โดย ไทยทน 17 พฤศจิกายน 2551 18:49 น.
ขณะนี้ไม่มีใครอยากเห็น “สงครามประชาชน” ไทยทนเชื่อว่า จะเสื้อเหลือง หรือ เสื้อแดง ก็รักชาติทั้งสิ้น แต่ถ้าคนเสื้อแดงถูกหลอกให้ “ไม่มองความจริง” ว่าคนเสื้อเหลืองทำด้วยเจตนาดีโดยรักษาหลักการ “นิติรัฐ” เพื่อ “ต่อต้านการทุจริตโกงชาติ” เพื่อส่วนรวม ก็ทำให้คนไทย “แตกแยก” กันได้
ไทยทนจึงเชื่อว่า ให้เป็นศึกการเปิดโปงความจริงดีกว่า เมื่อความจริงชนะ และปรากฏเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน แม้ใครจะยังชอบหรือไม่ ก็ยังมีเสรีตามระบอบประชาธิปไตย แต่คนไทยก็ไม่ต้องทะเลาะเข้าใจผิดกัน
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้แถลงข่าวโดยนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC) ซึ่งเป็นการปกปิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ (นช.) และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรเป็นเจ้าของวินมาร์ค กองทุนแวลูอ์ แอสเสทส์ ฟันด์ (VAF หรือ VIF) โอเวอร์ซีส์ โกล์ฟ ฟันด์ อินซ์ (OGF) และออฟชอร์ว ไดนามิค ฟันด์ อินซ์ (ODF) โดยใช้เชิงเทคนิคที่ไม่เนียน ดังที่จะได้สรุปไว้ในช่วงหลังของบทความนี้
ข่าวดีคือ ท่านโฆษกสำนักงานอัยการฯ ได้ให้ความจริงที่เปิดโปง นช. และ ภรรยา ว่า “ส่วนการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานนั้น อัยการเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏท ั้งสองไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการซื้อ-ขายหุ้นด้วยตัวเอง แต่ซื้อขายหุ้นผ่านกองทุนแล้ว ดังนั้นหน้าที่การรายงานการซื้อขายหุ้นจึงเป็นของกองทุน ไม่ใช่หน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานที่จะต้องรายงาน ตามที่ถูกกล่าวหา” เท่ากับยืนยันตรงกับดีเอสไอ (ยุคคุณสุนัย มโนมัยอุดม) และสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า ทั้งสองคือเจ้าของกองทุนลับที่แท้จริงนั่นเอง
จากข้อมูลข่าวสารที่รวบรวมได้ มีหลักฐานการ “ปกปิดความจริง” เรื่องนี้มาเกือบ 10 ปี และมี “ความจริง” ที่น่าจะได้เห็นตรงกันหลายประเด็นดังนี้
1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในวันที่ 12 กันยายน 2543 ว่า การขายหุ้นอสังหาริมทรัพย์ 5-6 บริษัทให้แก่กองทุนวินมาร์คนั้น “เป็นการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรที่พิสดาร”
2. “ขายไป 500-600 ล้านบาท หรือ 700-800 ล้านบาท จำนวนเท่าไหร่ จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้”
แต่ความจริง (2) ปรากฏ 6 ปีต่อมา ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 มติชน นำโดยคุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ จึงได้แสดงข้อมูลใหม่ “ทักษิณ-พจมาน” โอนหุ้น 5 บริษัทในเครือมูลค่าเกือบ 1,500 ล้านบาท และความจริง (1) โฆษกอัยการสูงสุดช่วยเปิดโปงแล้วว่า “ทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเอง แต่ซื้อขายหุ้นผ่านกองทุน”
3. พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบคำถามเรื่องราคาขายว่า “ขายไปในราคาพาร์ เพราะต้องยอมรับว่า ตอนนี้อสังหาริมทรัพย์ในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์ทั้งนั้น เราขายได้ราคาพาร์ในช่วงนี้ก็ถือว่าเฮงแล้ว”
เป็นคำตอบที่เป็นความจริง แต่ไม่ตอบเหตุผลว่าทำไมที่พาร์ ความจริง (3) ก็คือเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษี แต่ขัดกับที่บอกว่าเป็นนักลงทุนต่างชาติธรรมดา ด้วยมีการขายเหมาเข่ง 5-6 บริษัท ที่ราคาพาร์ทั้งหมดเลย ทั้งที่แต่ละบริษัท ทำธุรกิจไม่เหมือนกัน ก่อตั้งไม่พร้อมกัน กำไร/ขาดทุนไม่เท่ากัน มูลค่ากิจการไม่เท่ากัน ผู้เข้าใจธุรกิจย่อมเข้าใจว่าเป็นการโอนระหว่างพวกเดียวกันกับโนมินีมากกว่า ดูอย่างที่ครอบครัวขายให้เทมาเส็ก ราคาหุ้นละ 49.25 บาท ต้องต่อรองถึงเศษ 25 สตางค์ด้วย ซึ่งการขายเหมาที่ราคาพาร์นี้ โต้แย้งข้อ (1) ที่ว่าเป็นนักลงทุนต่างชาติธรรมดาๆ ไม่ใช่ของตัว
4. นักข่าวถามว่า “บริษัทที่ขายหุ้นให้กับต่างชาติก็ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก ทำไมนักลงทุนถึงสนใจซื้อ” ทักษิณตอบว่า “ที่ต่างชาติสนใจซื้อเพราะบริษัทจะเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในโอกาสต ่อไป”
แต่ความจริง (4) ใน 5 บริษัทที่วินมาร์คซื้อไปนี่ มีบริษัทเดียวที่เข้าตลาดฯ ได้ คือ บ.โอเอไอ พร็อพเพอตี้ (ปัจจุบันคือ SC) แต่วินมาร์คกลับขายหุ้นออกไป 3 สัปดาห์ก่อนยื่นไฟลิ่ง คือวันที่ 11 สิงหาคม 2546 โดยผู้ซื้อคือ VAF ซึ่ง ถือหุ้นเพียง 3 สัปดาห์แล้วขายต่อให้อีก 2 กองทุน คือ OGF และ ODF เหมือนเป็นคนละกองทุน โดยทั้ง VAF, OGF และ ODF มีที่อยู่ที่มาเลเซียเหมือนกัน คือ เลขที่ L1, LOT7, BLK F, SAGUKING … LABUAN FT, MALYSIA (ตามที่คุณกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลนี้)
หลังจากขายหุ้นที่เข้าตลาดฯ ได้หุ้นเดียวไป วินมาร์คกลับถือหุ้นที่เหลือที่ “ไม่ได้เข้าตลาด” ไปอีกปี แล้วขายคืนให้ น.ส.พินทองทา ทั้งหมดเป็นเงิน 485.8 ล้านบาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ทุกบริษัทเหมาเข่งที่หุ้นละ 10 บาท เหมือนเดิม ซึ่งมิใช่วิสัยของนักลงทุนทั่วไป แต่เป็นลักษณะนอมินีอีกเช่นเคย
นอกจากนั้น มีการเพิ่มทุนที่ราคาหุ้นละ 10 บาท เพื่อขายให้ น.ส.พินทองทา และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้นเมื่อ SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ ทำให้ไม่น่าเชื่อว่า VIF เป็นผู้ลงทุนอิสระดังที่อดีตผู้นำกล่าว
5. นักข่าวถามว่า “ปปง.” ขอตรวจสอบ..? ทักษิณตอบว่า “ถ้า ปปง.ตรวจสอบก็พร้อมจะให้ตรวจสอบ เพราะว่าเงินของเราสะอาดอยู่แล้ว...จะต้องไปกลัวทำไม” ความจริง (5) คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยปล่อยให้ ปปง. ตรวจเลย ตามข่าว คุณกรณ์ไปยื่นที่สำนักงาน ปปง. ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2549 ปปง. ก็เก็บเรื่องเงียบไป
สำหรับประเด็น “กลัวทำไม” นายเสนาะ เทียนทอง อดีตเลขาธิการพรรค ทรท. ยุคแรก กล่าวบนเวทีพันธมิตรฯ ช่วงต้นปี 2549 ว่า “เพราะรวยจากโกงชาติ กล้าทำแม้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อเอาประกัน มีการไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อนทุกขั้นทุกตอนไอ้หมอนี่คิดเป็นจ๊อบๆ” และกล่าวอีกว่า “วันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานรัฐสภาที่เพิ่งหมดวาระไป ไปหาหัวหน้าจิ๋ว คุยกุ๊กกิ๊กอะไรตนไม่รู้ แล้วในที่สุดให้ นายทนง พิทยะ มาเป็น รมว.คลัง เข้ามาไม่กี่วันก็ลอยตัวค่าเงินบาทจาก 26 บาท ขึ้นเป็น 50 บาท พี่น้องคนไทยเจ๊งเป็นเอ็นพีแอลทั้งประเทศ พอเสร็จภารกิจก็ลาออกเลย มาจัดตั้งรัฐบาลใหม่”
โดยนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า พยานหลักฐานที่ปรากฏเพียงพอสำหรับการสั่งไม่ฟ้องคดี โดยมีความเห็นว่า
6. การเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้น SC เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง
7. มีบริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแทน และผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตรวจสอบถูกต้องแล้ว
แต่ความจริง (6) ในเมื่อ นช. และภรรยา คือเจ้าของที่แท้จริงของกองทุน ทำให้ครอบครัวชินวัตรถือหุ้นรวมกันทั้งสิ้น 80% ซึ่งเป็นความจริงที่ปกปิดไว้ และแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จในหนังสือชี้ชวนว่า “กลุ่มตระกูลชินวัตรถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 61 ... จึงทำให้กลุ่มตระกูลชินวัตรสามารถควบคุมเสียงได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น” และความจริง (7) แม้จะอ้างถึง บล.ธนชาติ และคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว ทำให้เข้าใจว่า ทั้ง 2 องค์กรก็เห็นด้วยว่า การแยกหุ้นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ถือในชื่อ OGF และ ODF นั้นทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้วก็ไม่ถูก เพราะทั้ง 2 องค์กรนั้น ไม่ได้รับทราบเลยว่า ท่านทั้งสองคือเจ้าของกองทุน OGF และ ODF ที่แท้จริงเพราะหากทราบ ก็จะยืนยันกับท่านได้ว่า การปกปิดข้อมูลนั้นเป็นการกระทำผิดมาตรา 278 “ผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลัก ทรัพย์ ...ในสาระสำคัญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับ...”
หลักฐานที่ชี้ชัดว่า ทั้ง 2 องค์กรไม่ทราบความจริงที่ท่านปกปิดนั้น ดูได้จากการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แจ้งต่อสำนักงาน กลต. และเปิดเผยเป็นข้อมูลสาธารณะในวันที่ 28 มีนาคม 2549 ว่า “OGF และ ODF เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย... เป็นนิติบุคคลที่มิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับครอบครัวชินวัตร” แม้จะเป็นการแจ้งเท็จ แต่ความจริงของการได้แจ้งเท็จนั้น ช่วยพิสูจน์ว่า จนถึงปี 2549 ก.ล.ต. บล.ธนชาติ นักลงทุน และประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อยึดถือตามนั้น โดยไม่มีใครรับทราบความจริงที่ถูกปกปิดว่า เป็นกองทุนของ นช. และภรรยา
8. ขณะเกิดเหตุคดีนี้ใช้บังคับตามประกาศ สำนักงาน ก.ล.ต.ที่ กจ.44/2543 ต่อมาได้มีการแก้ไขโดยประกาศฯ ที่ กจ.28/2546 กำหนดให้ในกรณีชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เปิดเผยไว้เป็นชื่อนิติบุคคลที่ถือห ุ้นในทอดแรก ได้เพิ่มเติมให้เปิดเผยบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง และธุรกิจหลักของบุคคลดังกล่าวด้วย
เป็นการใช้ช่องอธิบายทางเทคนิคทำนองว่า การปกปิดที่ได้ทำนั้น ทำได้ตามประกาศเดิม ซึ่งความจริง (8) แม้ตามประกาศที่ กจ.44/2543 ก็ไม่เคยเปิดช่องให้ครอบครัวซึ่งถือหุ้น 80% จะแยกหุ้น 19% ไปถือผ่านกองทุนนอมินีแล้ว ปกปิดความจริง และแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จว่าครอบครัวมีหุ้นเพียง 61% ไม่ถึง 3 ใน 4 ได้อยู่ดี
9. ประกาศที่ กจ.58/2545 ข้อ 4 ระบุว่า เมื่อบุคคลใดแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำ กิจการ นับแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นไปหน้าที่ในการรายงานตามมาตรา 246 ให้พิจารณาจากผลรวมของหลักทรัพย์ที่ถือโดยบุคคลทุกรายในกลุ่ม และบุคคลตามมาตรา 258 รวมกันก็ได้ เป็นการใช้ช่องอธิบายทางเทคนิคเช่นกัน ทำนองว่า เมื่อ OGF และ ODF ไม่ได้แจ้งต่อสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าจะนับรวมกับครอบครัวชินวัตร จึงไม่ต้องรายงานร่วมกัน ซึ่งความจริง (9) OGF และ ODF ก็เป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน กับ นช. และภรรยาด้วยเป็นบุคคลเดียวกันตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ม. 258 อยู่แล้ว ไม่สามารถจะรายงานแยกกันอยู่ดี
คดีนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องหุ้นในครอบครัว แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของกรณีที่วินมาร์ค มีเลขที่บัญชี 121751 ถือหุ้น ชินคอร์ปฯ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของการทำผิดรัฐธรรมนูญของ นช. ตั้งแต่ต้น เพื่อเอาอำนาจหาประโยชน์ส่วนตัวนับแสนล้านแต่ให้คนใกล้ชิดและกองทุนลับถือหุ้นแทน
กระบวนการนี้นำไปสู่ความเข้าใจตรงกันของคนในชาติ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในสังคม และต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐบาลพึงทุ่มเทให้เกิด “ความเป็นธรรม” ด้วย “ความจริง” ให้มากที่สุด แต่ถ้าสำนักงานอัยการ ซึ่งเป็นทนายของรัฐไปยอมละเว้นข้อกล่าวหาและการกล่าวโทษโดยดีเอสไอและสำนักง าน ก.ล.ต. และอาศัยช่องทางเทคนิค ซึ่งอ้างจากประกาศฯ 2 ฉบับที่ลงนามโดย อดีต รมต.คลังจาก ทรท. 2 ท่านคือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ตามลำดับ เพื่อลบล้างกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า คือ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ 2535 ทั้งๆ ที่ผู้นำรัฐบาลเสมือนแม่ทัพแห่งความชอบธรรม เคยเป็นถึงอดีตผู้พิพากษามาก่อน น่าจะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย และมีมาตรฐานจริยธรรมดีพอ แต่ด้วยความเป็นคนกันเองกับนักโทษแผ่นดินหรือไม่? ทำให้“ความชอบธรรมไทยก็อาจจะต้องพ่ายยับ ด้วยแม่ทัพคนกันเอง”และคนไทยก็คงต้องอดทนต่อไปครับ
ที่มา http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000136155
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น