++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ใจเป็นกบฏของคนเสื้อแดง


โดย ว.ร.ฤทธาคนี
นับตั้งแต่มีการรัฐประหาร โค่นล้มอำนาจระบอบทักษิณในวันที่ 19 กันยายน 2549 สร้างความแค้นให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างมากเพราะวิมานที่เขาได้สร้างไว้นั้นยิ่งใหญ่ไพศาลนัก ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เอื้ออำนวยให้พรรคไทยรักไทยมีความแข็งแกร่งมากจนพรรคการเมืองอื่นๆ หมดสภาพ และถูกซื้อเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตพรรคไทยรักไทยจนเกือบหมดยกเว้นพรรค ประชาธิปัตย์

การรัฐประหารครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจนเป็นปรากฏการณ์ ที่ชาติตะวันตกไม่อาจจะเข้าใจได้ว่าการรัฐประหารครั้งนั้นยึดอำนาจรัฐบาลที่ มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่ได้รับการเชิดชูเพราะเป็นพฤติกรรมต้องห้ามในเชิงรัฐศาสตร์แต่ประชาชน ระดับกลางมีความแน่ใจว่า การรัฐประหารเป็นวิธีเดียวที่จะยุติการทุจริตของอดีตพรรคไทยรักไทยได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่บริหารประเทศแบบอัตตานิยมเพราะมีความคิดว่าตัวเองเก่งและสามารถมากกว่าคน อื่นซึ่งในปัจจุบันยังคงยึดติดในความคิดนี้ไม่เปลี่ยนแปลง และความเจ้าเล่ห์ของเขาสามารถซื้อผู้คนไว้ใช้งานมากมาย รวมทั้งมีระบบการจัดสรรผลประโยชน์ในกลุ่มคนใกล้ชิดทำให้เขามีเกราะป้องกัน เข้มแข็งมาก หากไม่มีการรัฐประหารคนไทยคงได้เห็น กฎหมายหมายที่ตราออกมาเพื่อสร้างฐานอำนาจของเขาและพวกมากขึ้น

พ.ต.ท.ทักษิณ มีความชื่นชอบระบบการเมืองสิงคโปร์มากที่ ลีกวนยู สามารถใช้ฐานประชานิยมจากความเป็นวีรบุรุษที่แยกเกาะสิงคโปร์จากสหพันธ์รัฐ มาลายูใน ค.ศ. 1951 ทำให้ ลีกวนยู มีลักษณะเป็นบิดาของชาติ ดังนั้นเขาจะออกกฎหมายอะไรมาก็ตามประชาชนเห็นชอบด้วยหมด แต่ข้อดีของ ลีกวนยู คือความสมถะ ไม่คดโกงต่างกับ พ.ต.ท.ทักษิณที่มีความโลภ ทั้งอำนาจและเงินตรา

เมื่อสูญเสียอำนาจ ความหวังที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ถูกทำลายความแค้นเป็นเหมือนเพลิงเผาผลาญ เศษความดีและจิตสำนึกที่ดีของเขาจนสิ้น พาลคิดว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้นได้รับความเห็นชอบจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และเขาต้องคิดว่าราชวงศ์รับรู้และให้ท้ายเพราะในช่วงสุดท้ายของตำแหน่งนายก รัฐมนตรีของเขามีหลายวาระ ที่ถูกพาดพิงว่า “หมดความจงรักภักดีแล้ว” และกระแสเหล่านี้มีความเป็นไปได้สูง เช่น การออกหนังสือพระราชอำนาจของนายประมวล รุจนเสรี อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

เพราะมีคำถามว่านายประมวล เขียนทำไม เขียนเพื่อเตือนสติใคร หรือมีอะไรเป็นตัวกระตุ้น ซึ่งจินตนาการได้ง่ายเพราะคนระดับนายประมวล รุจนเสรี ที่เคยเป็นข้าราชการระดับสูง แล้วแปลงตัวเป็นนักการเมือง เพราะพรรคไทยรักไทยต้องการอิทธิพลของนายประมวล รุจนเสรี อดีตอธิบดีกรมการปกครองใกล้ชิดกับผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น และมีบุญคุณกับข้าราชการระดับผู้ว่าการจังหวัด และนายอำเภอมากมายทั่วประเทศ

ความผิดหวังอย่างรุนแรงก่อเกิดความแค้นใจ เช่น ในประวัติศาสตร์ครั้ง ร.ศ.130 ก็มีหลักฐานว่าคณะทหารชั้นผู้น้อยกว่า 100 คน คิดการใหญ่ล้มล้างระบบพระมหากษัตริย์ถึงขั้นจะลงมือลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่บุญญานุภาพและพระบารมีอันล้นพ้น ทำให้คนที่จะลงมือกลับใจและกลุ่มผู้ก่อกบฏ ร.ศ.130 ถูกขนานนามว่าเป็นอนาธิปไตยคตินิยมชุดแรกลงราชอาณาจักรไทย

ส่วนข้อพิจารณาถึงความแค้นใจทางการเมือง เช่น กรณีรัฐประหาร 1-3 เมษายน 2524 แต่ล้มเหลวเป็นกบฏ มีรายงานข่าวว่ามีการวางแผนลอบสังหารกลุ่มปราบกบฏ 1-3 เมษายน หรือเรียกว่ากบฏยังเติร์ก ได้แก่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี และพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ขณะนั้นเป็น ผบ.ทบ.หลายครั้ง และมีรายงานชัดเจนว่ามีการสอบลอบสังหาร พล.อ.เปรมและพล.อ.อาทิตย์ ถึง 9 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2525 มีการยิงกระสุนจรวด 66 เอ็ม 72 แต่พลาดเป้า ซึ่งมีนายทหารปืนใหญ่เกี่ยวข้องหลายคน ซึ่งคดีนี้จ่าสิบเอกอมรศักดิ์ ยินดีโชติ รับสารภาพ ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุก 25 ปี

จากอนุสนธิและบทเรียนการลอบสังหารครั้งนั้นทำให้มีการรักษาความ ปลอดภัย พล.อ.เปรม อย่างเข้มงวด ด้วยหน่วยทหารที่ได้รับการยอมรับถึงความจงรักภักดี คือหน่วยทหารเสือพระราชินี

พ.ต.ท.ทักษิณใช้ยุทธวิธีสร้างมวลชน นปก. โจมตี พล.อ.เปรม โดยตรงเป็นการล้างแค้นดังที่สาธารณชนได้เห็นความป่าเถื่อน ในวันที่ นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ 27 สิงหาคม 2550 โดยกลุ่ม นปก. ที่นำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ บุรุษผู้ถูกพิพากษาจำคุกบุรีรัมย์ 4 ปี แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ด้วยบารมีของ พล.อ.เปรม ผู้ซึ่งเมตตาเอ็นดูสนับสนุนเขาทางการเมืองเขากลับเนรคุณ ซึ่งพฤติกรรมนี้ย่อมเกิดขึ้นได้เมื่อกิเลสอยู่เหนือจิตใจ

ในการสร้างมวลชน นปก.ซึ่งปัจจุบันแปลงสภาพเป็น นปช. กลายเป็นแม่เหล็กดูดพวกต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ออกมาเผลงฤทธิ์ ซึ่งในกลุ่มนี้ก็จะปรากฏชื่อของนายใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งมีความคิดเช่นนี้มานานแล้วแต่ไม่ได้โอกาส เมื่อความแค้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพลังให้เขาตัดสินใจทำทุกอย่างเพื่อให้ได้อำนาจคืนมา เขาสามารถสร้างความเสียหายให้กับมาตุภูมิของเขาได้ ก็เป็นความสะใจของเขา เพราะยิ่งทำให้บ้านเมืองป่วนได้เท่าไร เขาก็รู้ว่ามีคนหลายคนเสียใจและไม่สบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาต้องการที่จะทำลายนโยบายสมานฉันท์ แต่หากพิจารณาแท้จริงแล้วเขาต้องการสร้างแรงต้านพระราโชบาย รู้รักสามัคคี ของในหลวงมิให้สัมฤทธิผล

แผนยุทธศาสตร์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กรณีต้องการให้ชาติล่มจม เพราะการล่มจมของชาติทำให้เขาได้โอกาสที่จะปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อนโยบาย ประชานิยมตามระบอบทักษิณสำหรับคนระดับล่าง ซึ่งแผนนี้เป็นแผนอุบาทว์ เพราะการโฟนอินได้พูดลักษณะว่าไม่ยอมแพ้และจะกลับเข้ามากบดานที่เขตภาคอีสาน และทำสงครามการเมืองกับรัฐบาลและสถาบันรัฐศาสตร์

ลักษณะพาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเข้าทางกลุ่มอนาธิปไตยโดยเฉพาะกลุ่มนายใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งปัจจุบันหนีประกันคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปอยู่อังกฤษ สังคมไทยจะต้องตระหนักว่าเครือข่ายของพวกอนาธิปไตยเรียก Thai Anarchist Network มีอยู่จริง

อย่างไรก็ดี คำว่าอนาธิปไตยมีความหมายกว้างขวางแต่ในสังคมไทยอาจจะมุ่งที่ความหมายของการ ไม่ยอมรับระบบการปกครองที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้อง น้อยที่สุด

สำหรับข้อโต้แย้งสำคัญกรณีอังกฤษมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือ ไม่นั้น ในข้อเท็จแล้วย่อมมีอย่างแน่นอนแต่อย่าลืมว่ากฎหมายอังกฤษจะอิงประวัติ ศาสตร์ที่มีการฟ้องร้องกันไว้ในกรณีต่างๆ หรือลักษณะคดีต่างๆ ซึ่งมีการพิพากษาไว้แล้ว

จากกรณีสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างกลุ่มครอมเวลกับกลุ่มราชภักดี เกิดจากการล้มระบบกษัตริย์อังกฤษของรัฐสภาที่ครอมเวลเป็นประธานมีการกล่าว ร้ายพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 1 อย่างรุนแรง และในที่สุดก็ประหารชีวิตพระองค์ ราชภักดีนำโดย ยอร์จ มองค์ สถาปนาระบบกษัตริย์ขึ้นใหม่และมีการเอาโทษกับคนที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดย เฉพาะตัวครอมเวลแม้ตายแล้วก็ขุดขึ้นมาแขวนคอ ประวัติส่วนนี้เป็นรากฐานของความผิดกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพราชวงศ์อังกฤษ หรือก่อนหน้านี้ก็กรณีขุนนางที่เรียกร้องสิทธิจนเกิด แมคนาคาร์ตา (Maqna Carta)

สังคมไทยเป็นสังคมที่ร่มเย็นเพราะพระมหากษัตริย์มาช้านานแล้ว เพราะกรอบวิถีการดำรงพระราชอำนาจ การใช้พระราชอำนาจและการกำหนดพระราโชบายต่างๆ นั้นมีหลักเกณฑ์ เชิงปรัชญาพุทธศาสนาหรือปรัชญาความชอบธรรมทั้งสิ้น เช่น ทศพิธราชธรรม หรือการประกาศพระราชโองการที่ใช้ธรรมะให้เป็นเครื่องมือการปกครอง

โดย เฉพาะราชวงศ์จักรีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงยึดหลักธรรมราชา เป็นแบบการปกครองซึ่งปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงใช้หลักการนี้ ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000016490

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น