++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คุณลักษณะของน้ำบางประการกับอัตราการรอดของปลาที่เลี้ยงในกระชังในเเม่น้ำยะหริ่ง จ.ปัตตานี

Characteristics of Water with the Survival Rate of Cage Fish
in Yaring River, Pattani Province

จาริยา เต้งชู (Jariya Tengchu)*
วิภาพรรณ อุบล(Wiphaphan Ubon)) **
ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม (Dr.Wilairat Cheewasedtham ***
Prof.Dr.Jens Christian Tjell ****
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดลงของอัตราการรอดตายของปลากะพงขาวและปลาทับทิมที่เลี้ยงในกระชังที่แม่น้ำยะหริ่ง ในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยการใช้แบบสอบถาม และศึกษาสมบัติพื้นฐานทางเคมีและทางกายภาพของน้ำบริเวณกระชัง รวมทั้งปริมาณออกซิเจนละลายและแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในน้ำบริเวณกระชังที่เลี้ยงในรอบ 24 ชั่วโมง โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำ 3 จุด คือก่อนผ่านเข้าไปในกระชัง กลางกระชังและหลังผ่านกระชัง ทุกจุดที่สามระดับความลึกคือ บริเวณผิวน้ำที่ความลึก 0.3 เมตร ที่กึ่งกลางความลึก และที่พื้นล่างของกระชัง พบค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของน้ำ อยู่ในช่วงต่อไปนี้ อุณหภูมิของน้ำ 25-31 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง 6.3-7.1 ความเค็ม 1-2 ส่วนในพันส่วน สภาพการนำไฟฟ้า 5736 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 0-0.30 มิลลิกรัมต่อลิตรและออกซิเจนละลาย 2.3-5.4 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอุณหภูมิของน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ค่าการนำไฟฟ้า และปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 4 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ยกเว้นปริมาณออกซิเจนละลาย พบค่าที่ตรวจวัดได้บางช่วงนานติดต่อกันกว่า 4 ชั่วโมง มีค่าต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ซึ่งกำหนดไว้ที่ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของปลาในช่วงการให้อาหารอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายลดต่ำลง ควรมีการติดตั้งและใช้อุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนที่เหมาะสมในช่วงการให้อาหารเพื่อหลีกเลี่ยงการลดลงของอัตราการรอดอันอาจขึ้นเนื่องจากภาวะการขาดออกซิเจน

ABSTRACT
The study on factors influencing survival rate of caging white seabass (Lates calcarifer) and Tilapia (Oreochromis niloticus) at the Yaring River was investigated during June to October 2004. The factors were evaluated by both questionare and the study of some basic chemical and physical properties of water quality at caging area, together with the monitoring of 24-hr dissolved oxygen and ammonia-nitrogen content. Water samples were collected at three stations; before, during and after flow pass through cages. Water at each station was also collected at three level of depth i.e. surface (0.3 m), middle and bottom of the cage. Water parameters were found as follow; temperature at 25-31 oC, pH value of 6.3-7.1, salinity at 1-2 ppt, electrical conductivity at 5736 uS/cm, ammonia-nitrogen content at 0-0.30 mg/L and dissolved oxygen content at 2.3-5.4 mg/L. The temperature, pH, salinity, electrical conductivity value and ammonia-nitrogen content were found within the standard criteria for type 4 water quality for coastal aquaculture, except the dissolved oxygen contents were sometimes found longer than 4 hr at the lower level than that standard criteria which recommended at 4 mg/L. The vigorously movement of fishes during feeding time could be one of a reason that lead to the decreasing of dissolved oxygen content. The proper aerator should be installed and operated during feeding time in order to avoid the decreasing of survival rate according to oxygen lacking condition.


, * และ** นักศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรเคมีประยุกต์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
*** อาจารย์ แผนกเคมี ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
**** Professor Environment & Resources Department, Technical University of Denmark

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น