++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548

เรื่องกล้วยๆ

คนไทยรู้จัก "กล้วย" ผลไม้
คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน
เกิดมาฟันน้ำนมยังไม่ทันขึ้น ก็ได้ลิ้มรส "กล้วย" บดผสมนม ข้าวต้ม สูตรใครก็สูตรมัน...
กล้วย เป็นพืชอาหาร
สำคัญ อันดับ 4 ที่คนทั้งโลกรู้จักและบริโภคมากที่สุด และเป็นผลไม้ มิใช่พืชไร่อย่างพืชอาหารสำคัญ 3 อันดับคือ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี และนม
ผลไม้รูปโค้ง เปลือก
สีทอง เนื้อนุ่มหวาน เป็นต้นไม้มหัศจรรย์ พืชเมืองร้อน ที่คนเมืองหนาวนิยมกันนัก
ที่ญี่ปุ่น ปลูกกล้วยไม่ได้ แต่ชาวเมืองปลาดิบนิยมกินกล้วยมาก นำเข้ากล้วยปีละประมาณ 1 ล้านล้านตัน
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตมรสุม เป็นแหล่งกำเนิดกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ถ้า
นับเฉพาะกล้วยกินได้ ไม่รวมกล้วยป่า เมืองไทย
ก็มีมากกว่า 60 ชนิด ยังไม่นับชนิดที่เหลือเพียงชื่อ เช่น กล้วยกรัน กล้วยกรามคชสาร กล้วยนางเงย และกล้วยอีกหลาย
สายพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ไม่แน่ใจว่า สูญพันธุ์เสียหมดสิ้นหรือยัง๊
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เขียนกลอนพรรณนาถึงกล้วยชนิดต่างๆ ไว้เมื่อปี พ.ศ.2427 ว่า...
...กล้วยกล้าย มีหลายกระบวน กล้วยกรัน จันนวล อีก น้ำว้า น้ำไทย กล้วยน้ำ
กาบดำ ก้านใบคล้ายกับน้ำไทย ผลใหญ่และยาวกว่ากัน กล้วยกุ เรียก กล้วยสั้น ผันเพี้ยนนามจำนันจะหนี
ที่คำหยาบคาย ตีนเต่าตีนตานี กลาย กล้วยน้ำเชียงราย กล้วยส้ม หักมุก มูลมี กล้วยน้ำนม
ราชสีห์ อีก กล้วยร้อยหวี บายสี ก็เรียกนามสอง หอมเขียวกล้วยค่อม หอมทอง หอมจันนวลละออง อีกกล้วยที่เรียกเปลือกบางนี่คือ กล้วยไข่ คำกลาง ท่านจัดแบบวาง กล้วยกระกล้วยพระ ก็มี กล้วยครั่ง ดุจครั่งย้อมสีแดงจัดรูจีทั้งหวีทั้งเครือเจือแดง กล้วยนาก เพียงนากเปล่งแสง กล้วยกรามแรดแดง หนึ่งนามว่า กรามคชสาร กล้วยสีสะโต โวหารเรียกแต่โบราณ
อีก กล้วยประจำพาน หนึ่งเล็บมือนางนามกร ตีบ หอมขจร
บ้าง เรียกว่า กล้วยกรบูร นางเงย สีงามจำรูญ กินดีมีมูล ภิมเสร แลสม นมสวรรค์ หอมว้าตานีอารัญ อุบล ปนกันกับตาลปัตรฤาษี กล้วยแข้ หนึ่งเรียกกัทลี กาบก็มีมักมีข้างแดนละว้าป่าไกล มลิอ่องผิวผ่องอำไพ นางนวลยวนใจ กล้วยไร่กะเหรี่ยงเรียกน
าม พรรณกล้วยมีหลากมากตามประเทศเขตคาม นิคมและเขตดงดอนเหลือจะร่ำนามกร ลัดบทลดทอนแต่ที่รู้แจ้งแห่งนาม... (คัดตัวสะกดตรงตามต้นฉบับ)
เมืองไทยเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
และเราโชคดีที่มีผลไม้อย่าง "กล้วย" อยู่มากมาย ทั่วทุกภาค
ปลูกกล้วยได้ คนไทยทุกคนชอบกินกล้วย และรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นกล้วยตั้งแต่ใบจรดราก คนไทยผูกพันกับผลไม้โบราณ
นี้มาเนิ่นนาน จนบางทีอาจหลงลืมคุณค่าในเรื่อง "กล้วยๆ"
กล้วย - ผลไม้อินเตอร์
เมื่อ ต้นเดือนที่ผ่านมา (วันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2543) เมืองไทยจัดงานใหญ่ระดับนานาชาติว่าด้วยเรื่องกล้วย จากความร่วมมือของ กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
และ องค์กรกล้วยนานาชาติ (INIBAP - International Network for the Improvement of Banana and Plantain) จัดประชุมสัมมนากล้วยนานาชาติ ครั้งที่ 1
ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน
ทั้งนี้ เพราะกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญทั้งในแง่ของ
การบริโภคสดและการแปรรูป เมืองไทยปลูกกล้วยได้ดี ทว่าได้ผลผลิตเชิงเศรษฐกิจน้อย มักไม่ได้รับการเอาใจใส่ ขาดการ
ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีการผลิต กระทั่งมีรายงานผลสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศ พบว่า กล้วยประมาณ 100 กว่าสายพันธุ์ได้
สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย และบางสายพันธุ์ถ้าไม่ได้รับการขยายพันธุ์เพิ่ม เชื่อว่าคงจะสูญพันธุ์ในอีกไม่ช้า
ถึงวันนี้ เมืองไทยต้องติดต่อขอสายพันธุ์ กล้วยที่สูญหายไปจากประเทศกลับคืนมา โดย
องค์กร กล้วยนานาชาติ ที่ประเทศเบลเยียม มีธนาคารกล้วยโลก เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์กล้วยจากทั่วโลกเก็บเอาไว้ และงานนี้คนไทยได้กล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์ที่สูญไปจากแผ่นดินไทย
กลับคืนมา
งาน เดียวกันนี้เอง ที่นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ปลูกกล้วย ผู้ส่งออก จาก 120 ประเทศ เดินชนกัน ปรึกษาหารือกัน เพื่อพัฒนาผลผลิตกล้วย ปรับปรุงสายพันธุ์ อนุรักษ์พันธุ์กล้วยที่สูญหาย และค้นหาเทคโนโลยีใหม่ในการเพิ่มผลผลิตและแปรรูปกล้วย ฯลฯ
ทุกคนมาดูกล้วย และคุยกันเรื่อง..กล้วยๆ
ปลูกกล้วย-ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ
ขวาน ทองของไทย แม้จะเป็นถิ่นกำเนิดพันธุ์กล้วยแห่งหนึ่งของโลก มีกล้วยคุณภาพเยี่ยม รสชาติดี ส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปของกล้วยบริโภคสด ได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า และกล้วยแปรรูปปีละ 7,175 ตัน คิดเป็น
มูลค่า 148.2 ล้านบาท (ปี 2542)
คนไทยบ้านใครมีที่ทางสักหน่อย ก็ปลูกกล้วย ชาวสวน
ชาว นา มีผืนดินว่างก็ลงกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ หรือกล้วยพันธุ์พื้นเมือง ตัดขายบ้าง กินกันเองบ้างในครอบครัว เป็นพืชประจำบ้าน เหมือนต้นมะม่วงเป็นต้นไม้ประจำหมู่บ้านจัดสรร
เราปลูกกล้วยกันในครัวเรือน ขายกันเอง กินกันเอง เลย
ขาด การส่งเสริมด้านการผลิตสู่ตลาดต่างประเทศ เมื่อเทียบผลผลิตกล้วยของไทยกับประเทศอื่น ได้ตัวเลขไม่น่าพอใจว่า ประเทศไทยผลิตกล้วยได้แค่ 2-3 ตันต่อไร่ แต่ที่อื่นได้ 48 ตัน
ต่อ 6 ไร่
ในอเมริกา กล้วยเป็นผลไม้ยอดนิยม เป็นตลาดใหญ่มูลค่า
นับ 40,000 ล้านดอลลาร์ และขณะนี้อเมริกากำลังตื่นตัวเรื่อง "กล้วยออร์แกนิกส์" หรือกล้วยปลอดสารพิษ ผลผลิตธรรมชาติตัวนี้กำลังมาแรงทั้งในอเมริกา และยุโรป ประชาชนที่โน่นใส่ใจเรื่องสุขภาพ ยินดีรับผลผลิตปลอดสารพิษ ที่ปลูกด้วยดินอินทรีย์มากกว่าพืช "จีเอ็มโอ"
ในละตินอเมริกา คนทั้งปลูกกล้วย ส่งออก และกินกล้วย โดยบริโภคกล้วย 200 กิโลกรัมต่อปี ในทวีปแอฟริกา ประชาชนนิยมบริโภคกล้วยเป็นอาหารหลักแทนข้าว ส่วนคนเมืองหนาว ชอบกินกล้วยมากกว่าแอปเปิ้ลเสียอีก
ในญี่ปุ่นและ
ไต้หวัน ผู้คนนิยมกินกล้วย แต่ถ้าใครไป
ที่นั่นได้กินกล้วย
จะไม่รู้หรอกว่า เป็นกล้วยหอมทองของไทย หรือกล้วยจากซีกโลกไหน เพราะไม่ได้
ตีตรา "เมด อิน..."
อีกกรณีหนึ่งคือ ประเทศไทยส่งออกกล้วยในปริมาณที่น้อยมากจนวัดไม่ได้
ถ้าญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยปีละ
1 ล้านล้านตัน เกษตรกรไทยผู้ปลูกกล้วยขอส่วนแบ่งตลาดสัก 10% ตัวเลขมูลค่าการส่งออกน่าจะขยับสวยขึ้นจาก
เดิมที่มีแค่ 140 ล้านบาทเศษต่อปี
ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา
ผู้รู้เรื่องกล้วย เคยกล่าวไว้ในงาน "สัมมนากล้วยไทย สู่
ปี 2000" เมื่อ 6 พฤศจิกายน
ปีที่แล้ว ว่า
"ปัญหา อย่างหนึ่งของกล้วยหอมไทยคือ เราไม่สามารถให้ผลผลิตอย่างเขา เป็นเพียงเศษ 1 ส่วน 3 หรือส่วน 4 ของกล้วยหอมที่ปลูกเป็นการค้าในโลก ผลผลิตเราต่ำมากแต่คุณภาพดีเยี่ยม พันธุ์ของเรามีกลิ่นหอมจึงเรียกว่า กล้วยหอม "อโรมาติก บานาน่า" ซึ่งไม่มีที่ไหน แต่ในด้านการปลูกเพื่อการค้าแล้วไม่มีใครรู้จัก"
นอกจากปัญหาการเพิ่มผลผลิต อุปสรรคสำคัญอีกอย่างคือ เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ การเก็บกล้วย
ในอุณหภูมิเหมาะสม ส่ง
ต่างประเทศได้ทันการณ์ ไม่เน่าเสีย กระบวนการด้านนี้ต้องศึกษา
ปัญหาเรื่องส่งออกกล้วย อุทัย ขวัญใจ ผู้ช่วยผู้จัดการ
แผนกโครงการส่งออกกล้วยหอมไปญี่ปุ่น บริษัท ธานียามา สยาม จำกัด ให้ความเห็นว่า
"กล้วยหอมบ้านเราเรียก กล้วยหอมทอง รสชาติดี กลิ่นหอม แต่เรา
ส่ง ไปน้อยกว่าฟิลิปปินส์ที่เขาส่งพันธุ์หอมเขียว สองพันธุ์นี้ต่างกันคือ หอมเขียวสุกแล้วก็เขียว เนื้อหยาบกว่า ของเราเป็นสีทอง หอมอร่อยกว่าแต่ผลผลิต
สู้เขาไม่ได้ และที่ญี่ปุ่นเขาตั้งมาตรฐานเรื่องสารพิษตกค้างไว้ มีการตรวจสอบเข้มงวด กล้วยของเรามาจากอำเภอท่ายาง ราคาดี แต่ในแง่ผู้ส่งออก การ
รับซื้อจากผู้ผลิตยังราคาค่อนข้างสูง ผู้ส่งออกก็ไป
สู้กับตลาดอื่นไม่ได้ อย่างฟิลิปปินส์ทำราคาต้นทุน
ถูกกว่าเราเยอะ วอลุ่มหรือส่วนแบ่งตลาดเขาเลยมากกว่า กล้วยหอมในญี่ปุ่นมาจากฟิลิปปินส์ประมาณ 70% จากเอกวาดอร์บ้าง
ละตินอเมริกาบ้าง ส่วนด้อยของเราคือผลผลิตต่อไร่น้อย เรื่องคุณภาพอีก เราไม่ได้ส่งเสริมการปลูกกล้วยเพื่อส่งออกอย่าง
จริงจัง เราขายตลาดในประเทศเป็นหลัก แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้น
ถ้ามีการส่งเสริมจริงจังกว่านี้ ขอแชร์ตลาดแค่ 10% ปีหนึ่งๆ ก็เป็นมูลค่ามหาศาล"
ชมรมรักษ์กล้วย
เรื่อง พัฒนาผลผลิตกล้วย ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ อีกแล้ว ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องกับกล้วย ได้จัดตั้ง "ชมรมรักษ์กล้วย" ขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เป็นการรวมตัวของคนในวงการกล้วยครั้งแรกในเมืองไทย ทั้งที่กล้วยเป็นผลไม้คู่เมืองไทยมาเนิ่นนาน
สมรรถชัย ฉัตราคม รองประธานชมรมรักษ์กล้วย ฝ่ายอนุรักษ์และตรวจสอบพันธุ์ บอกถึงที่มาของชมรมว่า
"เกิดจากการรวมตัวกันของคนไทยที่ชื่นชอบกล้วย เพราะกล้วยเป็นพืชประจำชาติไทยมาช้านาน โดยก่อตั้งเป็นชมรมเมื่อ
วัน ที่ 9 เดือนกันยายน ปี 1999 จัดเป็นฝ่ายต่างๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์กล้วย ให้ความรู้ด้านโภชนาการ การแปรรูป การอุตสาหกรรม ให้ข้อมูลด้านการตลาดทั้งในและนอกประเทศ และการค้นคว้าทดลองต่างๆ พัฒนาผลผลิตกล้วยของไทย
เช่นได้สำรวจตรวจสอบสายพันธุ์กล้วยไทย พบว่ามีไม่น้อยกว่า 60 ชนิดที่กินได้ มีกล้วยป่าอีกกว่า 40 ชนิด
ที่ มีแนวโน้มว่าจะปรับปรุงสายพันธุ์ได้อีก และเรามีฝ่ายขยายพันธุ์กล้วย นำกล้วยที่มีจำนวนน้อยใกล้สูญพันธุ์มาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยทุนสนับสนุนมาจากสมาชิกในชมรม อีกส่วนหนึ่งคือ การเพาะต้นกล้วยแล้วนำไปขาย ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน
ทุนอีกส่วนคือ การนำผลผลิตต่างๆ ของกล้วยมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เช่นในแง่การบริโภค มีกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ถ้าเหลือ
ก็ นำมาแปรรูปทำกล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยทอด และแป้งกล้วย อย่างหลังเป็นไฮไลท์ของชมรม เราคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหากล้วยน้ำว้าล้นตลาด บางทีเหลือขายหวีละ 3-5 บาท เลยคิดวิธีนำกล้วยน้ำว้ามาทำแป้งกล้วย ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าแป้งสาลีจาก
ต่างประเทศ ช่วยเพิ่มมูลค่าของกล้วยน้ำว้า"
รองประธานชมรมรักษ์กล้วยบอกว่า แป้งกล้วย (จาก
กล้วยน้ำว้า) สามารถใช้แทนแป้งสาลีได้ 20-50% โดยนำมาผสม
กับแป้งสาลี หรือแป้งชนิดอื่นทำขนมเค้ก คุกกี้ หรือขนมไทยได้หลายชนิด
"ชมรมยังช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากต้นกล้วย ซึ่ง
ปกติชาวบ้านรู้จักใช้เชือกกล้วยมาถักทอสิ่งของนานแล้ว แต่เราเข้าไปพัฒนาในด้านคุณภาพ เพราะปกติเชือกหรือสิ่งถักทอจาก
ต้นกล้วยเกิดเชื้อราได้ง่าย เรามาผ่านกรรมวิธีแช่กรดกำมะถัน ทำให้มีสีขาว มีความเหนียวคงทน และพัฒนาด้านรูปทรงให้
ทันสมัยขึ้น"
ส่วนอุปสรรคด้านพัฒนาผลผลิตเพื่อไปสู่ตลาดการค้าโลก เช่น กล้วยปลอดสาร ยังติดปัญหาอยู่หลายประการ อาทิ
"กล้วยปลอดสารยังมีผู้ปลูกไม่มาก โดยเฉพาะเกษตรกร
รายย่อยจะควบคุมลำบาก เขาเน้นเรื่องมาตรฐาน เช่น ต้องไม่มี
สาร เคมี เชื้อรา ยากำจัดแมลงเลย ถ้าผิดไปนิดเดียวเขาจะตีกลับ ตั้งเป็นกฎขึ้นมาและมีการตรวจสอบเข้มงวด แต่ว่าได้ราคาดี ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยบ้านเราเขาจะควบคุมไม่ได้ ตอนนี้มีแห่งเดียวที่ทำกล้วยปลอดสารคือ ที่สหกรณ์ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งจะควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนได้"
มีเรื่องเล่ากันว่า ชาวญี่ปุ่นรับซื้อกล้วยปลอดสารจากอำเภอ
ท่ายาง เท่านั้น เรื่องนี้มีตำนานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นมาประจำการรบที่อำเภอท่ายาง ได้เคยลิ้มรสกล้วย
หอมทองของไทยแล้วติดใจ ขอกินต่อ มีรายงานว่าทหารที่เคยมารบบอกว่า กล้วย
ท่า ยางอร่อยที่สุด ปัจจุบัน สหกรณ์การเกษตรที่โตโต้แห่งกรุงโตเกียว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 150,000 ครอบครัว ที่คอยบริโภคกล้วยหอมทองจากอำเภอท่ายาง
"ส่วนชาวสวนกล้วยทั่วไป การปลูกกล้วยต้องให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บำรุงให้ผลใหญ่ เครือใหญ่ ถ้าปลูกตามธรรมชาติจะให้ผลเล็กไม่ได้ราคา ปัญหาอีกอย่างคือ บางพื้นที่ดินไม่ดีก็ต้อง
ใช้ปุ๋ยเข้าช่วยแต่ในแง่ของชมรม อยากส่งเสริมในด้านค้นหา
สายพันธุ์กล้วยไทยที่มีความโดดเด่นนอกจากกล้วยหอมทอง
ที่ส่งไปญี่ปุ่น เช่น เราพบว่ามี กล้วยไข่พระบอง รสชาติหอมหวาน ยังปลูกน้อยแต่ถ้าขยายพื้นที่ได้ กล้วยพันธุ์นี้น่าจะ
เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ หรือกล้วยนมหวี นำ
มาแปรรูปทำกล้วยกล้วยทอด ฉาบ หรือเชื่อม ให้สีขาวใส
รสอร่อย ไม่ด้อยกว่ากล้วยพันธุ์ซาร่าของฟิลิปปินส์ที่เขาถือเป็นกล้วยนัมเบอร์วันของเขา
"กล้วยแปรรูป
กล้วยเป็นต้นไม้วิเศษ ใช้ประโยชน์ได้ครบวงจร ตั้งแต่
ราก ใบ ผล ลำต้น กล้วยบริโภคสดให้คุณค่าสารอาหาร กล้วย
แปรรูปแก้ปัญหากล้วยล้นตลาด ช่วยเกษตรกรไทยได้อีกทาง
ผลผลิตกล้วยแปรรูปกำลังเป็นตลาดใหม่ที่น่าจับจ้อง
อาทิ กล้วยฉาบ เชื่อม อบ ตาก อบเนย อบผสมไอโอดีน อบ
เสริมแคลเซี่ยม กล้วยแดดเดียว ลูกอมกล้วย น้ำพริกเผากล้วย
มา ยองเนสกล้วย แยมกล้วย น้ำรากกล้วยเข้มข้น ไวน์รากกล้วย ประเทศผู้ปลูกกล้วยแถบอินเดีย ศรีลังกา มีซีรีล กล้วย หรือ Drum dried banana น้ำกล้วยพร้อมดื่ม กับกล้วยทอดแบบ
เฟรนช์ ฟรายด์
ในเชิง สมุนไพรมี ลูกกลอนกล้วยน้ำว้า รักษาแผลในกระเพาะ ส่วนขนมไทยๆ หลายอย่างมีกล้วยเป็นส่วนผสมสำคัญ เช่น ขนมแป้งจี่กล้วย ข้าวต้มมัดกล้วย ข้าวต้มน้ำวุ้นกล้วย ตะโก้กล้วย กล้วยกวน กล้วยแขก ใช้ใบตองห่อขนมให้กลิ่นหอม ใบตองทำบายศรี
ทำกระทง จนถึงแปรรูปเป็นใบตองแห้งใช้สานเป็นกระเป๋า ตะกร้า หรือของแต่งบ้านยังมีขนมจากแป้งกล้วยน้ำว้า ทำจากกล้วยน้ำว้าดิบ นำไปอบหรือตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียด ผ่านตะแกรงร่อนได้เป็นผงแป้งกล้วย ใช้ผสมกับแป้งสาลี (เพื่อลดปริมาณการใช้แป้งสาลี) ทำขนมได้หลายอย่าง เช่น เม็ดขนุนแป้งกล้วย ขนมหม้อแกง
ดอกจอก ลูกชุบ ขนมดอกลำดวน ขนมโสมนัส ขนมเปี๊ยะ คุกกี้
เค้กกล้วย ขนมไหว้พระจันทร์ คุกกี้เนยสด ขนมปังขาไก่ ฯลฯ
กาบกล้วยใช้ทำเยื่อกระดาษได้ ผ้าจากเส้นใยกล้วยใช้เป็น
สิ่งทอ ทำตะกร้า กระเป๋า ที่ใส่ทิชชู ฯลฯ หัวปลีและไส้หยวก
กล้วยบรรจุกระป๋องขาย ซอสกล้วย การผลิตกล้วยผงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และการสกัดสารแทนนินจากเปลือกกล้วย
อนาคต กล้วยไทยน่าจะผ่องใส ถ้าคนไทยสนใจเรื่อง "กล้วยๆ" กันมากขึ้น ผลผลิตกล้วยทั้งประเทศมีประมาณ 1.5 ล้านตัน ยังน้อยอยู่ ยังมีพื้นที่อีกมากสำหรับกล้วย - ผลไม้ประจำชาติไทย และช่วยกันส่งเสริมกล้วยไทยไปนอก สร้างเมืองไทยให้เป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก ใช้ผลผลิตจากผืนดินเป็นอาวุธ สู้สงครามเศรษฐกิจรับทศวรรษใหม่อีกครั้ง
ถึงเวลาสร้างผลผลิตกล้วยให้เป็นเรื่องกล้วยๆ...
‘‘‘
สนใจ เรื่องกล้วย ติดต่อ : ศ.ดร.เบญจมาศ ศิลาย้อย ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอข้อมูลเรื่องกล้วยแปรรูป ติดต่อ อาจารย์วลัย หุตะโกวิท ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช ข้อมูลเรื่องพันธุ์กล้วย สอบถามที่ชมรมรักษ์กล้วย โทร.801-7399 ชมสวนกล้วยที่รวบรวมพันธุ์กล้วยไว้ 59 ชนิดที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (หลังสวนจตุจักร ติดพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร)
เรื่องของกล้วย
รากและลำต้นใต้ดิน ใช้รักษาผิวหนังที่แดง ปวด เนื่องจากถูกแดดเผา ชาวจีน
ใช้น้ำคั้นจากรากช่วยแก้โรคคอหอยพอก ชาวอินเดียนิยมใช้กล้วยทำยารักษา
โรคกระเพาะและลำไส้ คนไทยใช้น้ำคั้นกล้วยแก้โรคปวดฟัน ใช้รักษาโรคขัดเบา
รากและลำต้นมีสารแทนนิน บรรเทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รากกล้วยตีบต้ม
ช่วย แก้ร้อนใน ชาวฟิลิปปินส์ใช้ลำต้นเทียมหรือกาบใช้วางที่ลำตัวช่วยลดไข้ ใบใช้อังไฟ นำมาประคบบริเวณปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ไทยและจีนใช้ใบอ่อนของกล้วยแทนผ้าพันแผล น้ำยางจากกาบช่วยให้หายปวดจากงูกัด
ปลี บำรุงน้ำนมมารดา ปลีตากแห้งรักษาโรคโลหิตจางเพราะอุดมด้วยธาตุเหล็ก เปลือกกล้วยใช้ทาบริเวณยุงกัดหรือเป็นผื่นคัน ก้านกล้วยมีสารแทนนินใช้ห้ามเลือดได้
ผลกล้วย มีสารแพคตินแก้ท้องผูก ช่วยเพิ่มกากใยอาหารในลำไส้ กล้วยมีแป้ง 20-50% เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียด มิเช่นนั้นน้ำย่อยแป้งต้องทำงานมากพอ และมักไม่พอย่อยกล้วยได้เร็วหรือหมดไปจึงทำให้กล้วยอืดในกระเพาะ
คุณ ค่าอาหาร กล้วย 100 กรัมของน้ำหนักผลสุก ให้พลังงาน 125-140 กิโลแคลอรี่ มีไฟเบอร์ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้า-แคโรทีนสูง วิตะมินเอรวม ไทอามีน ไรโบฟลาวิน ไนอาซิน และวิตะมินซี
โดยคุณ : เอื้อพันธุ์ ศรีสุนทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น