++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กรรมและกาล : มารตามรังควานทักษิณ

โดย สามารถ มังสัง 24 พฤศจิกายน 2551 16:14 น.
       สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม (กัมมุนา วัตตะตี โลโก) นี่คือพุทธพจน์ที่ทรงแสดงเกี่ยวกับการเกิดขึ้น และเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งมนุษย์ด้วยว่ามีกรรมได้แก่ การกระทำของตนเองเป็นผู้กำหนดให้เป็นไปทั้งในส่วนดีและไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของกรรมนั้นๆ
      
        โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น กรรมได้แบ่งออกเป็นประเภท คือ
      
       1. กุศลกรรม ได้แก่ กรรมดีที่ทำให้ผู้กระทำได้รับความสุข ความเจริญ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
      
       2. อกุศลกรรม ได้แก่ กรรมที่ทำให้ผู้กรรมได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งทางกายและทางใจ
      
        โดยปกติปุถุชนคนมีกิเลสจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยการประกอบกรรมดี และกรรมชั่ว เกลือกกลั้วกันไป ไม่มีใครทำกรรมดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกันไม่มีใครทำกรรมชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงพูดได้ว่าไม่มีปุถุชนคนใดเป็นคนดีโดยส่วนเดียว และในทางกลับกันไม่มีปุถุชนคนใดชั่วโดยส่วนเดียว แต่ที่เราสมมติเรียกกันว่า คนดี ก็ด้วยถือว่าผู้ที่ทำความดีมากกว่าความชั่วก็คือ คนดี และในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ทำกรรมชั่วมากกว่ากรรมดีก็คือชั่ว นี่คือมาตรการแบ่งแยกคนดี และคนชั่วในโลกแห่งการสมมติ หรือคือตามนัยแห่งโลกียชนที่คนมีการแบ่งคนดี คนชั่วด้วยการวัดจากผลของการกระทำโดยส่วนใหญ่ และมองข้ามส่วนน้อยที่เป็นความเลว
      
        แต่ในความเป็นจริง กรรมที่บุคคลกระทำแล้วไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว กรรมนั้นจะต้องให้ผลแก่ผู้กระทำนั้น เว้นแต่ว่าผู้กระทำนั้นจะได้บรรลุนิพพาน ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดอีก กรรมที่กระทำนั้นทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลจะกลายเป็นอโหสิกรรมไม่ให้ผลอีกต่อไป
      
        สำหรับผู้ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจอวิชชา แน่นอนว่าจะต้องได้รับผลของกรรมที่ตนเองกระทำแน่นอน
      
        ส่วนว่าจะได้ผลของกรรมดีหรือชั่วก่อนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกรรมที่กระทำ มิได้ขึ้นอยู่กับการกระทำก่อนหลังแต่อย่างใด เพราะกรรมในความหมายของพุทธจะให้ผลหรือไม่ให้ผลขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย 3 ประการ ดังต่อไปนี้
      
       1. การกระทำโดยเจตนาจึงจะเป็นกรรม
      
       2. กรรมหนัก หรือที่เรียกว่า ครุกรรม ย่อมให้ผลก่อนลหุกรรม แต่เมื่อครุกรรมให้ผลจนหมดแล้ว ลหุกรรมก็ให้ผล
      
       3. ผู้กระทำกรรมไม่บรรลุนิพพาน ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่
      
        จากเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ จะเห็นได้ว่ากรรมที่บุคคลกระทำแล้วจะต้องให้ผลแก่ผู้ทำแน่นอน เพียงแต่กาลเวลาและประเภทของกรรมเท่านั้นทำให้การให้ผลของกรรมแตกต่างกันออก ไป และนี่เองน่าจะเป็นเหตุให้คนทำชั่วบางคนได้รับผลดี และในขณะเดียวกันผู้กระทำกรรมดีแต่ได้ผลไม่ดี เนื่องจากในขณะที่คนทำชั่วได้รับผลดีนั้นกรรมดีอันเป็นครุกรรมให้ผลอยู่ และในทำนองเดียวกับคนที่ทำดีแต่ได้รับผลไม่ดี เพราะกรรมชั่วอันเป็นครุกรรมให้ผลอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ชาวพุทธบางคนที่มีศรัทธาไม่หนักแน่นในพระธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ เกิดอาการท้อแท้และท้อถอยในการทำความดี ยิ่งกว่านี้บางคนถึงกับเลิกทำความดีไปก็มี
      
        ถ้าย้อนไปในอดีตจาก พ.ศ. 2544 มาจนถึง พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือตัวอย่างหนึ่งที่ผู้คนในสังคมกังขาในพฤติกรรม และกลายเป็นเหตุแบ่งแยกผู้คนในสังคมออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
      
       1. ฝ่ายที่เห็นอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อประเทศ และควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำประเทศต่อไปภายใต้ระบอบการเลือกตั้ง โดยไม่เคยคิดและคำนึงถึงว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาผิดหรือถูกกฎหมายหรือไม่อย ่างไร
      
       2. ฝ่ายที่เห็นว่าอดีตนายกฯ ทักษิณมีพฤติกรรมทุจริต แสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ ก่อความเสียหายให้แก่ประเทศโดยรวม ได้ออกมาต่อต้านไม่ต้องการให้กลับมาครองอำนาจทางการเมืองอีก ไม่ว่าจะด้วยตัวเองหรือแม้กระทั่งพวกพ้องในฐานะเป็นตัวแทน รวมไปถึงต้องการให้นำตัวมารับโทษทางกฎหมายในคดีที่ศาลตัดสินให้จำคุกแล้ว
      
        ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกรณีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้สังคมแตกแยกไปจนกระทั่งถึงการก่อความเสียหายให้แก่ประเ ทศ ล้วนแล้วแต่ถือได้ว่าเป็นอกุศลกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และผู้กระทำได้รับวิบากกรรมแล้วในขณะนี้ ทั้งในส่วนที่รับรู้ได้ เช่น การถูกศาลตัดสินจำคุกในคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ และในส่วนที่เดือดร้อนทางจิตใจ เนื่องจากต้องเร่ร่อนอยู่ในต่างแดนอันเป็นความเดือดร้อนทางใจ
      
        แต่ที่น่าจะกล่าวได้ว่าวิบากกรรมฝ่ายอกุศลที่อดีตนายกฯ ทักษิณได้ประสบมากกว่านี้ก็คือ ทำให้ครอบครัวได้รับผลกระทบทางจิตใจ และพลอยเดือดร้อนเพราะถูกผู้คนในสังคมเหมารวมว่าเป็นคนมีบาปไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกๆ ทั้งๆ ที่มิได้มีส่วนร่วมในการก่อวิบากกรรมโดยตรงแต่อย่างใด
      
        ไม่เพียงแต่ครอบครัวของอดีตนายกฯ ทักษิณเท่านั้น พวกพ้องและเพื่อนฝูงที่มีส่วนได้รับประโยชน์จากอดีตนายกฯ ทักษิณ ไม่เว้นแม้แต่ภิกษุสงฆ์ เช่น เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว เป็นต้น ก็ได้รับบาปกรรมในส่วนนี้ไปด้วย เพราะจะถูกสังคมมองว่า พระสงฆ์ไม่ควรคบหาคนที่สังคมรังเกียจเพียงเพราะเคยได้รับประโยชน์เท่านั้น เพราะการทำเช่นนี้เข้าข่ายประทุษร้ายสกุล คือการทอดตนรับใช้คฤหัสถ์ด้วยหวังลาภสักการะเป็นเครื่องตอบแทน เป็นการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดพระวินัยด้วย
      
        อดีตนายกฯ ทักษิณ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของกฎแห่งกรรมที่ให้ผลแก่ผู้กระทำที่เห็นได้ชัด และง่ายต่อการทำความเข้าใจ
      
        แต่จากนี้ไปคงจะได้เห็นคนอื่นๆ อีกหลายคนที่จะต้องได้รับผลกรรมจากการเห็นดีเห็นงามกับการเลือกข้างอยู่กับอ ดีตนายกฯ ทักษิณ และไม่ยอมถอนตัวถึงแม้กาลเวลาที่ผ่านไปได้พิสูจน์แล้วว่า การกระทำของอดีตผู้นำประเทศผู้นี้ที่ใครต่อใครบอกว่าเป็นคนดีนั้น บัดนี้ปรากฏแล้วไม่ดีจริง และแถมได้รับความเดือดร้อนเพราะการกระทำที่ว่านี้แล้วอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการต้องถูกต่างประเทศประกาศยกเลิกวีซ่าเข้าประเทศ และมีแนวโน้มว่าโลกจะแคบลงเรื่อยๆ ตามกระบวนการยุติธรรมที่จะออกมาว่ามีความผิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
      
        ถ ้าสุดท้ายแล้วหลายๆ ประเทศในโลกถือตามประเทศอังกฤษ ประกาศไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศ กรรมและกาลเวลาแห่งการให้ผลของกรรมก็จะตามทันอดีตนายกฯ ทักษิณ ชนิดที่พูดได้ในทำนองเดียวกับสุนทรภู่ที่ว่า “อนิจจาตัวเราก็เท่านี้ ยังไม่มีพสุธาจะอาศัย”

1 ความคิดเห็น: