++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

นักวิชาการจีนสอนบทเรียนบูมเชียงราย รับ “ประตูจีน-อาเซียน” ก่อนเป็นแค่ทางผ่าน เชียงราย - กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ระดมกูรูขึ้นเวทีกระตุ้นการเตรียมพร้อมรับประตูเชื่อมอาเซียน-จีน พบมูลค่าการค้าเพิ่มทุกด่านฯ เฉพาะเชียงราย ยอดการค้าขยายตัว 6 เท่าในรอบ 10 ปี เชื่อหลังสะพานข้ามโขง 4-ทางรถไฟเชื่อมถึงมิติการพัฒนาใหม่เกิดแน่ ขณะที่นักวิชาการจีนเตือนบทเรียนความร่วมมือตั้งนิคมฯ เชียงราย ล้มเหลว 9 ปีก่อน อาจหลอนซ้ำทำ “เชียงราย” เป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ วันนี้ (18 ก.ย.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีน ฯลฯ ได้จัดการสัมมนาเชิงธุรกิจและการเจรจาจับคู่ธุรกิจ 2555 (Chiangrai Northern Business Forum and Business Matching 2012) ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทย จีน และ สปป.ลาว เข้าร่วมอย่างคึกคัก เช่น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.กระทรวงการคลัง, นายกร ทัพพะรังสี อดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นนายกสมาคมมิตรไทย-จีน, ดร.หลู่ จินซิน ผู้อำนวยการลอจิสติกส์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของประเทศจีน ฯลฯ นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นแม่งาน กล่าวว่า มูลค่าการค้าชายแดน และการค้าผ่านแดนช่องทางภาคเหนือตอนบน 2 มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งการค้าชายแดนไทย-พม่า ไทย-สปป.ลาว ไทย-จีน (ตอนใต้) ในเขตภาคเหนือตอนบน (เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน) ในปี 2554 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 31,655.20 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 46.30% เป็นการค้าชายแดนระหว่างไทย-พม่า 12,467.54 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 22.36% การค้าชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว 12,536.27 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 115.44% และการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีนตอนใต้ 6,651.29 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 18.17% ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า การต่อยอดการค้า โดยอาศัยประโยชน์จากภูมิศาสตร์ที่มีเชียงรายเป็น Gate Way เป็นประตูหน้าด่านที่สำคัญ นายกรกล่าวว่า เชียงรายถือเป็นฐานของประเทศที่จะทำให้เราก้าวขึ้นเป็นเป็นจุดศูนย์กลางของจีเอ็มเอส จึงอยากให้ชาวเชียงรายร่วมมือกันเตรียมความพร้อม ในการรับมือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาขึ้นหลังจากที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ และทางรถไฟที่จะมาถึงเชียงราย ในอนาคตสร้างเสร็จ เพราะเมื่อนั้นจะเกิดมิติใหม่ของการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค เมื่อมีการคมนาคมที่สมบูรณ์ทั้งทางบก ทางเรือ และรถไฟ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบก็จะทำให้ชาวเชียงรายได้รับประโยชน์โดยเฉพาะเกิดเงินหมุนเวียนในพื้นที่อย่างมหาศาล แต่ก็ขอให้ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือไว้ด้วย ด้าน นายหลู่กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 55 ที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจกันลืมว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Kunming Tengjun International Land port และฉบับที่ 2 เป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการศูนย์ลอจิสติกส์เชียงของ แห่งประเทศไทย ซึ่งฝ่ายที่ลงนามได้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับเครือบริษัทการลงทุนเกิงจุ้น หยุนหนัน และบริษัทการลงทุนเจี๋ยเฟิงหยุนหนัน และยังมีนายหลี่ เผย เท่อ กรรมการถาวรประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ มณฑลหยุนหนัน เข้าร่วมพิธีลงนาม ในพิธีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการปฏิรูป และการพัฒนาแห่งมณฑลหยุนหนาน จีนตอนใต้ นายหลู่กล่าวว่า หลายฝ่ายคาดหวังว่าโครงการจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเกิดผล ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจะพัฒนาให้ทั้งคุนหมิงและเชียงรายเป็นเมืองท่าที่เชื่อมกันหรือ International Land port เป็นท่าระดับโลก เพราะเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ในภูมิภาค เชื่อมเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ จึงถือเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นประตูสู่อาเชียน-จีน อย่างแท้จริง โดยถือเป็น 1 ใน 5 โครงการโลจิสติกส์ใหญ่ที่เป็นจุดเชื่อมบนเส้นทางรถไฟสายเอเชีย และตั้งอยู่บนเส้นทางถนนหลักระหว่างประเทศด้วย ขณะนี้โครงการในส่วนของประเทศจีนได้สร้างเสร็จระยะที่หนึ่งแล้ว โดยมีพื้นที่ 1,528 ไร่ มูลค่าการลงทุน 9,060 ล้านหยวน คาดว่าทั้งโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2015 นอกจากนี้ ตนยังได้เข้าร่วมโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของนิคมอุตสาหกรรมนิวไฮเทคโนโลยี คุนหมิง ในการจะขยายมาสร้างนิคมเศรษฐกิจภาคเหนือของไทยเมื่อหลายปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว แต่ในปี 2007 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชียงรายอีก โดยจ้างบริษัทที่ปรึกษาปัญญา จำกัด ศูนย์วิจัยลอจิสติกส์จีเอ็มเอส ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคม ที่ได้รับผิดชอบงานวิจัยในส่วนที่เป็นลอจิสติกส์ ดังนั้นจึงยังมีความหวังที่จะเกิดขึ้นได้อยู่ นายหลู่กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ค .2009 ประธานาธิบดี หู จิ่น เทา ได้เสนอยุทธศาสตร์พัฒนามณฑล เป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ปีเดียวกันรัฐบาลหยุนหนัน ได้ตั้งคณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์ด่านหน้า โดยมีนายฉิน กวาง หรง ผู้ว่าราชการมณฑล เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการนั้นด้วย และในปี 2011 สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำประกาศให้หยุนหนันเป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ นายหลู่ยังได้นำเสนอผลงานศึกษาวิจัยของจีนว่า สำหรับ จ.เชียงราย มีประชากร 1.2 ล้าน ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 12.5 เป็นแหล่งผลิตข้าว ใบชา ผลไม้ และไม้ เป็นเมืองประตูสู่การค้าชายแดน มีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังเมืองต่างๆ สะดวก ดังนั้นตนคิดว่า เชียงราย สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีความเข้มแข็ง อนุรักษ์ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว พัฒนาบริการ แปรรูปสินค้าและการเกษตรเพื่อการส่งออก การค้าชายแดน ฯลฯ รวมทั้งควรพัฒนากิจการประชุม การแสดงสินค้า การศึกษา การกุศล ฯลฯ โดยมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนได้ มีตัวอย่างกรณีเมื่อวันที่ 8-14 ส.ค. 2012 นายวิจิต หยาง นายกสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีน ได้จัดแสดงสินค้า 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่แสดงสินค้า 18,000 ตารางเมตร มีบูท 900 กว่าบูท สินค้ามาจากโครงการหลวง สินค้าหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบว่าเป็นนิยมของชาวจีนจนต้องแย่งกันซื้อ ภายในงานยังมีการแสดงศิลปมวยไทยได้ดึงดูดคนหนุ่มสาวชาวจีนมาก ทำให้ตลาดบริโภคสินค้าไทยเกิดความคึกคักมากขึ้นด้วย “ภาพแบบนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นที่เชียงราย ดังนั้น จ.เชียงรายสามารถสอบถามไปยังนายวิจิต เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ตามที่ผมเสนอได้ นอกจากนี้ตนเสนอให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรางการคลัง ของไทยสนับสนุน จัดงานสัมมนา จัดงานแสดงสินค้า และเชิญผู้นำระดับสูงของธนาคาพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี ผู้นำรับดับสูงของประเทศ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาร่วมหารือ เพื่อวางแผนในการพัฒนา สร้างเวทีให้คนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมีการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องบุคคลที่มีคุณงามความดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเชียงราย เป็นต้น” นายหลู่กล่าว เขายังระบุในตอนท้ายว่า ปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนอนุมัติให้มี 19 นิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ แต่เหตุการณ์เมื่อ 9 ปีก่อนที่ จ.เชียงราย ทำให้บริษัทหยุนหนัน ยังไม่ลืมบทเรียน จึงเป็นสิ่งที่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้โครงการล้มเหลวอีก ไม่เช่นนั้นตนทำนายได้เลยว่า จ.เชียงราย จะเป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเลย ด้าน นายสุพจน์ กลิ่นปราณีต กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า) กล่าวว่า จ.เชียงราย มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง เพราะเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ มีด่านถาวร 4 ด่าน ใน 3 อำเภอ และจุดผ่อนปรน 10 แห่ง การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็น 6 เท่า ในรอบ 10 ปี เหมาะสำหรับเป็นเมืองหน้าด่านประตูเศรษฐกิจของประเทศไทยกับหลากหลายกลุ่ม

นักวิชาการจีนสอนบทเรียนบูมเชียงราย รับ “ประตูจีน-อาเซียน” ก่อนเป็นแค่ทางผ่าน

เชียงราย - กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ระดมกูรูขึ้นเวทีกระตุ้นการเตรียมพร้อมรับประตูเชื่อมอาเซียน-จีน พบมูลค่าการค้าเพิ่มทุกด่านฯ เฉพาะเชียงราย ยอดการค้าขยายตัว 6 เท่าในรอบ 10 ปี เชื่อหลังสะพานข้ามโขง 4-ทางรถไฟเชื่อมถึงมิติการพัฒนาใหม่เกิดแน่ ขณะที่นักวิชาการจีนเตือนบทเรียนความร่วมมือตั้งนิคมฯ เชียงราย ล้มเหลว 9 ปีก่อน อาจหลอนซ้ำทำ “เชียงราย” เป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ

วันนี้ (18 ก.ย.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีน ฯลฯ ได้จัดการสัมมนาเชิงธุรกิจและการเจรจาจับคู่ธุรกิจ 2555 (Chiangrai Northern Business Forum and Business Matching 2012) ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย

โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทย จีน และ สปป.ลาว เข้าร่วมอย่างคึกคัก เช่น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.กระทรวงการคลัง, นายกร ทัพพะรังสี อดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นนายกสมาคมมิตรไทย-จีน, ดร.หลู่ จินซิน ผู้อำนวยการลอจิสติกส์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของประเทศจีน ฯลฯ

นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นแม่งาน กล่าวว่า มูลค่าการค้าชายแดน และการค้าผ่านแดนช่องทางภาคเหนือตอนบน 2 มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งการค้าชายแดนไทย-พม่า ไทย-สปป.ลาว ไทย-จีน (ตอนใต้) ในเขตภาคเหนือตอนบน (เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน) ในปี 2554 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 31,655.20 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 46.30% เป็นการค้าชายแดนระหว่างไทย-พม่า 12,467.54 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 22.36% การค้าชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว 12,536.27 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 115.44% และการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีนตอนใต้ 6,651.29 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 18.17%

ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า การต่อยอดการค้า โดยอาศัยประโยชน์จากภูมิศาสตร์ที่มีเชียงรายเป็น Gate Way เป็นประตูหน้าด่านที่สำคัญ

นายกรกล่าวว่า เชียงรายถือเป็นฐานของประเทศที่จะทำให้เราก้าวขึ้นเป็นเป็นจุดศูนย์กลางของจีเอ็มเอส จึงอยากให้ชาวเชียงรายร่วมมือกันเตรียมความพร้อม ในการรับมือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาขึ้นหลังจากที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ และทางรถไฟที่จะมาถึงเชียงราย ในอนาคตสร้างเสร็จ เพราะเมื่อนั้นจะเกิดมิติใหม่ของการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค

เมื่อมีการคมนาคมที่สมบูรณ์ทั้งทางบก ทางเรือ และรถไฟ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบก็จะทำให้ชาวเชียงรายได้รับประโยชน์โดยเฉพาะเกิดเงินหมุนเวียนในพื้นที่อย่างมหาศาล แต่ก็ขอให้ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือไว้ด้วย

ด้าน นายหลู่กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 55 ที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจกันลืมว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Kunming Tengjun International Land port และฉบับที่ 2 เป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการศูนย์ลอจิสติกส์เชียงของ แห่งประเทศไทย ซึ่งฝ่ายที่ลงนามได้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับเครือบริษัทการลงทุนเกิงจุ้น หยุนหนัน และบริษัทการลงทุนเจี๋ยเฟิงหยุนหนัน และยังมีนายหลี่ เผย เท่อ กรรมการถาวรประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ มณฑลหยุนหนัน เข้าร่วมพิธีลงนาม ในพิธีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการปฏิรูป และการพัฒนาแห่งมณฑลหยุนหนาน จีนตอนใต้

นายหลู่กล่าวว่า หลายฝ่ายคาดหวังว่าโครงการจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเกิดผล ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจะพัฒนาให้ทั้งคุนหมิงและเชียงรายเป็นเมืองท่าที่เชื่อมกันหรือ International Land port เป็นท่าระดับโลก เพราะเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ในภูมิภาค เชื่อมเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ จึงถือเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นประตูสู่อาเชียน-จีน อย่างแท้จริง โดยถือเป็น 1 ใน 5 โครงการโลจิสติกส์ใหญ่ที่เป็นจุดเชื่อมบนเส้นทางรถไฟสายเอเชีย และตั้งอยู่บนเส้นทางถนนหลักระหว่างประเทศด้วย ขณะนี้โครงการในส่วนของประเทศจีนได้สร้างเสร็จระยะที่หนึ่งแล้ว โดยมีพื้นที่ 1,528 ไร่ มูลค่าการลงทุน 9,060 ล้านหยวน คาดว่าทั้งโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2015

นอกจากนี้ ตนยังได้เข้าร่วมโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของนิคมอุตสาหกรรมนิวไฮเทคโนโลยี คุนหมิง ในการจะขยายมาสร้างนิคมเศรษฐกิจภาคเหนือของไทยเมื่อหลายปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว แต่ในปี 2007 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชียงรายอีก โดยจ้างบริษัทที่ปรึกษาปัญญา จำกัด ศูนย์วิจัยลอจิสติกส์จีเอ็มเอส ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคม ที่ได้รับผิดชอบงานวิจัยในส่วนที่เป็นลอจิสติกส์ ดังนั้นจึงยังมีความหวังที่จะเกิดขึ้นได้อยู่

นายหลู่กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ค .2009 ประธานาธิบดี หู จิ่น เทา ได้เสนอยุทธศาสตร์พัฒนามณฑล เป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ปีเดียวกันรัฐบาลหยุนหนัน ได้ตั้งคณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์ด่านหน้า โดยมีนายฉิน กวาง หรง ผู้ว่าราชการมณฑล เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการนั้นด้วย และในปี 2011 สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำประกาศให้หยุนหนันเป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้

นายหลู่ยังได้นำเสนอผลงานศึกษาวิจัยของจีนว่า สำหรับ จ.เชียงราย มีประชากร 1.2 ล้าน ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 12.5 เป็นแหล่งผลิตข้าว ใบชา ผลไม้ และไม้ เป็นเมืองประตูสู่การค้าชายแดน มีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังเมืองต่างๆ สะดวก ดังนั้นตนคิดว่า เชียงราย สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีความเข้มแข็ง อนุรักษ์ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว พัฒนาบริการ แปรรูปสินค้าและการเกษตรเพื่อการส่งออก การค้าชายแดน ฯลฯ รวมทั้งควรพัฒนากิจการประชุม การแสดงสินค้า การศึกษา การกุศล ฯลฯ โดยมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนได้

มีตัวอย่างกรณีเมื่อวันที่ 8-14 ส.ค. 2012 นายวิจิต หยาง นายกสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีน ได้จัดแสดงสินค้า 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่แสดงสินค้า 18,000 ตารางเมตร มีบูท 900 กว่าบูท สินค้ามาจากโครงการหลวง สินค้าหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบว่าเป็นนิยมของชาวจีนจนต้องแย่งกันซื้อ ภายในงานยังมีการแสดงศิลปมวยไทยได้ดึงดูดคนหนุ่มสาวชาวจีนมาก ทำให้ตลาดบริโภคสินค้าไทยเกิดความคึกคักมากขึ้นด้วย

“ภาพแบบนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นที่เชียงราย ดังนั้น จ.เชียงรายสามารถสอบถามไปยังนายวิจิต เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ตามที่ผมเสนอได้ นอกจากนี้ตนเสนอให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรางการคลัง ของไทยสนับสนุน จัดงานสัมมนา จัดงานแสดงสินค้า และเชิญผู้นำระดับสูงของธนาคาพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี ผู้นำรับดับสูงของประเทศ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาร่วมหารือ เพื่อวางแผนในการพัฒนา สร้างเวทีให้คนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมีการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องบุคคลที่มีคุณงามความดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเชียงราย เป็นต้น” นายหลู่กล่าว

เขายังระบุในตอนท้ายว่า ปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนอนุมัติให้มี 19 นิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ แต่เหตุการณ์เมื่อ 9 ปีก่อนที่ จ.เชียงราย ทำให้บริษัทหยุนหนัน ยังไม่ลืมบทเรียน จึงเป็นสิ่งที่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้โครงการล้มเหลวอีก ไม่เช่นนั้นตนทำนายได้เลยว่า จ.เชียงราย จะเป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเลย

ด้าน นายสุพจน์ กลิ่นปราณีต กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า) กล่าวว่า จ.เชียงราย มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง เพราะเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ มีด่านถาวร 4 ด่าน ใน 3 อำเภอ และจุดผ่อนปรน 10 แห่ง การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็น 6 เท่า ในรอบ 10 ปี เหมาะสำหรับเป็นเมืองหน้าด่านประตูเศรษฐกิจของประเทศไทยกับหลากหลายกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น