++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

“กอ.รมน.ภาค 4 สน.” โต้ “แนวหน้า” กรณีตั้งศูนย์ประสานงานข่าวสารชายแดนใต้



ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “กอ.รมน.ภาค 4 สน.” ยังเดินหน้าโต้สื่ออย่างมุ่งมั่น เผยร่อน “บทแถลงข่าว “ชี้แจงหนังสือพิมพ์แนวหน้าเกี่ยวกับความเข้าใจคลาดเคลื่อน” กรณีเรียกประชุมสื่อมวลชน 4 จังหวัดชายแดนใต้แล้วให้มีการดันตั้ง “ศูนย์ประสานงานข่าวสารชายแดนใต้” เมื่อ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา

วันนี้ (2 ก.ย.) “ASTVผู้จัดการภาคใต้” ได้รับจดหมายที่ถูกส่งทางอีเมลจาก “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า” เรื่อง “ชี้แจงหนังสือพิมพ์แนวหน้าเกี่ยวกับเข้าใจคลาดเคลื่อน” ซึ่งในท้ายจดหมายดังกล่าวระบุแต่เพียงว่า มีการตรวจความถูกต้องโดย พ.ต.พเยาว์ บุญเหลือ หัวหน้าแผนกปฏิบัติการข่าวสาร โดยมีเนื้อหาดังนี้

ตามที่สื่อมวลชนใช้นามเครือข่ายเว็บไซต์ http://www.naewna.com โดยหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับประจำวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ คอลัมน์รอบรั้วเมืองใต้ ได้นำเสนอข้อความผลการประชุมคณะทำงานศูนย์ประสานงานข่าวสารชายแดนใต้ เมื่อ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ระหว่างเวลา ๑๐๑๐-๑๒๐๐ ณ ค่ายสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีข้อความดังนี้คือ

“สื่อใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย สื่อมวลชนจาก จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ให้ความร่วมมือในการที่ กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า มีการเรียกตัวแทนสื่อประชุมหารือในการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ใน ๓ จชต. และ ๔ อำเภอของ จ.สงขลา โดยการให้ทั้งการข่าวฝ่าย กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า และสื่อมวลชนนำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกัน...

“...และให้ทุกสื่อในพื้นที่เลือกประธาน และคณะกรรมการเพื่อมาทำงานและวางกรอบในการทำงานด้านการนำเสนอข่าว ปรากฏว่า แทนที่สื่อจะเป็นคนเสนอประธานในการทำงาน ทหารดันเป็นผู้เสนอขึ้นมาเอง งานนี้สนุกแน่ เพราะเมื่อทหารเป็นคนเสนอคนของตนเองมาเป็นประธาน ก็ให้ทหารทำข่าวเองก็แล้วกัน เพราะสื่อทุกๆ คนมีอิสระในการนำเสนอข่าวอยู่แล้ว ขึ้นต้น ก็ไก่เห็นตีนงู งูก็เห็นนมไก่ เสียแล้ว ฮ่าๆ”

จากรายละเอียดดังขั้นต้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ขอชี้แจงข้อเท็จจริงกล่าวคือ

๑.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ตระหนักเป็นอย่างดีถึงบทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อมวลชนที่จำเป็นต้อง นำเสนอข่าวอย่างเป็นอิสระ เพื่อมุ่งสู่ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ การแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ปัจจุบัน เป็นการแก้ปัญหาที่มีความหมายถึงความมั่นคง บูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการนำทุกภาคส่วนมาผนึกกำลังร่วมกันเข้าแก้ไขปัญหาให้บรรลุผลสำเร็จ ทั้งจากภาคประชาชน ส่วนราชการและพลเรือน รัฐวิสาหกิจ ตำรวจและทหาร รวมถึงสื่อมวลชนอันเป็นเครื่องมือสำคัญในการสะท้อนความจริงสู่สาธารณชน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ จึงได้จัดให้มีการประชุมในครั้งนี้ โดยมิได้มีนัย หรือวัตถุประสงค์แฝงอื่นๆ แต่ประการใด

๒.ต่อประเด็นการเลือกประธาน และคณะกรรมการ จนถึงขณะนี้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานศูนย์ประสานงานข่าวสารชายแดนใต้ ยังมิได้มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากตัวคำสั่งยังมิได้รับการลงนามโดย แม่ทัพกองทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔

เนื่องจากรอผลการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างการประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ได้นำเสนอข้อมูล เหตุผล ความจำเป็นในการขอความร่วมมือการนำเสนอข่าว โดยมุ่งต่อการร่วมเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติอย่างตรงไปตรงมา โดยเหลือเวลาเพียงเล็กน้อยในการเลือก ประธาน/หัวหน้าของคณะกรรมการ/ทำงาน เมื่อเวลาจำกัดจึงให้ที่ประชุมเสนอชื่อตัวบุคคล เพื่อรับเลือกเป็นประธาน/หัวหน้าของคณะทำงาน/คณะทำงาน

ซึ่งไม่มีผู้ใดเสนอ เลขานุการฯ จึงได้นำเสนอให้ผู้แทนสำนักประชาสัมพันธ์เขต ๖ นำรายละเอียดไปหารือกับผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต ๖ ว่าจะมีเวลาเพียงพอในการที่จะรับการรับรองเป็นประธาน/หัวหน้า คณะทำงานศูนย์ประสานงานข่าวสารชายแดนใต้ได้หรือไม่ เนื่องจากจำเป็นต้องเสียสละเวลาเดินทางมาร่วมประชุมกับคณะทำงานได้ หากมีการประชุมตามวงรอบ หรือกรณีฉุกเฉิน (ข้อมูลส่วนบุคคล ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์เขต ๖ ท่านปัจจุบัน มีวาระครบเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ที่จะถึงนี้)

๓.กรณี ประธาน/หัวหน้า คณะทำงานฯ มีรายละเอียดแยกเป็นประเด็นกล่าวคือ ๓.๑ การแต่งตั้งจะมีผลสมบูรณ์เมื่อคำสั่งได้รับการลงนามโดยแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ แล้ว แต่ขณะนี้ ร่างคำสั่งยังไม่สามารถนำเรียนได้ เนื่องจากรายชื่อผู้ที่จะมารับหน้าที่ประธาน/หัวหน้าคณะทำงานฯ ยังมิได้ผ่านการรับรองจากที่ประชุมซึ่งจะมีในครั้งต่อไป

๓.๒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า มิได้มีข้อขัดข้อง กรณีประธานหัวหน้าคณะทำงานฯ/จะเป็นฝ่ายทหาร พลเรือน หรือภาคเอกชน แต่มีวัตถุประสงค์ต้องการผู้ที่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านสื่อครอบคลุมทุกประเภท มีขีดความสามารถในการประสานงาน และสามารถเสียสละเวลาเดินทางมาร่วมปฏิบัติงานกับคณะทำงานฯ ได้เป็นสำคัญ

๓.๓ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า มีแผนที่จะส่งหนังสือหารือ ในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการคัดเลือก และรับรองเป็นประธาน/หัวหน้าคณะทำงานฯ จากผู้เข้าร่วมปะชุม รวมทั้งขอรายละเอียดกรอบการจัดทำแผนการปฏิบัติของสื่อแต่ละแขนงในการประชุมครั้งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น