++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ไขความลับ 4 โรงเรียนสอน “วิทย์-คณิต” ดีเด่น

 .
       เมื่อพูดถึง 2 วิชาแสนจะยากเย็นทั้ง ‘วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์’ เชื่อเหลือเกินว่าเด็กจำนวนไม่น้อยแทบจะต้องร้องยี้ เพราะมันคือยาขมหม้อใหญ่ ของชีวิตวัยเรียนเกือบทุกระดับชั้น ดังนั้นหน้าที่ในการเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองของเด็กๆ ต่อวิชาดังกล่าว จึงตกอยู่ที่ครูผู้สอนเป็นสำคัญ ซึ่งแต่ละโรงเรียนต่างก็พยายามค้นหาแนวทาง จัดกระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการ และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดแก่ของผู้เรียนมากที่สุด
      
       แน่นอนว่า นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น เมื่อมีโรงเรียนถึง 4 แห่งได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) จึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าพลาดที่จะไปทำความรู้จักกัน

อาจารย์วิชัย ต.วัฒนผล
   
       ** ร.ร.อนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
       สัมผัสวิทยาศาสตร์ได้จริงผ่านงาน ‘ค่าย’
       เริ่มที่ ร.ร.อนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ จ.ฉะเชิงเทรา กับรางวัลดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ซึ่ง อาจารย์วิชัย ต.วัฒนผล ผู้อำนวยการโรงเรียน เผยเคล็ดลับว่า วิชาวิทยาศาสตร์หากมองจากชื่อแล้วอาจจะดูเหมือนนามธรรมที่สัมผัสและเข้าถึงย าก ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นหนักที่กิจกรรม การทำโครงงาน และที่โรงเรียนให้ความสำคัญคือการจัด ‘ค่าย’ ด้านวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะค่ายจะเป็นพื้นที่ให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ได้เรียนรู้ สัมผัส ดีกว่าการนั่งเปิดแต่ตำราในห้องเรียนแล้วก็ถามตอบ
       นอกจากนี้ยังสร้างบรรยากาศการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดห้องเรียนให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ตระหนักว่า “วิทยาศาสตร์อยู่ใกล้ตัวเรา” ส่วนสิ่งดึงดูดใจอีกอย่างที่นำมาประยุกต์ร่วมกับการสอนคือการนำแหล่งเรียนชุ มชนอย่าง ‘ปราชญ์ชาวบ้าน’ เข้ามาเป็นผู้ให้ความรู้ในบางแง่มุมนอกเหนือจากตำราเรียน เช่น เรื่องดาราศาสตร์ เป็นต้น
      
       ผอ.โรงเรียนยังบอกอีกว่า สิ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ที่เห็นได้เกือบทุกแห่งในช่ว งที่ผ่านมาคือ เป็นการเรียนวิทยาศาสตร์แห้งมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันจะเน้นให้การเรียนรู้กับธรรมชาติ ได้สัมผัสของจริง หรือการใช้สื่อที่เลียนแบบจากของจริง ซึ่งตรงนี้จะทำให้การเรียนรู้ในเด็กเกิดความตื่นตัว ท ั้งนี้หากโรงเรียนแต่ละแห่งต้องการจะให้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้แ ละน่าสนใจสำหรับเด็กนั้น ตัวของผู้บริหาร ครูอาจารย์ก็ต้องมีการคิดนอกกรอบบ้าง และต้องมีการตื่นตัวเพื่อให้ทันกับสื่อที่เกิดขึ้นโดยตลอด หากทำได้วิทยาศาสตร์ก็จะกลายเป็นวิชาที่สนุกสนานขึ้นมาได้

   
(ซ้าย) อาจารย์จันทิมา วัชระคุปต์ (ขวา) อาจารย์มานะ อุนารัตน์
       ** ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา
       ปรับเข้มหลักสูตรรองรับศักยภาพเด็ก
       ตามด้วย ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดย อาจารย์มานะ อุนารัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และ อาจารย์จันทิมา วัชระคุปต์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้เผยถึงที่มาของรางวัลว่า ทางโรงเรียนสนับสนุนส่งเสริมเด็กที่มีความพร้อม และให้ความสนใจกับคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ ผ่านหลายหลักสูตรเช่น คณิตศาสตร์เข้ม หลักสูตรคณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งท างโรงเรียนจะพยายามปรับหลักสูตรให้มีขีดความสามารถสูงกว่าหลักสูตรกระทรวงศึ กษาธิการ โดยเกิดจากการวิเคราะห์เนื้อหาที่ทำไว้รองรับสำหรับเด็กที่พร้อมจะเรียนในหล ักสูตรที่สูงขึ้น ทำให้ที่ผ่านมาโรงเรียนได้ส่งตัวแทนไปแข่งขันคณิตศาสตร์ในระดับสากลมาโดยตลอ ด
      
       อ.จันทิมา เสริมว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์นั้นจะปูพื้นฐานให้เด็กอย่างมั่นคง เพื่อส่งต่อขึ้นไปทุกระดับชั้น ครูผู้สอนจะเป็นผู้สังเกตแววของเด็กแต่ละคน หากเห็นว่าเด็กมีแววความสามารถเกิดขึ้นก็จะดึงเข้ามาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง นอกจากการเรียนการสอนแล้วยังมีการจัดสอบนักเรียน โดยแบ่งเนื้อหาที่จะทดสอบคือ การคิดคำนวณ โจทย์ปัญหา กระบวนการคิด และคิดเลขเร็ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผลที่ได้รับกลับมาคือความสำเร็จของนักเรียน จนทำให้นักเรียนของโรงเรียนสามารถเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์ โลกมาเป็นเวลา 9 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2542 - 2551 และได้รับรางวัลผลงานด้านคณิตศาสตร์อยู่เป็นประจำ
      
       “ การที่ต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนในไทยนั้นเราต้องมองดูจากประเทศรอบข้างเราด ้วย เพราะบางอย่างของเรายังช้ากว่าเพื่อนบ้านอยู่มาก ดังนั้นเด็กเองก็ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ผู้ปกครองก็ต้องให้การสนับสนุน เอาใจใส่ และควรมีการจัดเพิ่มโครงสร้างเวลาเรียนสำหรับเด็กที่มีแววในทุกด้าน นอกจากนี้สิ่งที่ต้องการอยากให้เกิดขึ้นคือการส่งเสริมให้มีโรงเรียนสอนวิทย ์ - คณิตตั้งแต่ระดับประถมฯ เพราะทุกวันนี้จะมีก็แต่ระดับมัธยมฯ เท่านั้น อีกทั้งการกระจายตัวของโรงเรียนเหล่านี้ควรกระจายตามภูมิภาคด้วย เพื่อจะทำให้เด็กในภูมิภาคได้รับการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกับเด็กในเมืองหลวง ตรงนี้เห็นว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในตัวเด็กได้ดีที่สุดทางหนึ่ง” หน.กลุ่มสาระการเรียนคณิตศาสตร์ แนะนำ

อาจารย์สุวิทย์ ซื่อตรง
   
       ** ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
       ติดตาม ประเมิน ครู-นร. แนวทางเรียนวิทย์ฯ คุณภาพ
       ทางฝั่งของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่าง ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี กับรางวัลดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ อาจารย์สุวิทย์ ซื่อตรง ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้รายละเอียดว่า จากปรัชญาของโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนซึ่งมีถึง 27 แห่ง และสื่อเทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนี้แล้วยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรครูในรูปแบบต่างๆ เช่น การส่งครูเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ การฝึกอบรมครูทั้งในนอกและนอกโรงเรียน เพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรม
      
       ทั้งนี้ทางโรงเรียนจะมีการติดตาม นิเทศก์ครู ประเมินผลการสอน ในลักษณะของรายงานการวิจัย เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการสอน ให้ดำเนินไปตามแผนการเรียนรู้ที่ได้วางไว้ และเมื่อบุคลากรมีการพัฒนาแล้ว ก็ตามด้วยการให้ขวัญกำลังใจผ่าน “สัมฤทธิบัตร” เพื่อให้ไว้เป็นเกียรติแก่ครูที่มีการสอนดีเด่น
      
       ในส่วนของการพัฒนานักเรียนนั้น ผอ.สุวิทย์อธิบายว่า โรงเรียนมีโครงการ Gifted หรือ การคัดเลือกความสามารถพิเศษเฉพาะทาง ซึ่งมีกระบวนการคัดกรองเด็กด้านต่างๆ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ โดยจะถูกคัดเลือกผ่านกระบวนการสอบ การสัมภาษณ์ จากนั้นจะจัดหลักสูตร กิจกรรมเพื่อสนองเด็กความสามารเฉพาะทางเหล่านี้ และเนื่องจากที่นี่เป็นโรงเรียนประจำ จึงทำให้การเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มที่ ทั้งในเวลาปกติและนอกเวลา โดยจัดครูชุดพิเศษ หรือเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยภายนอกเข้ามาสอน จากนั้นก็จะทำการประเมินนักเรียนผ่านรายงานการวิจัยเช่นกัน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะได้นำไปปรับ เปลี่ยนในส่วนที่ยังขาด เพื่อการพัฒนาต่อไป เมื่อมีการประเมินอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ก็จะทำให้ทั้งเด็กและ ครูเกิดความตื่นตัว ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือผลการประเมินมาตรฐานโรงเรียนของ สมศ.จะอยู่ในขั้นดีมากทุกมาตรฐาน
      
       “ หากเป็นไปได้ภาครัฐ หรือหน่วยงานการศึกษาต้องส่งเสริมมันสมองของประเทศอย่างต่อเนื่อง ต้องเร่งสร้างแหล่งเรียนรู้ พร้อมทั้งสื่ออุปกรณ์ อีกทั้งต้องสามารถคัดกรองครูผู้สอน โดยฝ่ายบริหารของโรงเรียนแต่ละแห่ง ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะบางแห่งอาจได้ครูที่ไม่ตรงกับความต้องการ นอกจากนี้ในโรงเรียนเองต้องนำกระบวนการเชิงพัฒนาคุณภาพมาใช้ ด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการเข้ามานิเทศก์การสอน นักเรียนก็มีสิทธิ์ในการวิจารณ์การสอนของครู และครูเองก็มีสิทธิ์ที่จะวิจารณ์การสอนซึ่งกันและกัน แต่ต้องเป็นไปในแบบกัลยาณมิตร ไม่ใช่ตำหนิกัน ตรงนี้จะเป็นการวางแนวทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ที่ดีที่สุดทางหนึ่ง” ผอ.สุวัฒน์ ฝาก

   
อาจารย์ธราภรณ์ ตันเจริญ
       ** ร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
       เรียนเลข บูรณาการกับชีวิตจริง
       ปิดท้ายกันที่ โรงเรียนรางวัลดีเด่นด้านคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งได้แก่ ร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จ.น่าน ซึ่ง อาจารย์ธราภรณ์ ตันเจริญ หัวหน้ากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เผยความสำเร็จว่า สิ่งที่โรงเรียนเน้นคือการสอนวิชาการควบคู่กับการบูรณาการกับความเป็นจริงภา ยในท้องถิ่น เช่น โรงเรียนมีการนำหลักสูตรของ สสวท. อย่าง โปรแกรมจีเอสพี ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างสรรค์ความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยการใช้ลายเส้น รูปทรงเลขาคณิตมาประยุกต์เข้ากับ ‘ผ้าน่าน’ ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่ปกติจะทอโดยใช้ลายน้ำไหล แต่นักเรียนได้นำลายที่ออกแบบจากโปรแกรมจีเอสพีมาแทนที่ลายเดิม ตรงนี้จะทำให้เด็กรู้จักประยุกต์เอาคณิตศาสตร์มาบูรณาการร่วมกับวิถีชุมชน
      
       “ การสอนจะไม่เน้นแต่ในห้องเพียงอย่างเดียว จะสอดแทรกโดยให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ สนับสนุนให้เด็กนำวิชาการมาปรับเป็นโครงงาน ซึ่งโครงงานนี้เองจะเป็นตัวกระตุ้นความคิดที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และสามารถปฏิบัติจริงได้ เป็นการพัฒนาที่ตัวเด็กไปเรื่อยๆ” อ.ธราภรณ์ อธิบาย
      
       ถึงตรงนี้ อ.ธราภรณ์ ยังฝากถึงการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันไว้ด้วยว่า ตัวของผู้ปกครองเองมีส่วนในการผลักดันเด็ก แต่สิ่งที่ผู้ปกครองต้องการคือวิชาความรู้ที่อัดแน่น เน้นไปที่ผลการสอบ เกรดเฉลี่ย โดยไม่คิดที่จะเสริมในด้านการใช้ชีวิต ซึ่งสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นกับเด็กไทย เ พราะฉะนั้นในฐานะที่เป็นครู จึงมีหน้าที่เติมเต็มในส่วนที่เด็กขาดหายไป ควบคู่กับการเสริมจริยธรรม เพื่อหลอมรวมกันไปได้ เราไม่เน้นเด็กที่หัวโตแต่วิชาความรู้ แต่ต้องรู้จักคิดเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคณิตศาสตร์ก็จะง่ายมากยิ่งขึ้นหากรู้จักนำมาใช้เชื่อมโยงในทางที่ถูกต้อ ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007697

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น