++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นัยสำคัญแห่งสติปัฏฐาน ● Essence of Satipaṭṭhāna



๑. สติปัฏฐานเป็นพุทธวจนะที่ทรงตรัสเกี่ยวกับปฏิปทา หรือแนวทางฝึกฝนจิตเพื่อประจักษ์แจ้งในอริยสัจธรรมอันเป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนาที่เป็นระบบที่สุด

พร้อมทั้งระบุระยะเวลาอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติด้วยว่า หากผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้ตรงตามมติที่ทรงชี้แนะแนวทางไว้ อย่างช้าที่สุดไม่เกินเจ็ดปี ก็ประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรมระดับพระอรหันต์ หรือพระอนาคามีขั้นใดขั้นหนึ่ง

๒.สติปัฏฐานมีเนื้อหาสาระที่กว้างครอบคลุมพุทธธรรมไว้เกือบทั้งหมด นั่นคือ หมวดศีล หมวดสมาธิ หมวดปัญญา
"หลายต่อหลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ระบบปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาอย่างเดียว ไม่เนื่องด้วยสมถะ(สมาธิ) ไม่เนื่องด้วยอัปปนาสมาธิ" ... ซึ่งไม่ตรงตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ ทั้งในแง่ของสภาวะ-ภาคปฏิบัติ และในแง่ของทฤษฏี-ปริยัติ

ความอัศจรรย์อย่างหนึ่งของพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศตลอด ๔๕ พรรษา ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามจะสังเกตเห็นได้ว่าพุทธดำรัสทั้งหมด ที่ทรงแสดงจะไม่คัดค้านกันเลย ทั้งๆ ที่พระธรรมที่ทรงแสดงมีหลายระดับเริ่มตั้งแต่ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ

ในที่นี้จะขอกล่าวโดยสังเขปเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับมัคควิถี-การบรรลุอริยสัจธรรม ในประเด็นที่ว่า "การบรรลุอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ระดับ(มรรคญาณ๔)จะต้องอาศัยสมาธิในระดับอัปปนา ต่ำสุดก็ขั้นปฐมฌานเป็นบาทฐาน"

ความหมายของคำว่าอัฏฐังคิกมรรคนั้นหมายถึงองค์มรรคทั้ง ๘ จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นมัคคสมังคีจึงจะมีกำลังประหารกิเลสได้เป็นสมุทเฉท

เพราะฉะนั้นพุทธพจน์บทใดที่ทรงตรัสว่าเป็นปฏิปทานำไปสู่การบรรลุอริยสัจธรรม พุทธธรรมบทนั้นจะต้องประกอบไปด้วยพละทั้ง ๒ สมาธิพละ-อัปนาสมาธิและปัญญาพละเสมอ

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้ประเด็นนี้ชัดเจนขึ้น ในหมวดกายานุปัสสนาภาคอานาปานสติ ข้อความว่า "... เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า-ออก... กายสังขารระงับจนกระทั่งลมหายใจดับไปหมายถึงสภาพจิตที่อยู่ในระดับอัปปนา ,หมวดเวทนานุปัสสนา...เราเสวยสุขเวทนาที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัด... , หมวดจิตตานุปัสสนา จิตเป็นใหญ่-มหัคคต(จิตในระดับอัปปนา) ก็รู้ชัด... ,หมวดธัมมานุปัสสนา ...เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ก็รู้ชัด... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ(หมวดอริยสัจจ์) เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมณาน...ทุติยฌาน ...ตติยฌาน...จตุตถฌาน...อันนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ"

"ครั้งหนึ่งวิสาขอุบาสกได้ไตร่ถามธรรมมะกับท่านธัมมทินนาภิกษุณี-ผู้เป็นอรหันต์ข้อความว่า.... ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมมีลักษณะอย่างไรจัดว่าเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นนิมิตของสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นเครื่องหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญเป็นอย่างไร

ธัมมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว(เอกัคคตาจิต) เป็นลักษณะของสมาธิ สติปัฏฐาน๔ เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละเป็นการทำให้สมาธิเจริญ" (33)

๓. สติปัฏฐานเป็นระบบปฏิบัติที่แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ
๓.๑ ระดับกัลยาณชน เพื่ออบรมอินทรีย์ให้แก่กล้าเพื่อบรรลุอริยสัจธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๓.๒ ระดับเสขบุคคล เพื่ออบรมอินทรีย์ให้แก่กล้าเพื่อบรรลุอริยสัจธรรมเบื้องสูงขึ้นไป
๓.๓ ระดับอเสขบุคคล เพื่อเป็นวิหารธรรมในปัจจุบัน
......มาเถิดผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว “เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง …เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง…เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง…เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง”(34)

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย “แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ” ยังไม่บรรลุอรหันต์ ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว “เพื่อกำหนดรู้กาย …เพื่อกำหนดรู้เวทนา…เพื่อกำหนดรู้จิต…เพื่อกำหนดรู้ธรรม”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์” ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส จิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว “ไม่ติดในกาย …ไม่ติดในเวทนา…ไม่ติดในจิต …ไม่ติดในธรรม”(35)

สมัยหนึ่ง ท่านสารีบุตร ได้พูดกับพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่าพระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐานสี่ได้เป็นบางส่วน…บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐานสี่ได้บริบูรณ์(36)

๔. ความแตกต่าง ความหลากหลาย ของระบบปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนั้น พึงทราบว่า จะมีอยู่เฉพาะในหมวดกายเท่านั้น

สาเหตุสำคัญก็มาจากสภาพจิตของผู้ฝึกใหม่ยังซัดส่าย ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ พระพุทธองค์จึงทรงวางระบบฐานกายไว้หลายหมวดหลายวิธี เพื่อเป็นอุบายสำหรับกำหราบนิวรธรรมในช่วงที่มีกำลังแก่กล้าเกินไป

อุบายวิธี การฝึกปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ที่สอน และอุปนิสัยจริตของผู้ปฏิบัติด้วย สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาปฏิบัติพึงเห็นความสำคัญต่ออุบายวิธีการฝึกสติและพากเพียรปฏิบัติตาม เมื่อสติปัญญาพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง ก็จักรู้จุดยืนของตัวเองได้

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เมื่อเธอเฝ้าตามดูกายในกายอยู่…เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาอยู่…เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่…เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น…ความเร่าร้อนมีเวทนาเป็นอารมณ์เกิดขึ้น…ความเร่าร้อนมีจิตเป็นอารมณ์เกิดขึ้น…ความเร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้น จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกเกิดขึ้น “ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส “อย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเธอตั้งใจไว้มั่นในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า “เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้วบัดนี้ เราจะหวนกลับไปคุมจิตไว้ในการเฝ้าตามดูกาย…เวทนา…จิต…ธรรมอย่างเดิม”

เธอคุมจิตไว้อย่างนั้นและไม่ตรึกตรองในความเร่าร้อนในกาย ความหดหู่ หรือความฟุ้งซ่านแห่งจิตอีก ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่ตรึกไม่ตรองในกิเลสเหล่านั้น มีสติภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ “ ดูก่อน อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้เป็นกรรมฐานภายนอกด้วยประการฉะนี้แล…”(37)

๕. พระพุทธองค์ทรงวางลำดับฐานแห่งสติไว้ จากหยาบไปละเอียด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งจะสัมพันธ์กับกำลังอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติและเนื้อหาแต่ละหมวดใน ๔ หมวดนั้นก็ทรงวางลำดับจากหยาบไปละเอียดเช่นเดียวกัน

๖. อีกประการหนึ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงทำความเข้าใจว่า "จิตและเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปพร้อมกัน จิตจะเกิดขึ้นตามลำพังโดยไม่มีเจตสิกร่วมด้วยไม่ได้ และเจตสิกก็เช่นเดียวกัน

ในอารมณ์สติปัฏฐานแยกเจตสิกออกเป็น ๒ หมวดคือ หมวดเวทนาและหมวดธรรม เมื่อจิตและเจตสิกเกิดและดับพร้อมกันเช่นนี้สติจะระลึกรู้ลักษณะไหน ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่จะให้สติเกิด จะระลึกรู้ลักษณะไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น ขอให้ระลึกรู้ตรงสภาวะที่เป็นจริง(เกิด-ดับ)ตามที่ปรากฏในปัจจุบันขณะเป็นใช้ได้"

(33) ม.มู. 12/462/517 จูฬเวทัลสูตร
(34)สํ.ม. 19/907/450 อัมพปาลิวนสูตร
(35) สํ.ม. 19/370/233-234 สาลสูตร
(36) สํ.ม. 19/392-393/271-273 ปเทสสูตร,สมัตตสูตร
(37)สํ.ม. 19/376/244-246 ภิกขุนูปัสสยสูตร

Essence of Satipaṭṭhāna
1. Satipaṭṭhāna is the Buddha’s most systematic explanation of the practice of mind training for the realization of truth.
It also indicates the timeframe for the result of practice. Whoever follows these guidelines should reap the fruit of enlightenment (arahantship or anāgāmī) within at least seven years.

2. Satipaṭṭhāna covers nearly all other teachings of the Buddha, including moral conduct, concentration and wisdom.
Many people still hold the misconception that the practice of mindfulness refers to vipassanā only, and does not include concentration (samādhi) or absorption concentration(appanāsamādhi). Practically and theoretically, this is incorrect.

Throughout the forty five years of Dhamma propagation, though the Buddha’s teaching concerns different levels and aspects of practice, i.e. charity, observance of precepts, concentration, insight, liberation, and vision of truth gained through liberation, these various components do not contradict one another.
This striking feature can be recognized by anyone who follows his teaching.

I would like to discuss briefly here the path of enlightenment focusing on the following argument. To attain the four levels of enlightenment (four maggañāṇa) necessarily requires absorption concentration at least at the level of the first jhāna. The meaning of the term aṭṭhaṇgikamagga lies in the moment when all components of the eightfold path arise simultaneously so that the power generated from all components is strong enough to completely destroy the defilements.

Therefore, any teaching of the Buddha regarding the path to enlightenment will always consist of two-fold powers, concentration at the level of absorption and wisdom.

To illustrate the point, let us take an example from the section of mindfulness on the body. It reads “Breathing in and out, one calms bodily formations.” Bodily formations, which are gradually calmed down until breathing ceases. signify the mind in the level of absorption concentration. In the section on feelings, it reads
“Experiencing pleasant feeling not related to sensual pleasure, one is mindful.” In the section on mind, it reads “Experiencing the firmly fixed mind, one is mindful” (firmly fixed mind signifies mind in jhāna). In the section on mind-objects, it reads “As the concentration arises, one is fully aware.”

“What is right concentration?
“A monk withdrawn from sensuality and unwholesome mental qualities enters and remains in the first, second, third and forth jhāna… He is said to have right concentration.

“On one occasion, Visākhā, a lay supporter, approached the arahant Dhammadinnā and questioned her,
‘Lady, what is concentration? What is the basis of concentration? What is the equipment of concentration? What is the development of concentration?’
‘Unification of mind, friend Visākhā, is concentration;
the four foundations of mindfulness are the basis of concentration; the four right kinds of striving are the equipment of concentration; the repetition, development, and cultivation of these same states is the development of concentration therein.”

3. Satipaṭṭhāna is the system of practice comprised of three levels:
3.1 The level for ordinary people who wish to strengthen their enlightenment faculties in order to attain the not-yet achieved liberation.

3.2 The level for the sekha (learner or trainee) who wish to strengthen their faculties in order to attain the higher levels of enlightenment.
3.3 The level for the asekha (adept) for their present dwelling.
“Come, friends, dwell contemplating the body in the body, ardent, clearly comprehending, unified, with limpid mind, concentrated, with one-pointed mind, in order to know the body as it really is,... in order to know feelings as they really are,... in order to know mind as it really is,… in order to know phenomena as they really are.
“Monks, those monks who are trainees, who have not attained their mind’s ideal, who dwell aspiring for the unsurpassed security from bondage: they too dwell contemplating the body in the body, ardent, clearly comprehending, unified, with limpid mind, concentrated, with one-pointed mind, in order to fully understand the body… the feelings... the mind… the phenomena as they really are.

“Monks, those monks who are arahants, whose taints are destroyed, who have lived the holy life, done what had to be done, laid down the burden, reached their own goal, utterly destroyed the fetters of existence, and are completely liberated through final knowledge: they too dwell contemplating the body in the body, ardent, clearly comprehending, unified, with limpid mind, concentrated, with one-pointed mind, detached from the body... detached from the feelings... detached from the mind... detached from the phenomena.”

“On one occasion the Venerable Sāriputta said to the Venerable Anuruddha: ‘It is, friend, because one has partly developed the four establishments of mindfulness that one is a trainee... It is, friend, because one has completely developed the four establishments of mindfulness that one is beyond training.’

4. The difference and variation of techniques in the practice of Satipaṭṭhāna are found only in the section on the body.

This is because the mind of the beginner is usually under the influence of distraction and wild thoughts.

The Buddha therefore laid out several techniques regarding bodily contemplation in order to fight against such strong obstacles.

Means and techniques also vary with the experience of teachers and characteristics of practitioners.

Beginners should follow strictly and ardently the means and techniques on mindfulness.

When their wisdom is developed up to a certain extent, they will find their own way to continue onward.

“Here, Ānanda, a monk dwells contemplating the body in the body, ardent, clearly comprehending, mindful, having removed covetousness and displeasure in regard to the world. While he is contemplating the body in the body, there arises in him, based on the body, either a fever in the body or sluggishness of mind, or the mind is distracted outwardly.

That monk should then direct his mind towards some inspiring sign. When he directs his mind towards some inspiring sign, gladness is born. When he is gladdened, rapture is born. When the mind is uplifted by rapture, the body becomes tranquil. One tranquil in body experiences happiness.

The mind of one who is happy becomes concentrated. He reflects thus: ‘The purpose for the sake of which I directed my mind has been achieved. Let me now withdraw He understands: ‘Without thought and examination, internally mindful, I am happy.’ It is in such a way, Ānanda, that there is development by direction."

5. The Buddha presented the development of mindfulness successively from gross to subtler levels, i.e., body, feelings, mind and mental qualities. This gradual progression of subtlety corresponds with the nature of the mental development of the practitioner. The content of each section in the Satipaṭṭhāna Sutta also proceeds in the same way.

6. Those who are interested in theory and practice of Dhamma should understand that mind and mental concomitants are conditions that arise and pass away simultaneously. Mind cannot arise independently without mental concomitants and vice versa.

In Satipaṭṭhāna, mental concomitants are divided into two components: feelings and mental qualities.


Our awareness, however, can capture the rising-falling pattern of only one of these two factors at a time.

Whether we are aware of the characteristics of mind or mental concomitants at any given moment depends on the conditions of our awareness. It suffices for the practitioner to simply observe whatever arises and passes away in the present moment.

~ดูเพิ่มเติม(Read More)
ที่มา: หัวข้อ นัยสำคัญแห่งสติปัฏฐาน / ภาคที่๓ ทางสายเอก / วิมุตติธรรม
http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=3&t=12

Ref: Essence of Satipaṭṭhāna / CHAPTER III The One Way / Vimuttidhamma
http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=9&t=17
~ ธรรมศาลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น