++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2548

ลูกน้อยฉลาด คุณพ่อคุณแม่จัดให้ได้

ไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถที่จะจัดเตรียมให้ลูกน้อยสุดรัก เกิดและเติบโตเป็นคนฉลาด ไม่ว่าจะในด้านสติปัญญา อารมณ์ หรือสังคม

ทำ อย่างไรหรือ ตามดูคำตอบจาก ผศ.สุวิมล อุดมพิริยะศักดิ์ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งตั้งโต๊ะให้ความรู้ไว้แล้วในวงสัมมนา "โครงการเพื่อลูกรักตัวน้อย" ที่จัดโดยสถาบันครอบครัวรักลูก

อาจารย์สุวิมล อธิบายว่า สมองของเด็กทารกเริ่มเติบโตตั้งแต่เดือนแรกที่อยู่ในครรภ์มารดา พอเวลาผ่านไป 7 เดือน ทารกจะมีเซลล์สมองทั้งสิ้นหนึ่งแสนล้านเซลล์ เกิดการเชื่อมโยงสมองต่อไปอีกเป็นล้านๆ จุด

นั่นเป็นทุนเดิมที่เด็ก ได้รับจากคุณพ่อคุณแม่ผ่านพันธุกรรม ตลอดจนการดูแลสภาพแวดล้อมของทารกในครรภ์ ซึ่งหมายถึงการดูแลอารมณ์ของคุณแม่เจ้าของครรภ์นั่นเอง สิ่งที่จะช่วยพัฒนาสมองลูกในระยะ 9 เดือนนี้ได้อย่างยอดเยี่ยมคือ จิตใจที่ผ่องใส ชื่นบาน พร้อมกันนั้นคุณแม่ควรอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลงให้ลูกฟัง คุยกับเขาไปเรื่อยๆ

ผลการวิจัยยืนยันแล้วว่าปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวมีส่วนช่วยพัฒนาการของสมองเด็กในครรภ์มารดาได้อย่างเหลือเชื่อ

ครั้น ลูกลืมตาชมโลกแล้ว เจ้าตัวน้อยจะเข้าสู่ระยะที่สองของการพัฒนาสมอง คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจรายละเอียดทุกๆ ด้าน เพราะ 2 ขวบแรกของลูกรักเป็น 2 ปีที่สมองของเขาพัฒนาได้เร็วมาก รายละเอียดที่ต้องช่วยจัดให้แก่ลูก มีตั้งแต่โอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ชีวิต การรับประทานอาหารที่สมบูรณ์ เหมาะสมกับวัยแห่งการเติบโต

นอกจากนั้น การกระตุ้นสิ่งแวดล้อมก็เป็นประโยชน์สูงยิ่ง ไม่ว่าจะโดยคุณพ่อคุณแม่ พี่เลี้ยง ไปถึงคุณครู ช่วยกันกระตุ้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อให้ใยประสาทแข็งแรงและเพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อใยประสาทแข็งแรงมีจำนวนมาก นั่นย่อมส่งผลให้ข้อมูลต่างๆ ที่เด็กได้รับ เดินทางไปยังประสาทรวดเร็วขึ้น การเรียนรู้ก็เป็นไปง่ายขึ้น

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ให้ลูกรักได้สัมผัสจับต้อง ล้วนแต่มีคุณประโยชน์ต่อความฉลาดของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การประดิษฐ์งานศิลปะง่ายๆ การจับต้องสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นหยิบช้อนทานข้าวเอง ติดกระดุมเสื้อ ฯลฯ

กิจกรรมกระจุ๋มกระจิ๋มพวกนี้ช่วยเด็กฝึกทักษะ เช่น ทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา ลำตัว ตลอดจนฝึกทักษาการใช้กล้ามเนื้อเล็กที่นิ้วและฝ่ามือ ควบคู่กับการฝึกทักษะความสามารถทางการเรียนรู้ และการช่วยเหลือตนเอง

ของ เล่นที่จัดเตรียมให้เจ้าตัวเล็กก็สำคัญเกินคาด เรื่องนี้มีคำแนะนำจากคุณหมอดุสิต ลิขนะพิชิตกุลว่าในช่วงวัย 6 เดือนแรก ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก คือคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง การเล่นและพูดคุยกับลูกเป็นการให้ของเล่นที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกได้อย่าง วิเศษสุด

ในช่วงต่อมา เด็กจะมีพัฒนาด้านภาษาชัดเจนขึ้น การมองภาพและถ้อยคำก็ดีขึ้น พวกเขาจะสำรวจโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเรียนผ่านภาพถ่ายควบคู่กับข้อความ อาจนำของเล่นที่กระตุ้นประสาทสัมผัสมาใช้ประกอบการเล่น เช่น ของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง ของเล่นที่เป็นผ้า มีผิวสัมผัส มีภาพ มีสีสันสวยงาม อันที่จริงสัมผัสกับเนื้อตัวของคุณพ่อคุณแม่ การกอด การเกี่ยวนิ้ว การโยกตัวตามจังหวะเพลง ล้วนแต่ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยได้ดีเสมอ

สำหรับช่วงวัย 3 ขวบเป็นต้นไป เด็กจะเล่นของเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การต่อไม้บล็อก แต่วัยอย่างนี้ก็ต้องระวังอันตรายเป็นพิเศษด้วย ในเวลาเดียวกันของเล่นเชิงกิจกรรมสังคมบ้าง เช่น ชุดหม้อข้าวหม้อแกง ชุดคุณหมอ ชุดเครื่องมือช่าง เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยที่คุณพ่อคุณแม่คอยเติมข้อมูลให้ เหล่านี้จะช่วยลูกพัฒนาสมองปัญญาได้อย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น