++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

40 ส.ว.หนุนข้อเสนอ “ชาย” ลาออก เปิดทางนายกฯ คนนอก

โดย ผู้จัดการออนไลน์     13 พฤศจิกายน 2551 12:22 น.

กลุ่ม 40 ส.ว.หนุนข้อเสนอเพื่อนสมาชิก แนะนายกเสียสละด้วยการลาออก เปิดทางนายกฯ คนนอกชั่วคราว น่าสนใจ แต่ควรพักแก้มาตรา 291 ไว้ก่อน และให้มี กก.อิสระศึกษาประเด็นความขัดแย้ง
      
       วันนี้ (13 พ.ย.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.กล่าวถึงกรณีที่นายวิชาญ ศิริเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา เสนอทางออกวิกฤตการเมือง 9 ข้อ โดยให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 171 วรรคสอง เปิดทางให้มีนายกฯ คนนอกชั่วคราว พร้อมกับแก้มาตรา 291 ให้มี ส.ส.ร. 3 และนายกฯ เสียสละลาออกว่า กลุ่ม 40 ส.ว.มองว่าข้อเสนอทั้ง 9 ข้อเป็นแนวทางที่ดี ควรให้สังคมพิจารณา อย่างไรก็ดี กลุ่ม 40 ส.ว.ไม่เห็นด้วยอยู่เรื่องหนึ่ง คือ ข้อเสนอเรื่องการแก้มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.3 เพราะยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ หากตัดจุดนี้ออกน่าจะดีขึ้น โดยกลุ่ม 40 ส.ว.มองว่าก่อนจะถึงขั้นดังกล่าวควรมีกรรมการอิสระมาศึกษาประเด็นปัญหาความข ัดแย้งว่าคืออะไร ต้องแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ แก้มาตราอะไรบ้าง เหมือนกับสมัยรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ก่อนจะมี ส.ส.ร. มีการตั้งกรรมการขึ้นมาศึกษา จากนั้นกรรมการเสนอว่าควรยกร่างทั้งฉบับ จึงเป็นที่มาของการแก้มาตรา 211 และมี ส.ส.ร.ขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งถ้าเทียบกับตอนนี้ ความขัดแย้งต่างๆ ยังไม่มีการศึกษาว่าคืออะไร ต้องแก้รัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ แก้แค่ไหน ถึงกับต้องยกร่างทั้งฉบับหรือไม่ ทั้งนี้ ความขัดแย้งตอนนี้ยังเป็นเรื่องการมุ่งแก้รัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ เพราะฝ่ายที่กังวลก็มองว่าฝ่ายการเมืองจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือตนเองแ ละพวกพ้องเพื่อให้พ้นผิด
      
       “ถ้ามีขยักให้ตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาศึกษาปัญหาความขัดแย้งก่อน แล้วพักเรื่อง ส.ส.ร.3 ไว้ก่อนน่าจะดีกว่า ซึ่งจุดนี้ไปพ้องกับข้อเสนอของ 24 อธิการบดีมหาวิทยาลัยที่เคยเสนอไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อมาดูว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร ต้องแก้มากแก้น้อย ถ้าแก้ไม่กี่มาตราก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง ส.ส.ร.3 แต่ใช้ตามมาตรา 291 ทีมีอยู่ก็ได้ ดังนั้น หากปรับจุดนี้ได้ ข้อเสนอนี้ก็น่าสนใจมาก” นายไพบูลย์ กล่าว


นักวิชาการยื่นถอดนายกฯ สั่งฆ่าประชาชน 7 ต.ค.-คลิปฉาว
โดย ผู้จัดการออนไลน์     13 พฤศจิกายน 2551 12:23 น.

ผู้จัดการออนไลน์ - คณาจารย์หลากสถาบันยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิฯ ล่าชื่อ 20,000 ถอดถอนนายฯ ออกจากตำแหน่ง จากการสั่งการเหตุตำรวจทำร้ายประชาชน 7 ต.ค. โดยยืนยันได้จากผลการศึกษาของวุฒิสภาฯ รวมถึงกรณีคลิปฉาว
      
       วันนี้ (13 พ.ย.) นางสาวจิราภรณ์ ลิ้มปานานนท์ ตัวแทนกลุ่มอาจารย์ ในฐานะผู้แทนผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน พร้อมด้วยคณาจารย์ และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน 20 คน ยื่นคำร้องต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง เพราะกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญด้วยการสั่งการให้ตำรวจใช้ความรุนแรงต่อประชา ชนที่ชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม
      
       เนื่องจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บร ิโภค วุฒิสภา ได้รายงานผลการตรวจสอบโดยระบุว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพประชาช น ดังนั้น รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบ
      
       โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร รองประธาน กมธ.ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตฯ กล่าวอย่างชัดเจนว่า นายกฯ และรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับ ไม่แสดงความรับผิดชอบ และไม่ตระหนักผลกระทบจากการสลายการชุมนุมที่ทำให้ทัศนคติระหว่างตำรวจและประ ชาชนไปในทางลบ ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ประธานอนุ กมธ.ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองฯ กล่าวว่า การกระทำของตำรวจเกิดจากมติ ครม.เมื่อคืนวันที่ 6 ตุลาคม ฉะนั้น รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรับผิดชอบ (อ่านเพิ่มเติม : วุฒิสภาอัด รบ.-ตร.ไม่ยอมรับผิดกรณี 7 ต.ค. ชี้ชัดแก๊สน้ำตาผสม “ซีโฟร์”) http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000133673&Keyword=%c7%d8%b2%d4%ca%c0%d2
      
       นอกจากนี้ การที่นายกรัฐมนตรีออกมายอมรับว่าตนเองเป็นบุคคลในคลิปวิดีโอเชิงชู้สาวที่เ ผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตจริง ทำให้เชื่อได้ว่านายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรมขัดต่อศีลธรรม และฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จึงไม่สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น