++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มกค.ร่วมใจส่งมอบ"หุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด" หวังช่วยทหารพ้นภัยระเบิด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต่อยอดโครงการหุ่นยนต์กู้ภัยหลังได้รับรางวัลระดับโล ก พัฒนาหุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด (The Explosive Ordnance X-ray and Disruption Robot: EOXD Robot) มอบให้กองทัพอากาศไทย หวังช่วยเหลือทหารเสี่ยงภัยเก็บกู้ระเบิดภาคใต้ อธิบการบดีภาคภูมิใจฝีมืออาจารย์และนักศึกษา ม.หอการค้าไทยเทียบเท่าต่างชาติ ช่วยหลวงประหยัดงบสั่งซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ
      
       รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า หลังจากทีมหุ่นยนต์กู้ภัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.หอการค้าไทยได้รับรางวัลจากการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์กู้ภัยทั้งในระดับประ เทศและในระดับโลก เช่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก (World Robocup Rescue 2007) ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา และรางวัล Gold Medal Award “Best Young Inventor” ปี 2008 ในงานวันนักประดิษฐ์ แห่งชาติและวันนักประดิษฐ์สากล ปี 2551 จากองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WITPO) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 16 องค์กรของสหประชาชาติ เพื่อเป็นการต่อยอดให้หุ่นยนต์ดังกล่าวให้ได้ใช้ประโยชน์จริง ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อนล่วงหน้าเกี่ยวกับ การระเบิดในจุดต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์และทหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต้องสูญเสียชี วิตหรือได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
      
       “ ม.หอการค้าไทยตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและประเท ศชาติ จึงมอบหมายให้คณะวิศวกรรมศาสตร์คิดค้นหุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด (The Explosive Ordnance X-ray and Disruption Robot: EOXD Robot) ขึ้น เพื่อมอบให้กับแผนกทำลายวัตถุระเบิด กองพัสดุสรรพวุธ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ นำไปใช้ในการเก็บกู้ระเบิด
      
       ห ุ่นยนต์ EOXD ฝีมือคณะอาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.หอการค้าไทยผ่านการทดสอบร่วมกันกับกรมสรรพวุธแล้วว่าสามารถใช้งานได้จริง โดยหุ่นยนต์ EOXD 1 ตัวใช้งบประมาณไม่ถึงล้านบาท ซึ่งถูกว่าหุ่นยนต์ของต่างประเทศที่มีมูลค่าตัวละหลายสิบล้านบาท ดังนั้นการที่เด็กไทยสามารถพัฒนาหุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิดได้เอ ง จึงเป็นการช่วยประเทศประหยัดงบประมาณ ถือเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง โดยมหาวิทยาลัยคาดหวังว่าต่อไปจะสามารถผลิตและจำหน่ายให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกด้วย หลังจากนี้เราหวังว่า ความรู้และประสบการณ์ที่จะพัฒนาหุ่นยนต์เหล่านี้ส่งต่อไปยังนักศึกษารุ่นน้อ ง ให้มีศักยภาพและผลงานที่ช่วยเหลือสังคมในด้านอื่นได้อีก และที่สำคัญเรากำลังพัฒนาหุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิดสู่ตลาดโลก”
      
       พลอากาศตรี เมธา สังขวิจิตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ กองบัญชาการ สนับสนุนทหารอากาศ กล่าวแสดงความขอบคุณที่มหาวิทยาลัยหอการค้าตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร ่วมรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศ มอบหุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด
      
       “ กองทัพอากาศได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เกี่ยวกับหุ่นยนต์กู้ภัย แต่ด้วยอุปกรณ์และราคาของหุ่นยนต์กู้ภัยที่กองทัพอากาศได้สั่งซื้อจากต่างปร ะเทศมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก มหาวิทยาลัยหอการค้าจึงดัดแปลงและพัฒนาหุ่นยนต์เอ็กซ์เรย์และทำลายวัตถุระเบ ิดให้กับกองทัพอากาศ ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานที่สะดวกในการใช้ อีกทั้งยังปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน ถือเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ ต่อจากนี้เราจะนำหุ่นยนต์ เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิดต่อยอดภารกิจของประเทศต่อไป”
      
       สำหรับ EOXD Robot หุ่นยนต์เอ็กซเรย์ และทำลายวัตถุระเบิด (Explosive Ordnance X-ray and Disruption Robot) ควบคุมกลไกการทำงานด้วยระบบไร้สาย ให้ความคล่องตัวสูง สามารถขับเคลื่อนเข้าหาเป้าหมายได้ทุกสภาพพื้นผิว ทั้งราบเรียบ ลาดเอียง หรือปืนบันได ทั้งยังให้ประสิทธิภาพการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยได้อย่างแม่นยำ โดยการใช้รังสีเอ็กซ์ เพื่อตรวจสอบวัตถุระเบิดที่ซุกซ่อนมาในกระเป๋า กล่อง หรือใต้เบาะรถจักรยาน ทำงานคล้ายกับการเอ็กซเรย์กระเป๋าตอนขึ้นเครื่องบิน พร้อมมีปืนยิงน้ำแรงดันสูงขนาด 40 มม. ทำลายวัตถุระเบิดไม่ให้เกิดการระเบิดขึ้นก่อนที่จะเกิดระเบิดจะทำอันตรายแก่ ชีวิต
      
       EOXD Robot (Explosive Ordnance X-ray and Disruption Robot) ทำงานด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง ในส่วนของชุดหุ่นยนต์ประกอบด้วย
      
       1. ฐานหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบสายพาน พร้อมแขนคู่หน้าที่มีสายพานเพื่อนช่วยการปืนป่าย
       2. แขกลที่สามารถควบคุมได้ถึง 3 ทิศทาง (Multi-Joint Mechanical Arm with 3 Degrees of Freedom)
       3. ระบบประมวลผลกลาง (Main Board of Microprocessor)
       4. ระบบเซนเซอร์ (Sensors System)
       5. ระบบปรับภาพวีดิโอ (VDO Server)
       6. กล้องวีดีโอ 4 ตัว 4 (VDO Camera)
       7. อุปกรณ์กำเนิดรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Source)
       8. ฉากรับรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Screen)
       9. ปืนยิงน้ำแรงดันสูง (High Pressure Water Jet Gun : Disrupter) สำหรับยิงทำลายวัตถุต้องสงสัย เพื่อให้กลไกการทำงานของระเบิดสิ้นสุดลง
      
       ส่วนชุดควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของหุ่นยนต์ทั้งหมด ตั้งแต่การขับเคลื่อน การควบคุมอุปกรณ์เอ็กซเรย์ การควบคุมปืนยิงน้ำ การประมวลผล การรายงานผล ชุดควบคุมนี้ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานทั้งหมดของหุ่นยน ต์ อุปกรณ์สื่อสาร 2 ความถี่ 2.4 GHz และ 5GHz และแบตเตอรี่ ชุดควบคุมแหล่งจ่ายไฟ
      
      
        ผศ.อมร ตันวรรณรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้า เสริมถึงจุดเริ่มต้นของ “หุ่นยนต์เอ็กซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด”
      
       “ เรามองเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความสูญเสียครั้งแล้ว ครั้งเล่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ถูกผู้ก่อการร้ายกดรีโมตระเบิดทำงาน ขณะที่เข้าไปตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยหลังได้รับแจ้งเหตุ รวมถึงสถานการณ์ลวงที่ให้ตำรวจ หรือทหารเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ แล้วกดระเบิดเพื่อหวังทำลายชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นแรงบันดาลใจเริ่มแรกที่ได้รวบรวมนักศึกษา คณาจารย์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เคยผ่านการคิดค้นหุ่นยนต์กู้ภัยมิชชั่น รุ่นแรกดัดแปลงกลไลให้กลายเป็น EOXD Robot หุ่นยนต์เอ็กซเรย์ และทำลายวัตถุระเบิด”
      
       ผศ.อมร กล่าวต่อว่า ก่อนนี้คณาจารย์และนักศึกษา เข้าไปศึกษาวิธีการทำงานของวัตถุระเบิด ที่กองทัพอากาศ “เราทราบว่ากองทัพอากาศมีหุ่นยนต์กู้ระเบิด ซึ่งสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ มีมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก ทำให้กฎเกณฑ์การใช้งานต้องผ่านหลายขั้นตอน หรือต้องเป็นงานที่ใหญ่จริงๆ จึงจะนำออกใช้งาน แต่สำหรับมุมมองของนักศึกษา เขามองว่าตัวเขาเองอยากจะช่วยเหลือสังคมด้วยการดัดแปลงหุ่นยนต์ให้ออกมาในรู ปแบบของการเอ็กซ์เรย์หาวัตถุระเบิด ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ดัดแปลงมาจากหุ่นกู้ภัยที่มีราคาถูก เพียงแค่ 600,000 บาท ซึ่งต่างจากหุ่นยนต์ต่างประเทศที่เป็นมีราคาสูงถึงหลักล้าน”
      
       ด้าน “นพ” นพรัตน์ บุญยา อดีตนักศึกษาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หนึ่งในทีมผู้จัดทำหุ่นยนต์ EOXD Robot เผยถึงกระบวนทำงานและบทบาทหน้าที่ในการบังคับหุ่นยนต์ดังกล่าวว่า นอกจากจะใช้ประสบการณ์ที่ได้จากศึกษาหุ่นยนต์กู้ภัย ซีอีโอ มิสชั่น ต้องเรียนรู้ถึงระบบการทำงานรังสีเอ็กซ์เรย์ให้ละเอียด พร้อมทั้งอธิบายถึงหน้าที่ของการควบคุมหุ่นยนต์
      
       “ ระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก เพราะแค่คนเดียวก็สามารถปฏิบัติภารกิจสำคัญได้สำเร็จ ซึ่งเจ้าหน้าควบคุมหุ่นยนต์จะอยู่ไม่ไกลจากจุดเสี่ยงภัยได้ถึง 100 เมตร จากนั้นเราจะบังคับแขนกลให้อยู่ในตำแหน่ง ระบบเอ็กซ์เรย์จะเริ่มทำงานตามคำสั่งของผู้ควบคุมรังสีเอ็กซ์ที่ส่องทะลุวัต ถุต้องสงสัยจะกระทบที่ฉากรับภาพ และส่งภาพแบบไร้สายมายังคอมพิวเตอร์ของผู้ควบคุม หากวัตถุนั้นอันตราย หุ่นยนต์ EOXD Robot จะถูกขับเคลื่อนมาติดตั้งปืนยิงน้ำแรงดันสูง แล้วกลับไปยิงทำลายกลไกการระเบิดทันที ซึ่งเราสามารถปฏิบัติภารกิจสิ้นสุดลงได้ในเวลา 10 นาที"

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000006464

1 ความคิดเห็น: