++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทฤษฎีรวมระบบ จิต-กาย กับโรคมะเร็ง

นายแพทย์ประสาน ต่างใจ มูลนิธิภูมิปัญญา

นายแพทย์ โอ.คาร์ล ไซมอนตัน นักรังสีวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้องอก ผู้อำนวยการ
ศ ูนย์วิจัยและแนะนำโรคมะเร็ง ( Dr.O.Carl Simonton, Cancer Councelling and Research Center) แห่งนครดัลลาส รัฐเท็กซัส แพทย์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกในด้านการใช้วิธีจิต-กายในการศึกษาและบำบัดโรคมะ เร็ง เชื่อมั่นว่าสภาพของการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายของมนุษย์เป็นสภาพที่มีเหตุปัจจั ยสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบ
ทั้งมวลของร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เขาได้ทุ่มเทสติปัญญาและเวลาในการศึกษาติดตาม และ
รักษาผู้ป่วยอย่างจริงจังมานาน แม้ว่าในอดีต หลักการและวิธีการที่ไซมอนตันใช้กับผู้ป่วย ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
ในแพทย์โดยทั่วไปอย่างกว้างขวางนัก

แ ต่ในปัจจุบันความคิดรวมระบบ(system theory) และความคิดอนันตทัศน์ (holistic approach) สามารถหยั่งรากฝังลึกในภาคสาขาวิชาการมากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและมั่นคง โดยเฉพาะในทาง การแพทย์พอที่จะเชื่อได้ว่า ในระยะเวลาอีกไม่นาน ปรัชญาของความคิดดังกล่าวจะกลายเป็นหัวใจที่สำคัญ ที่สุดของความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องของจิตวิญญาน(consciousness)
วิธีการของไซมอนตันต่อเรื่องข องโรคมะเร็ง จึงตั้งอยู่บนหลักการของความรู้ความเข้าใจดังกล่าว การรักษา ดูแลของนายแพทย์ผู้นี้ต่อผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง จึงผิดแผกแตกต่างกับวิธีการรักษาบำบัดโรคตามอาการ ที่มัก จะถือว่ามะเร็งก่อให้เกิดความพิการ เป็นโรคเฉพาะที่เฉพาะอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือการรักษาโรคที่ถือว่า
โรคเป็นการป่วยเจ็บทางกายทางวัตถุโดยเฉพาะ อันเป็นวิธีการและหลักการที่แพทย์อื่นๆ ทั่วไปปฏิบัติกันอยู่

ซึ่งในทางแทบจะตรงกันข้าม ไซมอนตันเชื่อว่า โรคเป็นผลของความผิดปกติทั้งของร่างกาย
และจิตใจรวมกัน และทุกระบบทุกส่วนของผู้ป่วย ได้รับผลกระทบจากสภาพของการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง
ต่อเนื่องกัน เป็นหน่วยเดียวกัน สัมพันธ์กันโดยจะแยกจากกันเป็นส่วนไม่ได้ หรือแยกกายออกจากจิตใจ
ย ่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะร่างกายและจิตใจมนุษย์ไม่ได้ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของเครื่องยนต์กลไก ไซมอนตัน ยังก้าวไปไกลที่จะเชื่อว่า จิตนั้นควบคุมกายมากกว่า โรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรงไม่ได้เป็นผลของการรุกราน
หรือภัยที่มาจากภายนอกโดยตรง แต่เกิดขึ้นเองจากภายในร่างกาย เช่นโรคมะเร็ง ล้วนเป็นโรคที่
จ ิตใจมีความเกี่ยวข้องเป็นเหตุปัจจัยทั้งสิ้น โดยเฉพาะในระบบการป้องกันตัวเอง หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมนต่าง ๆ หรือระบบของการต่อสู้ควบคุมโรค การสร้างและส่งเม็ดเลือดขาว รวมทั้งการควบคุมระบบ
หลอดเลือดแดงของร่างกาย เป็นต้น

ผู้ป่วยรายหนึ่งของไซมอนตันป่วยเป็นมะเร็งที่คอในระยะใกล้จะสุดท้าย ที่คณะแพทย์ผู้รักษา
ได้บอกกับญาติผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้อีกไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย
ได้ลดลงมาจาก179 ปอนด์มาเหลือเพียง 98 ปอนด์ แทบจะไม่สามารถกลืนแม้แต่น้ำลายตัวเอง และหายใจ
ลำบากมาก คณะแพทย์เองก็ได้โต้เถียงกันนานว่า ในระยะของโรคที่รุนแรงมากเช่นนั้นควรรักษาด้วยการ
ฉ ายรังสีหรือไม่ เพราะโอกาสหายไม่มีเลย และแม้แต่จะช่วยลดอาการทรมานของผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใด ก็ไม่มีใครแน่ใจเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ในที่สุดคณะแพทย์ก็ลงความเห็นให้ฉายรังสีเพื่อการรักษาผู้ป่วยรายนี้

โชคดีของผู้ป่วยที่ไซมอนตันได้รับเชิญมาช่วยในการรักษาผู้ป่วยรายนี้ ไซมอนตันได้บอก
กับผู้ป่วยว่า ตัวของผู้ป่วยเองเท่านั้นที่จะรักษาตัวเองได้ โดยเขาจะเป็นเพียงผู้แนะนำเท่านั้น ไซมอนตัน
สอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีผ่อนคลายจิตและร่างกาย และสอนวิธีการใช้จิตในการสร้างภาพที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา
เรียกว่า การเห็นภาพทางจิตด้วยการชี้แนะ (guided visualization) และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ไซมอนตัน
จ ะอยู่กับผู้ป่วยวันละ 3 เวลา ชี้แนะให้ผู้ป่วยใช้พลังทางจิตนึกภาพของกระสุนรังสีเล็ก ๆ จำนวนล้าน ๆ ลูก กำลังถล่มยิงไปที่เซลล์มะเร็งในร่างกาย และสร้างภาพเซลล์ของโรคร้ายที่กำลังสับสนและอ่อนแอ
ลงไปทุกขณะ ในขณะที่เซลล์อื่นๆ ที่เป็นเซลล์ปกติของร่ายกายที่อยู่บริเวณเดียวกัน ไม่ได้รับการ
กระทบกระเทือนจากกระสุนรังสี และสามารถต่อสู้กับเซลล์ที่เป็นโรคอย่างแข็งขัน พร้อมกับซ่อมแซม
เ นื้อเยื่อไปด้วย สร้างภาพของเม็ดเลือดขาวกำลังต่อสู้กับเซลล์มะเร็งที่กำลังอ่อนแอ กำลังพ่ายแพ้ และเคลื่อนย้ายเซลล์มะเร็งที่ตายแล้วเหล่านั้นไปที่ตับและไต ค่อย ๆ กำจัดออกไปจากร่างกาย
ทีละน้อยจนหมด

ผลของการรักษาเป็นเช่ นปาฏิหาริย์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่คอรายอื่น ๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีเช่นเดียวกันอย่างเทียบกันไม่ได้ ผู้ป่วยของไซมอนตันไม่พบว่ามีผล ทางด้านลบของการฉายรังสีเลยแม้แต่น้อย เยื่อบุต่าง ๆ ในลำคอ ในปาก ผิวหนังและกล้ามเนื้อ บริเวณที่ถูกแสงล้วนเป็นปกติ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยหายจากอาการของโรคมะเร็งอย่างสิ้นเชิง

หลังการฉายแสงเพียง 2 เดือน นายแพทย์ไซมอนตันและแพทย์ผู้ช่วย ได้รายงานผลการรักษา
ด ้วยวิธีการสร้างภาพดังกล่าว (guided visualizarion) หรือที่เรียกว่า mental-imagery ในผู้ป่วยด้วยโรค มะเร็ง ที่ทางคณะแพทย์ผู้รักษาผู้อื่นเชื่อว่าไม่มีหนทางรักษาเลย
จำนวน 159 ราย ที่คาดว่าทั้งหมดจะต้องเสียชีวิตภายใน 12 เดือน ปรากฏว่า 4 ปี
ต่อมา
ผู้ป่วยจำนวน 63 ราย ยังคงมีชีวิตอยู่
ซึ่งในจำนวนนี้ 14 ราย ไม่มีอาการใด ๆ ของโรคมะเร็งเลย
อีก12 ราย มะเร็งกำลังฝ่อลดขนาดลงไปเรื่อย ๆ
17 ราย ผู้ป่วยอยู่ในสภาพเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
ส่วนที่เสียชีวิตไป 93 ราย เวลาที่ผู้ป่วยสามารถอยู่รอดเฉลี่ยได้ 24.4 เดือน

ไม่ใช่ว่าแพทย์ทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีรักษาของไซมอนตัน แพทย์หลายคนพยายามหาข้ออ้าง
ต ่าง ๆ เช่น อ้างว่าผู้ป่วยเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่ร้ายแรงจริง แต่บางคนก็ไม่กล้ารับความจริง เพราะกลัวกระทบกับความเป็นนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากจิตมองไม่เห็น จับมาวัดไม่ได้ แต่แพทย์จำนวน ไม่น้อยมาขอเรียนวิธีการสร้างภาพทางจิตจากไซมอนตัน จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ นายแพทย์ผู้นี้ก็ได้ตั้ง ศูนย์รักษาโรคมะเร็งไซมอนตันขึ้นที่แปซิฟิกพาลิเสดส์ แคลิฟอร์เนีย การสำรวจในปี 1988 พบว่าศูนย์ดังกล่าว ของไซมอนตัน เป็นที่นิยมของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่ 4 ของการบำบัดโรคมะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ

จิตแพทย์ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ฟื้นฟูและวิจัยทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส
จีนน์ อัคเตอร์เบิร์ก (Jeanne Achterberg) รายงานในวารสารเอเอสพีอาร์ (ASPR newsletter,1987) ว่าผล
ของการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อการรักษาด้วยการสร้างภาพทางจิตนั้นมีสูงมาก และที่สำคัญคือมีผลต่อ
เป้าหมายเฉพาะ เช่นกรณีของเม็ดเลือดขาวที่สำคัญมากสำหรับการต่อสู้กับโรค จีนน์ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น
2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมุ่งให้จิตสร้างภาพเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล นักรบแนวหน้าของขบวนการต่อสู้
ของร่างกาย และอีกกลุ่มหนึ่งสร้างภาพทางจิตไปที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่าที-เซลล์ (T-cells) ที่มีหน้าที่
ส ร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะ ปรากฏว่า ในกลุ่มแรก ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนที-เซลล์เลย ในทางตรงกันข้ามในกลุ่มที่สองมีแต่ที-เซลล์ที่มีจำนวน
เพิ่มขึ้นเท่านั้น

อัคเตอร์เบิร์กเองได้รายงานผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งในหนังสือ Imagery In Healing 1985 ที่ป่วย ด้วยโรคมะเร็งในสมอง และแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเนื้องอกและสมองใกล้เคียงออกไปมากเท่าที่จะทำได้ โดย ผู้ป่วยไม่เสียชีวิต ผู้ป่วยถูกส่งกลับไปบ้านโดยไม่ได้รับการฉายรังสีหรือยาฆ่ามะเร็ง เพราะแพทย์เชื่อว่า
ไม่มีประโยชน์ใด ๆ ต่อผู้ป่วยอีกแล้ว ด้วยอาการอัมพาตทั้งแขนและขา แต่ยังพอมีสติ ผู้ป่วยได้รับการสอนให้
สร้างภาพทางจิต หวังผลจากการตอบสนองชีวภาพ แต่เนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีการศึกษาน้อย ทั้งไม่รู้ถึง
ส าเหตุของการป่วยและการผ่าตัดที่กว้างขวาง ภาพที่สร้างขึ้นจากจิตจึงเน้นการอยู่รอดและการหายจากโรค ด้วยการเอาชนะมันอย่างเด็ดขาดให้ได้ หลังจากนั้นเพียง 16 เดือนก็พบว่า ไม่มีร่องรอยของโรคมะเร็งอีกเลย ต่อมาผู้ป่วยก็ทุเลาจากอัมพาต และยังสามารถเต้นรำได้หลายต่อหลายครั้ง

ในฐานะที่เป็นนักวิจัยโรคทางจิต อัคเตอร์เบิร์กได้รายงานในหนังสือเล่มเดียวกันว่า ผู้ป่วย
โรคจิตมีอัตราการเป็นมะเร็งเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไปที่ไม่เป็นโรคทางจิตในวัย
ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีอัตราของการเป็นมะเร็งสูงระหว่าง 15 ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ นายแพทย์ไซมอนตันได้ยืนยันกับ
ฟริตจอฟ แคปร้า ไว้ในหนังสือชื่อ ปัญญาที่ไม่ธรรมดา (Frijof Capra : The Uncommon Wisdom,1998)
ว่าผู้ป่วยโรคจิตซิโซฟรีเนียอย่างแรง (catatonic shizophrenia) ที่มีนับล้านคนทั่วโลก ไม่เคยปรากฏว่าเป็น
โ รคมะเร็งเลยแม้แต่รายเดียว ไซมอนตันอธิบายว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้ป่วยโรคจิตชนิดนั้นได้ตัดตนเอง ออกจากสังคมโดยสิ้นเชิง และหยุดอัตตาอหังการของตัวเองลงไปจนหมด

ไซม อนตันเชื่อว่า ความกดดันทางจิต ความเครียดที่เกิดขึ้นแล้วซ้ำอีกในวัยเด็ก บางรูปแบบ จะทำให้ผู้นั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งเมื่อมีอายุมากขึ้น และยังเชื่อว่าผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากความผิดปกติภายใน
ไม่ว่าโรคความด ันโลหิต โรคหัวใจ หรือโดยเฉพาะโรคมะเร็ง นอกเหนือจากพันธุกรรมแล้ว ที่สำคัญมากกว่ามาก ก็คือ จิตไร้สำนึก (unconscious mind) ของผู้ป่วยเอง ที่เกิดจากความกดดันในอดีต ทำให้เกิดเบื่อหน่าย
ต่อการมีชีวิต โดยที่จิตสำนึกไม่รู้ เบื่อหน่ายต่อความรับผิดชอบ ความไม่สมประกอบอย่างหนึ่งอย่างใด ที่จิต ไร้สำนึกได้บันทึกไว้ โรคที่ร้ายเช่นมะเร็ง จึงมีโอกาสเกิดขึ้น

ไซมอนตันกล่าวว่า ดังเป็นที่รู้และพิสูจน์แล้ว เซลล์ร่างกายมนุษย์ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ตลอดเวลา แต่ร่างกายก็สามารถรู้และดำเนินการ ทำลายได้ทันทีตลอดเวลาเช่นกัน ด้วยกระบวนการป้องกันและต่อต้าน ซึ่งการควบคุมกลไกต่อสู้ ป้องกันตัวเองของร่างกายนั้น จิตไร้สำนึกมีความสำคัญ มีบทบาทเป็นอย่างมาก

ใ นการทดลองผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งในที่ต่าง ๆ ในระยะสุดท้ายจำนวน 126 ราย ไซมอนตันและนักวิจัยผู้ช่วย ได้เจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโรคเป็นระยะ ๆ ในขณะเดียวกันก็ทำการตรวจด้วยวิธีทางจิตวิทยา ด้วยการให้ผู้ป่วยวาดภาพของตัวเอง ภาพของอวัยวะที่เป็นมะเร็ง เซลล์มะเร็ง ภาพของภูมิคุ้มกันของร่างกายเม็ดเลือดขาวที่ร่างกายส่งมาต่อต้านโรค ปรากฏว่า
ผลของการตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ บอกแต่ความก้าวหน้าของความรุนแรงของโรคเท่านั้น ไม่ให้ข้อมูลอย่างอื่น แต่ผลของการทดสอบทางจิตที่ทำเป็นระยะ ๆ เช่นกัน นอกจากจะชี้บ่งถึงการเปลี่ยนแปลง การดำเนินของโรคแล้วยังสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยคนไหนจะอยู่ได้นานอีกเท่าใด จะเสียชีวิตเมื่อไร และผู้ป่วยคนใดที่โรคจะถูกยับยั้งหรือฝ่อหายไปเอง ซึ่งทำให้แพทย์สามารถทำนายได้ถูกต้อง แม่นยำถึง 95 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว


ฟริตจอฟให้ความเห็นว่าพลังที่สามารถทำให้หายจากการเป็นโรคนั้น มีอยู่ 2 แนวทางที่
แตกต่างกัน แนวหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ ของการปรับตัวเองกลับสู่สภาพปกติ หลังจากที่การดำเนินของ
โรคได้สิ้นสุดแล้ว ดังภายหลังจากการเป็นโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไข้หวัด เป็นต้น อีกแนวทางหนึ่ง ร่างกายอาจ
เ ปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่สภาพและดุลยภาพใหม่ ที่แปลกและแตกต่างจากสภาพและดุลยภาพเดิมโดยสิ้นเชิง ความคิดเห็นเช่นเดียวกันนี้ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงยิ่งของโลก เกรกอรี่ เบทสัน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ที่ซานตา ครู๊ซ (Gregory Bateson) อธิบายว่า ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตนเองจากสภาพหนึ่งไปสู่
อีกสภาพหนึ่ง หรือการจัดวิวัฒน์ระบบขึ้นมาใหม่ เป็นผลงานของกระบวนการทางจิตที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อม
ร อบ ๆ พลวัตและการทำงานของจิตจะดำเนินไปที่ระดับและตำแหน่งต่าง ๆ หลายระดับ และมีขั้นตอนที่ละเอียดซับซ้อน ส่วนใหญ่แทบทั้งหมดเป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึก การเกิดโรคและการหาย
จ ากโรคมีส่วนที่สำคัญยิ่งอยู่ที่จิตและผลกระทบระหว่างจิต โดยเฉพาะจิตไร้สำนึกกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลที่ร่างกาย กาย-จิต และสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคหรือความพิการใด ๆ ที่เป็นของร่างกาย หรือกายที่ย่อส่วนแยกย่อยออกไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และแพทย์ก็มะงุมมะงาหราก้มหน้าก้มตาแก้ไขเยียวยา
แต่ละชิ้นส่วนนั้น ๆ แต่โรคทุกโรค ความพิการทุกอย่างเป็นเรื่องรวมทั้งจิตและกาย (psycho-somatic) ทั้งสิ้น การเกิดและการหายจากโรคทุกกรณี จึงเป็นผลของการกระทำที่กระทบกับระบบทุกระบบ
ร่วมกัน
มีแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์แขนงต่าง ๆ มากมาย ที่ให้ความสนใจต่อสุขภาพ
อ นันตทัศน์ (holistic health approach) การเกิดโรค การรักษาโรค และการหายจากโรคด้วยกระบวนการที่ร่วมกันของจิต กาย และธรรมชาติ ในอนาคตอันไม่ไกล นักวิชาการแพทย์ที่วางรากฐานบนวิทยาศาสตร์
แยกย่อส่วน วิทยาศาสตร์เครื่องยนต์กลไกของเดอร์การ์ด นิวตัน แม้ว่าจะคงมีอยู่อีกนาน แต่แน่นอนว่าการรักษา
ที่คำนึงแต่เศษชิ้นส่วนของร่างกาย การใช้ยาและผ่าตัดจะค่อย ๆ ทยอยลดน้อยลงไป ในขณะที่การแพทย์
ที่เน้นระบบรวมที่เป็นอนันตทัศน์จะค่อย ๆ มีความสำคัญขึ้นมาแทน

สุขภาพที่แท้จริงนั้น เป็นผลดุลความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ของจิต กาย และสรรพสิ่งที่ี่เป็นธรรมชาติ
ธรรมชาติที่รวมชีวิตของมนุษย์ทุกๆ คน
punyadham@yahoo.com

1 ความคิดเห็น: