส
      6. ใจคอเยือกเย็น ควบคุมอารมณ์ได้ดี
      7. มีความเป็นกันเองกับคนทุกๆคน
      8. มีสีหน้า ดวงตาแจ่มใส เบิกบาน
      9. เป็นคนสงเคราะห์ เกื้อกูล
      10. จำชื่อคนได้แม่นยำ
      11. ตั้งใจพูดกับคู่สนทนา
      12. ยกย่องให้เกียรติผู้อื่น
      13. มีบุคลิกภาพเป็นผู้นำทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
      14. ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเขาทำดี
      15. ไม่ตำหนิคนต่อหน้าผู้อื่น
      16. มีมิตรภาพ ห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชานอกเวลางาน
      17. ไม่หลงตน หลงอำนาจ และเป็นคนชอบระแวงสงสัย
      18. ไม่ตัดสินใจขณะมีอารมณ์ และเลือกที่รักมักที่ชัง
      19. คำสั่งต้องชัดเจน และให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
      20. มีความห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา และสมาชิกในครอบครัว
      21. มีศีลธรรม และคุณธรรมประจำใจ

    มนุษย์สัมพันธ์ฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา

    (Human Relation for Subordinate)

      1. ทำงานให้เต็มเวลา เต็มความสามารถ
      2. ยอมรับการตัดสินใจของผู้บริหาร
      3. กระตือรือร้นทำงานให้มีประสิทธิภาพ
      4. ใฝ่หาความรู้ ทำงานให้มีประสิทธิภาพ
      5. ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามโอกาสอันควร
      6. แสดงกิริยายิ้มแย้มแจ่มใส อยู่ตลอดเวลา
      7. รู้จักและพยายามเรียนรู้นิสัยส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา
      8. ไม่นินทาผู้บังคับบัญชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
      9. แสดงความยินดีเมื่อผู้บังคับบัญชาประสบความสำเร็จชีวิตส่วนตัว
      10. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามโอกาส
      11. นำความคิด นโยบายผู้บังคับบัญชาปฏิบัติให้เกิดผล
      12. แสดงความจริงใจ บริสุทธิ์ใจต่อผู้บังคับบัญชา
      13. ไม่บ่นถึงความยากลำบากในการทำงาน
      14. ไม่รบกวนผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ
      15. ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับงาน
      16. แสดงความเห็นอกเห็นใจเมื่อผู้บังคับบัญชามีปัญหา
      17. ควบคุมอารมณ์เมื่อไม่เห็นด้วยกับผู้บังคับบัญชา
      18. พยายามหลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
      19. ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาในทางเสื่อมเสีย
      20. ประเมินตนเองเป็นครั้งคราวเพื่อทราบความบกพร่อง

    มนุษย์สัมพันธ์ฐานะเพื่อนร่วมงาน (Human Relation for Workers)

      1. แสดงความคุ้นเคยและไว้เนื้อเชื่อใจ
      2. ให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็น
      3. เป็นผู้ให้ตามโอกาสอันควร
      4. มีความจริงใจต่อกัน
      5. ช่วยเหลือเมื่อเพื่อนมีความเดือดร้อน
      6. พบปะสังสรรค์เมื่อมีโอกาสอันควร
      7. ไม่นินทาว่าร้ายเพื่อนทั้งต่อหน้าและลับหลัง
      8. เก็บความลับของเพื่อนได้ดี
      9. มีความสุขุมรอบคอบและอดทน
      10. มีเจตคติเป็นประชาธิปไตย
      11. มีใจคอกว้างขวาง
      12. มีความเสมอต้นเสมอปลายอยู่เสมอ
      13. ยกย่องชมเชยเพื่อนในโอกาสอันควร
      14. ยอมรับและให้ความสำคัญเพื่อนร่วมงาน
      15. ไม่ก่อศัตรูและสร้างปัญหาขัดแย้ง
      16. ให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็นแก่เพื่อนตามโอกาส
      17. ร่วมมือและช่วยเหลือเพื่อนในการทำงาน

    มนุษยสัมพันธ์ฐานะผู้ให้บริการ (Human Relation for Service) กับบุคคลทั่วไป

      1. แต่งกายดี มีความสุภาพ
      2. มีท่าทีที่เป็นมิตรไมตรีกับทุกคน
      3. ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
      4. รู้จักควบคุมอารมณ์เป็นปกติ
      5. เข้าใจความต้องการของผู้อื่น
      6. เลิกความรู้สึกว่า คนเป็นเจ้าขุนมูลนาย
      7. รักษาสุขภาพร่างกายดีอยู่เสมอ
      8. ไม่บ่น และพูดจาเสียดสี เหน็บแนม
      9. ให้คำปรึกษา แนะนำที่ถูกต้อง
      10. ให้บริการที่รวดเร็ว ว่องไว
      11. เข้าร่วมกิจกรรม ให้เกิดความคุ้นเคย
      12. รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
      13. มีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า งานบริการเป็นงานที่มีเกียรติ

    มนุษย์สัมพันธ์เพื่อทำงานร่วมกัน

    (Human Relation for Co-Operation)

    ในการทำงานร่วมกัน จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน รู้จักการประนีประนอมยอมรับในสิ่งที่ผิดพลาดบกพร่อง ถนอมน้ำใจให้ความรักสนิทสนม แม้ว่าจะมาจากสถานที่ต่างๆ อาจจะแตกต่างสถานภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา เพศ และวัย ฯลฯ แต่เมื่อมาทำงานร่วมกัน ก็จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

      1. ทำอย่างไรจะชนะใจคน
        1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
        2. ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความพอใจของเรา
      2. การสนทนาวิสาสะ
        1. รู้จักถามเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
        2. รู้จักการฟังให้มาก พูดแต่น้อย
        3. มีท่าทางเหมาะสมทั้งการพูดและการฟัง
        4. มีความยิ้มแย้ม เบิกบาน
        5. มองคนอื่นในแง่ดี
        6. การใช้น้ำเสียงที่สุภาพอ่อนโยน
        7. ส่งเสริมศักดิ์ศรี เกียรติยศ
        8. ยกย่องชมเชยตามโอกาส
      3. พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
        1. ใจเรรวนไม่แน่นอน
        2. ไม่มีความรับผิดชอบ
        3. ดูหมิ่นผู้ใต้บังคับบัญชา
        4. เอาแต่ตัวรอดเพียงคนเดียว
        5. เจ้าอารมณ์ โมโหฉุนเฉียว
        6. ระเบียบเกินควร จุกจิก จู้จี้
        7. ชอบทำตัววิเศษกว่าคนอื่น
        8. มารยาทส่วนตัวหยาบคาย
        9. ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        10. เลือกที่รักมักที่ชัง
        11. ชอบแสดงอำนาจบาตรใหญ่
        12. มีแต่ยาหอม ปราศจากความจริงใจ
        13. ไม่รักษาคำพูด คำสัญญา
        14. ไม่สนใจปัญหาการทำงาน
        15. ชอบหวาดระแวงเป็นนิสัย
        16. ไม่สนใจคำร้องเรียนผู้ใต้บังคับบัญชา
        17. เบียดบังผลประโยชน์ส่วนตัว
        18. ไม่ต่อสู้ผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา
        19. ชอบผิดบังความรู้ในการทำงาน
        20. ชอบเสี้ยมเขาควายชนกัน
        21. ชอบขู่เข็ญ บังคับ
        22. หูเบา ชอบนินทาว่าร้าย
      4. การบำรุงรักษาผู้ใต้บังคับบัญชา
        1. รู้จักคุมอารมณ์ตัวเอง
        2. รู้จักวิธีส่งเสริมและการให้กำลังใจ
        3. รู้จักการให้รางวัลล่อใจ
        4. ชี้แจงความเคลื่อนไหวในองค์การ
        5. รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา
      5. หลักการเข้ากับเพื่อนร่วมงาน
        1. ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ
        2. หลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือกว่า
        3. พบปะสังสรรตามสมควร
        4. อย่าซัดทอดความผิดให้ผู้อื่น
        5. เข้าหาผู้อื่นก่อน
        6. ยกย่องชมเชยตามโอกาส
        7. หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย
        8. รับฟังความคิดเห็นตามสมควร
        9. มีความเสมอต้นเสมอปลาย
        10. มีความจริงใจ
        11. หลีกเลี่ยงการขอร้องหยุมหยิม
        12. มีใจคอกว้างขวาง
      6. หลักการเข้ากับผู้บังคับบัญชา
        1. เคารพยกย่องตามฐานะ
        2. ไม่ก่อศัตรูกับผู้บังคับบัญชา
        3. ทำงานให้ดี และหลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
        4. เรียนรู้นิสัยการทำงานของผู้บังคับบัญชา
        5. อย่านินทาเมื่อลับหลัง
        6. อย่ารบกวนผู้บังคับบัญชาเรื่องเล็กๆน้อยๆ
        7. อย่าโกรธผู้บังคับบัญชาที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเรา
        8. อย่าบ่นถึงความยากลำบาก
        9. สรรเสริญผู้บังคับบัญชาตามโอกาส
        10. เข้าหาผู้บังคับบัญชาให้เหมาะกับระยะเวลาและโอกาส
      7. การสั่งงาน
        1. อย่าสั่งในรายละเอียดมากเกินไป
        2. อย่าสั่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
        3. จงใช้วิธีขอร้องแทนคำสั่ง
        4. จงใช้คำพูดที่สุภาพ
        5. จงคำนึงถึงความรู้สึกของผู้รับสื่อบ้าง
        6. ให้โอกาสผู้รับสั่งมีเวลาคิดก่อนที่จะรับหรือปฏิเสธ
      8. การปกครองบังคับบัญชา
        1. ไม่ยึดมั่นในตนเองมากเกินไป
        2. ไม่พูดจารุนแรง และหยาบคาย
        3. ไม่เอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา
        4. ไม่หาประโยชน์ในทางที่ชอบ
        5. ไม่นินทาว่าร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา
        6. ไม่เชื่อคนง่าย
        7. ไม่เป็นเผด็จการ
        8. มีความรู้ ความสามารถ
        9. มีเหตุผลดี มีใจเป็นธรรม
        10. มีอารมณ์ดี ไม่วู่วาม
        11. มีพรหมวิหาร 4
        12. รู้จักให้อภัยไม่อาฆาต
        13. มีความสนิทสนมเป็นกันเอง
        14. ช่วยเหลือ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา
        15. ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี
        16. เคารพเหตุผลเพื่อนร่วมงาน
        17. มีการยืดหยุ่น ผ่อนหนัก ผ่อนเบา
        18. มีการส่งเสริมและให้กำลังใจแก่ผู้ทำงาน
        19. มีความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ

    การวางแผน ลักษณะที่สำคัญ

      1. เป็นกระบวนการของการพิจารณาที่มีขั้นตอนต่างๆในการทำงาน
      2. เป็นการกำหนดเป้าหมายและวิธีการดำเนินงานสู่เป้าหมาย
      3. เป็นเรื่องของสมมติฐานในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน
      4. เป็นเรื่องของการใช้ความคิด จินตนาการหรือการคาดคะเน โดยอาศัยข้อมูลปัจจุบัน แล้วนำมาใช้กับการทำงานในอนาคต
      5. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ของหน่วยงาน
      6. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการจัดสรรทรัพยากรในการปฏิบัติงาน

    แผนงานจะอำนวยประโยชน์ให้แก่การประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้

      1. ลดการทำงานตามยถากรรม
      2. ช่วยให้การทำงานประสานสัมพันธ์กัน รวมทั้งลดการทำงานซ้ำซ้อน
      3. การปฏิบัติงานตามแผน ย่อมก่อให้เกิดการประหยัดทั้งกำลังเงิน กำลังคนและเวลา
      4. ช่วยให้การตรวจสอบและการควบคุมงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      5. ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของผู้บริหารให้ลดน้อยลง
      6. ช่วยให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในการบริหารงานมากขึ้น
      7. ช่วยป้องกันความขัดแย้งซึ่งอาจมีขึ้นได้ในองค์การ
      8. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้
      9. แผนงานที่ดีจะสามารถระดมกำลังคน และทรัพยากรต่างๆขององค์กรมาใช้ได้ผลโดยทั่วถึงกัน

    ลักษณะและคุณสมบัติของผู้นำ มีดังต่อไปนี้

      1. บุคลิกลักษณะดี เช่น ลักษณะทางร่างกาย กิริยามารยาท การพูดจา การแต่งกายที่เหมาะสม
      2. มีความปรารถนาที่จะเป็นผู้นำ
      3. มีความเฉลียวฉลาด
      4. สามารถรู้ถึงจิตใจคนอื่น เพื่อที่จะหาทางโน้มน้าวจิตใจเขาได้
      5. รู้จักตัวเอง เช่น รู้สึกความต้องการของตน สามารถมองเห็นการกระทำของตนตามความเป็นจริง
      6. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานที่ทำ
      7. เชื่อมั่นในความคิดเห็นของตนเอง
      8. มีความกระตือรือร้น
      9. มีความเที่ยงธรรม
      10. มีความสามารถที่จะนำและสอนคนอื่นได้
      11. มีความศรัทธาต่องานและผู้ร่วมงาน

    การประสานงานย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการทำงานขององค์การ คือ

      1. ทำให้งานดำเนินไปได้รวดเร็ว และบรรลุเป้าหมาย
      2. ขจัดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
      3. ช่วยให้เกิดการประหยัดทั้งเวลา เงิน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
      4. ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
      5. ลดความขัดแย้งในการทำงาน
      6. ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
      7. ช่วยสร้างความสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน
      8. ช่วยลดอุบัติเหตุและการเสี่ยงภัยต่างๆ

    การประสานงานจะดีเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ในด้านความสามารถการวางแผนและการประสานงานโครงการ รวมทั้งนำให้ทุกฝ่ายได้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน

    จุดประสงค์และงานการควบคุม

    Purpose of Comtrolling

      1. เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
      2. บังคับหรือกำกับให้ผลงานมีมาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
      3. เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ
      4. เป็นเครื่องมือกระตุ้นหรือจูงใจให้บุคคลในองค์กรทำงาน
      5. เพื่อให้การปฏิบัติงานมีระเบียบวินัย
      6. จะได้ทราบว่าวิธีการปฏิบัติงานนั้นถูกต้องหรือไม่ และใช้วิธีที่ดีที่สุดหรือไม่
      7. นำข้อมูลย้อนกลับไปปรับปรุงแผนงานและองค์การ
      8. เป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
      9. งานในองค์การธุรกิจที่จะต้องควบคุมที่สำคัญ ได้แก่
        1. งานด้านการผลิต เช่น ปริมาณ คุณภาพ ขนาด น้ำหนักของสิ่งของที่ทำการผลิต เป็นต้น
        2. ทรัพยากรในการผลิต เช่น เวลาที่ใช้ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่างๆ
        3. การควบคุมเกี่ยวกับหน้าที่ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ต่างๆของพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น หน้าที่การผลิตสินค้า หน้าที่การขาย
        4. การควบคุมเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน เช่น การมาสาย การลาหยุด การทำงานชักช้า ฯลฯ

    กระบวนการในการควบคุม

      1. กำหนดเป้าหมายของงานให้แน่ชัด เช่น กำหนดว่าจะผลิตสินค้า ก. ให้ได้ 100 หน่วยภายใน 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการวางแผนปฏิบัติงานได้ถูกต้องและจะได้ ดำเนินการควบคุมการทำงานต่อไป
      2. กำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลงานว่า สูงหรือต่ำกว่าที่กำหนดไว้ มาตรฐานของงานอาจแยกเป็นมาตรฐานของผลงานและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน มาตรฐานของผลงาน ได้แก่ รูปร่าง ลักษณะ สี ความคงทน ต้นทุนการผลิต มาตรฐานในการปฏิบัติงาน เช่น ปริมาณในการผลิตต่อหน่วยเวลา ความคงทนในการทำงานของบุคลากร
      3. การวัดผลการปฏิบัติงาน เพื่อทราบผลของงานในช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือต่างๆดังนี้
        1. ปริมาณของงานที่ผลิต
        2. คุณภาพของงาน
        3. เวลาที่ใช้ไปสำหรับการทำงาน
        4. ค่าใช้จ่าย
      4. การเปรียบเทียบผล การปฏิบัติงานกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ว่าได้สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อนึ่ง ในการเปรียบเทียบนี้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่จะมีอิทธิพลทำให้เกิดความ แตกต่างระหว่างผลงานที่ได้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแผนด้วย ตัวอย่างของตัวแปรที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน เช่น น้ำท่วม ภาวะสงคราม
      5. ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อได้วิเคราะห์เปรียบเทียบและหาความแตกต่างระหว่างแผนงานที่วางไว้กับผล ที่ปฏิบัติได้จริงๆแล้วจึงพิจารณาหาทางแก้ไขหรือวางแผนดำเนินงานใหม่ให้ถูก ต้องรัดกุม นอกจากการวางแผนใหม่แล้ว อาจจำเป็นต้องจัดองค์การใหม่หรือวางวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมใหม่ ก็ได้

    กิจกรรมกลุ่มสร้างเสริมคุณภาพ แบ่งออกตามลักษณะของการทำงานตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

      1. การค้นหาปัญหา
      2. การแก้ปัญหา
      3. การปรับปรุงคุณภาพ และประสิทธิภาพ
      4. การสร้างเสริมคุณภาพ และประสิทธิภาพ

    การทำกิจกรรมให้เกิดประสิทธิภาพ จะต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหา แล้วดำเนินการแก้ปัญหา และทำมาตรฐานการทำงานเอาไว้นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหามิให้บังเกิดซ้ำๆขึ้นมาอีก การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริงจำเป็นต้องกระทำตามขั้นตอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลำดับ คือ

      1. เลือกหัวข้อปัญหาและตั้งเป้าหมาย (Theme set up)
      2. วิเคราะห์สาเหตุ (Analyze the Cause)
      3. เลือกวิธีและทดลองแก้ไข (Select Method and Try)
      4. ติดตามผล (Follow up)
      5. ทำมาตรฐานปฏิบัติ (Standard Working Action)

    ขั้นตอนการใช้เทคนิคคู่มือ QC

    ขั้นที่ 1

    เลือกเรื่อง/หัวข้อจากงาน/ปัญหา

    เก็บตัวเลข ข้อมูล

    จำแนกข้อมูล

    แสดงสถานภาพ/จัดลำดับ/ตั้งเป้าหมาย/กำหนดเวลา

    ขั้นที่ 2

    ได้สาเหตุที่แท้จริง/หาความสัมพันธ์ของสาเหตุ

    วิเคราะห์ขั้นละเอียด/หาความสัมพันธ์/หารือผู้เกี่ยวข้อง

    ย่อยข้อมูล/หาข้อมูลเพิ่มเติม ดูของจริง/ประสบการณ์

    หาสาเหตุคร่าวๆขั้นต้น

    ขั้นที่ 3

    เลือกวิธีแก้ของแต่ละสาเหตุ

    ปรับวัสดุ/อุปกรณ์/วิธีการ/เครื่องมือ ความรู้

    มอบหมายความรับผิดชอบ

    ทดลองแก้และหารือ

    ขั้นที่ 4

    เปรียบเทียบกับเป้าหมาย/คุณค่าของกิจกรรมที่ปรับปรุงแล้ว

    เปรียบเทียบผลกับข้อมูลเดิม

    แสดงสถานภาพ/จัดลำดับ

    ติดตามผล

    ขั้นที่ 5

    ทำมาตรฐานการปฏิบัติ/กันปัญหาเกิดซ้ำ

    ตรวจดูวิธีที่ทดลองแก้/ปรับปรุงลำดับปฏิบัติ/เขียนใหม่

    ปรับวิธีทำงาน/อุปกรณ์/วัสดุ/การจัดหา/แบ่งหน้าที่

    ถือปฏิบัติเป็นงานประจำ/ติดตามและควบคุมระยะยาว

    ระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

    Efficiency of Controlling System

    เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดงาน การไม่สนใจที่จะทำงาน การมาสายและอื่นๆ ประกอบกับการที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรจะปรับปรุงระบบการควบคุมดังต่อไปนี้

    1. ควรจะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมตนเอง โดยตั้งจุดมุ่งหมายของงานไว้และให้เขาปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่ง หมาย แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น มีคนงานเพียงพอ มีวัสดุพร้อม

    2. กำหนดจุดควบคุมอย่างเหมาะสม ควบคุมเฉพาะจุดที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จตามแนวทางการทำงาน

    3. ใช้วิธีการควบคุมที่ค่อนข้างง่าย พยายามลดระเบียบวิธีการที่ไม่จำเป็น

    4. ควรอธิบายถึงสาเหตุและความจำเป็นของการควบคุม เพื่อให้เข้าใจ

    5. วิธีการที่ดีควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการควบคุม

    6. การบริหารงานควรมอบหมายงานและกระจายอำนาจ โดยการควบคุมเพียงกว้างๆ พยายามให้พนักงานรู้สึกถูกควบคุมน้อยลง

    7. ต้องมีข้อมูลป้อนกลับ แก่พนักงานไว้เพื่อส่งเสริมและช่วยกันควบคุมตัวเองโดยข้อมูลจะต้องถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์

    หลักในการควบคุม

      1. ความรับผิดชอบขององค์การ
      2. มีความคล่องตัว
      3. ประหยัดอย่างสมเหตุ
      4. ทันเวลาและถูกต้อง
      5. ตรงกับความต้องการองค์การ
      6. ควบคุมตามความสำคัญ
      7. เป็นที่ยอมรับ
      8. คำนึงถึงพนักงาน
      9. มีความชัดเจน
      10. มีประสิทธิภาพ
      11. มีความเหมาะสมและจำเป็น
      12. มองอนาคตข้างหน้า

    ลักษณะของเป้าหมายที่ดี

    SMART Goal

    1. มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) คือ ระบุเป็นเรื่องเฉพาะอย่าง เป็นกิจกรรมงานอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เพิ่มผลผลิตไม่ถือว่าเฉพาะเจาะจง เพิ่มพนักงาน 3 คน ถือว่าเฉพาะเจาะจง , เรียนหนังสือไม่ถือว่าเฉพาะเจาะจง, เรียนคณิตศาสตร์ถือว่า เฉพาะเจาะจง เป็นต้น

    2. สามารถวัดได้ (Measurable) คือ ต้องสามารถระบุลักษณะของหน่วยวัดที่สัมผัสได้ อาจจะเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน เป็นสัดส่วน เป็นต้น

    3. สื่อให้เห็นความมุ่งมั่นในการกระทำ (Action Oriented) คือ ใช้กิริยาที่สื่อถึงความตั้งใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ เช่น มุ่งเพิ่ม, มุ่งลด ต้องเพิ่ม/ลด เร่งรัด ฯลฯ

    4. มีความเป็นไปได้ (Realistic) คือ เป้าหมายที่มุ่งหวังให้สำเร็จจะต้องไม่ยาก/ ง่ายเกินไป กล่าวคือ อยู่ในระหว่างความยากกับความง่าย เมื่อคำนึงถึงศักยภาพของตนเอง และทรัพยากรของบริษัท

    5. ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเวลาและทรัพยากร (Time and Resources Constrained) เป้าหมายที่กำหนดนั้นอยู่ในขอบเขตอันจำกัดของเวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด และต้องการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนำไปเทียบกับทรัพยากรที่ใช้แล้วต่ำ เช่น ปกติทำงานหนึ่งชิ้นเสร็จภายใน 14 เดือน แต่ตั้งเป้าหมายให้เสร็จภายใน 10 วัน โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายและกำลังคน

    โดยทั่วไปแล้วเป้าหมายที่ดีต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป คือ ต้องมีความท้าทาย (Challenge) ทั้งนี้เพื่อเป็นการท้าทายให้พนักงานมุ่งมั่นที่จะพิชิตเป้าหมายนั้นให้ได้ อย่างไรเรียกว่าท้าทาย เป้าหมายที่ท้าทาย เช่น เดิมเคยขายผลิตภัณฑ์ได้ 10 ล้านบาทต่อเดือน แต่ตั้งเป้าหมายเป็น 13 ล้านบาทต่อเดือน อย่างนี้เรียกว่า ท้าทาย แต่ถ้าตั้งเป้าหมายเป็น 30 ล้านบาทต่อเดือน อย่างนี้ไม่ท้าทาย เพราะจะทำให้หมดกำลังใจและท้อถอย เนื่องจากรู้ว่าโอกาสที่จะขายได้ 30 ล้านต่อเดือนแทบจะเป็นไปไม่ได้

    องค์ประกอบของแผนปฏิบัติ

    วัตถุประสงค์หรือกลยุทธ์ จะถูกจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นแผนปฏิบัติ (Action Plan) ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

    ในรูปแบบการวางแผนปฏิบัติ มีองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างน้อย 8 ประการ ซึ่งเป็นการรวบรวมและใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติ งาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

    1. เป้าหมาย (Goal)

    เป้าหมายที่ดีต้องมีองค์ประกอบครบ (SMART Goal)

    2. เหตุผลและความจำเป็น

    อธิบายถึงประโยชน์และความจำเป็นที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่น

    - ต้องการทำให้งานดีขึ้น ปรับปรุงงานให้ดีขึ้น (Essential Goal) โดยปกติแล้วไม่มีปัญหาแต่ต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องกระบวนการทำงาน

    - ต้องการแก้ปัญหางาน (Problem – Solving) ทั้งในขั้นตอนของปัจจัยป้อนเข้า (Input Problem) ขั้นตอนกระบวนการ (Procedure Problem) และขั้นตอนปัจจัยป้อนออก (Output Problem)

    - ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการทำงานใหม่ (Innovative Goal) เนื่องจากเห็นว่าวิธีการทำงานแบบเดิมไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อาจจะเนื่องจากเหตุผลทางการตลาด หรือต้นทุนสูง เป็นต้น

    3. การปฏิบัติ ในที่นี้ หมายถึง เป็นวัตถุประสงค์ หรือกระบวนการ (Objectives & Procedure) หรือโครงการ ผลลัพธ์ของการปฏิบัติจะส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของเป้าหมายในระดับที่สูง ถัดไป

    - เป็นเรื่องของขั้นตอน (Step by Step) กิจกรรมหลัก (Main Activity) กิจกรรมรอง (Sub Activity) ซึ่งจะต้องมีการจัดวางอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนและลำดับความสำคัญก่อนหลัง รวมทั้งให้เหมาะสมตามข้อจำกัดของทรัพยากร (ทั้งหมดถือเป็นระกับวัตถุประสงค์)

    - วันเวลาแล้วเสร็จ (Deadline) ของแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการหรือกิจกรรมงาน ประโยชน์ของการกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ก็เพื่อเป็นตัวกระตุ้นในการทำงาน

    4. ผลลัพธ์ของงาน เครื่องชี้วัดความสำเร็จ

    - ต้องระบุผลลัพธ์ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว

    - การวัดผลลัพธ์ความสำเร็จ ควรกำหนดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณให้มากที่สุดถ้าเป็นไปได้

    5. อุปสรรคและข้อจำกัด

    - ระบุอุปสรรค หรือ ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคทางกายภาพ สภาพการทำงาน จิตวิทยาที่อาจทำให้เป้าหมายไม่บรรลุความสำเร็จ

    - กำหนดแผน วิธีป้องกัน แก้ไขอุปสรรคได้ยิ่งดี

    6. วิธีแก้ไขอุปสรรค เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะกระทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนแล้ว ในบางสถานการณ์เมื่อนำสู่การปฏิบัติอาจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นได้ อาจจำเป็นต้องคิดหาวิธีป้องกัน แก้ไขอุปสรรคดังกล่าวได้

    7. ค่าใช้จ่าย ประมาณการค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน สามารถคำนวณออกเป็นค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ยิ่งดี

    - ค่าใช้จ่าย ที่ใช้เพื่อความสำเร็จของเป้าหมาย

    - ค่าใช้จ่าย ที่ใช้เพื่อป้องกันแก้ไขอุปสรรค

    8. ผู้รับผิดชอบ

    ใครบ้างที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความสำเร็จของเป้าหมาย (Goal) และ / หรือ วัตถุประสงค์ (Objective)

    9. วันเวลาที่บรรลุวัตถุประสงค์ (Specific Time) ต้องกำหนดเพราะเป็นวันที่จะสรุปผลสำเร็จของเป้าหมาย

    ตัวอย่างแผนปฏิบัติงาน (แบบง่าย)

    1. เป้าหมาย (Goal) .......

    2. เหตุผลความจำเป็น (Rationale)

    3. การปฏิบัติ (Objectives, Procedures)

    3.1 กิจกรรมหลัก (Main Activity)

    3.1.1 กิจกรรมรอง ( Sub Activity)

    3.1.2 .............................................

    3.1.3 .............................................

    3.2 โครงการ (Project)

    3.3 ...................................................

    4. ความสำเร็จ /เครื่องชี้วัดความสำเร็จ ระยะสั้นคืออะไร ท่านทราบได้อย่างไรว่าสำเร็จ ระยะปานกลางคืออะไร ทราบได้อย่างไรว่าสำเร็จ

    ระยะยาวคืออะไร ทราบได้อย่างไร

    5. อุปสรรคข้อจำกัด

    - เหตุการณ์ที่คาดว่าถ้าเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้การทำงานล่าช้าออกไป หรือต้องสะดุดหยุดลง หรือไม่ได้ผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้

    7. ค่าใช้จ่าย ...............................................บาท

    วันเวลาแล้วเสร็จ

    3.1 ....................................................

    3.2 .....................................................

    6. วิธีการแก้ไขอุปสรรค

      1. ....................................................
      2. ...................................................
      3. ...................................................

    8. ผู้รับผิดชอบ ................................................

    9. วันเวลาที่สำเร็จตามเป้าหมาย ...../....../........

    รูปแบบการวางแผนปฏิบัติการ บางสถานการณ์จำเป็นต้องเขียนอธิบายเหตุผล ความจำเป็น และขั้นตอนการนำแผนสู่การปฏิบัติอย่างละเอียด เพราะผู้บริหารยังไม่เข้าใจเนื้อหาสาระและขั้นตอนของงาน เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์ พนักงานจำเป็นต้องเขียนอธิบายอย่างละเอียด บางครั้งต้องชี้แจงเป็นการเฉพาะ แต่ถ้าผู้บริหารมีความเข้าใจในงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนแผนปฏิบัติอย่างละเอียดเชิงพรรณนา สู้เอาเวลาเขียนแผนไปใช้กับการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนที่เริ่มนำไปสู่ เป้าหมายดีกว่า

    หลักการของ TQM

    มีหลักที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

    1. ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategy Leadership) ในการนำ TQM ไปใช้นั้น ผู้นำมีบทบาทสำคัญที่สุด ถ้าผู้นำไม่เอาจริงไม่ขยันแล้วก็ย่อมจะไม่มีการนำเอา TQM ไปใช้ ผู้นำเชิงกลยุทธ์จะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นนักฟังที่ดี เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกน้องเป็นเลิศ สามารถขจัดความกลัวและอุปสรรคต่างๆในการทำงานได้

    2. เน้นความสำคัญของลูกค้า (Customer Focus) วิธีการทราบความต้องการของลูกค้า ทำได้โดยการหาข้อมูล อาจทำการสำรวจความต้องการของลูกค้า สัมภาษณ์ลูกค้า ให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมอภิปรายแสดงความคิดเห็น

    3. ให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีอำนาจในการตัดสินใจด้วย (Employee Improvement and Empowerment) การให้ทุกคนมีส่วนร่วมจะทำให้เขามีความรู้สึกว่างานเป็นของเขา ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นความสำเร็จของเขา เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทุ่มเทให้กับงาน การให้ความร่วมมือย่อมเกิดขึ้น ส่วนการให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจปรับปรุงงานโดยเฉพาะ การตัดสินใจร่วมกันในกลุ่มก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า ตนมีความหมายมีคุณค่า และความภาคภูมิใจในตนเองย่อมเกิดขึ้น

    4. การตัดสินใจด้วยข้อมูล (Fact – Based Decision Making Statistics) ในการจัดการแบบ TQM การตัดสินใจปรับปรุงคุณภาพอาศัยข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้จากการเก็บรวบรวมได้ จะไม่พิจารณาการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกหรือสามัญสำนึก หรือใช้วิธีการที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลหรือข้อเท็จ จริง ในขั้นนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคทางสถิติช่วยตัดสินใจ เช่น ใช้ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) แบบสำรวจ (Checksheet) ผังควบคุม (Control chart) กราฟแท่ง (Histogram) พาเรโต ไดอะแกรม (Pareto Diagram) Run Chart และ Scatter Diagram

    5. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นหลักการที่สำคัญประการหนึ่งในการจัดการ แบบ TQM เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Alan Robinson ได้สรุปหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไว้ 6 ประการดังนี้

    5.1 การปฏิบัติจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนปลงใหม่

    5.2 พนักงานทุกคนควรจะต้องรับรู้และเกิดความต้องการที่จะปรับปรุง

    5.3 ระบบการจัดการที่ปฏิบัติจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง

      1. อย่าทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกหวาดกลัวไม่กล้าที่จะปรับปรุง

    5.5 ข้อเสนอแนะที่ดี การปรับปรุงที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับรางวัล

    6. อบรมเทคนิคการแก้ปัญหา (Problem Solving Technique) โดยควรมีการฝึกวิเคราะห์รายละเอียดของปัญหา ตลอดจนการพิจารณาหาเหตุผลที่แท้จริงรวมทั้งรู้จักกระบวนการแก้ปัญหา บนพื้นฐานและหลักการทางวิทยาศาสตร์

    เทคนิคการพัฒนาคุณภาพ

    Quality Improvement Technique

    ในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ต้องกระทำเพราะจะเป็นการรักษาระดับมาตรฐานของผลผลิต ให้ดำรงสถานทางธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างมั่นคง เทคนิคที่นำมาใช้ในขั้นตอนนี้ ได้แก่

      1. The Deming (PDCA) Cycle
      2. Benchmarking
      3. Problem Solving Technique
      4. Nominal Group Technique

    Deming Cycle เป็นวิธีการปฏิบัติวิธีการหนึ่งที่เอื้อต่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้น ดังนี้

      1. วางแผน (Plan)
      2. ทดลองทำ (Do)
      3. ตรวจสอบ (Check)
      4. ปฏิบัติ (Act)

    วางแผน ในการวางแผนจะต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมคือ จะต้องทำงานเป็นทีม ในการวางแผนมีสาระสำคัญที่ควรตระหนักดังต่อไปนี้

    1. อะไรคือสิ่งที่คาดหวังจะได้รับ

    2. อะไรคือขอบเขตของโครงการ

    3. อะไรคือสิ่งที่เราจะ “ทดลองทำ” “ตรวจสอบ” และ “ปฏิบัติ” ในโครงการ

    4. จะต้องทดลองทำเท่าไรก่อนที่จะตรวจสอบผล จะต้องตรวจสอบเท่าไรก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ และจะต้องปฏิบัติเท่าไรก่อนที่จะมีการวางแผนในวงจรต่อไปในอนาคต

    5. ข้อจำกัดมีอะไรบ้าง และแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาเท่าไร

    6. ใครบ้างที่มีส่วนร่วม

    7. วางแผนเกี่ยวกับเวลา งบประมาณ บุคลากร และผู้บริหารสำหรับการดำเนินโครงการ

    8. อะไรบ้างที่จะต้องได้รับการประเมิน ประเมินอย่างไร และเมื่อใด

    ทดลองทำ เมื่อวางแผนแล้วจะต้องทดลองทำดูก่อน เหมือนกับเป็นการนำร่องเพื่อดูว่าวางแผนไว้ใช้ได้หรือไม่ เมื่อมาทดลองทำดูแล้วก็นำผลการทำลองทำที่พบ มาดำเนินการต่อไปด้วยวิธีการดังนี้

      1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
      2. จัดให้มีการพบปะสังสรรกันและให้ทุกคนเสนอแนะ
      3. เปลี่ยนแปลงวิธีการ
      4. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

    ตรวจสอบ ในระหว่างการทดลองทำจนกระทั่งสิ้นสุดการทดลองทำ ให้สังเกตว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ดังนี้

      1. เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
      2. สังเกตผลที่เกิดขึ้น ตรวจสอบผลข้างเคียง และดูว่ามีการย้อนกลับไปทำอย่างเดิมหรือไม่
      3. ตีความผลที่ได้ และตรวจสอบว่าผลสรุปนั้นสามารถนำไปอ้างอิงได้หรือไม่
      4. ข้อสรุปมีผลต่อกระบวนการที่ทำหรือไม่
      5. การทดลองทำเป็นการเปลี่ยนแปลงทำให้ผลที่ได้รับเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่เป็นต้น
      6. ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติในขั้นตอนการตรวจสอบมีผลต่อขั้นการปฏิบัติหรือไม่อย่างไร

    ปฏิบัติ เป็นการนำผลการวิเคราะห์ทางสถิติในขั้นการตรวจสอบไปปฏิบัติตามแผน ทั้งนี้ได้ตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่อไปนี้

      1. ควรจะดำเนินการตามกระบวนการนี้ต่อไปหรือไม่
      2. ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้หรือไม่
      3. ต้องการข้อเสนอแนะเพิ่มขึ้นหรือไม่
      4. ถ้าขั้น “ทดลอง” ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะทำให้เป็นมาตรฐานหรือไม่
      5. นำไปใช้ปรับปรุงหรือเลิกใช้
      6. จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการอย่างไร
      7. ดำเนินการตามวงจร (Cycle) อีกครั้งในสถานการณ์ที่แตกต่างจากเดิม

    Benchmarking

    เป็นเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพโดยการศึกษาความสำเร็จของผู้อื่นหรือหน่วย งานอื่นแล้วนำมาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติของตน เมื่อศึกษาแล้วนำมาเปรียบเทียบกับของตนแล้ววางแผนปรังปรุง คล้ายๆกับลอกเลียนแบบแล้วพัฒนาให้ดีขึ้น (Copy and Development)

    วิธีการของเทคนิค Benchmarking มีวิธีศึกษาเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ 3 วิธีด้วยกัน คือ

    1. การเปรียบเทียบกับหน่วยงานภายใน เป็นการเปรียบเทียบกับบุคคลหรือหน่วยงานภานในองค์กานที่มีผลงานที่ดีเยี่ยม แล้วนำมาปรับปรุง

    2. การเปรียบเทียบกับหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน

    3. การเปรียบเทียบกับหน่วยงานหรือบริษัทที่มีภารกิจหรือการผลิตหรือกระบวนการทำงานคล้ายคลึงกับหน่วยงานของตนที่ประสบความสำเร็จสูง

    Problem Solving Technique

    กระบวนการแก้ปัญหาจะมีขั้นตอนและเป็นวงจรซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีเทคนิคที่ควรจะนำมาใช้ดังนี้

      1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือทำความเข้าใจกับปัญหา ใช้ Pareto Diagram เป็นเครื่องมือ
      2. ขั้นการกำหนดกระบวนการ/แผนปฏิบัติ ใช้ Process Flow Chart เป็นเครื่องมือ
      3. ขั้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ใช้แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) เป็นเครื่องมือ
      4. ขั้นรวบรวมข้อมูล ใช้ Checksheet หรือเทคนิควิธีเป็นเครื่องมือ
      5. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ใช้ Histogram, Graphs และ Control Chart เป็นเครื่องมือ
      6. ขั้นนำแผนปฏิบัติไปใช้ ขั้นนี้เป็นการนำแผนปฏิบัติตามข้อ 2 ไปใช้
      7. ขั้นเฝ้าดูหรือติดตามการปฏิบัติตามแผนเพื่อควบคุมกระบวนใช้ Control Chart เป็นเครื่องมือ

    วงจรการแก้ปัญหา




    Nominal Group Technique

    เป็นเทคนิคหนึ่งในการแก้ปัญหาเพื่อ การปรับปรุงคุณภาพ และเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเมื่อต้องการความคิดที่หลาก หลายจากสมาชิก มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

    1. ขั้นอธิบายปัญหา (Problem Description) ในขั้นนี้ผู้นำกลุ่มจะอธิบายประเด็นปัญหาให้สมาชิกเข้าใจ

    2. ขั้นนี้สมาชิกใช้ความคิดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา (Silent Idea Generation) ในขั้นนี้จะให้สมาชิกแต่ละคนพยายามคิดหาสาเหตุของปัญหาให้ได้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้

    3.ขั้นให้เสนอความคิด (Round Robin) ในขั้นนี้จะให้สมาชิกทั้งหมดเสนอความคิดของตนที่คิดแล้วในข้อ 2 โดยเสนอทีละคน รอบละ 1 ข้อ เมื่อเวียนจนครบแล้วเริ่มต้นใหม่ เวียนไปครั้งละ 1 ข้อ จนทุกคนเสนอปัญหาของตนจนหมด โดยมีการบันทึกข้อเสนอของแต่ละคนไว้บนกระดาน

    4. ขั้นอภิปราย เพื่อทำความกระจ่างกับข้อเสนอแต่ละข้อ (Clarification Discussion) ในขั้นนี้ผู้นำจะชี้แจงให้สมาชิกพิจารณาข้อความทั้งหมดทีละข้อว่ามีความชัด เจนหรือไม่อย่างไร โดยให้ช่วยกันเพิ่มเติม ปรับข้อความที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันไว้เป็นข้อเดียวกัน

    5. ขั้นจัดลำดับความสำคัญของข้อความแนวคิดทั้งหมดที่นำเสนอ (Voting and Ranking of Ideas) ในขั้นนี้จะให้สมาชิกพิจารณาและเลือกข้อความที่คิดว่าสำคัญเรียงตามลำดับ (จะเลือกกี่ลำดับก็ได้แล้วแต่จะกำหนด) โดยแต่ละคนเลือกของตนเอง และนำมาแจกแจงความถี่ของการเลือกในแต่ละข้อ แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญ

    ในขั้นตอนที่ 1-4 จะต้องไม่มีการวิจารณ์ ตัดสินแนวคิดของสมาชิกแต่ละคน เพื่อให้สมาชิกมีอิสระในการคิด และเสนอความคิดของตน