++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"ซัมซุงมหาอานาจอิเล็กทรอนิกส์"


"ซัมซุงมหาอานาจอิเล็กทรอนิกส์" จนวันก่อนเห็นข่าวยอดขายสมาร์ทโฟนของ"ซัมซุง" ชนะ "ไอโฟน" ของ "แอปเปิล" แล้ว ผมจึงหยิบหนังสือเล่มนี้มาพลิกอ่านอีกครั้ง...คนรุ่นใหม่อาจไม่แปลกใจในปรากฏการณ์นี้มากนักแต่คนอายุ30 ปีขึ้นไปที่ยังจาภาพ"ซัมซุง" ในอดีตได้คงแปลกใจ เพราะในอดีต ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ซัมซุง คือสินค้าราคาถูกเกรดต่ากว่าสินค้าจากญี่ปุ่นแต่เพียงชั่วเวลาไม่นาน"ซัมซุง" กลับกลายเป็นสินค้าเกรดเอ... โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเมื่อประมาณ10 กว่าปีก่อนของ"ซัมซุง" โชว์นวัตกรรม "จอสี" และเสียงโทร.เข้าที่ไพเราะกว่าเสียงโมโนโทนเหนือกว่า"โนเกีย" ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในยุคนั้นคุยกับผู้บริหาร"เอไอเอส" ในยุคนั้นเขายังบ่นเลยว่า"ซัมซุง" กล้าหาญมากที่ตั้งราคาสูงกว่ามือถือทั่วไปทั้งที่ใช้แบรนด์"ซัมซุง" แต่สุดท้าย"ซัมซุง" รุ่นนั้นก็ประสบความสาเร็จจากวันนั้นเป็นต้นมา "ซัมซุง" ก็ไม่ใช่"ซัมซุง" ที่เราคุ้นเคย... เขาเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ไม่ผลิตสินค้าเกรดต่าราคาถูกอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ตู้เย็นหรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ สินค้า "ซัมซุง" กลายเป็นสินค้าคุณภาพที่โชว์เหนือเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดจาก "ลีกอน ฮี" ที่รับสืบทอดกิจการมาจากรุ่นพ่อ"ลีเบียงชอล" ผมพลิกหนังสือเล่มนี้แบบอ่านเล่นไม่ได้อ่านจริงจังแต่กลับพบเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นคาถา"ซัมซุง ที่ "พ่อ" มอบให้กับ"ลูก" วันที่"ลีเบียงชอล" ประกาศว่าผู้สืบทอดกิจการ"ซัมซุง" คือ"ลี กอน ฮี" บุตรชายคนที่3 เขาเรียกลูกชายมาที่ห้องทางานแล้วหยิบพู่กันจุ่มหมึกเขียนข้อความสั้นๆ "จง รับ ฟัง" นี่คือคาถาข้อแรกของการเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กรใหญ่ที่"พ่อ" มอบให้กับ"ลูก" "ลีเบียงชอล" รู้ซึ้งถึงสัจธรรมของ"อานาจ" ว่ายิ่งมีอานาจมากยิ่งรับฟังน้อยลงและเมื่อ"พูด" มากกว่า "ฟัง"...." ความรู้ใหม่" ก็ไม่เกิด"ลาร์ลี่คิง" นักพูดชื่อดังเคยบอกว่า "เราไม่เคยฉลาดขึ้น จากการพูด" มีแต่การฟังเท่านั้นที่จะได้"ความรู้" จากผู้อื่น เขาจึงเตือน "ลีกอน ฮี" ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนรู้งานในตาแหน่ง"ประธาน" ในวันที่"ลีกวน ฮี" มีอานาจเต็มใน "ซัมซุง" เขาจึงเป็นคนที่ได้รับคาชมอย่างมากว่าเป็น"ผู้ฟัง" ที่ดี.. ทั้งที่"ลีกวน ฮี" เป็นคนพูดเก่ง เขาสามารถบรรยายติดต่อกัน3-4 ชั่วโมงได้อย่างสบาย แต่"จุดเด่น" ของเขากลับอยู่ที่การรับฟังฟังเพื่อนนักธุรกิจฟังนักวิชาการฟังผู้บริหารฟังพนักงาน ฯลฯ จากนั้นจึงเริ่มตั้งคาถาม "ทาไม-ทาไม-ทาไมฯลฯ" ว่ากันทุกปัญหา"ลีกวน ฮี" จะตั้งคาถามว่า"ทาไม" อย่างน้อย 6 คาถามคาถาเรื่อง "จงรับฟัง" นั้น ผมจ าได้ว่า "กานต์ตระกูลฮุน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ"เอสซีจี"หรือ "ปูนซิเมนต์ไทย" เคยบอกว่าตอนที่จะเปลี่ยนองค์กร "เอสซีจี" สู่นวัตกรรม

เขาต้องเข้าอบรมหลักสูตรหนึ่ง ชื่อว่า "การฟัง" สอนให้รู้จักอดทนรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะถ้าไม่มีท่าทีรับฟังก็จะไม่มีลูกน้องคนใดกล้าเสนอความเห็นที่นอกกรอบและองค์กรนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงคาถาบทที่สองที่"ลีเบียงชอล" มอบให้กับลูกชายผู้สืบทอดกิจการก็คือ" ไก่ไม้""ไก่ไม้" คือไม้ที่แกะสลักเป็นตัวไก่ในห้องนอนของเขาจะมี"ไก่ไม้" แขวนอยู่"ไก่ไม้" นั้นมาจากนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือคาสอนของ "จวงจื่อ" ปราชญ์คนหนึ่งของจีนคนเลี้ยงไก่ชนชื่อดังคนหนึ่ง ชื่อ"จี้เซิงจื่อ" เป็นคนเลี้ยงไก่ชนให้กับ"โจว ซวน อ๋อง" วันหนึ่ง "โจว ซวน อ๋อง" นาไก่ชนตัวหนึ่งมาให้เลี้ยง...ผ่านไป 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ก็ถามเขาว่า"ไก่ชนใช้ได้หรือยัง""ยังไม่ได้เพราะมันยังเดินกร่างอยู่ทะนงตนท้าทายไปทั่ว" จี้เซิงจื่อตอบ....... ผ่านไปอีก10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ก็ถามด้วยคาถามเดิม" ไก่ชนใช้ได้แล้วหรือยัง"คาตอบของ "จี้เซิงจื่อ" เหมือนเดิม คือ"ยัง"... แต่เหตุผลเปลี่ยนไป"ยังไม่ได้ตอนนี้ไม่ท้าทายไก่ตัวอื่นแล้วแต่มักจะโดดตีถ้าไก่ตัวอื่นเข้าใกล้"... อีก 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ถามอีก "ไก่ชนใช้ได้หรือยัง""ยังไม่ได้ตอนนี้ไม่โดดตีแล้วและลดความทระนงตนลงแต่สายตายังดุร้ายเหมือนพร้อมจะตีกับไก่ตัวอื่น".... อีก 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ถามด้วยคาถามเดิมครั้งนี้คาตอบมีพัฒนาการ"จีเซิง จื่อ" ตอบว่า พอใช้ได้แล้วเพราะเมื่อไก่ตัวอื่นขันก็ไม่แสดงอาการตอบเป็นราวกับ"ไก่ไม้" "เห็นไก่ตัวอื่นก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ไก่ตัวอื่นเห็นก็ไม่กล้าเข้าใกล้เดินหนีไปหมด"ครับ "ไก่ชน" ที่ดีนั้นไม่ใช่"ไก่" ที่ตีเก่งฮึกเหิมห้าวหาญท้าทีท้าต่อยไปทั่วแต่"ไก่ชน" ที่ดีต้อง "นิ่ง" เป็นสงบสยบเคลื่อนไหวรู้จักเก็บความรู้สึกของตนเองแต่สามารถเปล่งประกายจนไก่ชนตัวอื่นยาเกรงชนะโดยไม่ต้องชนผู้บริหารที่ดีในความหมายของ "ลีเบียงชอล" คือต้องใจเย็นสงบนิ่งในสถานการณ์ที่กดดันให้ได้ "นิ่ง" ...เหมือน "ไก่ไม้"เขามอบ "ไก่ไม้" ให้ลูกชายเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้รู้จัก"นิ่ง""จงรับฟัง" และ"ไก่ไม้" อาจไม่ใช่คาถาที่นาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่"ซัมซุง"แต่เป็นคาถาที่"ลีกวน ฮี" ใช้ในการบริหารงานมาโดยตลอดและนาพา "ซัมซุง" ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2555 เวลา 11:51

    ชอบค่ะ จะนำไปใช้ในการทำงานค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2555 เวลา 18:22

    สุดยอดค่ะ ผู้บริหารที่ดีต้องมีคาถาที่ดีแบบนี้ในใจ

    ตอบลบ