++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้กิจกรรมการแก้ปัญหาปลายเปิดเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เน้นกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์

Using Open-ended Problem-Solving Activities to Develop Implemented Curriculumwith Emphasizing on Mathematical Thinking Process

รุ่งทิวา คนการณ์ (
Rungthiwa Khonkarna) *ดร.ชาญณรงค์ เฮียงราช (Dr. Channarong Heingraj) **ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (Dr. Maitree Inprasitha) ***

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับนำไปใช้ (
Implemented curriculum) โดยอาศัยกิจกรรมการแก้ปัญหาปลายเปิด พบว่า กิจกรรมการแก้ปัญหาแบบปลายเปิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของหลักสูตรระดับนำไปใช้ใน 3 ด้านดังต่อไปนี้ 1.1) กิจกรรมการแก้ปัญหาปลายเปิดที่เกิดจากการใช้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดก่อให้เกิดการบูรณาการระหว่าง เนื้อหาสาระ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้จริงในระดับปฏิบัติการ ตามความคาดหวังของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 1.2) การสร้างหน่วยการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดทำให้สามารถบูรณาการหลายความคิดรวบยอดได้ในแต่ละหน่วย ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีเวลาคิดในขณะทำกิจกรรมในแต่ละหน่วยมากขึ้น 1.3) เมื่อพิจารณาหลักสูตรที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน (attained curriculum) พบว่าชั้นเรียนเปลี่ยนแปลงไปเป็นชั้นเรียนที่นักเรียนมีอิสระทางความคิดมากขึ้น และ 2)เพื่อวิเคราะห์กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยเน้นกระบวนการนำเสนอ (representation) ในการทำกิจกรรมการแก้ปัญหาปลายเปิด พบว่า การออกเสียง (Verbal symbols) เป็นวิธีการที่นักเรียนใช้เป็นตัวแทนแนวคิดทางคณิตศาสตร์มากที่สุด กล่าวคือ ในระหว่างการแก้ปัญหา สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่ได้ร่วมกันเสนอแนวคิดโดยการออกเสียงเป็นภาษาถิ่นที่เกี่ยวข้องกับบริบทในชีวิตจริง พร้อมทั้งมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการวาดรูป จากนั้นจึงนำเสนอแนวคิดทางคณิตศาสตร์ออกมาในรูปของการเขียน เพื่อลองผิดลองถูกและตรวจสอบข้อความคาดการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการแก้ปัญหา และในช่วงนำเสนอผลงาน นักเรียนใช้การออกเสียงหรือคำพูด เพื่อเป็นตัวแทนแนวคิดทางคณิตศาสตร์อีกครั้ง

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to develop implemented curriculum with using open-ended problemsolvingactivities. Finding of the study indicated that Open-ended problem-solving activities changed components ofimplemented curriculum in 3 dimensions, 1.1) Open-ended problem-solving situations integrated content knowledge,processes and skills, and purposive performances in real practical level, 1.2) Unit of study using open-ended problemsituations provided an integration of varieties of mathematical concepts in which students had enough time to thinkduring their problem solving period, 1.3) The classroom contexts changed in the ways that students had theiropportunity to think about the activities individually. 2) to investigate students’ mathematical thinking processemphasizing representation process. Finding of the study indicated that mathematical thinking, especially therepresentation process which had been developed, included the use of manipulatives, pictures, written symbols,verbal symbols, real-life contexts, and the representation of mathematical ideas derived from engaging in open-endedproblem-solving in class. In particular, the students used verbal symbols in dialect apparently to represent theirmathematical ideas during group discussion and presenting the ideas of the group to the whole class.



* มหาบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** อาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น