เจ้าหน้าที่อนามัย พบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพียงใช้ปูนกินหมากตากแห้งใส่ในน้ำ ควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้อย่างประหยัด และง่ายดาย แถมทำมาหลายปีดีดักแล้ว
เจ้า หน้าที่อนามัยบ้านลานหมาใน จังหวัดนครสวรรค์ ได้เห็นตัวอย่างจากชาวบ้าน เอาปูนกินหมากตากแห้งใส่ภาชนะเก็บน้ำ ป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ผล จึงได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพ ของปูนกินหมากตากแห้ง ในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
ได้พบว่าปูนกินหมากตากแห้ง มีประสิทธิภาพ ในการลดปริมาณลูกน้ำยุงลาย โดยลดอัตราการวางไข่ของยุงลาย ลดอัตราการฟักตัวของไข่เป็นลูกน้ำยุงลาย และลดอัตราการเจริญเติบโตจากลูกน้ำ ไปเป็นยุงลายตัวเต็มวัย โดยปริมาณปูนตากแห้ง ที่เหมาะสมเท่ากับ 0.106 กรัมต่อลิตร หรือปริมาณ 21 กรัมต่อน้ำฝน 200 ลิตร
การป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่ให้ยุงลายวางไข่ แต่เดิมมีการแนะนำให้ใส่ทรายอะเบทว่า เป็นวิธีการที่สะดวกได้ผล ป้องกันได้นาน แต่มีข้อเสียตรงทรายอะเบทมีราคาแพง และจะใช้ให้ได้ผลต้องใส่ครอบคลุมให้ได้ทั่ว อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ของภาชนะใส่น้ำในชุมชน ทุกระยะเวลา 3 เดือน
เมื่อศึกษา เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ระหว่างการใช้ทรายอะเบท กับปูนกินหมากตากแห้ง ได้ตัวเลขว่า การใช้ปูนกินหมากตากแห้ง จะถูกกว่าการใช้ทรายอะเบทถึง 63 เท่า
โดยคุณ : วิทยาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น