ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์ – สำนักงานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
มารศรี เตชะกำพุช – โครงการส่วนพระองค์ พระราชวังจิตรลดา
วัตถุประสงค์
- เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับเสถียรภาพ (stability) ของคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มสุขภาพไทยในระหว่างการเก็บเพื่อร อบริโภคยังมีจำกัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเสถียรภาพของคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีโนลิกของเครื่องดื ่มสุขภาพชนิดพาสเจอไรส์ที่คัดเลือกจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำเก็กฮวย น้ำขิง น้ำตะไคร้ และน้ำรากบัว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาก่อนและหลังเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน
วิธีการวิจัย
- เก็บตัวอย่างของเครื่องดื่มแต่ละชนิดจำนวน 3 ตัวอย่างซึ่งมาจากรอบการผลิตที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ค่าคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีโนลิกก่อนและหลังเ ก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 7 วัน สำหรับการวิเคราะห์ค่า คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระใช้ 2 วิธี ซึ่งอาศัยกลไกที่แตกต่างกัน คือ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay และ Photochemiluminessence (PCL) assay ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกใช้วิธี Folin-Ciocalteu
ผลการศึกษา
- เครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์บางชนิดมีการลดลงของคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและปริ มาณสารประกอบฟีโนลิกอย่างมีนัยสำคัญหลังเก็บไว้ 7 วันที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
สรุป
- ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีโนลิกของเครื่องดื่มทั้ง 7 ชนิดไม่เสถียรภาพในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส การศึกษานี้ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยวิทยานิพนธ์บางส่วนจากสำนักงานคณะกรรมการอ ุดมศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่องบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 ม.ค.2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น