++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ม้วนเดียวจบ !

โดย คำนูณ สิทธิสมาน     23 พฤศจิกายน 2551 18:19 น.
http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000138729


เหตุผลในการเคลื่อนขบวนมาปิดล้อมรัฐสภาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเ ช้าวันนี้จะโทษใครไม่ได้นอกจากประธานรัฐสภาที่นึกอย่างไรไม่รู้ไปบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหมอเหวงฯ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000073130 เข้าไว้ในระเบียบวาระตั้งแต่ช่วงวันที่ 3 ตุลาคม 2551 ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นมีการประชุม 3 ฝ่าย 4 ฝ่ายกันเรื่องร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 แล้ว
      
        คล้าย ๆ กับเป็นกระบวนการ “แบล็กเมล์” http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000126936 ให้ผู้คนยอมรับร่างฯแก้ไขมาตรา 291
      
        ร่างฯ ฉบับหมอเหวงฯ นี้ผมเคยเขียนไว้แล้วว่า http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000073130 จงใจไม่บัญญัติรับรองคณะองคมนตรีชุดที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบันไว้ในบทเฉพาะกาล
      
        ร่างฯฉบับหมอเหวงไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามปกติ แต่เป็นเสมือนการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ แล้วเอาฉบับ 2540 มาใส่แทนทั้งดุ้น – อ้อ – ไม่ใช่ – เกือบทั้งดุ้น
      
       ปกติเวลามีรัฐธรรมนูญใหม่ ในส่วนของบทเฉพาะกาลเขาจะรับรองการมีอยู่และการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เริ่มตั้งแต่คณะองคมนตรี ส.ส. ส.ว. และครม.
      
       รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 292 ที่เขาตั้งใจจะยกเลิกนั้นบัญญัติไว้ดั่งนี้
      
        “ให้คณะองคมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
      
       แต่ร่างฯหมอเหวงฯไม่มี
      
       อ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ดีเลิศ แต่เวลาเขาเอาบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใส่แทนที่เขาก็ไม่เอามาตรา 314 ที่รับรองการมีอยู่และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะองคมนตรีเข้าไปใส่ไว้
      
       ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ เพราะหมอเหวงฯคือหนึ่งในแกนนำของนปก.หรือนปช.ที่เคยเคลื่อนขบวนไปโจมตีพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงหน้าบ้านมาแล้ว และยุทธศาสตร์องค์รวมของเครื่อข่ายนี้ก็คือต้องการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” ที่มีสาระสำคัญว่า “ปวงชนชาวไทยเป็นทั้งเจ้าของอำนาจอธิปไตยและผู้ใช้อำนาจนั้นด้วยตัวเอง” http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=7319&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai  ขึ้นมา
      
        ยุทธศาสตร์องค์รวมของคนกลุ่มนี้ผมพูดมานานเป็นปี ๆ แล้ว http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000047346 หลายครั้งในที่ประชุมสภา
      
        และนี้คือประเด็นหลักที่พันธมิตรฯเขาลุกขึ้นสู้ !
      
        จริงอยู่ แม้วันนี้จะเป็นที่ตกลงกันว่าจะไม่มีการประชุมกันในวาระนี้ ในทางปฏิบัติเมื่อเริ่มเปิดประชุม ประธานรัฐสภาหรือสมาชิก จะขอให้เลื่อนระเบียบวาระอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อน ถ้าที่ประชุมไม่คัดค้าน ก็ถือเป็นมติ แต่นั่นก็จะเกิดขึ้นจริงเมื่อเปิดประชุมแล้วเท่านั้น พันธมิตรฯจึงมีข้ออ้างว่าไม่อาจเชื่อวาจาประธานรัฐสภาและนักการเมืองพรรคพลั งประชาชนได้
      
        ประธานรัฐสภาอ้างว่าร่างฯฉบับหมอเหวงนั้นประชาชนเข้าชื่อกันเสนอ เมื่อถูกต้องแล้วไม่บรรจุไม่ได้
      
        ไม่จริง และไม่ถูกต้อง !
      
        มาดูตัวบทมาตรา 291 อนุ 1 รัฐธรรมนูญ 2550 กันก่อนนะครับ
      
        “มาตรา 291 (1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่ าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าข องจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย”
      
       สรุปง่าย ๆ ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 (1) ได้บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน สามารถที่จะเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดด้วย กล่าวคือ....
      
        ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย !
      
        ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายนั้น ปัจจุบันได้มีพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 170 ที่ได้บัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายในห มวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามที่รัฐธรรมนูญ 2540 บัญญัติไว้เท่านั้น โดยไม่มีบทบัญญัติหรือหลักการในส่วนใดที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณี ที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนจะเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 (1) แต่ประการใด
      
        เมื่อได้พิจารณาหลักการของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 แล้ว พบว่าเป็นหลักการที่ได้บัญญัติขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 170 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว จึงเท่ากับว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ไปโดยปริยายในปัจจุบัน
      
        ดังนั้น หากจะอนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 (1) จะต้องมีการตราพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่เพื่อรองรับหลักก ารใหม่เสียก่อน
      
        เพราะแม้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายอื่น ๆ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 163 ก็กำหนดให้ประชาชนแค่เพียง 10,000 คนเข้าชื่อกันเสนอญัตติได้ ไม่ต้องถึง 50,000 คนเหมือนเดิม
      
        แค่เหตุผลประเด็นนี้ ประธานรัฐสภาก็ไม่อาจบรรจุร่างฯหมอเหวงฯเข้าระเบียบวาระได้แล้ว !
      
        มิพักต้องพูดถึงว่า ร่างฯฉบับนี้มีลักษณะไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามปกติ แต่เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
      
        การวินิจฉัยของประธานรัฐสภาน่าจะมีปัญหา !!
      
        แน่นอนว่าเป็นดุลพินิจและเป็นอำนาจของท่าน แต่หากการใช้ดุลพินิจและอำนาจนั้นพิจารณาได้ว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธ รรมนูญ ท่านก็อาจถูกดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้
      
        การกลับลำไม่พิจารณาร่างฯหมอเหวงฯ หรือร่างฯ 291 ในช่วงนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มการเมือง ซึ่งผันแปรไปตามแต่ละช่วงเวลา
      
        ใครจะไปรู้ว่าหากสถานการณ์ผันแปรไปอีก พะนะหัวเจ้าทั่นทั้งหลายจะไปเร่งแก้รัฐธรรมนูญอีก
      
        การบรรจุร่างฯหมอเหวงฯให้ “คาไว้” ในระเบียบวาระจึงเป็นยุทธวิธีล้ำลึก
      
        จะหยิบยกขึ้นพิจารณาเมื่อไรก็ได้
      
        พันธมิตรฯมีเหตุผลเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมรัฐสภาวันนี้ได้ จึงต้องขอบคุณยุทธวิธีล้ำลึกนี้ด้วย
      
        แต่จะ “ม้วนเดียวจบ” ในลักษณะไหน ผมเขียนงานชิ้นนี้ล่วงหน้า 1 วันจึงไม่อาจจะรับรู้ได้
      
        ก็ได้แต่สวดมนต์ภาวนาอย่าให้ผู้บริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตเลือดเนื้อกันอีก
      
        และขอเชิญชวนผู้อ่านร่วมสวดมนต์ภาวนาด้วย !



โครงสร้างแนวราบ(Flat Organization)

โครงสร้างม้วนเดียวจบของพันธมิตรต้องเป็นระบบ Organization as a system บริหารรวดเร็วและถูกต้อง

งานของพันธมิตรฯเป็นระบบแนวราบ(Input-Process-Output)
ดังนั้น โครงสร้างจึงต้องเป็นระบบเป็นแนวราบให้สอดคล้องกับงานที่เป็นระบบดังกล่าว

แ กนนำกลุ่มที่ 2 ต้องเป็นแนวราบชั้นเดียวกับแกนนำกลุ่มที่ 1 คือ ทำการแทน(Acting)แกนนำกลุ่มที่ 1. มิใช่เป็นระดับชั้นใหม่(Layer)แนวดิ่ง(Hierarchy)

โครงสร้างที่มีหลายชั้นทำให้มีหลายเป้าหมาย..องค์กรที่มีหลายเป้าหมายไม่เป็นระบบ..งานเหมือนราชการไม่มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น