++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548

มอง'ส้วม'ผ่าน'เซ็กส์'ในสังคมไทย

"มนฤทัย ไชยวิเศษ" เธอผู้ค้นพบว่า "ส้วม" ไม่ได้เป็นเพื่อน สนิทยามถ่าย
ทุกข์เพียงอย่างเดียว แต่ห้องสุขานี้มีมากกว่านั้น ซึ่งสามารถสะท้อนวัฒน
ธรรมของคนไทย และที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับเรื่องทางเพศชนิด "เช็กซ์"
ก็คือส้วมนั่นเอง

คุณรู้สึกเช่นใดกับ"ส้วม"?
สกปรก...โลกส่วนตัว...เพื่อนสนิท...สถานที่ถ่ายทุกข์...สถานที่ปลด
ปล่อยทางเซ็กซ์ ฯลฯ

แต่สำหรับหญิงสาวผู้นี้ "มนฤทัย ไชยวิเศษ" เธอมีมุมมองที่แปลก
และแตกต่าง หลังจากที่ได้ค้นคว้า ศึกษา และวิจัย เธอได้ค้นพบว่า ส้วม
มีบริบท ที่น่าสนใจ มีความหมายยิ่งกว่าสถานที่ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
ส้วมในสิ่งที่เธอค้นพบ คือ สามารถสะท้อนวัฒนธรรมในสังคมไทย
ได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องเพศในสังคมไทยมีความสัมพันธ์กับ
ส้วมชนิดที่คุณคาดไม่ถึง

นางสาวมนฤทัย ไชยวิเศษ ปัจจุบันอายุ 29 ปี ทำงานอยู่สำนักส่ง
เสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเธอได้ศึกษาวิจัยและ
เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "ประวัติ- ศาสตร์สังคม:ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ใน
ประเทศไทย" เมื่อครั้งที่ศึกษาระดับปริญญาโท ที่คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อประมาณ4 ปีที่ผ่านมา

"จำได้ว่ามีหลายหัวข้อมากที่อยู่ในความตั้งใจในการทำวิทยานิพนธ์
แต่วันหนึ่งขณะที่เข้าห้องส้วมที่บ้าน มาฉุกคิดว่า อย่างรถไฟยังมี 100 ปี
การ รถไฟไทย ทำไมส้วม จะมี 100 ปีส้วม ไทยไม่ได้"

เธอ เล่าว่า การศึกษาเรื่องส้วมจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิทยา
นิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าอยู่หลายปี ทำ ให้ได้พบเรื่องราวที่น่าสน
ใจอย่างมาก มาย มีประเด็นหลายอย่างที่สามารถสะท้อนพัฒนาการทาง
ความคิดและการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคน โดยเฉพาะมุมมองเรื่อง
เพศในสังคมไทยที่สัมพันธ์กับเรื่องส้วม
ส้วมและเซ็กซ์เป็นความแตกต่างที่เหมือนกันตรงที่ว่า
การขับถ่าย และการร่วมเพศสืบพันธ์เป็นพฤตกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งทุก
ชาติทุกเผ่าพันธุ์ต้องมี และสำคญต่อการดำรงอยู่ของชีวิต เช่นเดียวกับ
การกินและการนอน
พฤติกรรมเหล่านี้มนุษย์ได้รับการฝึกฝนอบรมให้มีมารยาทและ
ความประณีต รวมถึงความเป็นพิธี รีตอง ซึ่งได้พัฒนาขึ้นกว่าสัตวโลกทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของส้วมในสังคมไทย ที่ปัจจุบันได้พัฒนามา
ไกลกว่าการคิดว่าเป็นพฤติ-กรรมตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง

เธอสะท้อนให้เห็นอีกว่าแม้ แต่การพูดถึงส้วม ปัจจุบันในสังคม
ไทยศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ขับถ่ายเป็นคำที่มีการนิยามกันใหม่แทบ
ทั้งสิ้น คนสมัยก่อนถ้าเขาจะไปถ่ายเขาจะบอกว่า "ไปทุ่ง" "ไปท่า" หรือ "ไป
ป่า" คำพูดนี้เป็นถ้อยคำ ที่บอกถึงสถานที่จะไปและเป็นอันรู้กันว่า "ไปขี้"
นั่นเอง แต่การที่พูดว่าไปทุ่งหรือไปท่า เป็นคำพูดที่ฟังดูไพเราะเสนาะ
หูกว่าบอกว่าไปขี้ การแสดงวาจาดังกล่าว นับเป็นมารยาทของคนในสังคมอย่างหนึ่ง
เหมือนกับปัจจุบันเราบอกว่าไปส้วมฟังดูพิกล และไม่สุภาพนัก แต่ถ้า
บอก ว่าไปห้องน้ำหรือไปล้างมือ จะถือว่าเป็นคำพูด ที่ถูกต้องตาม
มารยาทที่ควร จะพูด ทั้งๆที่จุดประสงค์ของการไปจะต้องไปถ่ายก็ตาม
เหมือนกับศัพท์ที่ใช้กับพฤติ-กรรมร่วมเพศเช่นกัน คนทั่วไปมักใช้
คำเลี่ยงว่า การไปนอน ขึ้นห้อง การ หลับนอน หรือคำอื่นๆ เพื่อแทน
ความ หมายในการไปร่วมเพศ เรื่องส้วมแต่ก่อนคนไทยรู้สึกว่าเป็น
เรื่องของการ "ปลดทุกข์" ยังไม่มี
นัย ของการสร้างสุขอย่างชัดเจนเหมือนทุกวันนี้ ที่ส้วมกลายเป็นห้องสุข
ภัณฑ์สมัยใหม่ สะท้อนออกมา อย่างเช่นโฆษณาในปัจจุบันยกระดับส้วม
คือ "ห้องที่สวยที่สุดในบ้าน" หรือ "เตียงที่สบายที่สุดอาจไม่ใช่ห้องนอน
เสมอไป"

สิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงให้ความรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงว่าห้องน้ำ
ในปัจจุบันไม่ใช่สถานที่ของการปลดทุกข์ แต่เป็นโลกส่วนตัว เป็น
พื้นที่ ของปัจเจกที่คุณสามารถสร้างสุขทางโลกีย์ได้อย่างมีรสนิยม
ในขณะที่คนในสังคมมองเรื่องการขับถ่ายว่าเป็นการปลดทุกข์ เรื่อง
การร่วมเพศถูกมองว่าเป็นเรื่องของ "การหาความสุข"
อย่างไรก็ดีในศาสนาพุทธมองกิจกรรมท ั้งสองว่าเป็นเพียงกิจตาม
ธรรมชาติและมีวัตรปฏิบัติอย่างเข็มงวด และละเอียดเพื่อเอื้อต่อการ
รักษาพรหมจรรย์ ตลอดจนคงความมีระเบียบวิจัยของบรรพชิตในการอยู่
ร่วมกัน อย่างเช่น ข้อห้ามไม่ให้หาความสุขสำราญจากการอาบน้ำและ
ชำระร่างกายดังนั้นในสังคมไทยก่อนการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกนั้น ได้รับ
อิทธิพลความเจริญด้านเทคโนโลยีการขับถ่ายและมารยาทจากศาสนา
พุทธ เช่น มีชิ้นสุขภัณฑ์ที่เรียกกันว่า "ส้วมสุโขทัย" มี "เว็จ" หรือ "ถาน"
(สถานที่ขับถ่ายไว้ให้ใช้ก่อนที่จะมีส้วม สุขา หรือ ห้องน้ำ�)
เป็นเรื่องที่น่าพิเคราะห์ในเรื่องของเว็จ หรือส้วมในสมัยก่อน คือ
ใน อดีตไม่มีการแบ่งแยกสถานที่ขับถ่ายตามเพศอย่างชัดเจนเหมือนกับ
ห้อง น้ำสาธารณะในปัจจุบัน ซึ่งมีการส้วมหญิงและส้วมชาย แต่ที่บ้าน
ไม่ได้แยกหรือห้ามเพศใดเข้า มนฤทัยวิเคราะห์ให้เห็นว่า เป็น เรื่องที่น่าฉุกคิดมากว่า
ทำไมเราแบ่งการใช้ห้องน้ำตามเพศ? จะบอกว่าเพราะสรีระร่างกายของชายและ
หญิงต่างกัน คงไม่น่าใช่เพราะหลักฐานเกี่ยว กับส้วมสาธารณะที่สร้างใน
พระนครเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนั้นเป็นแบบ "ส้วมถังเท" คือมีที่นั่งถ่าย
หรือใช้ ไม้พาดและมีถังรองสุขภัณฑ์ก็ไม่ต่างกัน
ไม่เหมือนกับการออกแบบดีไซน์สุขภัณฑ์ในปัจจุบันที่ให้ความ
สะดวกกับแต่ละเพศมากขึ้น ได้แก่โถปัสสาวะของผู้ชาย และบิเด้ หรือโถ
ปัสสาวะของผู้หญิง ซึ่งอันนี้ก็ยังดูไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทยเท่าใดนัก
แต่โถที่ขับถ่ายก็ยังใช้เหมือนกันทั้งสองเพศ จะเป็นลักษณะตกแต่ง
การตกแต่งในองค์รวม เช่น การใช้สี เหลี่ยม มุม ที่พยายามทำให้รู้สึกว่า
แบบนี้เป็นห้องน้ำผู้ชาย แบบนี้เป็นห้อง น้ำผู้หญิง
การที่แบ่งห้องน้ำสาธารณะตามเพศ ไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลที่สมควร
หรือไม่ แต่ทุกคนก็รู้สึกเคยชินและปลอดภัยสำหรับการแบ่งเช่นนี้ โดย
เฉพาะกับเพศหญิงถือเป็นการป้อง กันการคุกคามทางเพศและพวกเธอ
จะรู้สึกสะดวกใจที่ได้ใช้สถานที่ขับถ่ายร่วมกับเพศเดียวกัน
จากข้อสรุปของงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมการขับถ่ายในสังคมเดิม
ของไทยเป็นเรื่องที่เรียบง่าย ผูกพันกับธรรมชาติ แต่ความเข้มงวดและ
ความซับซ้อนในเรื่องนี้ เข้ามาพร้อมกับโลกทัศน์ความคิดใหม่ ได้แก่
ความศิวิไลซ์ ความมีอนามัยแบบฝรั่ง และอุดมการณ์ของการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้พฤติกรรม เรื่องส้วมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นับตั้งแต่รัฐไทยประกาศอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ราษฎรขับถ่ายใน
ส้วมจากวันนั้นถึงวันนี้ร้อยกว่าปีผ่านไป พฤติกรรมการขับถ่ายของคนใน
สังคมเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมาย การบังคับ
การศึกษา การพัฒนา หรือการโฆษณา ประการสำคัญที่สะท้อนให้เห็นในเรื่องของส้วมและเซ็กซ์ในสังคม
ไทย คือ การที่มองว่าเรื่องส้วมและเซ็กซ์ของคนในสมัยก่อนเป็นเรื่อง
เรียบง่าย เพราะชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน อดีตไม่มีพื้นที่มารองรับ
ในเรื่องเหล่านี้อย่างชัดเจน
อย่างเช่น บ้านไทยเดิมในอดีตไม่มีห้องส้วม และห้องหับไม่มีการ
แบ่งแยกอย่างมิดชิดนักสำหรับพฤติ-กรรมทางเพศ ทำให้สามารถตี
ความได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดในพื้นที่สาธารณะทั่วไปได้
และปัจจุบันเรื่องส้วมและเซ็กซ์มีพื้นที่มารองรับกิจกรรมนี้ชัดเจน
กว่า เมื่อก่อน พฤติกรรมนี้จึงกลายเป็นเรื่อง ส่วนตัว
เหมือนกับความ คิดแบบฟรีอิสระมาสู่ความคิดแบบมีกรอบที่กดดันพฤติกรรมของคนใน
สังคมนั้น
มนฤทัย เสนอว่า แม้ว่าเรื่องเพศและส้วมจะไม่มีพื้นที่ในแง่ห้องหับ
ความมิดชิดมารองรับอย่างชัดเจนในอดีต แต่ใช่ว่าคนไทยในอดีตจะไม่
ถือเรื่องพวกนี้ คนสมัยก่อนอาจขับถ่ายผิวปากร้องเพลงกลางทุ่งได้อย่าง
หน้าตาเฉย แต่เขาคงไม่พอใจแน่ถ้ามีใครไปจ้องมองเขาขณะขับถ่าย
สะท้อนได้อย่างความเชื่อที่ว่า คนที่เป็น ตากุ้งยิงนั้นเพราะได้แอบ
ดูของ ลับของผู้อื่น

นอกจากนี้ใช่ว่าทุกสถานที่จะขับถ่ายได้หมด เพราะในสังคมที่มี
ความเชื่อ ประเพณี อย่างสังคมไทยสถานที่สำคัญและที่เขาคิดว่าศักดิ์
สิทธิ์ หรือไม่สมควรทำให้แปดเปื้อน คนปกติย่อมต้องเว้น
และรู้จักควบคุมธรรมชาติของร่างกาย
เรื่องเพศก็เช่นกันฉากรักอาจจะเกิดขึ้นได้ในลอมฟาง กระท่อม
ปลายนา และบนบ้าน แม้จะมีสมาชิกหลายคนอยู่เป็นครอบครัวขยาย แต่ก็
ไม่สามารถร่วมเพศให้ผู้อื่นได้เห็นได้ เพราะอย่างน้อยก็ต้องมีความ
เคารพในเรื่องพื้นที่ ผีสางเทวดา ปู่ยาตายาย และลูกหลานในบ้าน ซึ่งเรื่อง
ของการทำกิจกรรมทางเพศ ในอดีตชี้ชัดไม่ได้ว่าชาวบ้านไม่เคร่งครัด
เธอ สรุปทิ้งท้ายว่า ดังนั้นทั้งเรื่องเซ็กซ์และเรื่องส้วมในสังคมไทย
นั้น อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะของความเป็นกึ่งสาธารณะและกึ่งส่วนตัวใน
ขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะความคิดและพฤติกรรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
ชีวิตและการเปลี่ยนของคน n
โดยคุณ : "มนฤทัย ไชยวิเศษ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น