ดร.เจฟฟ์ ไวส์ และคณะจากมหาวิทยาลัยทูเลน ได้ทำวิจัยกับอาสาสมัคร 55 คน อายุระหว่าง 21-35 ปีให้เข้าร่วมการทดลอง โดยอาสาสมัครครึ่งหนึ่งรับสารสกัด จากผิวของต้นกระบองเพชร โอปุนเทีย ฟิคัส อินดิคา (Opuntia ficus indica) ก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก โดยทั้งหมดไม่ทราบว่าตนได้รับสารสกัดของจริงหรือยาหลอก หลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมงจึงให้กินอาหารค่ำ แล้วอีก 4 ชั่วโมงต่อมาจึงได้ดื่มเหล้าในปริมาณที่จะทำให้เมาค้าง หลังจากดื่มเสร็จ 1 ชั่วโมงนักวิจัยจึงได้ทดสอบระดับแอลกอฮอล์ในเลือด แล้วถึงขับรถไปส่งที่บ้านพร้อมกับกำชับให้มาทดสอบใหม่ในวันถัดไป เช้าวันถัดมาอาสาสมัครต้องจัดอันดับความเมาค้างของตน ทั้งในแง่ของอาการและสภาพโดยรวม หลังจากนั้นอีกสองสัปดาห์ให้มาทดสอบซ้ำอีกครั้ง แต่คราวนี้สลับกลุ่มกันโดยใครไม่ได้รับสารสกัดในครั้งแรกก็จะได้รับในครั้ง นี้
คณะวิจัยของ ดร.ไวส์ พบว่ากลุ่มอาการเมาค้าง 3 อาการ คือ อาการคลื่นเหียน ปากแห้ง และไม่อยากอาหารนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่ออาสาสมัครได้รับสารสกัดจากต้นกระบองเพชร เนื่องจากระดับโปรตีน ซี-รีแอคทีฟ ที่นับผลิตออกมาเมื่อเผชิญความเครียด และการอักเสบนั้นลดลงเมื่อรับสารสกัดจากต้นกระบองเพชร
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านแอลกอฮอล์บอกว่าข้อมูลนี้ เป็นประโยชน์ทางการแพทย์มากกว่าแค่แก้อาการเมาค้างแค่นั้น และที่สำคัญก็คืออย่าดื่มมากเกินไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น