++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

ผู้หญิง "ฟัง" ด้วยสมองสองข้าง

AP - การศึกษาชิ้นใหม่พบว่า ผู้ชายฟังด้วยสมองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
ใน การศึกษาสมองของ ชาย 20 คน และหญิง 20 คน ด้วยการสแกนพบว่า เวลาฟังผู้ชายส่วนใหญ่ใช้สมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจภาษา ส่วนผู้หญิงใช้สมองทั้งสองซีก

การ วิจัยชิ้นอื่นบอกว่า ผู้หญิง"สามารถฟังได้ทีละสองบทสนทนาในคราวเดียวกัน" ดร.โจเซฟ ที ลูริโต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านคลื่นวิทยุกล่าว "เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขาใช้สมองมากกว่า" แต่ดร.ลูริโต บอกว่าไม่จำเป็นว่าผู้หญิงจะเป็นผู้ฟังที่ดีกว่า "มันอาจจะยากกว่าสำหรับพวกเขาก็ได้" เพราะต้องใช้สมองมากกว่าผู้ชายในการทำงานอย่างเดียวกัน

"ผมไม่ได้อยากจะเถียงเรื่องเพศ แค่อยากให้คนรู้ว่าผู้ชายและผู้หญิงมีกระบวนการรับรู้ภาษาต่างกันเท่านั้นเอง"

การ ค้นพบนี้มีแนวโน้มสนับสนุนคำแนะนำก่อนหน้า ว่าสมองของผู้หญิงจะทำงานทั้งสองข้างมากกว่า หรือใช้สมองด้านขวามากกว่า ในการทำงานบางอย่าง และเป็นประโยชน์สำหรับหมอในการรักษาโรคลมชัก โดยเข้าใจว่าสมองผู้ชายและผู้หญิงต่างกันอย่างไร เช่นเมื่อเป็นโรคลมที่มีผลกระทบต่อสมองด้านซ้าย ผู้หญิงจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้ชาย แต่เรื่องนี้ก็ยังต้องศึกษากันต่อไป

ทบทวนแนวทางการประชาสัมพันธ์-ความสัมพันธ์กับประชาชน

ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน การประชาสัมพันธ์
เป็นเสมือนแนวทางหนึ่งที่บุคคลกลุ่มต่างๆ ได้ให้ความสนใจ และพยายาม
นำมาใช้ราวกับเป็น "ยาชูกำลัง" ร่วมกับมาตรการต่างๆ ในการชี้นำทิศทางให้
กับสังคม ตลอดจนการแสวงหาทางออกในสภาวะวิกฤต

ย้อนดู "ราก" การประชาสัมพันธ์
โดยหากเรามองย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ของคำว่าการประชาสัมพันธ์ เรา
อาจกล่าวได้ว่า รากศัพท์ของคำว่า "การประชาสัมพันธ์" ได้สะท้อนให้เห็นถึง
ความสำคัญของ "ประชา" ซึ่งได้แก่ กลุ่มประชาชนต่างๆ นอกจากนั้น คำดัง
กล่าว ยังได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความ "สัมพันธ์" หรือ "สัมพันธภาพ" ของ
กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอันเป็นที่มาของการพยายาม อธิบายว่า เป้า
หมายสูงสุดของการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การสร้างและธำรงรักษาความ
สัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร กับประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี
งามระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ

หัน ดู "ร่องรอย" การประชาสัมพันธ์
แต่หากพิจารณาถึงการนำแนวคิดเกี่ยวกับประชาสัมพันธ์ สู่การปฏิบัติ
ในสังคมต่างๆ เราอาจพบเห็นร่องรอยของแนว
ทางการปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีความหลากหลายกันไป
ตลอดจนความแตกต่างในด้านวิธี
คิดอันเป็นต้น ตอของแนวทางการปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ อาทิ
การประชาสัมพันธ์กับการทำให้เป็น "ข่าว"
โดยที่มาที่ไปของการประชาสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ได้แก่
ความ เชื่อที่ว่าการกระตุ้นความสนใจของสาธารณชน เป็นเงื่อนไขที่สำคัญสำหรับ
การดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ตลอดจนเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จระดับต้นของ
กิจกรรมต่างๆ โดยนักประชาสัมพันธ์จะทำหน้าที่บอกเล่าข่าวคราว หรือเรื่อง
ราวที่ตนต้องการจะบอกเพื่อให้สังคมรับรู้ผ่านสื่อประเภทต่างๆ
นอกจากนั้น เพื่อให้การประชาสัมพันธ์สามารถสร้างกระแสความสนใจ
จากสาธารณชนได้ดี นักประชาสัมพันธ์ยังอาจพยายามแสวงหาหนทางที่
จะทำให้เรื่องราวดังกล่าวปรากฏในสื่อมวลชนหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ
หนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงจากประชาชน เพราะนั่นหมายถึง โอกาสใน
การเข้าถึงประชาชนจำนวนมากนั่นเอง
จากความเชื่อดัง กล่าว นำไปสู่ความพยายามของนักประชาสัมพันธ์ ใน
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับนักข่าว เพื่อให้เกิดความสะดวก คล่องตัวในการ
ประสานความร่วมมือ ตลอดจนการพยายามคิดหาวิธีการที่แปลกใหม่
ประหลาด หรือแม้แต่โหดๆเพื่อให้สื่อมวลชนหันมาสนใจกิจกรรมต่างๆ ที่
ต้องการจะประกาศให้สังคมรับรู้
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อให้เกิดการรับประกันถึงโอกาสในการเป็นข่าวได้มาก
ขึ้น หน่วยงานต่างๆ ยังพยายามควานหา นักข่าวที่สมัครใจจะผันตัวเองมา
ทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนอาจดำเนินการจัดจ้างเอเจนซี่ทาง
การประชาสัมพันธ์ เข้ามาช่วยเหลือ ตลอดจนการติดต่อประสานงานเพื่อซื้อ
พื้นที่หรือเวลาในสื่อต่างๆ
หากจะว่าไปแล้ว ไม่มีอะไรเสียหาย ตราบใดที่ข่าวคราวดังกล่าวเป็น
ความจริง มิได้มีการบิดเบือน และที่สำคัญเป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์กับ
ประชาชนการประชาสัมพันธ์กับ "การเผยแพร่" ข้อมูลข่าวสาร
โดยการประชาสัมพันธ์ในลักษณะนี้มีที่มาที่ไปจากความเชื่อที่ว่า ข้อมูล
ข่าวสารที่ตนมีอยู่ในครอบครองเป็นเรื่องที่สำคัญ และคนอื่นไม่ได้มีโอกาสรับ
รู้ ดังนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญของตนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวสู่
ประชาชนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยส่วนใหญ่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประชาสัมพันธ์ใน
ลักษณะดังกล่าว มักได้แก่ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมักใช้สื่อในความครอบครอง
ของตนทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ตลอดจนประสานความร่วมมือกับ
สื่อต่างๆ เพื่อขยายฐานการเผยแพร่ข้อมูลออกไปสู่สาธารณชน
อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมักดำเนินอยู่บนการพยายาม
หาจุดสมดุลระหว่างเรื่องราวที่เราต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนรู้ กับเรื่องราว
ที่ประชาชนจำเป็นต้องรับรู้ ตลอดจนลักษณะของข้อมูลที่ประชาชนต้องการ
รับรู้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าถูกยัดเยียดข้อมูลให้
หรือเกิด อาการสำลักข้อมูล
หากจะว่าไปแล้ว สภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น ยังไม่ถึงกับเลวร้าย
ตราบใดที่การเผยแพร่ข้อมูล ไม่ได้มุ่งเน้นทำเพื่อโชว์ผลงานของบุคคล หรือหน่วย
งานอย่างออกนอกหน้า แต่หากมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ กับประชาชนเป็นสำคัญ
การประชาสัมพันธ์กับ "การส่งเสริมการตลาด"
โดยจุดเริ่มต้นของแนวทางดังกล่าวมาจากความเชื่อที่ว่า การประชา
สัมพันธ์สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือของการตลาด
โดยเฉพาะในด้านการได ้รับ
ผลกำไรจากยอดการขายสินค้า
การผนวกการประชาสัมพันธ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมด้านการ
ตลาด มีจุดเริ่มต้นมาจากองค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งมุ่งหวังการทำผลกำไรให้กับสิน
ค้าของตน และผนวกกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์รวมเข้าไปกับกิจกรรม
ส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ เพื่อบอกให้ลูกค้ารับทราบเกี่ยวกับคุณ
สมบัติของสินค้า ตลอดจนผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
แต่สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ บ่อยครั้งที่ข้อความหรือกิจกรรมในการประชา
สัมพันธ์มิได้เกิดขึ้นจากเจตจำนง ในการแจ้งข่าวสารสู่กลุ่มลูกค้าเท่านั้น แต่
เกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยว กับพฤติ
กรรมผู้บริโภค และนำข้อมูลดังกล่าวมาช่วยในการสร้างสรรค์สาร เลือกสื่อ
และกิจกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนการกำหนดวัตถุประสงค์ในการประชา
สัมพันธ์
หากจะว่าไปแล้ว การประชาสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ไม่มีอันตราย
ร้ายแรง ตราบใดที่ผู้ประกอบธุรกิจยังคงยึดมั่นเกี่ยวกับจริยธรรมในการ
ประกอบธุรกิจการประชาสัมพันธ์กับ "การสร้างภาพ"
โดยแนวทางการประชาสัมพันธ์แบบนี้เติบโตมาจากเแวดวงทางธุรกิจ
เช่นกัน เพียงแต่ยึดมั่นในความเชื่อเกี่ยวกับการกำหนด "จุดยืน" ของสินค้าและ
การกระตุ้นศักยภาพของผู้บริโภคในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้า
ชนิดเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อกัน ตลอดจนการเชื่อมโยงการรับรู้และความ
ประทับใจ ของผู้บริโภคต่อโลโก้สินค้า สินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
โดยบ่อยครั้งการประชาสัมพันธ์มักผนวกพลัง กับการโฆษณา และ
กิจกรรมเชิงการรณรงค์ เพื่อสื่อสาร ให้เห็นถึงเรื่องราวอันก่อให้เกิดภาพ
แห่งความประทับใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมไปในทิศทางที่กลุ่มผู้สร้างภาพพึงประสงค์
อย่างไรก็ตาม ความน่ากลัวของการประชาสัมพันธ์ ในแนวทางการสร้าง
ภาพ อยู่ที่กิจกรรมเชิงการสร้างภาพลักษณ์ มิได้หยุดอยู่แค่ภาพของผลิต ภัณฑ์ หรือบริษัทธุรกิจต่างๆ เท่านั้น แต่ได้มีการผันตัวเข้าสู่การใช้การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการสร้าง ภาพให้ กับนักการเมือง พรรคการเมือง และกิจ
กรรมต่างๆ ทางการเมือง ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่นักการเมืองเข้าไป
เกี่ยวข้องด้วย ภายใต้การกำกับดูแลของกลุ่มนักธุรกิจการเมือง ราวกับว่านักการ
เมือง หรือพรรคการ เมืองเหล่านั้น เป็นเสมือน "สินค้า" ที่เสนอให้ประชาชน
สิ่งที่ น่าสนใจ และจับตาดูต่อไปก็คือ ความจริงที่ปรากฏในภาพเหล่านั้น
มีสักเท่าไร ตลอดจนใครจะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ และเผยแพร่ข้อเท็จจริง
ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างทันท่วงที การประชาสัมพันธ์กับ"การประสาน" สัมพันธภาพ
โดยการประชาสัมพันธ์ในลักษณะเกิดและเติบโต ในแวดวงธุรกิจ
ภายใต้กระแสความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและ
กันระหว่างองค์กรกับประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยยึดถือหลักการที่ว่า
"หากประชาชนอยู่ไม่ได้องค์กรก็อยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน"
โดยนักประชาสัมพันธ์ จะทำหน้าที่เป็นเสมือนเพื่อนของทุกฝ่าย ไม่ว่า
จะเป็นองค์กรของตน พันธมิตร คู่แข่ง หรือกลุ่มประชาชน ในขณะเดียว
กันก็พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองของฝ่ายต่างๆ ที่มีต่อองค์กรของตน และ
ประเมินผลกระทบต่างๆ ที่องค์กรกระทำต่อสังคมให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ
ตลอดจนประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้บริหาร ในฐานะที่ปรึกษา เพื่อ
ผลักดันนโยบายต่างๆ ที่เอื้อต่อการก่อเกิดสัมพันธภาพ ที่แนบแน่น ยาวนาน
และยั่งยืนกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ในสังคม
แสวงหาแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์กับประชาชนในอนาคต

ในขณะที่กระแสการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
ต่างๆ ของภาครัฐกำลังมาแรง ในสังคมไทย ผนวกกับการที่กฎหมายและ
แนวนโยบาย ต่างๆ ก็เปิดโอกาสให้กิจกรรมเหล่านั้นมีความเป็น รูป
ธรรมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการที่สังคมมีโอกาสตรวจสอบความโปร่งใสของ
ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สะดวกยิ่งขึ้นนั้น
กลุ่มบุคคลที่จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดเกี่ยวกับ
ประชาชนและสร้างสัมพันธ์กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ได้แก่ นักประชาสัมพันธ์
ผู้บริหารองค์กรของภาครัฐ บุคลากร ตลอดจนหน่วยงานเอเจนซี่ของภาคเอก
ชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานด้านการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ มีความไว้วาง
ใจกลไก และกระบวนการทำงานของภาครัฐ ในขณะที่การเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารสู่ประชาชนเต็มไปด้วยความถูกต้องและเป็นกลาง
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ท้าทายภาครัฐ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาค
รัฐ ตลอดจนภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ก็คือ ทำอย่างไรที่กระบวนการ
ประชาสัมพันธ์ ที่เข้าไปสู่ประชาชนสู่ชุมชน
จะไม่เป็นเพียงแค่การพุ่งเป้าไปที่ การผลักดันให้เกิดโครงการโดยไม่ฟังเสียงคัดค้าน หรือความคิดเห็นของ
คนกลุ่มต่างๆ หรือเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างภาพกับหน่วยงาน และ
บุคคล ที่เกี่ยวข้อง
และทำอย่างไรให้กระบวนการประชาสัมพันธ์มิใช่เป็นเพียงแค่การแจ้ง
ข้อมูลให้ประชาชนทราบ หรือเป็นการยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว จนเกิดความ
สับสนและความขัดแย้งกันในชุมชนเป้าหมาย
แต่ทำอย่างไรที่การประชาสัมพันธ์จะเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพที่ดี
ระหว่างประชาชนด้วยกัน และร ะหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
อย่างไรก็ตาม คำตอบมิได้อยู่ในทฤษฎี หรือข้อคิดของผู้เชี่ยวชาญใดๆ
แต่คำตอบดังกล่าวอยู่ที่การที่ฝ่ายต่างๆ เปิดเผย ข้อมูล ข้อเท็จจริงร่วม
กัน มีความจริงใจ เปิดใจกว้าง แลกเปลี่ยนความคิด และรับฟังข้อมูล ข้อ
คิดระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายที่จะเรียนรู้ และคบหากันภายใต้สัมพันธภาพ
ที่ดีงาม และยืนยาวเพราะความสัมพันธ์ มิใช่สิ่งที่สร้างและสิ้นสุดแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
โดยคุณ : ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล

เซีย-ฮั้ง-หลุง คุณไม่จำเป็นต้องป่วย

ศิลปะการป้องกันตัวเบื้องต้น การวินิจฉัยอาการผิดปกติของตนเอง
ตามหลักปรัชญาแพทย์จีนแบบหยิน-หยาง
คนจีนเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติของตนเองนานแต่อดีตกาลว่าทุกสิ่งในธรรม
ชาติล้วนหมุนเวียนปรับเปลี่ยนตามวงโคจร จากวันเป็นคืน จากเดือนเป็นปี จากอากาศร้อนเป็นหนาว จากเมล็ดกลาย
เป็นต้น จากร้อนเป็นเย็น หรืออีกนัยหนึ่งจากสภาวะหยินสู่หยาง และหยางสู่หยิน
ร่างกายและสุขภาพก็เช่นกัน จากปกติสู่อาการผิดปกติ จากอาการผิดปกติเช่น อาการโรครุนแรงและเรื้อรังในที่สุด
ดังนั้น โรคภัยไข้เจ็บย่อมมีวงจรพัฒนาเหมือนกับสิ่งอื่น ไม่มีการยกเว้น
กว่า 1,800 ปีที่แล้วมา แพทย์จีนชื่อ จาง จง จิง ผู้เขียน
คัมภีร์เซีย-ฮั้ง-หลุง บัญญัติจากประสบการณ์การตรวจอาการของผู้ป่วยนับ
ร้อยสรุปได้ความว่า อาการผิดปกติของร่างกายคนเรา เมื่อเริ่มจะพัฒนาไปสู่การเป็นโรค
ล้วนมีอาการขั้นแรกคล้ายคลึงกัน และ โรคต่างๆ ก็ล้วนพัฒนาตามวงจรเหมือนกัน
โดยท่านระบุแบ่งเป็นภาษาหยิน-หยางว่า โรคทุกโรคพัฒนาจากอาการที่เป็นหยางสู่หยินและ
ในที่สุดหยินสุดคือ เสียชีวิต ในหยางและหยินแบ่งอีกเป็นหยาง 3 ช่วงก่อน
และต่อด้วยหยินอีก 3 ช่วง โรคพัฒนาจากหยาง 1 สู่หยาง 2 สู่หยาง 3
โรคสามารถบำบัดและบรรเทาได้ก็จะหายได้ในขั้นหยาง 3 แต่ถ้าอาการหยาง
ขั้น 3 เราไม่สามารถบรรเทาหรือแก้ไขได้ โรคจะพัฒนาเข้าสู่วงจรหยิน ซึ่งยากแก่การรักษาและ
ยิ่งหยิน 2 สู่หยิน 3 ยิ่งยากแก่การเยียวยาแก้ไข หากกินเวลาหยิน 3 การเสียชีวิตก็ เป็นไปได้สูง ดังนั้น ท่านจึงเขียนตำราอธิบายลักษณะของแต่ละขั้นตอนของ
อาการและการพัฒนาของโรค เพื่อเป็นความรู้และหลีกเลี่ยงการสูญเสียสุขภาพที่ไม่
สามารถรักษากลับคืนให้ดีเหมือนเดิมได้

การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายในเบื้องต้นให้ดูว่า
เป็นอาหารหยิน-หยาง และอยู่ในช่วงใดของการพัฒนา
และภูมิต้านทานของร่างกาย เราอยู่ในระดับใดที่จะปรับดุลกับโรคได้
ทุกโรคเริ่มต้นด้วยการหยาง เพราะหยางคืออาการของการป้องกันตัว
โดย ธรรมชาติของระบบในร่างกาย และหยางก็คือ พลังชีวิตหรือ ภูมิต้านทานที่เราทุกคนมีอยู่แล้วในตัว เมื่อเริ่มผิดปกติ ทุกคนล้วนยังมีภูมิ
ต้านทาน มีพลังความร้อนต่อสู้ปรับตัวกับความผิดปกติทุกระดับ อาการหยางจึงเป็นอาการที่เรายังได้
เปรียบและมีโอกาสที่จะรักษาตัวหรือบรรเทาให้ลุล่วงกลับมาสู่สภาพปกิติได้
ไม่ยาก แต่หากเราปล่อยปละละเลยหรือไม่สนใจ ทั้งยังทำความผิดในเรื่อง
อาหารการกิน การอยู่ ฝืนธรรมชาติเพิ่มหนักขึ้น ร่างกายจะเริ่มอ่อนแอลงจนถึงจุดที่โรคพัฒนาเข้าสู่
วงจรของหยิน ซึ่งมีอาการที่ยากแก่การแก้ไขหรือต้องใช้เวลานานกว่า และต้องใช้ยาที่แรงกว่า ดังนั้น การหมั่น
สังเกตและทำความเข้าใจของอาการผิดปกติของร่างกาย ย่อมทำให้เราไม่ตั้ง
อยู่ในความประมาท ทั้งยัง การเป็นหมอประจำตัวเราเองก่อน ที่จะรอพึ่งผู้อื่น
การใส่ใจในสุขภาพจึงต้องเริ่มต้นนับแต่วันนี้ด้วยการเริ่มแบ่งอาการแบบหยิน-หยาง ง่ายๆ
ที่ต้องใช้เวลาและทำให้เราหันมาเข้าใจให้คุณค่าสุขภาพของตัวเราเองมากขึ้น
การทำความเข้าใจระดับขั้นของอาการของโรคจำเป็นต่อการตัดสินใจในการ
เลือกสรรหายาหรือสมุนไพร หรือวิธีการบำบัดให้ถูกโรค ถูกเวลาแต่ละขั้น
แต่ละอาการล้วนมีแนวโน้มและวงจรของอาการแฝงอยู่การเฝ้าสังเกตและรวบรวมข้อมูลของอาการย่อมเป็นการ ง่ายต่อการบำบัดให้
ถูกโรค และเป็นการเลี่ยงที่จะซ้ำเติมอาการที่กำลังจะทุเลากลับเป็นทรุดหนักลงไปอีก
แต่ละขั้นตอนของอาการของโรคนั้น แพทย์จีนได้บัญญัติรายละเอียดของส่วน
ประกอบต่างๆ ของตัวยาสมุนไพรหรืออาหารการกินเพื่อแก้พิษหรือเสริม
บำรุงไว้อย่างละเอียด และสรรพคุณน่าเชื่อถือ ได้ผลเป็นที่ยอมรับกันมา
หลายร้อยหลายชั่วคน จึงน่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนยุคปัจจุบันที่ไม่ประสงค์
จะพึ่งยาแผนปัจจุบันที่นับ วันมีแต่ผลข้างเคียงอันไม่พึงปรารถนา
โดยคุณ : ภูมิปัญญาตะวันออก -

จีเอ็มพีระบบคุณภาพด้านสุขอนามัย

กล่าวถึงมาตรฐาน "จีเอ็มพี" หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าคือ อะไรกันแน่ และมีความสำคัญ หรือจำเป็นอย่างไร "จีเอ็มพี" หรือการพัฒนาวิธีที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice) นั้น เป็นระบบคุณภาพระบบหนึ่ง ซึ่งใช้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย และความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเน้นการควบคุมกระบวนการการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพ ตั้งแต่ด้านอาคารสถานที่ อุปกรณ์การผลิตที่เหมาะสม วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพ กรรมวิธีการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นต้น โดยยึดหลักการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยใช้การบันทึก

ปัจจุบัน มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมการขายสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้บริโภค ที่ครอบคลุมทั้งผู้ใช้ภายในและระหว่างประเทศ สินค้าดังกล่าว ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

ดังนั้น นับวันจีเอ็มพีจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายประเทศในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือบางประเทศในทวีปเอเชียเอง ก็มีการกำหนดให้สินค้าดังกล่าวที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศต้องผ่านมาตรฐาน ดังกล่าว จากประโยชน์ที่จะได้ในแง่ผู้ผลิตคือ การลดต้นทุนการผลิต และการปรับปรุงระบบการผลิต ทั้งมีผลต่อผู้บริโภคที่ได้ใช้ผลิตภัฑณ์ที่มีคุณภาพ ทำให้ภาครัฐหันมาให้ความสนใจกับการใช้มาตรฐานดังกล่าว

โดยมาตรฐาน ดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ และกรรมวิธีการผลิตเพื่อการจำหน่ายในระดับสากล ซึ่งก็เป็นผลดีกับผู้บริโภคที่ลดความเสี่ยงในการบริโภคสินค้าที่ไม่ได้รับ มาตรฐาน ส่วนประเทศไทยเองขณะนี้ มีบริษัทในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพีแล้วอย่างน้อย 3 แห่งจากคณะกรรมการอาหารและยา

คอกาแฟหญิงอาจเป็นโรคชํ้ารั่ว

นักวิทยาศาสตร์สาขาการแพทย์ ของวิทยาลัยแพทย์บราวน์ ในสหรัฐฯ ได้บอกเตือนผู้หญิง ที่เป็นคอกาแฟว่า ควรจะจำกัด กาแฟที่ดื่มเอาไว้ ไม่ให้เกินวันละสี่ถ้วย เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะกลายเป็นโรคช้ำรั่ว ต้องวิ่งเข้าวิ่งออกห้องน้ำวันละหลายหน นักวิจัยได้พบ สาเหตุว่า เพราะคาเฟอีนในกาแฟ มีฤทธิ์ไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ
ด้วย เหตุนั้นผู้หญิง จึงไม่ควรซดกาแฟวันละหลายถ้วยนัก หรือไม่ก็เลี่ยงไปดื่มกาแฟที่ปลอดคาเฟอีนเสีย และยิ่งผู้ที่มีปัญหา ของกระเพาะปัสสาวะอยู่ด้วยแล้ว ก็ควรจะหนีห่างกาแฟเสียเลยจะดีกว่า