++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การสร้างแผนการสอนเรื่องการแจกแจงความน่าจะเป็นชนิดไม่ต่อเนื่อง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติมาช่วยในการสอน

Teaching Plan Establishment in Discrete Probability Distribution Using Mathematical Software

สุทธิรัตน์ สุขสวัสดิ์ (Suthirat Sooksawat)*
ดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (Adisak Pongpullponsak)**


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการสอนเรื่องแจกแจงความน่าจะเป็นชนิดไม่ต่อเนื่องโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติ หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนการสอนที่สร้างขึ้น ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากแผนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากแผนการสอนแบบปกติ กลุ่มที่เรียนด้วยแผนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับ ดีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ระดับ สูงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่มพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


The purpose of this research are to establish a teaching plan in discrete probability distribution using mathematical software to determine efficiency of teaching plan, and to compare learning effectiveness, learning behaviors and motivation – to – success between groups of students who used mathematical software and conventional groups. The result indicated that the teaching plan in discrete probability distribution using mathematical software is more efficient than the conventional method. We found that students using mathematical software, had learning effectiveness and learning behaviors in “Good” level and motivation – to – success in “High” level. The studies of learning effectiveness, learning behaviors and motivation – to – success of learners from two groups are different with significant level 0.05

*นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี**รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น