++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การใช้สารสกัดหยาบจากเปลือกผลทับทิมในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาดุก

การใช้สารสกัดหยาบจากเปลือกผลทับทิมในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาดุก
The use of crude extract of Punica granatum Linn pericarp to inhibit catfish pathogenic bacteria
ปวีณา วัดบัว (Paweena Wadbua)*
ดร. สินีนาฏ ศิริ (Dr. Sineenat Siri)**
ดร. นิลุบล กิจอันเจริญ (Dr. Nilubol Kitancharoen)***
วิรัช ว่องพัฒนากุล (Wirut Wongphathanakul)****
บทคัดย่อ
ทับทิม (Punica granatum Linn) จัดเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องเสียและโรคบิดในคน อีกทั้งยังมีรายงานถึงฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคนทั้งแกรมบวกและลบหลายชนิด แต่ยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ต่อแบคทีเรียก่อโรคในปลา ในงานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากเปลือกผลทับทิมด้วยน้ำในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาดุก 2 ชนิดคือ Aeromonas caviae และ A. sobria พบว่าค่าของ inhibition zone ต่อเชื้อ A. caviae และ A. sobria เป็น 15.7 ± 0.4 และ 18.5 ± 0.5 มม. ตามลำดับ และมีค่า minimal bactericidal concentration (MBC) ที่ 24 ช.ม. ของการบ่มเป็น 6.25 และ 12.50 มก./มล. ตามลำดับ จากการศึกษากลุ่มสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นพบว่าสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากเปลือกผลทับทิมเป็นสารในกลุ่ม tannins, sterol glycosides, และ phenolic compounds เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดโดยใช้ไรน้ำเค็ม (Artemia salina) พบว่าสารสกัดมีค่า lethal concentration 50 (LC50) ที่ 24 ช.ม. เฉลี่ย 15.80 มก./มล. ซึ่งสูงกว่าค่า MBC ต่อเชื้อ A. caviae และ A. sobria จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจากเปลือกผลทับทิมน่าจะสามารถใช้ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาดุกได้ ซึ่งอาจสามารถใช้แทนยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงปลาเพื่อลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย การตกค้างของยาในเนื้อปลา และการลดต้นทุนการเพาะเลี้ยง
คำสำคัญ : ทับทิม ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ความเป็นพิษต่อเซลล์ Aeromonas caviae Aeromonas sobria
Key words : Pomegranate, Antibacterial activity, Cytotoxicity, Aeromonas caviae, Aeromonas sobria


ABSTRACT
Pomegranate (Punica granatum Linn) is a local medicinal plant of Thailand, which is used as a remedy for diarrhea and dysentery. Moreover, there have been a number of reports of its antibacterial activity against both of gram positive and gram negative human-pathogenic bacteria. However, none is reported on its activity against fish pathogenic bacteria. Therefore, the antibacterial activity of crude extract of pomegranate pericarp against 2 strains of pathogenic bacteria of catfish, Aeromonas caviae and A. sobria, was studied in this research. The pomegranate extract showed the inhibition zone against A. caviae and A. sobria of 15.7 ± 0.4 and 18.5 ± 0.5 mm, respectively. The minimal bactericidal concentration (MBC) values at 24 h of incubation were 6.25 and 12.50 mg/ml, respectively. In addition, the primary phytochemical study showed that the antibacterial compounds of crude pomegranate extract was classified to a group of tannins, sterol glycosides, and phenolic compounds. The in vivo cytotoxicity of the crude extract on brine shrimps (Artemia salina) was also investigated and the average of lethal concentration 50 (LC50) value at 24 h of incubation was 15.80 mg/ml, which was higher than the MBC values against A. caviae and A. sobria. The results of this research suggested that the crude extract of pomegranate pericarp may be useful to inhibit catfish pathogenic bacteria and perhaps replace the uses of antibiotics in fish farming, thus probably reducing problems of antibiotic-resistant bacteria, left-over chemicals in fish flesh, and lower cost of fish farming.
* มหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น