++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การประยุกต์ใช้นิติกีฏวิทยาในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย

การประยุกต์ใช้นิติกีฏวิทยาในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย

An Application of Forensic Entomology to Evaluate Post-Mortem Interval

นภาพร ศรีตะวานิช (Napaporn Sritavanich)*

ดร.ทัศนีย์ แจ่มจรรยา (Dr. Tasanee Jamjanya)**

ดร.ยุพา หาญบุญทรง (Dr. Yupa Hanboonsong)***

อัมพร แจ่มสุวรรณ (Amporn Jamsuwan)****

บทคัดย่อ

นิติกีฏวิทยา เป็นการใช้แมลงและสัตว์ขาข้ออื่นๆ ในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย (post - mortem interval ; PMI) เพื่อช่วยในกระบวนการยุติธรรม การศึกษาชีวประวัติของแมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala ที่อุณหภูมิ 29±1°C โดยใช้ตับหมูดิบเป็นอาหาร พบว่า ระยะไข่ 17 ชั่วโมง ระยะตัวหนอน 3 วัน ระยะดักแด้ 4 วัน รวมวงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัย 7.71 วัน การวางไข่ต่อตัวเมีย 1 ตัวเท่ากับ 195 ฟอง การรอดชีวิตร้อยละ 96.67 สัดส่วนเพศ (เพศผู้ : เพศเมีย) 1 : 0.9

จากการศึกษาการใช้แมลงในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย ในกรณีศึกษาที่ 1 เป็นศพเพศหญิงที่ศพพบหนอนด้วงหนังสัตว์ Dermestes maculatus จำนวนมาก จากเอกสารวงจรชีวิตของด้วงหนังสัตว์คิดค่า PMI ได้ประมาณ 19-24 วัน(ระยะเวลาที่ด้วงเริ่มเข้าทำลายศพ 11 วัน+ระยะไข่ 1 - 6 วัน+อายุหนอนที่พบในศพ 7 วัน) ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวฆาตกรได้ คำสารภาพของฆาตกรทำให้ทราบระยะเวลาการตายที่แท้จริงคือ 22 วัน ในกรณีที่ 2 เป็นเพศหญิงสภาพศพเปลือยลอยน้ำ บนศพพบหนอนแมลงวันหัวเขียว C . megacephala จำนวนมาก จากการศึกษาวงจรชีวิตของแมลงวันหัวเขียว C . megacephala คิดค่า PMI ได้ประมาณ 4 วัน (หนอนอายุ 2 วัน+ระยะไข่ 1 วัน + ระยะที่ศพจมอยู่ในน้ำ 1 วัน)

ABSTRACT

Forensic entomology is the use of insects and other arthropods that inhabit decomposing remains, evaluating post-mortem interval (PMI), to aid legal investigations. Studies on the life history of blow fly,

คำสำคัญ : นิติกีฏวิทยา การประมาณระยะเวลาหลังการตาย แมลงวันหัวเขียว ด้วงหนังสัตว์

Key words : forensic entomology, post-mortem interval, blow fly, dermestids


Chrysomya megacephala were conducted under 29 ± 1°C. Pork liver was used as feed to maggots. The egg incubation period was about 17 hrs. Total larval period was 3 days containing 3 instars. The total life-cycle from egg to adult period was about 7.71 days. The fecundity was195 eggs. The survival percentage was 96.67 and sex ratio (male: female) was 1.0 : 0.9.

Case studies of PMI comprised of two cases. The first case was female corpse. Many dermestid larvae were collected from the corpse. From literature, the life history of dermestid, we calculated PMI approximately 19-24 days ( the arrivals of dermestids on corpse at day 11 + 1-6 days of egg incubation period + seven-day-old larvae). Later on when the police arrested the murder, his confession indicated that an accurate PMI was 22 days. The second case was naked female, floating corpse, C. megacephala maggots were collected from the corpse. From the life history of blow fly, we calculate PMI approximately 4 days (two-day-old larvae + 1 day of egg incubation period + 1 day to remain sunk).

* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสาขาวิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

***รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสาขาวิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**** รองศาสตราจารย์ ภาควิชานิติเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น