++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคประหลาดคล้ายเอดส์ แต่ไม่ใช่เอดส์




นักวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ หรือ NIH ของสหรัฐ เผยแพร่รายงานการวิจัยลงในเวบไซต์ของวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ระบุว่า โรคใหม่คือ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในวัยผู้ใหญ่ หรือ อดัลต์ ออนเซ็ต อิมมูโนดีเฟียนซี ซินโดรม (adult-onset immunodeficiency syndrome) ผู้ป่วยจะมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค และจะมีอาการป่วยคล้ายกับโรคเอดส์ แม้ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อจากคนสู่คน ไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมักเกิดในผู้ใหญ่มีอายุตั้งแต่เกือบ 50 ปีขึ้นไป

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกว่า 200 คนที่ทำการศึกษา จะสร้างสารที่เรียกว่าแอนตี้บอดี้ทำลายตัวเอง ขึ้นมาปิดกั้นอินเตอร์เฟอรอน แกมมา สารโปรตีนในร่างกายที่จะช่วยยับยั้งการติดเชื้อต่าง ๆ ทำให้ร่างกายสามารถติดเชื้อไวรัส รา ปรสิต และโดยเฉพาะแบคทีเรียได้ง่าย ทำให้เชื่อว่าจะสามารถหาทางรักษาโรคนี้ได้ด้วยการพุ่งเป้าไปที่เซลล์ที่ผลิตแอนตี้บอดี้ทำลายตัวเอง (คมชัดลึกออนไลน์ 30 สิงหาคม 2555)




โรคประหลาดคล้ายเอดส์ เป็นโรคที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี พบมานับ 10 ปี เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มมัยโคแบคทีเรีย การติดเชื้อราที่อาการรุนแรง เป็นต้น ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไข้เรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบหลายแห่ง ร่วมกับปอดอักเสบ ฝีตามอวัยวะต่างๆ รวมทั้งผิวหนังอักเสบเป็นหนอง

โรคดังกล่าว ไม่ใช่โรคติดต่อ พบไม่บ่อย และไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติเหมือนอย่างโรคเอดส์ที่รู้ว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง และไม่ได้เกิดจากรับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันต่าง ๆ โรคนี้พบมากในชาวเอเชียรวมทั้งคนไทย มักเกิดในผู้ใหญ่อายุเฉลี่ย 40-50 ปี





การรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน เป็นการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสด้วยยาต้านจุลชีพ ผู้ป่วยอาจมีการดำเนินโรคแตกต่างกัน การรักษาขณะนี้ ทำให้โรคติดเชื้อฉวยโอกาสสงบ แต่อาจมีการกำเริบหรือพบการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆเป็นครั้งคราว

ขณะนี้คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นแพทย์โรคติดเชื้อจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล รวมถึงคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากสถาบันสุขภาพอเมริกา ได้ทำการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อสารอินเตอร์เฟอรอนแกมม่า ทำให้ภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ดังกล่าวผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยจากการติดเชื้อฉวยโอกาสเหล่านั้น ซึ่งขั้นต่อไปคณะผู้วิจัยกำลังวางวิจัยเพื่อให้รู้สาเหตุการก่อโรค เพื่อจะได้วางแผนการรักษาโรคนี้ให้หายขาด




ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรมารับการตรวจตามขั้นตอนจากแพทย์โรคติดเชื้อ เพราะการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแม้ไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ




ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.พญ. ยุพิน ศุพุทธมงคล ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น