++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Developing Tests of Analytical-Thinking Reading Ability and Communicative Writing Ability of Matthayomsueksa 6 Students

ฉวีวรรณ ไวพจน์ (Chaweewan Waiphot)*ดร.บุญชม ศรีสะอาด (Dr. Boonchom Srisa-ard)**ทองพูน โพโสลี (Thongpoon Posolee)***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 ประกอบด้วยแบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ คือ แบบทดสอบ วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ แบบเลือกตอบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ แบบเขียนตอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาแบบทดสอบได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2548 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ทำการทดสอบ 3 ครั้ง การทดสอบครั้งที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ คัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบ ครั้งที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน เพื่อหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง การทดสอบครั้งที่ 3 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ทำการทดสอบเพื่อหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ค่าความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบ และสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจ ตั้งแต่ .80 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ .24 ถึง .80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ถึง .54 แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการเขียนสื่อความ แบบเลือกตอบ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจตั้งแต่ .80 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ .22 ถึง .80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21 ถึง .50 แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ แบบเขียนตอบ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ค่าความยากง่ายตั้งแต่ .64 ถึง .74 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .24 ถึง .48 ซึ่งเข้าเกณฑ์มาตรฐานทุกข้อ2. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ หาโดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (Known-Group Technique) จำแนกระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสูง กับกลุ่มที่มีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความต่ำ พบว่ากลุ่มที่มีความสามารถสูงมีค่าเฉลี่ยความสามารถ สูงกว่ากลุ่มที่มีความสามารถต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าทั้ง 3 ฉบับ มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง3. ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ คำนวณโดยใช้สูตร KR20 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .79 แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ แบบเลือกตอบ คำนวณโดยใช้สูตร KR20 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .47 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ แบบเขียนตอบ คำนวณโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (α- Coefficient) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80

ABSTRACT

This study aimed to develop 3 tests of analytical–thinking reading ability and communicative writing ability of Matthayomsueksa 6 (grade 12) students : a multiple-choice test of analytical-thinking reading ability, a multiple-choice test of communicative writing ability, and an essay-writing test of communicative writing ability. The samples used for developing these tests were obtained by the multi-stage random sampling technique from Matthayomsueksa 6 students in the acadimic year 2005 attending schools under the Office of Roi Et Educational Service Area Zone 1. The students were tested 3 times. Testing 1 used the sample of 100 students for checking qualities in terms of difficulties and discriminating powers, and for screening and improving test items. Testing 2 used the sample of 100 students for finding out difficulties, discriminating powers, and construct validities of the tests. Testing 3 used the sample of 400 students. The tests were administered to find out difficulties, discriminating powers, and reliabilities of the tests, and to construct norms of the tests.
The results of the study were as follows :1. The test of analytical-thinking reading ability had face validities ranging .80-1.00, difficulties ranging .24-.80, and discriminating powers ranging .20-.54. The multiple-choice test of communicative writing ability had face validities ranging .80-1.00, difficulties ranging .22-.80, and discriminating powers ranging .21-.50. The essay-writing test of communicative writing ability had a face validity of 1.00 equally in every item, difficulties ranging .64-.74, and discriminating powers ranging .24-.48, which every item met the standard criteria.2. The construct validities of all the 3 tests were calculated by using the Known-Group Technique for classifying the group with high and the group with low analytical-thinking reading and communicative writing abilities, it was found that the group with high abilities had higher ability mean scores than the group with low abilities at the .05 level of significance, which means all of the 3 tests are valid.3. The reliability of the test of analytical-thinking reading ability as calculated by using KR20 formula had a reliability of .79. The multiple-choice test of communicative writing ability as calculated by using KR20 formula had a reliability of .47. And the essay-writing test of communicative writing ability as calculated by using -Coefficient had a reliability of .80. α

* นักศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
*** ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนสตรีศึกษา 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1



จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น