++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีตักบาตรทางน้ำเป็นประเพณีของชนชาวมอญ

ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรทางน้ำเป็นประเพณีในเทศกาลออกพรรษา ซึ่งชาวเกาะเกร็ด
และชาวอำเภอปากเกร็ดจะทำกันในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
โดยคนมอญจะตบแต่งเรือสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์และลูกศิษย์จากวัดต่างๆ
พายออกไปรับบิณฑบาตตามบ้านเรือนของคนมอญที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ตะวันขึ้นเป็นต้นไป
คนมอญจะพร้อมกันทำบุญมากกว่าวันอื่นๆ เรือแต่ละลำส่วนมากเป็นเรือขนาดใหญ่
เรือบางลำมีลูกศิษย์มากกว่า 20 คน ทั้งยังมีเสียงเพลงที่ลูกศิษย์แต่ละลำ
ร้องรำทำเพลงดังไปทั่วท้องน้ำอย่างสนุกสนานครึกครื้น
เมื่อครบทุกหมู่บ้านแล้วจึงกลับวัด
สำหรับเพลงที่ร้องนั้น น่าสนใจมาก เรียกกันว่า "เพลงโหยนโหย่"
ท่วงทำนองเพลงเป็นการให้สัญญาณกำกับจังหวะแก่ฝีพาย ขณะพายเรือตามแบบมอญ
ขอยกตัวอย่าง ดังนี้
ต้นเสียง - เยอว ป๊ะ เยอว
ลูกเรือ - เย้อว (พร้อมกับจ้วงฝีพาย)
เดิมที่เดียวใช้คำร้องเป็นภาษามอญ ต่อมามีการผูกคำร้องเป็นภาษาไทย
เนื้อร้องมีไม่มากนัก เป็นการร้องด้นโดยใช้ทำนอง "โหยนโหย่"
เป็นเครื่องประกอบทำนอง โดยคำลงท้ายเป็นสระโอ ตัวอย่าง เช่น
ต้นเสียง - ไชโย โหยนโหย่ ผมมาก็ที่โหล่
ลูกคู่รับ - ไชโย โหยนโหย่ ขอแกงผมสักโถ
ไชโย โหยนโหย่ แกงหมูชิ้นโตๆ
ไชโย โหยนโหย่ ขอให้ได้บุญอักโข
ไชโย โหยนโหย่ ให้พรั่งพร้อมด้วยลาโภ ฯลฯ
ปัจจุบันทางอำเภอปากเกร็ดได้จัดให้มีการประกวดการตักบาตรทางน้ำด้วย
ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบประเพณีเดิม เช่น ตบแต่งเรือมากเกินไป
มีการนำผู้หญิงร่ายรำในเรือด้วย นับว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น