++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548

วิจัยโอสถสาร กระชาย เข้ายาร่วม พลูคาว ต้านมะเร็ง

มะเร็ง...เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิต มนุษย์โลกให้ ตายเป็นใบไม้ร่วง... นาทีละ 4 คน

เพื่อที่จะเอาชนะกับโรคร้ายนี้ นักวิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และแพทย์ทั่วโลก ต่างพยายาม วิเคราะห์ และวิจัยตัวยาออกมา เพื่อป้องกันและรักษา

ผลสำเร็จในงานวิจัยและทดลอง กับสมุนไพรไทย และคนไทยชิ้นหนึ่งที่สามารถหยุด การเจริญเติบโตของเชื้อ มะเร็งได้คือ "พลูคาว"....ซึ่งได้เคยตีพิมพ์มาแล้วในบทสารคดีที่นี่เมื่อเดือน ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา

และในงานวิจัยนี้ ได้ต่อยอดพืชสมุนไพรอีกตัวหนึ่งที่เป็น "ยาร่วม" ที่มีคุณค่าทางโอสถสาร สูงคือ...กระชาย

"กระชาย"....มีชื่ออื่นๆตามภูมิภาค เช่น กะแอน จิ๊บ ซีฟู เป๊าะซอเราะ เป๊าลี่ระแอนหรือว่าน พระอาทิตย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia pandurata ชื่อสามัญคือ Fingerroot เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า รากติดเป็นกระจุกสะสมอาหารเป็นรูป ทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาล เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม

สรรพคุณมากมาย...หัว...แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับระดูแก้มุตกิด เบาเหลือง เบาแดง แก้กระษัย ไปจนถึงแก้กามตายด้าน ทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวย ฯลฯ... ส่วนใบ...แก้โรคในปากโลหิต เป็นพิษถอนพิษ บำรุงธาตุ ฯลฯ

เมื่อนำมาตรวจดู ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สามารถยับยั้งการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเนื้องอกก่อกลายพันธุ์ ลดการอักเสบจนถึงละลายนิ่ว ได้อีกด้วย...

คุณสุริยา วิจิตรโชติ ผู้คร่ำหวอดอยู่ใน วงการสมุนไพร จนได้รับการขนานนามว่า "พจนานุกรมสมุนไพรเคลื่อนที่" ผู้ทำการ วิจัยในเรื่องของ "พลูคาว" มาใช้กับการ ป้องกัน บำบัดโรคมะเร็ง จนได้รับ ผลสำเร็จ

จึงได้ทำการวิจัย "กระชาย" เป็นต่อยอด เพื่อวิเคราะห์ถึง สรรพคุณที่จะเอามาใช้ กับโรคมะเร็ง

ซึ่งได้ทำข้อตกลงในการทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ มีเป้าหมายเพื่อระดมปัจจัยต่างๆที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนาที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย มาทำให้ประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมของคนไทยเป็นหลัก

และตั้งประณิธานว่า...หากเกิดผลดีต้องช่วยเหลือคนไทยและไม่ให้ฝรั่งหรือต่างชาติชุบมือเปิบ !!!

การดำเนินงานทุกขั้นตอน ต้องมีประสิทธิภาพ... เริ่มตั้งแต่ผลิตวัตถุดิบ ได้ศึกษาคัดเลือก สายพันธุ์นำเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มา สร้างอาหารพืชที่เป็นวัตถุดิบหลัก...มี การดูแลควบคุม พื้นที่การปลูกที่เหมาะสม โดยผลิต พืชอินทรีย์ที่สวนดอยหลวง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนต่อมาได้รับการรับรอง ผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ สมุนไพรอินทรีย์ จาก สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

จากปี พ.ศ. 2543 ทำให้มีความมั่นใจจากคณะผู้ผลิตวัตถุดิบและคณะผู้วิจัย มีการกำกับดูแล ของแพทย์ เภสัชกรอยู่ภายใต้ระเบียบของ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับความมั่นใจ สามารถจด ทะเบียนเป็นยาแผนโบราณเพื่อบำรุงร่างกายกับ องค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ในปี พ.ศ. 2546 ผลวิจัยได้นำเสนอในที่ประชุมประจำปีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จนเป็นที่ ยอมรับของทุกฝ่ายถึงสรรพคุณของยาน้ำแผนโบราณบำรุงร่างกายตำรับนี้

ปัจจุบัน คณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ก็ยังค้นคว้าวิจัยและทดลองรักษาผู้ป่วยด้วยยาน้ำฯสูตรนี้อีกหลายราย โดยเฉพาะผู้ที่ กำลังถูกรุกรานจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

ผลการรักษาก็ออกมาให้เห็นบ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ...!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น