++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

“สุทธิ อัฌชาศัย” นักสู้ภูธรทุ่มเทเพื่อรักษาสวล.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


      
       “ สุทธิ อัฌชาศัย” นักสู้ภูธร ที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง แม้จะมีอันตรายรอบด้าน ก็ไม่เคยหวั่น พร้อมยืนหยัดแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ประกาศ จะเดินหน้าร่วมทำการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
      
       เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “นายสุทธิ อัฌชาศัย “ในภาคตะวันออก การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม การทำงานมวลชนที่อยู่ฝ่ายประชาชน ทำให้ทุกคนคงรู้จักชื่อผู้ชายคนนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นบุคคลที่มีจิตใจแน่วแน่ ที่จะต่อสู้ให้แก่พ่อแม่พี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อนมาโดยตลอด
      
       รั้วม.รามฯแหล่งบ่มเพาะตัวตน”สุทธิ”
      
       นายสุทธิ เล่าถึง การเข้ามาทำงานเพื่อสังคมว่า เริ่มต้นจากที่เป็นนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งในขณะนั้นได้ร่วมทำกิจกรรมนักศึกษามาโดยตลอด ในการออกค่ายกิจกรรมอาสาพัฒนาชนบท ที่มีกลุ่ม นายสุวิทย์ วัดหนู เป็นวิทยากร พร้อมด้วยนายพิภพ ธงไชย และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ โดยช่วงนั้นทำเรื่องสมัชชาคนจน ที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
      
       ดังนั้น เพื่อต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไข จึงได้ทำกิจกรรมดังกล่าวเรื่อยมา โดยทำงานร่วมกับ นายสุวิทย์ วัดหนู อย่างจริงจังในช่วงปี 2539 ในสมัยทำงานในมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเรื่องสลัม ทำให้ตนมีความสนิทสนม และถือว่าเป็นอาจารย์ในการสั่งสอนและแนวความคิดในการทำงานกับชุมชนที่ด้อยโอ กาส นอกจากนั้นนายสุวิทย์ เป็นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และได้มีโอกาสรู้จักกับนายสุริยะใส กตะศิลา ซึ่งมีตำแหน่งผู้เป็นประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนมีความสนิทสนมกันเรื่อยมาในฐานนะพี่น้องที่ทำงานรูปแบบเดียวกัน จนกลายเป็นเส้นทางที่ตนกระโดดเข้ามายืน ณ จุดนี้ได้ในปัจจุบัน
      
       นอกจากนั้น นายพิภพ ธงไชย และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก็เป็นอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานให้แก่ตนด้วย ทำให้ทำงานใกล้ชิดกันมาโดยตลอด ตนจึงมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับ 3 คนเป็นอย่างดีในการและประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเลยมา
      
       กลับบ้านเกิดช่วยชุมชนจากมลพิษ
      
       หลังจากนั้นก็หันไปทำงานด้านองค์กรพัฒนาเอกชน( NGO )ในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์ โดยทำงานเรื่องของการพัฒนาคนด้อยโอกาสในสังคม กับหลายๆมูลนิธิ เมื่อทำได้ในระยะหนึ่งก็กลับบ้านเกิดในพื้นที่จังหวัดระยอง ในช่วงปี 2546 เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่บ้านเกิด กำลังจะได้รับความเดือดร้อน เราจึงควรจะเข้ามาทำประโยชน์ให้แก่บ้านเกิดบ้าง เพราะที่ผ่านมาได้ไปช่วยพื้นที่อื่นๆมามากแล้ว
      
       นอกจากนี้ เห็นว่าพื้นที่จังหวัดระยองก็มีปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความเจ็บป่วยของพ่อแม่พี่น้อง ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบทุกภาคส่วน ที่สำคัญยังมีนักฉกฉวยที่เข้ามาแก้ไขปัญหา แต่กับรับเงินจากนายทุน โดยแกล้งเข้ามาต่อสู้เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง แต่สุดท้ายก็เรียกร้องและรับเงินจากนายทุนแล้วก็เลิกบทบาทดังกล่าวโดยสิ้นเช ิง
      
       ตนเห็นปัญหาดังกล่าว จึงตั้งความหวังว่าจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องให้ได้ โดยในช่วงแรกได้ใช้เงินทุน จากเงินกองทุนของสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเขียนโครงการ” เมืองน่าอยู่” และได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าว มาร่วมงานกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( คอช.) โดยทำงานชุมชนและรู้จักกับชุมชนต่างๆ เช่น โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรม การทำโครงการบ้านมั่นคง โครงการอนุรักษ์ลำคลอง ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2548
      
       หวังพึ่งเครือข่าย”ทักษิณ”แต่ทำผิดหวัง
      
       ในช่วงปี 2548 จังหวัดระยองเริ่มมีปัญหา เรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ เนื่องจากภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงถูกกลุ่มโรงงานแย่งชิงน้ำไป ซึ่งสมัยนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีโครงการให้ผันน้ำทุกแหล่งน้ำให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเรากับรัฐบาลเป็นครั้งแรก
      
       ในขณะมีปัญหา ตนเคยรู้จักกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งเป็นรุ่นพี่ในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเป็นนายกองค์การมหาวิทยาลัย (อสมล.) และทำงานให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายอดิสร เพียงเกษ จึงให้นายจตุพร พาเข้าไปพบกับ นายภูมิธรรม เวชยไชย รัฐมนตรีที่กำกับดูแลในสมัยนั้น
      
       การเข้าพบครั้งนั้น นายภูมิธรรม ก็ได้รับปากว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยคาดหวังว่าจะได้รับการแก้ไขในเรื่องนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กับกระทำตรงกันข้าม และไม่ฟังเสียงประชาชนเลย จึงเกิดความขัดแย้งที่ค่อนข้างจะชัดเจน โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคดังกล่าว
      
       โดดร่วมพันธมิตรฯขับไล่”ระบอบทักษิณ”-สู้เพื่อชาติ
      
       ประกอบกับในเวลานั้น มีรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ สัญจร ที่หอใหญ่ธรรมศาสตร์ ครั้งแรก ที่ดำเนินรายการโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล กับคุณสโรชา หลังจากที่มีปัญหาถูกรัฐบาลดังกล่าวกลั่นแกล้ง จนต้องสัญจรออกมาจัดรายการนอกพื้นที่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวใกล้เคียงกันจึงต้องการเข้าไปรับฟังข้อมูล และพร้อมจะเสนอปัญหาที่ประสบอยู่ให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์รับรู้รับทราบบ ้าง ซึ่งมีโอกาสได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นให้รับทราบ
      
       ในจังหวะใกล้เคียง คณะกรรมการ ครป. ได้มีการประชุมและมีมติ จะสร้างการเมืองภาคประชาชน เพื่อกำกับการใช้อำนาจรัฐโดยเฉพาะการใช้อำนาจรัฐที่ทำร้ายประชาชน เช่น การทำโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวระยองและพื้นที่ภาคตะวันออก ใน โครงการแย่งชิงน้ำให้แก่ภาคเอกชน
      
       ปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการ ครป. มีมติพร้อมจะร่วมมือกับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมประกาศจัดตั้งเป็น 5 แกนนำขึ้นมาในช่วงนั้นด้วย โดยเครือข่ายภาคตะวันออก ก็อยู่ในส่วนของ ครป. ด้วย
      
       ต่อมาสถานการณ์การเมืองเริ่มรุนแรง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกยึดอำนาจ ทางเครือข่าย ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และสามารถผลักดันรัฐธรรมนูญ ได้ 1 มาตรา คือ มาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ 50 คือ การดำเนินโครงการใดๆที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ย่อมกระทำมิได้ เว้นแต่ต้องทำ EIA. และ SIA . โดยหากหน่วยงานรัฐไม่กระทำตาม ก็สามารถฟ้องร้องได้ ซึ่งเมื่อมีมาตราดังกล่าวเกิดขึ้น โครงการต่างๆได้ชะลอตัวชั่วคราว เนื่องจากมีกฎหมายรัฐธรรมนูญในการรองรับ
      
       ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น คณะกรรมการได้มีการเรียกร้องให้กับรัฐบาลชั่วคราว ( พล.อ.สุรยุทธ์) เพื่อให้แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ,สุขภาพประชาชน ,และให้ทบทวนโครงการขยายและพัฒนาในภูมิภาคนี้ด้วย โดยเน้นด้านการท่องเที่ยว , ให้เชื่อมโยงกับภูมิภาค และเว้นทางลงทุนด้านอุตสาหกรรม
      
       ที่ผ่านมาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดระยองไม่ได้รับการแก ้ไข ไม่ได้ดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้ และหากพรรคพลังประชาชน ที่บริหารงานโดยนายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาและมีเงื่อนไขที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องฟื้นพันธมิตรฯภาค 2 เพื่อปลุกให้ประชาชนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชน มากกว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็เริ่มเรียกร้องและชุมนุมที่หอใหญ่ธรรมศาสตร์เรื่อยมา
      
       การทำกิจกรรม ก็เริ่มอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ และ ส่วนกลาง เพื่อให้ทราบทิศทางและแนวทางในการคัดค้าน เพื่อไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการเคลื่อนไหวไม่มีปัญหาและอุปสรรคแต่อย่างใด ที่ไม่ถูกต่อต้านและคัดค้านจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทำให้การทำงานในพื้นที่จังหวัดระยอง ไม่มีปัญหาและผลกระทบ จึงทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป จนเป็นที่รับรู้ของหน่วยงานต่างๆ และเครือข่ายในพื้นที่ภาคตะวันออก
      
       หลังการต่อสู้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ จนได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง จนมีการเปลี่ยนแปลง และทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งในการจัดตั้งรัฐบาล โดยในช่วงนี้ ก็ต้องตอบคำถามประชาชน ว่า การเมืองนั้นจะต้องกระทำตามเงื่อนไขที่กลุ่มพันธมิตรฯเสนอไว้ หากไม่ดำเนินการก็ต้องต่อสู้กันต่อไป โดยขณะนี้ต้องรอให้การบริหารงานของพรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินการไปก่อนในระยะหนึ่ง หากไม่กระทำตามก็ต้องว่ากันต่อไป
      
       นายสุทธิ บอกทิ้งท้ายว่า การเคลื่อนไหวใหญ่ในการต่อสู้นับจากนี้ ยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่จะมีการเตรียมพร้อม ในการดำเนินการการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นงานทางวิชาการมากขึ้น โดยเป็นการระดมความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งกับประชาชน พร้อมกระกิจกรรมต่างๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย หน่วยงานรัฐที่เข้าไปเอื้อผลประโยชน์ต่อเอกชน

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011708

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น