++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มใจในอารมณ์นั้นมี ๕ ประการ

ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มใจในอารมณ์นั้นมี ๕ ประการ

๑. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อยพอรู้สึกขนลุก
๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะเกิดขึ้นบ่อยๆ
๓. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๔. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวลอย
๕. ผราณาปีติ ปลาบปลื้มใจจนนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ

ปีติ ที่เป็นองค์ฌานนั้น ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบอยู่
อนึ่ง ปีติ กับ สุข ต่างกัน คือ ปีติ เป็นสังขารขันธ์ สุข เป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมี ปีติ จะต้องมีสุขเสมอแน่นอน
แต่ว่า เมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้


คำถาม ปีติเจตสิก

ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปลาบปลื้มใจในอารมณ์ ได้แก่ สภาพที่แช่มชื่น อิ่มเอิบใจเมื่อได้รับอารมณ์นั้นๆ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้ คือ...
สมฺปิยายนลกฺขณา  มีความแช่มชื่นใจในอารมณ์  เป็นลักษณะ
กายจิตฺตปินฺนรสา(วา) ผรณสา  มีการทำให้อิ่มกาย อิ่มใจ(หรือ)มีการทำให้ซาบซ่านทั่วร่างกาย  เป็นกิจ
โอคยฺยปจฺจุปฏฺฐานา  มีความฟูใจ  เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานา  มีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ(เวทนาขันธ์,สัญญาขันธ์,วิญญาณขันธ์)  เป็นเหตุใกล้
ธรรมชาติของปีตินี้ เมื่อเกิดขึ้นกับใคร ย่อมทำให้ผู้นั้นรู้สึกปลาบปลื้มใจ มีหน้าตา และกาย วาจา ชื่นบาน แจ่มใส เป็นพิเศษ บางทีก็ทำให้รู้สึกซาบซ่านในร่างกายนั่นเอง และทำให้จิตใจของผู้นั้นแช่มชื่น เข็มแข็ง ไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายต่ออารมณ์
อาการของปีตินี้ คือการทำให้จิตใจฟูเอิบอิ่มขึ้นมา ส่วนปีติที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยนามขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุใกล้ ให้ปีติเกิดขึ้นย่อมอาศัย สุขเวทนา เท่านั้น เป็นเหตุให้ปีติเกิด ด้วยเหตุนี้เอง บางที่เราเข้าใจว่า ปีติ และ สุข นั้นเป็นอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ ซึ่งความจริงนั้น เป็นสภาวะที่ต่างกัน คือ ปีติ เป็นธรรมชาติที่มีความยินดี เพราะได้ประสบอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ดี) "ปีติ มีในที่ใด สุขก็มีในที่นั้น แต่สุขมีในที่ใด ปีติอาจจะไม่มีในที่นั้นก็ได้"
ปีติ เป็น สังขารขันธ์  แต่ สุข เป็น เวทนาขันธ์
อุปมา ปีติเหมือนบุรุษเดินทางไกลไปในที่กันดาร มีเหงื่อโทรมกาย กระหายน้ำ ครั้นเห็นบุรุษอีกคนหนึ่งเดินมา ก็ถามว่า มีน้ำดื่มที่ใหนบ้าง บุรุษผู้นั้นตอบว่า พอพ้นดงนี้ก็จะพบสระน้ำ ท่านไปที่นั่นก็จะได้น้ำดื่ม บุรุษผู้เดินทางไกลนั้น ตั้งแต่ได้ยินว่ามีสระน้ำ จนกระทั่งได้เห็นสระน้ำนั้น ก็จะเกิดปีติ มีอาการแช่มชื่น เบิกบานในอารมณ์ที่ได้ยินว่า มีสระน้ำหรือได้เห็นสระน้ำนั้น นี้เป็นธรรมชาติของปีติ
แต่ถ้าบุรุษนั้นได้ดื่มน้ำหรือได้อาบน้ำ ก็จะรู้สึกว่า สุขสบายดีจริง ฉะนั้น สุขจึงดำรงอยู้ด้วยการเสวยรสแห่งอารมณ์ เราจึงเห็นความต่างกันของปีติ และสุขได้ชัดเจนว่า "ปีติเกิดจากความปลาบปลื้มใจในอารมณ์ ส่วนสุขเกิดจากการตามเสวยอารมณ์ที่ดี"
เมื่อปีติเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นทางใจเช่นนี้ จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับโสมนัสเวทนาขึ้นมา แต่ถึงกระนั้น ปีติก็ไม่ใช่โสมนัสอยู่นั่นเอง เพราะโสมนัสเป็นเวทนาขันธ์ เกิดได้ในจิต ๖๒ ดวง ปีติเป็นสังขารขันธ์ เกิดกับจิตได้เพียง ๕๑ ดวง
จตุตถฌาณลาภีบุคคล ย่อมเห็นความต่างกันแห่งโสมนัส และปีตินี้ได้ชัดเจน
ปีติเจตสิก ธรรมชาติที่ปลาบปลื้ม อิ่มเอิบใจนั้น มี ๕ ประการ คือ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น