++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์เคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105

Effect of Organic-Chemical Fertilizer on Growth and Yield of KDML 105 Rice

มนตรี วันตาแสง (Montree Wantasang)*

ดร.จักรกฤษณ์ หอมจันทน์ (Dr. Juckgrit Homchan)**

ดร.นิวัต เหลืองชัยศรี (Dr.Niwat Luangchisri)***

ดร.ปรีชา นีระ (Dr. Precha Neera)****

บทคัดย่อ

ทำการทดลองที่แปลงนาเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนมิถุนายน- ธันวาคม 2547 และ 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์เคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ มี 8 ตำรับทดลอง ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย, ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กก./ไร่ ในปีที่ 1 และอัตรา 30 ../ไร่ในปีที่ 2, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 9-8-4 อัตรา 50 ../ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 7-5-3 อัตรา 50 ../ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 9-9-4 อัตรา 50 ../ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 6-7-2 อัตรา 50 ../ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 8-8-4 อัตรา 50 ../ไร่, ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตร 5-5-3 อัตรา 50 ../ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตรต่างๆสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว 50-80% ทั้งสองปีการทดลอง การใช้วัสดุอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมี 30-70% โดยผลผลิตไม่ต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมีล้วนๆ

ABSTRACT

Two consecutive experiments were conducted in farmer’s paddy field at Khon Kean Province during June 2004-2005 to investigate the effect of Organic-chemical fertilizer on growth and yield of KDML 105 rice. Eight treatments i.e. 1) control (no fertilizer), 2) chemical fertilizer 16-16-8 50 kg/rai and 30 kg/rai in the 1st and 2nd year respectively, 3-8) organic-chemical fertilizer analysis 9-8-4, 7-5-3, 9-9-4, 6-7-2, 8-8-4, 5-5-3, N-P2O5-K2O respectively, rate 50 kg/rai were laid out in RCBD experimental design with 3 replications. The result showed that application of chemical fertilizer or organic-chemical fertilizers were able to increase rice yield 50-80% in both experimental years Mixing of organic materials with chemical fertilizer could decrease chemical fertilizer 30-70% without significant decreasing of grain yield as compare to application of chemical fertilizer

*นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

*** นักวิชาการเกษตร ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

1 ความคิดเห็น: