++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มช.อันดับ 1 ใน 5 เว็บไซต์มหา’ลัยชั้นนำ South East Asia




ผลการจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทั่วโลก โดย Webometrics ปี 2555 พบว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขยับดีขึ้นเป็นอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับที่ 5 ของ South East Asia Top 10 อันดับที่ 23 ของ Asia Top 100 และอันดับที่ 230 ของ World Top 8000
     
       รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แจ้งว่า ในปี 2555 Webometrics ได้จัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทั่วโลก ( Webometrics Ranking of World Universities) ซึ่งจากผลการจัดอันดับล่าสุด ครั้งที่ 2 (เดือนกรกฎาคม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดยติดอันดับที่ 230 ของ World Top 8000 อันดับที่ 23 ของ Asia Top 100 อันดับที่ 5 ของ South East Asia Top 10 และอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดยติดอันดับที่ 230 ของ World Top 8000 อันดับที่ 23 ของ Asia Top 100 อันดับที่ 5 ของ South East Asia Top 10 และอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

       โดยเปรียบเทียบการจัดอันดับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้น จากอันดับที่ 236 ของโลก อันดับที่ 26 ของเอเชีย อันดับที่ 7 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยในประเทศ ถือเป็นความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือของคณะและหน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง
       Webometrics เป็นหน่วยงานที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในด้านความเป็น Electronic University (E- University) โดยเป็นการวัดปริมาณเนื้อหาและข้อมูลเชิงวิชาการที่แต่ละมหาวิทยาลัยสร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผ่านทางเว็บไซต์ การปรากฏตัวบนอินเทอร์เน็ต และการดูจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ Link มายังเว็บเพจ หรือวัดผลกระทบการอ้างอิง ตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก (external inlinks หรือ site citations) ซึ่งจะแสดงถึง visibility และ impact ของ web publications นั้น ๆ ดังนั้น Webometrics จึงได้ใช้ จำนวนของ Size , Visibility , Rich File และ Scholar เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับ
     
       ซึ่งในการจัดอันดับใหม่ของ เดือนมกราคม ปี 2555 นี้ ได้มีการเปลี่ยนเกณฑ์การจัดคะแนนโดยมีการกำหนด เกณฑ์ที่ละเอียดลึกลงไปกว่าเดิมดังต่อไปนี้
     
       - Size หมายถึง จำนวนเว็บเพจ จากเว็บไซต์ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ domain เดียวกัน (เช่น .cmu.ac.th) ที่สืบค้นได้โดย Search Engines เกณฑ์ยังคงเดิม
     
       - Visibility มีการแบ่งออกเป็นสองเกณฑ์ย่อยคือ G-factor และ Site Explorer คือการเชื่อมโยง โดยวัดจาก Google และ จากเครื่องมือของทาง Webometrics เอง
     
       - Rich Files หมายถึง จำนวนแฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายใน domain เดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word (doc), MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls) เกณฑ์ยังคงเดิม
     
       - Scholar ได้แบ่งออกเป็นสองส่วนโดยส่วนแรกมาจากการจัดอันดับเกี่ยวกับ Journal ของเว็บไซต์ SCIMAGO (http://www.scimagojr.com) และส่วนที่สองจาก Google Scholar ซึ่งจากเดิมคะแนนทั้งหมดมาจาก Google Scholar เพียงอย่างเดียว
     
       จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทางสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการในการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในรูปแบบใหม่ทั้งหมดและได้จัดตั้งทีมงานเน้นการพัฒนาด้าน Visibility ขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นคะแนนหลักที่มีน้ำหนักการให้คะแนนมากที่สุด นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากสำนักหอสมุดในการจัดทำเว็บไซต์ตามหลัก SEO (Search Engine Optimization) และได้มีการจัดประชุมการจัดทำเว็บไซต์ตามหลัก SEO เพื่อให้คณะ/หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ Webometrics และกระตุ้นให้การจัดอันดับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการจัดอันดับ Ranking Web of World Universities ให้มีอันดับที่สูงขึ้นต่อไป นอกจากนี้ได้มีการนำเข้าข้อมูลการเผยแพร่ทางวิชาการสู่ Google Scholar และการส่งเสริมให้ใช้ชื่อโดเมนหลักเพียงโดเมนเดียวคือ cmu.ac.th เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนความเป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นมาตรฐานสากลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น