++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คาถามสรุปวิธีคิดตามหลักพุทธธรรม


หัวเรื่อง: { นานาสาระธรรมะสวัสดี: ฉบับที่ 11605 } คาถามสรุปวิธีคิดตามหลักพุทธธรรม สาหรับการใช้ความคิดให้ถูกอยากจะให้อ่านหนังสือ "วิธีคิด๑๐วิธีตามหลักพุทธธรรม" ของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)ใน ๑๐ วิธีนั้นคัมภีร์อรรถกถาได้สรุปออกมาได้๔ ข้อ๑. อุปายมนสิการ คือการพิจารณาโดยอุบายหรือคิดถูกวิธีอุบายมีทั้งทางลบและทางบวกการงานบางอย่างต้องเลือกให้อุบายให้เหมาะสม ตัวอย่าง การใช้อุบายมีแม่ทัพคนหนึ่ง นากองทัพไปออกรบซึ่งมีทหารจานวนน้อยฝ่ายตรงข้ามมีทหารจานวนมากถึงจะรบอย่างไรก็ไม่มีหนทางที่จะเอาชนะได้แม่ทัพจึงคิดอุบายโดยการพาทหารเข้าไปไหว้พระในโบสถ์และอธิษฐานเสียงดังว่า "ถ้าหากกองทัพของข้าพเจ้าจะชนะข้าศึกขอให้เหรียญออกหัว" ว่าแล้วก็โยนเหรียญปรากฏว่าเหรียญก็ออกหัว เพื่อความมั่นใจว่าเขาจะชนะหรือไม่เขาจึงโยนเหรียญเป็นครั้งหนึ่งสองและที่สามผลก็เหมือนเดิมเมื่อทหารเห็นเข้าจึงเกิดความมั่นใจว่าจะต้องชนะอย่างแน่นอนเป็นการสร้างกาลังใจให้กับทหารวันรุ่งขึ้นเมื่อออกรบสามารถปราบข้าศึกได้หมด ทั้งๆที่มีกาลังพลน้อยกว่าหลังจากนั้นทหารคนสนิทมากระซิบว่าทุกอย่างอยู่ในพระหัตถ์ของพรหมลิขิต พระผู้เป็นเจ้าบอกว่าชนะก็ต้องชนะแม่ทัพบอกว่าไม่ใช่พรหมลิขิตหรอกแล้วก็ลวงเหรียญมาให้ดูปรากฏว่าเหรียญนั้นมีหัวทั้งสองด้าน๒. ปถมนสิการ คือคิดเป็นระเบียบ,คิดเป็นทาง,คิดถูกทาง, คิดได้หลายทาง, นอกจากคิดให้เป็นทางแล้วต้องให้ถูกทางด้วย ถ้าหากคิดไม่ถูกทางก็เป็นการคิดฟุ้งซ่านไม่เป็นระเบียบมีจิตใจวอกแวกมีนิทานธรรมบทเรื่องหนึ่ง คือพระสังฆรักขิตได้จีวรมา ๒ ผืน จะเอาใช้เอง ๑ ผืน และถวายพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นหลวงลุง ๑ ผืน แต่พระอุปัชฌาย์ไม่รับแม้พระสังฆรักขิตจะอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนอีกก็ตามท่านก็ไม่รับ พระสังฆรักขิตเกิดความน้อยใจ ขณะที่ท่านกาลังนั่งพัดให้พระอุปัชฌาย์อยู่นั้น ท่านก็คิดฟุ้งไปไกลว่าจะเอาผ้าทั้งสองไปขายแล้วแล้วซื้อแม่แพะมาเลี้ยง แล้วจึงขายลูกแพะ เมื่อเก็บรวบรวมเงินได้แล้วจะขอหญิงมาเป็นภรรยา เมื่ออยู่ด้วยกันก็จะมีลูกแล้วจะพาลูกมาเยี่ยมหลวงลุง ขณะที่นั่งเกวียนมาเยี่ยมหลวงลุง ระหว่างทางภรรยาเหนื่อยเพราะอุ้มลูกบอกว่า "ช่วยอุ้มหน่อยซีฉันเหนื่อย" "ฉันกาลังขับยานอยู่เธออุ้มไป" เมียโกรธจึงทิ้งลูกบนพื้นเกวียนพอเด็กเจ็บมันก็ร้องเราก็โกรธจึงใช้ปะฎักตีภรรยาทันทีขณะที่ท่านคิดฟุ้งซ่านอยู่นั้น ท่านได้ฟาดพัดตรงหัวของหลวงลุงพอดี หลวงลุงจึงรู้ว่าหลานกาลังคิดอะไรอยู่จึงบอกว่า "สังฆรักขิต เธอโกรธผู้หญิงแล้วทาไมมาตีหัวหลวงลุงล่ะ" เมื่อท่านสังฆรักขิตรู้ว่าหลวงลุงทราบเรื่องทั้งหมดที่ตนคิดเกิดความละอายคิดที่จะหนีพวกพระภิกษุจึงช่วยกันจับพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อย่างนี้เรียกว่าคิดไม่ถูกทางจะสังเกตเห็นได้ว่า เมื่อจิตเป็นสมาชิก ความคิดก็จะเป็นระเบียบแล้วสามารถมองได้หลายทางการที่มีผู้ปรารภว่าครูจะต้องเป็นยอดครูจึงจะสอนจริยธรรมได้ ผมขอเรียนว่ายอดครูนั้นมีเพียงองค์เดียวคือพระพุทธเจ้านอกนั้นเป็นครูธรรมดา ยิ่งปุถุชนด้วยแล้วจะหาผู้เป็นครูที่สมบูรณ์ทุกอย่างมาก ถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่ง ครูจะดีมากดีน้อยไม่ค่อยจะสาคัญเท่าใดขึ้นอยู่ที่ผู้ศึกษาหรือผู้เรียนว่ารู้จักมองรู้จักคิดหลายๆทางรู้จักเลือกสรรเอาสิ่งที่ดีจากครูได้มากน้อยเพียงใดอีกด้วยมีบทกวีบทหนึ่งว่า"สองคนยลตามช่องคนหนึ่งมองเห็นเปือกตมอีกคนตาแหลมคมมองเห็นดาวอยู่พราวพราย"

แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะเอาอะไรจากผู้สอนเราต้องพิจารณาเลือกเฟ้นเราสามารถแสวงหาความรู้จากผู้อื่น ได้เสมอ แม้ว่าเขาจะเป็นคนชั่วก็ตามแต่เราไม่เอาอย่างเขาก็พอแล้วอย่างที่พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ) ท่านให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครูไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือสิ่งของสร้างสิ่งเหล่านั้นให้เป็นกัลยาณมิตรท่านเลี้ยงลูกสุนัขไว้ตัวหนึ่งตั้งชื่อว่าไอ้สมภาร วันหนึ่งมีคุณยายมาขอหวยกับท่าน ท่านบอกให้ไปขอกับสมภาร คุณยายจึงตามหาสมภาร มาเจอสามเณร จึงถามสามเณรว่า "ท่านคะสมภารอยู่ไหนคะ" สามเณรก็ชี้ไปทีใต้โต๊ะว่า "นั้นไงสมภารนอนอยู่ใต้โต๊ะ" ท่านมีวิธีการสอนแปลกๆรู้จักมองให้มีหลายทางมีทั้งทางบวกและทางลบและว่ามีทางเลือกอย่างไรตัวอย่างเช่น พระเทวทัต ทางฝ่ายหินยานถือว่าเป็นพระชั่ว เพราะจองล้างจองผลาญพระพุทธเจ้าตลอดมา แต่ฝ่ายจีนถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระเทวทัตเป็นเหมือนจุดดาบนผ้าขาวทาให้สีขาวนั้นเด่นชัดขึ้นนั่นคือทาให้คุณของพระพุทธเจ้าเด่นชัดขึ้นเพราะฉะนั้นพระเทวทัตสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้เหมือนกันเปรียบเสมือนคนตาบอดถือตะเกียง เขาถือเพื่อคนตาดีคนชั่วก็สามารถสอนจริยธรรม เราก็ควรรับได้อย่าไปดูคนสอนแต่ให้ดูสิ่งเขาสอน นี้เป็นเรื่องสาคัญประการหนึ่ง๓. การณมนสิการ คือการคิดตามเหตุผลหรือคิดอย่างมีเหตุผลอาจเป็นการคิดโยงจากเหตุไปหาผลหรือโยงจากผลไปหาเหตุก็ได้ คาสอนที่เน้นเรื่องความคิดเห็นเหตุเป็นผลในพระพุทธศาสนาคือ อริยสัจ และ ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา สอนให้สอบสาวถึงเหตุปัจจัยว่าสิ่งทั้งหลายเกิดเพราะมีเหตุปัจจัยอะไรบ้างจะดับเพราะดับเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ทาให้เป็นคนรอบคอบ สายตากว้างไกลเป็นคนมีเหตุมีผลความจริงคนไทยโบราณก็สอนให้รู้จักมองเหตุมองปัจจัยให้รอบคอบดังเช่น คาทายกันเล่นของเด็กๆว่าฝนเอยทาไมจึงตกเพราะกบมันร้องกบเอยทาไมจึงร้องเพราะท้องมันปวดท้องเอยทาไมจึงปวดเพราะข้าวมันดิบข้าวเอยทาไมจึงดิบเพราะฟืนมันเปียกฟืนเอยทาไมจึงเปียกเพราะฝนมันตกฝนเอยทาไมจึงตก...ฟังเผินๆก็เป็นการร้องโต้ตอบกันเล่นในหมู่เด็กๆแต่นั้นแหละคือ "สาร" ที่ผู้เฒ่าผู้แก่โบราณต้องการจะส่งหรือสื่อให้คนรุ่นหลังรู้ว่าทุกอย่างมันเกิดขึ้นและเป็นไปตามเหตุปัจจัยทุกอย่างมีที่มาไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ และหลายอย่างก็มิได้เกิดมาจากเหตุเดียว หากมีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาสนับสนุนอีกด้วย เราจึงควรมองให้กว้างและมองให้ลึกถึงเหตุถึงผลจะได้ไม่เข้าใจอะไรผิดๆหรือตัดสินอะไรผิดๆ๔. อุปปาทมนสิการ (หรืออุปปาทกมนสิการ)คือคิดให้เกิดผลคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์หรือสร้างสรรค์ในทางดีอุปปาทมนสิการ จะต้องมีลักษณะใหญ่ ๒ ประการคือ๑.คิดแล้วเกิดความรู้สึกอยากทา ทั้งนี้รวมไปถึงอยากที่สร้างสรรค์เกิดความกระตือรือร้น ไม่ใช่คิดแล้วเกิดความ

ท้อแท้ท้อถอยไม่อยากทาอะไรเลยเรื่องที่คิดนั้นจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้เช่นความยากจนความร่ารวยเป็นต้นเมื่อมองดูตัวเองแล้วเห็นว่าตัวเองเกิดมายากจนไม่มีทรัพย์สินเงินทองเหมือนคนอื่นเขาแล้วคิดว่าที่เรายากจนนี้ก็เพราะเป็นกรรมแต่ปางก่อนของเราชาติก่อนเราคงทากรรมชั่วไว้มากมาชาตินี้จึงได้รับผลกรรมคือเกิดมาเป็นคนจน เมื่อคิดอย่างนี้แล้วก็ทอดอาลัยตายอยากไม่ทาอะไร ปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามยถากรรม การคิดเรื่องความจนในแนวนี้ไม่จัดเป็น"อุปปาทมนสิการ" เพราะคิดแล้วไม่เกิดการกระทา แต่คิดแล้วเกิดความท้อถอยแต่ถ้าคิดว่าจริงอยู่คนเราเกิดมาจากจนหรือร่ารวยอาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่ทาไว้แต่ชาติปางก่อนแต่ถ้าในชาตินี้เราไม่เกียจคร้านพยายามทางานสร้างฐานะเก็บหอมรอมริบไม่สุรุ่ยสุร่ายไม่เสพสิ่งเสพติดไม่เล่นการพนันเราก็อาจจะรารวยขึ้นในวันใดวันหนึ่งดังตัวอย่างเศรษฐีบางคนที่สร้างตัวขึ้นมาจากฐานะยากจนก็มีไม่น้อยคิดอย่างนี้แล้วก็มีความกระตือรือร้น อาจหาญไม่ท้อแท้พยายามทามาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร อย่างนี้เรียกว่าอุปปาทมนสิการ๒.การกระทานั้นต้องเป็นการกระทาในแง่บวก คือเป็นกุศลและไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนคนอื่น และเบียดเบียนสังคมพูดสั้นๆว่าเป็นการกระทาที่สุจริตถูกกฎหมายและศีลธรรมยกตัวอย่างกรณีคิดถึงเรื่องความยากจน ความร ่ารวย ดังใน ข้อที่ ๑ถ้าคิดถึงความยากจนของตัวเองแล้วนึกว่าเป็นเพราะผลของกรรมในชาติปางก่อนส่วนหนึ่ง แต่เราก็ไม่ย่อท้อต่อความยากจนนั้นพยายามสร้างเนื้อสร้างตัวให้มีฐานะมั่งมีขึ้นให้ได้หากการสร้างฐานะของเราเป็นการเบียดเบียนคนอื่นเช่นสร้างโรงงานผลิตสิ่งผิดกฎหมาย กดขี่ข่มเหงคนอื่น ใช้แรงงานเหมือนทาสปล่อยของเสียจากโรงงานลงแม่น้าลาคลอง สร้างมลพิษให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นพิษภัยแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันถึงเราจะสร้างฐานะได้ร่ารวยมั่งคั่งเพราะผลจากความคิดนั้นก็ตามอย่างนี้ไม่ว่านับเป็นอุปปาทมนสิการแต่ถ้าคิดว่าตนเองเกิดมายากจนแล้วไม่ท้อถอยพยายามสร้างฐานะให้แก่ตนด้วยความขยันหมั่นเพียรทางานที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรมอย่างนี้จึงจะนับว่าเป็นอุปปาทมนสิการเพราะคิดแล้วเกิดความกระตือรือร้นที่จะกระทา ที่จะสร้างสรรค์และการกระทานั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น