++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความกล้าหาญ





                   ไม่ว่าจะเป็นความกล้าหาญทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม หลักก็ไม่ได้ต่างกันคืิอ
หนึ่ง ความรักในความเป็นธรรม ความถูกต้อง และความจริง
สอง ความกล้าที่จะจักยืนทำในสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม รวมถึงเข้าใจโลกและชีวิตอีกด้วย
                   สังคมโลกนับวันๆจะขาดความกล้าหาญเช่นนี้มากขึ้นๆ มีแต่ความเห็นแก่ตัว สุดท้ายมันก็จะทำลาย                                            และทำร้ายตนเอง เพราะไม่เคยที่จะยอมรับความจริงหรือแม้กระทั่งเห็นความจริงเลย
                   นอกจากนั้นอาจลามไปถึงทำให้สังคมฉิบหายได้ ดังที่ได้รู้ได้เห็นกันมาทางสื่อทั่วโลก
                   ที่เขารียกกันเองว่าความกล้าหาญในสิ่งที่เขาทำ ความจริงมันไม่ใช่ มันควรจะเรียกว่ากร้าว เกรียน แว้นมากกว่า
                   เหมือนนึกจะพูดอะไรที่คิดว่าเท่ห์ก็พูดไป พูดอะไรได้เงินไม่ว่าจะผิดแค่ไหนก็พูด พูดทำลายคนอื่นก็พูด แต่หากว่าถามไปว่าพูดไปแล้วได้อะไรจริงๆแก่ใครๆ ก็คงหาคำตอบดีๆให้ไม่ได้
                   แล้วสังคมทั้งใหญ่และเล็กมันจะเป็นเช่นไรถ้ามีแต่คนกล้าหาญประเภทหลังนี้
                   ผู้ประพฤติผู้ปฎิบัติทั้งหลายต่างทำตัวให้เป็นเยี่ยงอย่าง ด้วยการปฎิบัติ เขียนบทความแห่งการสร้างสรรค์โดยเฉพาะจากประสบการณ์อันแท้จริง...อย่างมีกำลัง และชวนให้คนอ่านมีกำลัง..........กำลังใจที่จะกล้าหาญทางจริยธรรม
                   ข้าพเจ้าขอกราบคารวะแด่ท่านว.วชิรเมธี ลุงแสงแห่งเฟซธรรมะทั้งหลาย และลุงVirocana Pawapotakoแห่งเฟซเพื่อนชาวพุทธ ที่น้องพอเพียง มากปลื้มใจและกระตือรือล้นในการอ่านบทความของท่านมาก รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย
                   และขอกราบคารวะความกล้าหาญแแด่ท่านทั้งหลายที่มิได้กล่าวถึงในสังคมออนไลน์นี้ ที่ยังไม่เหือดแห้งจากความเอื้อเฟื้อ...............ความกรุณา

                                                            สาธุชน คนกันเอง
                   ตามหาแก่นธรรมตอนล่าสุด อ่านดูเรียบง่ายๆแต่ก็เห็นด้วยกับท่านผู้เขียนว่าความกล้าหาญทางจริยธรรมมันลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆในทุกๆสังคม แต่ในสังคมเว็บธรรมะของเราน่าจะเพิ่มความกล้าหาญประเภทนี้ให้มากขึ้น เพราะเราเห็นความจริงแห่งความไม่เที่ยงทั้งหลาย ความกล้าหาญประเภทนี้ไม่ใช่ความกล้าที่เกิดจากความกลัวและการยึดติด แต่เป็นความกล้าที่จะสละเวลาแห่งความสุขภายนอกเพื่อจะค้นหาความสุขที่ลึกซึ้งกว่าที่อยู่ภายในกายและใจนี้ ด้วยสัมมามรรคหรือทางสายกลาง เพื่อการตื่นรู้ ขออนุโมทนาและสาธุการครับ
                                                       สะมะชัยโย
คุณธรรม ตามคำสอนของอริสโตเติล วิกีพีเดีย
อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลย์ระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ[1] โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลางๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยทอง ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลา ความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเอง ความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย

อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริญ ที่ได้มีทักษะเในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุข การเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรกๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น