++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

แรงโน้มถ่วงโลกาภิวัตน์:กลุ่มประเทศ BRIC กับวิกฤตการณ์โลกาภิวัตน์

โดย ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล 19 พฤศจิกายน 2551 16:20 น.
       แม้เราจะได้ยินหรือสัมผัสประสบการณ์ที่ว่าด้วยโลกาภิวัตน์มาอย่างโชก โชนแล้ว แต่หลายๆ คนยังหาบทสรุปไม่ได้ว่าทิศทางของโลกาภิวัตน์จะพามนุษยชาติไปสิ้นสุดที่บทสรุ ปใด
      
        แรกเริ่มเดิมที ต้นกำเนิดของคำว่า โลกาภิวัตน์ ถูกบัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในระเบียบโลกใหม่หรือที่เรียกว่า The New World Order ซึ่งถูกจัดระบบอย่างพิลึกพิลั่นชนิดที่ตัวแสดงหลักๆ ดังเช่นรัฐชาติ ที่เคยยิ่งใหญ่ เป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมืองโลกยังจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ทั้งนี้เนื่องจากในยุคโลกาภิวัตน์ได้สร้าง สั่งสม และเปิดโอกาสให้ตัวแสดงใหม่ๆ ได้โลดแล่นในเวทีโลก สร้างกระแสข้ามชาติในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในมุมของเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม
      
        ตัวแสดงหลักตัวหนึ่งซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการนำพาโลกาภิวัตน์ให้ดำเนินมาถึงบท สรุปในปัจจุบันคือ บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations) ซึ่งแม้วิวัฒนาการบางช่วงของมันจะพยายามปฏิเสธซึ่งความผูกพันที่มีต่อรัฐชาต ิต้นกำเนิดของตัวเอง พร้อมกับโอ้อวดความไร้รากไร้รัฐ ผ่านความหลากหลายทางเชื้อชาติของผู้ถือหุ้นหรือพนักงานของบริษัทตน แต่เมื่อเกิดวิกฤตถึงขั้นคอขาดบาดตาย สายสัมพันธ์ที่ตัดกันไม่ขาดระหว่างรัฐชาติซึ่งยกให้เป็น “ตัวแม่” กับบรรษัทข้ามชาติที่เล่นบทบาทเป็น “ตัวลูก” ก็ถือกำเนิดขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้
      
       ล่าสุด 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ อันได้แก่ จีเอ็ม ฟอร์ด และไครสเลอร์ ประสบปัญหาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจนส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของบริษัท “ตัวแม่” อย่างรัฐบาลสหรัฐฯ ก็จำเป็นต้องออกแผนการกู้สถานการณ์ให้กับตัวลูกอย่างเร่งด่วน เพราะแม้จะดูเหมือนเป็นการเข้าอุ้มบริษัทของชาติตัวเอง แต่ความจริงแล้วมันคือการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนชาวอเมริกันแบบอ้อมๆ เนื่องจากหากเราคิดคำนวณการจ้างงานของทั้งสามบริษัทเหล่านั้นรวมกันจะพบว่า พลเมืองในสหรัฐอเมริกากว่า 250,000 คน ฝากชีวิตและการเลี้ยงชีพของตนไว้กับทั้งสามบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ยังไม่นับรวมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมากับงานอีกกว่า 4 ล้านตำแหน่งที่บริษัททั้งสามได้ผูกโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายใต้การกำกับของห่วงโซ่อุปทาน
      
        ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างรัฐกับตลาด ที่ก่อสายสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน เพราะตราบใดที่เรายังวัดค่าความมั่งคั่งและความมั่นคงของผู้คนในประเทศหนึ่ง ๆ ด้วยการคำนวณตัวเลขของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐชาติและบรรษัทข้ามชาติต่างก็จะมุ่งแสวงหาและพัฒนาตัวเลขดังกล่าวให้สูงขึ ้นเรื่อยๆ ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวหาได้จำกัดอยู่ในประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่พัฒนาแล้ วเท่านั้น หากยังฝังลึกอยู่ในดีเอ็นเอของผู้นำทุกประเทศและทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ ประเทศตะวันออกหรือตะวันตก หรือประเทศพัฒนาแล้วหรือที่กำลังพัฒนาก็ตาม อันเป็นสาเหตุที่ของการก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่พร้อมจะปฏิเสธการผูกขาดอำนาจ ซึ่งเคยอยู่ภายใต้อุ้งมือของเหล่าประเทศมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
      
        ล่าสุดโลกาภิวัตน์ได้แสดงอานิสงส์ของมันโดยเปิดพื้นที่แห่งโอกาสทางการแข่งข ันให้เกิดขึ้นทุกที่ทุกทาง และทุกสิ่งอย่าง จนเป็นปรากฏการณ์ที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งว่า “competing with everyone from everywhere for everything” ซึ่งอธิบายสภาพการแข่งขันในตลาดโลกที่ไม่จำกัดอยู่เพียงการขยายตัวจากประเทศ ที่รวยกว่าไปยังประเทศที่จนกว่าเท่านั้น หากแต่ประเทศที่เคยจนบางประเทศได้ใช้โอกาสที่ระเบียบโลกใหม่หยิบยื่นให้แสวง หาตำแหน่งแห่งที่ของตนบนพื้นที่ของยุคโลกาภิวัตน์ ขยับขยายเศรษฐกิจของตน จนสามารถลืมตาอ้าปาก แข่งขันท้าทายกับมหาอำนาจเก่าๆ ได้อย่างไม่ปรานีปราศรัย
      
        ประเทศที่เคยจนดังกล่าว ซึ่งบางประเทศเคยถูกขนานนามว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่ก็เคยถูกโจมตีว่าเป็นประเทศสังคมปิด ก็ได้กลับกลายเปลี่ยนสถานภาพตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า Emerging economy โดยในที่นี้มีอยู่ 4 ประเทศที่น่าจับตามอง ได้แก่ 1) บราซิล 2) รัสเซีย 3) อินเดีย และ 4) จีน ซึ่งถูกเรียกรวมๆว่า “BRIC” ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ ที่มีลักษณะร่วมคล้ายๆ กันตรงที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบ การประกอบการ และผู้บริโภคจำนวนมหาศาล
      
        แรงท้าทายที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ได้ประกาศศักดาให้ชาวโลกได้ประจ ักษ์เกิดขึ้นเมื่อผลการสำรวจ 500 บรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ระดับโลกในปีล่าสุดมาในนิตยสารฟอร์จูน ปรากฏให้เห็นถึงจำนวนของบริษัทของประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ที่เพิ่มขึ้นจาก เดิมที่เคยมีอยู่เพียง 31 บริษัทเมื่อปี 2003 เป็น 62 บริษัทในปี 2007
      
        แม้นักวิเคราะห์จากหลายสำนักจะเพ่งเล็งถึงความสุ่มเสี่ยงในการเร่งรัดพัฒนาเ ศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าว แต่ในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลพวงที่กระทบชิ่งจากมหาอำนาจเก่า กลุ่มประเทศ BRIC ทั้งสี่ประเทศอาจกลายเป็นฐานทางการตลาดที่ช่วยผ่อนปรนวิกฤตการณ์ดังกล่าวให้ ดีขึ้นได้ ดังเช่นที่เกิดในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มมีนโยบายในการทำตลาด จากเดิมที่เน้นในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งกำลังอิ่มตัวไปสู่การทำตลาดในประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ ซึ่งรอการเติมเต็มความศิวิไลซ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความอยู่รอดของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสามของสหรัฐอเมริกาด้วย
      
        ป รากฏการณ์น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าที่สะท้อนสถานะคู่ค้าอย่างเท่าเทียมกันระหว ่างประเทศเคยรวยกับประเทศเคยจนน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนประวัติศาสตร์หน้ าใหม่ของยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งอาจเป็นคำบอกใบ้ให้เราได้ทำนายว่า ในท้ายที่สุดโลกาภิวัตน์จะนำเราไปสู่บทสรุปเช่นไร

from http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000137146

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น