++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จากปางอุ๋งถึงนราฯ “ด้วยเพราะรัก..จากพระราชินี” โครงการพระราชดำริเพื่อคนไทย



กว่า 60 ปี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินติดตามเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วแผ่นดินไทยเพื่อเยี่ยมเยือนราษฎร ทรงรับ

รู้ถึงทุกข์สุขและปัญหาต่างๆของประชาชนอย่างใกล้ชิด อันถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการในพระราชดำริต่างๆ เพื่อให้ความรู้และสร้างอาชีพแก่คนไทย อีกทั้งยังเป็นการ

อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งสะท้อนถึงความรักความห่วงใยของพระองค์ที่มีต่อคนไทยมาโดยตลอด

และเนื่องในวโรกาสปีมหามงคล 2555 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา “ตะลอนเที่ยว” จึงขอพาไปตามรอยแม่

หลวง ใน 10 เส้นทางท่องเที่ยวเด่นๆในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากทั่วประเทศ ซึ่งคัดสรรมาจากโครงการ “ด้วยเพราะรักจากพระราชินี” ที่จัดทำโดยการท่อง

เที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)

ปางอุ๋ง

“โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ปางอุ๋ง” จ.แม่ฮ่องสอน แต่เดิมเป็นป่าเสื่อมโทรม มีปัญหาการขนส่งยาเสพติดชายแดน ถูกบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าและเป็นสถานที่ทำไร่ฝิ่น

ของชาวเขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการหมู่บ้านรวมไทย” ขึ้นในปี 2522

จากวันนั้นหมู่บ้านรวมไทยได้พัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงภูมิทัศน์ จนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม

ขึ้นชื่อ จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยที่หมู่บ้านรวมไทยมีที่พักแบบโฮมสเตย์ หรือสามารถกาง

เต็นท์ได้บริเวณสวนสนริมอ่างเก็บน้ำ


สวนพฤกษศาสตร์แม่ริม แหล่งรวมพันธุ์ไม้มากมาย



สวนพฤกษศาสตร์แม่ริม

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริว่า “...กล้วยไม้ไทยมีความงาม และมีกลิ่นหอมมาก ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากและใกล้สูญพันธุ์ไปทุกขณะ ขอให้

ช่วยกันหาทางรวบรวมและอนุรักษ์ไว้ พร้อมกับการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากพอที่จะคืนสู่ป่าธรรมชาติได้…”

ด้วยเหตุนี้หลายหน่วยงานจึงร่วมกันสนองพระราชดำริ โดยหนึ่งในนั้นก็คือโครงการขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทยหายากเพื่อการอนุรักษ์ฯแห่ง สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนาง

เจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

สวนพฤกษศาสตร์ แม่ริม มีเนื้อที่กว่า 6,500 ไร่ เป็นสถานที่อนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ไม้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่างๆ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด ภายในสวน

มีแปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว อาคารเรือนกระจกที่รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าไว้กว่า 350 ชนิด บางชนิดหาชมยากและใกล้สูญพันธุ์


ผ้าทองดงาม หนึ่งในการส่งเสริมอาชีพบ้านสมพรรัตน์ จ.อุบลฯ



ศิลปะไทยสร้างอาชีพที่อุบลฯ

ในปี 2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรใน อ.บุณฑริก กลุ่มราษฎรได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จักสาน พระองค์จึง

พระราชทานเงินเพื่อเป็นทุนแก่กลุ่มราษฎรดังกล่าว อีกทั้งยังพระราชทานพระราชดำริให้ราษฎรในพื้นที่ทำงานศิลปาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ เป็นอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้

เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงเกิดเป็น “โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสมพรรัตน์” อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านในโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษของสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นหัตถกรรมทอผ้าไหม ผ้าลายกาบบัว

ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าจากบรรพบุรุษ และอนุรักษ์ให้คงอยู่จวบจนปัจจุบัน

ป่ารักน้ำ ส่องดาว

“โครงการป่ารักน้ำ” บ้านถ้ำติ้ว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เกิดขึ้นมาจากการที่ป่าไม้ถูกทำลายโดยมนุษย์ซึ่งมีผลทำให้เกิดฝนแล้ง และเกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา สมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริว่า ป่าไม้เป็นที่ดูดซึมกักเก็บน้ำไว้ในรากใต้ดิน ทำให้เกิดน้ำซับเป็นลำธารขึ้น จึงทรงชักชวนให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกัน

ปลูกป่า และให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมทั้งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่า โดยจัดตั้งโครงการป่ารักน้ำแห่งแรกขึ้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว คือจุด

เริ่มต้นของโครงการป่ารักน้ำแห่งแรก และเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ป่าที่ยั่งยืนโดยประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมทั้งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่า


ตุ๊กตาชาววัง ชุมชนบางเสด็จ



ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบางเสด็จ

“โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ และศูนย์ตุ๊กตาชาววังบางเสด็จ” จ.อ่างทอง สร้างขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2549 ราษฎรในจังหวัดอ่างทอง

จำนวนได้รับผลกระทบและไร้ที่อยู่อาศัย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาเอนกประสงค์สำหรับเป็นที่พัก และทำโครงการ

ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริขึ้นเพื่อช่วยให้ราษฎรมีงานทำ ต่อมาฟาร์มตัวอย่างฯ จึงถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านการเกษตรของอ่างทอง

นอกจากนี้ที่นี่ยังมีศูนย์ตุ๊กตาชาววัง ชุมชนบางเสด็จ อันโด่งดัง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีดินเหนียวธรรมชาติสามารถปั้นตุ๊กตา

ได้ เพื่อช่วยสร้างรายได้นอกเวลาทำนาหรือช่วงน้ำท่วม ตุ๊กตาชาววังเป็นศิลปะจากดินเหนียวที่สวยงาม สะท้อนความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของไทย ซึ่งไม่เพียงสร้างอาชีพให้แก่

ชาวบ้าน แต่ยังเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ส่งออกขายไปทั่วโลก


พิพิธภัณฑ์ผ้า ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ (ภาพ : พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ)



พิพิธภัณฑ์ผ้า พระราชินี

“พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต” กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งมี

จุดกำเนิดจากพระราชดำริให้ส่งเสริมงานอาชีพหัตถกรรมแก่ราษฎร และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม

ราชินีนาถ ขึ้นเมื่อปี 2519

สำหรับพิพิธภัณฑ์ผ้านั้น ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ จัดตั้งขึ้นภายใต้มูลนิธิศิลปาชีพฯ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผ้าไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกาย

ของคนไทยซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ภายในมีการจัดแสดงฉลองพระองค์ชุดสากลและฉลองพระองค์ชุดไทยราชนิยม ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินในพระที่นั่งอนันต

สมาคมนั้น จัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรมอันวิจิตรงดงามด้วยฝีมือชาวบ้านจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เช่น เรือพระที่นั่งจำลอง พระที่นั่งพุดตานถมทอง ฯลฯ มาจัดแสดงให้

ได้ชมกัน


ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล



ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สัตหีบ

“ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ” อ.สัตหีบ จ. ชลบุรี จัดตั้งขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์เต่าทะเลที่

ใกล้สูญพันธุ์ ปัจจุบันสามารถเพาะฟักและอนุบาลเต่ากลับคืนสู่ท้องทะเลได้ ปีละกว่า 10,000 ตัว และเต่าเหล่านั้นได้กลับขึ้นมาวางไข่อย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความอุดม

สมบูรณ์ของท้องทะเลไทยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของ จ.ชลบุรี ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและสัมผัสกับวงจรชีวิตของเต่าทะเล โดย

จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเล พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ สามารถชมเต่าทะเลอย่างใกล้ชิดได้ที่อะควาเรียมและบ่ออนุบาลลูกเต่าทะเล


สวนป่าเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ราชบุรี



สวนป่าเฉลิมพระเกียรติฯ สวนผึ้ง

“สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี สร้างขึ้นเพื่อถวายในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบในปี 2535

ตามพระราชปณิธานว่า “ขอให้สร้างป่า โดยมีคนอาศัยอยู่ด้วยโดยไม่ทำลายป่า คือต้องช่วยเขาเหล่านั้นจริงๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร เช่น มีที่ดินทำกิน มีน้ำ ให้การ

ศึกษา ส่งเสริมงานศิลปาชีพต่างๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเขาอยู่ได้แล้วเขาจะได้ช่วยดูแลป่า”

ปัจจุบันที่นี่ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้นานาชนิดที่มีค่าทางเศรษฐกิจและเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ มี “แก่งส้มแมว” แก่งหิน

น้อยใหญ่สลับซับซ้อนกลางแม่น้ำภาชีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชม มีต้น “ส้มแมว” เป็นพันธุ์ไม้หาชมยาก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ฝึกศิลปาชีพที่ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่

เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงให้มีอาชีพเสริมหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ เช่น การทอผ้า ปั้นเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ เพื่อนำมาขายเป็นที่ระลึกที่ศูนย์จำหน่ายสินค้า


ชายเลนสิรินาถราชินี



ป่าชายเลนสิรินาถราชินี

“ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี (ศูนย์สิรินาถราชินีฯ)” อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนจะมาเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ฯ ป่าชายเลนอันเขียวชอุ่ม

บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมจากการทำนากุ้ง ทำให้ป่าชายเลนถูกบุกรุกอย่างหนัก จนกระทั่งปี 2539 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ

บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังวนอุทยานปราณบุรี ในปี 2539 และทรงห่วงใยต่อสถานการณ์ป่าชายเลนบริเวณปากน้ำปราณบุรีที่ถูกบุกรุกทำลาย กรมป่าไม้จึง

สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานการทำนากุ้ง และต่อมาได้มีการปรับปรุงดินและฟื้นฟูป่าชายเลน จนสามารถนำความอุดมสมบูรณ์คืนสู่ระบบนิเวศดั้งเดิมได้สำเร็จ

ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนที่ประชาชนสามารถเข้าชมได้ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางกว่า 1 กม. ลัดเลาะไปตามป่าชายเลน

จะได้เห็นทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยในป่าชายเลน รวมถึงนกนานาชนิดด้วย


ศูนย์ศิลปาชีพ จ.นราธิวาส



ชุมชนหัวใจพอเพียง นราธิวาส

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน จ.นราธิวาสเมื่อปี 2547 ทรงทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่ได้รับ

ผลกระทบจากการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พระองค์จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดซื้อที่ดินในการจัดตั้ง “โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ

พอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ขึ้น ที่บ้านรอตันบาตู ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

จวบจนปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บริเวณรอบบ้านยกร่องสวนเพาะปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล รวมทั้งเลี้ยงปลาและสัตว์ปีกเพื่อเป็นอาหาร

และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา เพื่อให้ชาวบ้านมีอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หากใครได้ไปเที่ยวชมโครงการเหล่านี้แล้ว นอกจากจะได้สัมผัสกับพระ

ราชปณิธานในการสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้ชาวไทยแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่านอีก

ทางหนึ่งด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น