++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เทคนิคคลายเครียด แบบฉบับ นศ.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
       ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาคนไทยต้องพบกับสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวาย จนส่งผลกระทบต่อสภาวะทางอารมณ์และจิตใจ ทำให้หลายคนกังวล และเครียด สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กรณี เรื่องอะไร ณ วันนี้ ที่ทำให้ความสุขปีใหม่ของคนไทย “ลดลง”
      
       28.01% มาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ/การลงทุนหยุดชะงัก 22.62%ปัญหาทางการเมือง/การทะเลาะเบาะแว้งของนักการเมือง12.96%ความแตกแยกขอ งคนในชาติ/การขาดความสามัคคี10.17%ปัญหาปากท้อง /ค่าครองชีพสูงขึ้น /รายได้ไม่พอกับรายจ่าย8.38%ปัญหาการว่างงาน /ตกงาน4.71%ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน / โจร ผู้ร้ายมากขึ้น
      
       ด้วยปัญหาเหล่านี้ อาจทำให้หลายคนต้องหาวิธีคลายเครียดให้จิตใจปลอดโปร่งจะมีกำลังใจที่จะดำเนิ นชีวิตต่อไปในสังคม ทั้งนี้เราลองมาดูวิธีคลายเครียดของ วัยรุ่น นักศึกษาสมัยนี้ดูซิว่า พวกเขาจะมีวิธีขจัดความเครียดได้เด็ดสะระตี่แค่ไหน
      
       เริ่มต้นที่ หนุ่มนักดนตรี อย่าง “เป้” สฐิร จุฬาพงษ์นิช นักศึกษาชั้นปี 4 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึงเคล็ด(ไม่)ลับ ที่ว่า เวลาเครียดให้นึกถึงเสียงเพลง
      
       “ การฟังเพลงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับเรื่องที่กำลังเครียด และพยายามหาเพลงที่เหมาะสมกับตัวเอง อย่างเวลาที่เราเครียดเรื่องเรียน ลองเพลงที่สนุกมานั่งฟัง ไม่ต้องสนใจว่าเนื้อเพลงจะเป็นอย่างไร ขอให้ทำนองสนุก และดึงให้เราหลุดออกจากช่วงเวลาเครียดได้ ให้เรากระตือรือร้นที่อยากจะเรียนต่อ ส่วนใครที่เครียดเรื่องความรัก เรื่องเพื่อน ต้องเพลงที่ให้กำลังใจ แต่สำหรับผมเวลาที่เจอปัญหาแบบนี้ จะชอบฟังเพลงช้า อย่างเวลาอกหัก เพื่อนทิ้ง ก็จะนั่งฟังเพลงอกหัก มันจะย้ำความรู้สึกเรา ให้ลุกขึ้นมาทำอะไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม ฟังเพื่อให้ทุกอย่างมันชัดเจนขึ้น ส่วนเวลาที่เพื่อนมีปัญหา ผมจะไม่เข้าไปถามปัญหา แต่จะช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้น ช่วยเพื่อนทำกิจกรรม หรือไปก็พาไปร้องเพลง”
      
       มาต่อกันด้วย (ว่าที่) พ่อครัวคนเก่ง อย่าง “ตู้” ทศพร ลิ้มดำเนิน นักศึกษาชั้นปี 3 หลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต บอกว่า อาหารรสชาติอร่อยๆ จะช่วยให้คลายเครียดได้
      
       “ เวลาที่เครียดเรื่องงาน เรื่องเรียน จะต้องหยุดทุกอย่าง ให้เวลากับตัวเองให้มากขึ้น ด้วยวิธีการหาขนมอร่อยๆ รับประทาน อย่างเช่น หวานเย็น ไอศกรีม ก็จะช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น เย็น สบาย ไม่จำเป็นต้องหาร้านประจำ แค่เห็นรถไอศรีมวิ่งผ่านก็รับประทานได้แล้ว”
      
       ตู้บอกว่า ต่อว่า เวลาที่เข้าครัวทำอาหารในชั้นเรียน จะต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง เพราะอาจารย์จะสอนเสมอว่า เวลาที่ทำอาหารจะต้องใส่ใจ ห้ามมีเรื่องไม่ดีอยู่ในสมอง เพราะอารมณ์และความรู้สึกจะมีผลต่ออาหาร
      
       ถัดมาที่ประธานชมรมถ่ายภาพ “ป๋อง” อาทิตย์ มินขุนทด นักศึกษาชั้นปี 4 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ที่ใช้วิธีการถ่ายภาพยามเย็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นจุดคลายเครียดให้กับตัวเอง
      
       “ เวลาที่รู้สึกว่าตัวเองเครียด หรือไม่มีสมาธิในการทำงาน ก็จะหยิบกล้อง ไม่ต้องนั่งรถเมล์ หรือโบกรถ เดินไปเรื่อยๆ สถานที่ไหนชอบมากก็จะหยุดรอจนกว่าพระอาทิตย์จะตกดิน ส่วนสถานที่ที่ทำให้คลายเครียดได้เป็นอย่างดี ก็จะมี ถนนพระอาทิตย์ สนามหลวง สะพานพระรามแปด เพราะเวลาที่เรามองภาพถ่ายที่อยู่ในกล้อง จะทำให้ยิ้มได้ ซึ่งเราสามารถเก็บภาพเหล่านี้ไว้ในความทรงจำ เวลาว่างเราก็หยิบขึ้นมาดูได้”
      
       ด้วยวิธีคลายเครียดแบบฉบับของหนุ่มช่างภาพคนนี้ กลายเป็นต้นแบบที่ดีให้กับรุ่นน้องในชมรมถ่ายภาพ “ ปกติ ผมเป็นคนไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยแนะนำใคร เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่เราแนะนำเขาไป จะช่วยให้เขาดีขึ้นหรือแย่ลง แต่สิ่งที่ทำให้เพื่อนๆ น้องๆ รู้สึกดีที่ยึดเอาแบบอย่างเราเป็นตัวปฏิบัติ ก็รู้สึกภูมิใจที่ทำให้คนที่เครียด กลับมีรอยยิ้มขึ้นมาได้”
      
       ท้ายสุดที่ สาวนักกิจกรรม อย่าง  “จัมพ์” กุลฑลี เกษมสวัสดิ์ นิสิตสาวชั้นปี 4 คณะการจัดการระบบสารสนเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มักจะหาวิธีคลายเครียดด้วยการเข้าร่วมโครงการอาสาสมัคร ร่วมทำประโยชน์ให้กับสังคม มาเป็นเวลา 5 ปี
      
       “ เวลาที่ออกไปทำหน้าที่อาสาสมัคร ไม่ว่าจะโครงการไหนก็ตาม จะช่วยให้เรารู้สึกดี เพราะทำให้เรารู้สึกว่า สิ่งที่เราทำนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวเราแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น พอเราเห็นรอยยิ้มที่ได้รับกลับมา มันทำให้เรามีกำลังใจ และไม่ท้อแท้”
      
       ส่วนเวลาเรียน หรือเวลาทำงาน นอกเหนือจากการทำกิจกรรม จัมพ์ จะหาวิธีคลายเครียดด้วยการนั่งฟังเพื่อนระบายความในใจ “ ตอนนี้เรียนปี4 แล้ว งานก็จะเยอะขึ้น ถ้าวันไหนที่เครียดเรื่องรายงาน หรือการบ้านที่เป็นงานชิ้นใหญ่ก็จะยาก แต่ก็หยุดพัก ทำใจให้สบาย แล้วค่อยกลับมาสู้กับการทำงานรายงานต่อ หรือถ้าวันไหนเพื่อนเครียด ก็จะนั่งฟังเพื่อน เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่แสดงความคิดเห็นใด หลังจากนั้นเราก็ช่วยเพื่อนออกไปทำกิจกรรม”

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011087

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น