++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2548

โอสถสารกระชายดำวิจัยพบฤทธิ์เทียบเท่าโสมเกาหลี

ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กระชายดำ ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการขยายพื้นที่ปลูก จนผลผลิตล้นตลาด หลายพื้นที่ที่ปลูกประสบ ปัญหาคุณภาพ สีเนื้อเหง้ากระชายดำ ไม่มีคุณภาพ ส่วนภาครัฐเองก็ไม่สามารถ ขยายตลาดไปยัง ตลาดต่างประเทศได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ที่ยืนยันสรรพคุณ ในกระชายดำได้ โดยเฉพาะสรรพคุณ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของบุรุษ และ สรรพคุณบำรุงกำลัง ที่พบว่ามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรกระชายดำอย่างมาก

ทำให้แนวโน้มราคาตกต่ำลงเรื่อยๆ จากที่เคยขายได้กิโลกรัมละ 400-500 บาท ลดลงเหลือแค่ 50-60 บาท เท่านั้น!!!

นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าแม้กระชายดำจะราคาตกต่ำ แต่ก็เป็นสมุนไพรร่วมสมัยที่ผู้คนให้ความสนใจ เนื่องจากมีสรรพคุณมากมายทั้งต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส วัณโรค มาลาเรีย การเกิดอนุมูลอิสระและแผลในกระเพาะอาหาร และที่โดดเด่นที่สุดก็คือ สรรพคุณในด้านบำรุงกำลังเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จนได้รับการขนานนามว่า โสมไทย นอกจากนี้ ผลการวิจัยล่าสุดยังได้พบว่ากระชายดำมีฤทธิ์ ต้านทานความเหนื่อยล้า

ด้วยเห็นว่าเป็นสมุนไพรที่ยังมีอนาคต และเพื่อหาข้อมูลทางวิชาการ มาเป็นเครื่องยืนยัน กรมวิชาการเกษตร จึงร่วมกับ สำนักงานพัฒนา การวิจัยการเกษตร (สวก.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน จัดทำ โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ ต้านความเหนื่อยล้า ของเหง้ากระชายดำ สำหรับการคัดเลือกพันธุ์เชิงพาณิชย์ โดย สวก.ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย แก่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 5,833,432 บาท ใช้ระยะเวลาทำวิจัย 2 ปี (2547-2549)

ดร.เสริมสกุล พจนการุณ นักวิชาการเกษตร 6 ศูนย์บริการและวิชาการด้านพืช และปัจจัยการผลิตจังหวัดเลย หนึ่งในผู้ทำวิจัย เปิดเผยว่า โครงการนี้มีนักวิจัยทำงาน ร่วมกันหลายท่าน โดยในส่วนของตัวเองรับผิดชอบ ในการรวบรวม ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กระชายดำ และการวิจัยเชิงสำรวจ และศึกษาความเป็นไปได้ ทางเศรษฐศาสตร์

ส่วนการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ของสารสกัดเหง้ากระชายดำ การศึกษาวิเคราะห์องค์ ประกอบเคมีของสัดส่วน (fraction) ที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าและวัยขณะเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาเหง้ากระชายดำที่เหมาะสมนั้น ได้ให้ทาง ดร.ไชยยง รุจจนเวท, ดร.ประสาท กิตตะคุปต์ และ รศ.ดร.มานิตย์ โฆษิตตระกูล เป็นผู้ทำการศึกษาตามความถนัดของแต่ละท่าน

สำหรับในเบื้องต้นนี้ กรมจะดำเนินการรวบรวม และศึกษาพันธุ์กระชายดำ จากแหล่งปลูกเชิงการค้า ในพื้นที่ต่างๆ และปลูกทดสอบพันธุ์ในแปลงต่างๆ ของประเทศไทย จากนั้นจะแยกสารสกัด จากเหง้ากระชายดำ และใช้องค์ประกอบทางเคมีสัดส่วน ที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์เชิงพาณิชย์

เพื่อให้ได้กระชายดำพันธุ์ดี มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าและให้ผลผลิตต่อไร่สูง ก่อนกระจายพันธุ์ดีให้เกษตรกรปลูกตามแนวทางเกษตรดี ที่เหมาะสม (GAP)

กระชายดำของไทยวันนี้ จะยืนเทียบโสมเกาหลีได้หรือไม่... คงไม่สำคัญเท่าใดนัก... กับปัจจัยที่ว่าเมื่อ เกษตรกรปลูกแล้วขายไม่ออก เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า...ค่ะ!!!

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น