++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

สคร.5 เตือนหน้าฝน ระวังยุงก้นปล่อง พาหะโรคไข้มาลาเรีย




by กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สคร.5 นครราชสีมา

นายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กล่าวถึงโรคไข้มาลาเรียว่า โรคนี้ มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่องกัด แล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ยุงชนิดนี้มักอาศัยอยู่ตามแนวชายแดน เขตรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และ ตามป่า เขา พบทั่วไปทุกจังหวัดของไทย โรคนี้ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการไปพบแพทย์ แล้วรับประทานยาตามแพทย์สั่ง แต่หากได้รับการรักษาช้า ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ปอดบวม ไตวาย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

นายแพทย์ธีรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า โรคนี้มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3. ระยะคือ 1.ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น อาจจะเกิดขึ้นนาน ประมาณ 15 – 60 นาที 2.ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง และ 3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด


นายแพทย์ธีรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันตนเองไม่ให้เป็นไข้มาลาเรียนั้น สามารถทำได้โดย การนอนในมุ้ง หรือใช้ยาทาและยาจุดกันยุงเมื่อต้องเข้าป่า หรือเดินป่า โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการเดินป่า หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในป่า หรืออุทยานต่างๆ ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ป้องกันการถูกยุงกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น