++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ท่องตามทาง มรดกโลก ดงพญาเย็น - เขาใหญ่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

ทิวทัศน์งดงามบนผาเดียวดาย
       ถ้า... จะเอ่ยว่าโลกใบนี้เป็นโลกของคนหนุ่มสาว จะมีใครเห็นด้วยหรือไม่หนอ...?
      
       ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้กล่าวลอยๆนะจะบอกให้...
      
       แต่มีเหตุผลสนับสนุน ดูอย่างประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา อายุอานามก็เพิ่งจะ 47 ปีเท่านั้นเอง ถ้าจะมองให้แคบเข้ามาอีกนิด ก็ต้องนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของไทยอย่างไรเล่า คนนี้ก็ยังหนุ่มฟ้อ หล่อเฟี้ยว ไม่เบาทีเดียว
      
       เมื่อมาตรองดู ในวัยหนุ่มสาวบางครั้งก็ช่างผันผ่านไปไวเหลือเกิน ดังนั้นหลายๆคนที่เลยวัยแห่งพละกำลังนั้นมา อาจจะมานั่งบ่นเสียดายว่า ในช่วงชีวิตหนึ่งยังมีสิ่งที่อยากทำ แต่ไม่ได้ทำหลงเหลืออยู่อีกมากมาย
      
       “ตะลอนเที่ยว”เองก็ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ฉะนั้นเมื่อคิดได้ ก็ไม่อยากมารอเวลาให้แก่เกินแกง อยากเดินทางไปเที่ยวที่ไหน จึงไม่รีรอสักนาทีเดียว

ผาตรอมใจ ในยามเย็น
       ครั้งนี้ก็เช่นกัน ครึ้มอดครึ้มใจอยากหาที่สงบเงียบงัน อยากอยู่กับป่าเขาลำเนาไพรอันหาไม่ได้จากป่าคอนกรีต เมื่อเตรียมตัวพร้อมจึงออกเดินทางทันที โดยมีสถานที่ในดวงใจไว้แล้วคือ ผืนป่ามรดกโลก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”
      
       ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 14 ก.ค. พ.ศ.2548 นับเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่2 ของไทย ต่อจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง
      
       มรดกโลกแห่งนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาอันเป็นขอบรอยต่อของที่ราบลุ่มภาคก ลางกับที่ราบสูงโคราชประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ใน จ.นครราชสีมา จ.สระบุรี จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว และ จ.บุรีรัมย์
      
       ที่นี่เป็นถิ่นอาศัยสำคัญของสัตว์ป่าหายากมากมาย เช่น ช้างป่า เสือโคร่ง กระทิง วัวแดง นกเงือก รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์อีกหลากหลายชนิด
      
       การเดินทางคราวนี้ของเราอาจจะเหน็ดเหนื่อยกว่าปกติอยู่เล็กน้อย เพราะเราจะเดินทางเที่ยวให้ครบทั้ง 4 อุทยานแห่งชาติของผืนป่ามรดกโลก คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา จะเว้นไว้ที่ไม่ได้แวะไปสัมผัสในทริปนี้ก็คือ เขตรักษาพันธุสัตว์ป่าดงใหญ่ เท่านั้น

น้ำตกเหวนรกวันนี้ไปไม่ยากอย่างที่เคย
       “ตะลอนเที่ยว”เริ่มต้นการเดินทางที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก่อนเป็นแห่งแรก มุ่งหน้าสู่ “น้ำตกเหวนรก” ที่อยู่ในเขต อ. ปากพลี จ. นครนายก แต่ทางเข้าสู่น้ำตกทางด่านเนินหอม จ. ปราจีนบุรีสะดวกที่สุด
      
       เหวนรกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านน้ำตกชั้นนี้ จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่สองและชั้นที่สามในลักษณะการไหลตก 90 องศา
      
       เมื่อมาถึงก็เริ่มต้นเดินเท้าเข้าสู่เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความย าวกว่า 1 กิโลเมตร เพื่อเข้าสู่น้ำตกเหวนรก โดยเริ่มต้นเดินจากลานจอดรถไปจนถึงบริเวณน้ำตกเหวนรก ผ่านป่าดงดิบชื้นที่หนาทึบ มีไม้ใหญ่ให้ศึกษามากมาย ระหว่างทางมีสะพานข้ามคลองท่าด่านหรือห้วยสมอปูน เป็นลำน้ำสายเดียวกับน้ำตกเหวนรก ยามต้นไม้ต้องกระทบเงาน้ำเป็นภาพที่งดงามอีกแบบหนึ่ง
      
       ก่อนเดินทางถึงตัวน้ำตก เราจะสังเกตเห็นว่ามีกำแพงเสาคอนกรีต ตั้งเป็นแท่งสูงสีน้ำตาล เรียงรายล้อมด้วยลวดหนามอีกชั้นหนึ่ง ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะทางอุทยานฯเขาสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ช้างป่าเข้าไปยังเขตน้ำตกไ ด้ เพราะช้างป่าที่นี่มักเกิดอุบัติเหตุตกลงไปในเหวอยู่เนืองๆ

แนวเสาคอนกรีตที่มีไว้กั้นช้างป่าที่อุทยานฯเขาใหญ่
       ใกล้ๆกันจะมีป้ายเตือนจากอุทยานฯ ขอบอกว่านักท่องเที่ยวที่ไปควรอ่านความหวังดีนี้ เป็นป้ายเตือนการเกิดน้ำป่าไหลหลาก ในป้ายเขียนไว้ว่า หากพบว่ามีฝนตกหนักในพื้นที่ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสีน้ำเร ิ่มขุ่นเป็นสีน้ำตาลหรือมีเสียงดังอย่างผิดปกติ ให้สันนิษฐานก่อนว่าจะเกิดน้ำป่าไหลหลาก และยังแถมท้ายด้วยคำเตือนที่ว่า น้ำตกเหวนรกเป็นน้ำตกที่มีความล่อแหลมอันตราย โปรดระมัดระวังอย่าประมาทห้ามเล่นน้ำและอย่าเข้าใกล้หน้าผา
      
       แม้น้ำตกเหวนรกวันนี้จะไปง่ายแสนสะดวก ไม่ลำบากล่องไพรแบบในอดีต เพราะได้มีการทำทางเดินราดปูนอย่างดี มีบันไดแถมราวเกาะไว้เรียบร้อย แต่ก็ยังเป็นสิ่งท้าทายให้ไปสัมผัสอยู่ดุจเดิม สังเกตได้จากอาการบ่นกระปอดกระแปดจากความเหน็ดเหนื่อยปวดเมื่อย ของบรรดานักท่องเที่ยวยามไต่บันไดขึ้น-ลง
      
       และแม้ว่าฤดูนี้จะเป็นช่วงหน้าหนาวสาวขาแตก น้ำที่น้ำตกเหวนรกจะแลดูน้อยไปหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้ความสนุกกร่อยลงไป เรายังสามารถสัมผัสไอเย็นที่สาดกระเซ็นของสายน้ำที่ตกกระทบลงสู่หุบเหวเบื้อ งล่างได้เป็นอย่างดี
      
       เมื่อชมทิวทัศน์ของน้ำตกเหวนรกเป็นที่พอใจแล้ว ย้ายฐานมาที่จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว หรือที่รู้จักกันว่า “ผาเดียวดาย” จุดนี้มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 900 เมตร ตั้งอยู่บนเขาเขียว บริเวณ ก.ม.12

ต้นลานไหวสะบัดยืนต้นงามในอุทยานฯทับลาน
       จากถนนสู่ ผาเดียวดาย เดินง่ายๆเพียง 200 เมตร ก็ถึงที่หมายแล้ว นับว่าเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติอีกเส้นหนึ่งของอุทยานฯเขาใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทีเดียวมี พรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณเป็นพรรณไม้ที่หายาก เช่น สนสามพันปี มอส หญ้าข้าวก่ำ เป็นต้น
      
       ผาเดียวดายมีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง ที่นี่เหมาะแก่การมาชมพระอาทิตย์ยามเช้า เมื่อมาหยุดยืนอยู่ที่ผาเดียวดายนี้ เบื้องหน้าจะสามารถมองเห็นเขาร่ม และมองเห็นทุ่งงูเหลือมอยู่ทางทิศใต้ได้อย่างชัดเจน มาที่นี่หากกลัวเท้าเปื้อนฝุ่นทรายก็อย่าใส่รองเท้าประเภทเปิดส้น เพราะที่ ผาเดียวดาย จะมีฝุ่นผงทรายสีขาว อันเกิดจากมอสที่ตายไป เพราะเหตุถูกนักท่องเที่ยวเหยียบย่ำกลายเป็นฝุ่นผงจำนวนมาก
      
       เส้นทางเส้นนี้เป็นที่นิยมของนักดูนกมาก เพราะมีนกหลายชนิดที่อาศัยและหากินอยู่ในบริเวณนี้ ช่วงเย็นๆ บางวันอาจได้เห็นฝูงนกเงือกบินกลับรังเป็นจำนวนมาก แอบสอบถามประวัติของชื่อผาแห่งนี้จากเจ้าหน้าที่อุทยานฯเขาใหญ่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็เล่าในเชิงเป็นตำนานให้ฟังว่า
      
       เดิมมีหญิงสาวคนหนึ่ง รักใคร่ชอบพอกับชายหนุ่มฐานะดี แต่ทางบ้านของฝ่ายชายกีดกันความรักของทั้งคู่ ทั้งสองแอบคบหากันจนกระทั่งวันหนึ่งฝ่ายหญิงก็ตั้งครรภ์ ทั้งคู่คิดหนีสร้างครอบครัวด้วยกัน ทั้งคู่นัดหมายกันยังผาแห่งนี้ เมื่อถึงเวลานัดหมายหญิงสาวมาเฝ้ารออย่างเดียวดาย แต่รอเท่าไหร่ฝ่ายชายก็ไม่มา เมื่อแน่ใจว่าฝ่ายชายเบี้ยวนัดผิดสัญญาเธอเลยกระโจนลงหน้าผา

แม้มิใช่ฤดูผีเสื้อ แต่ที่อุทยานฯปางสีดาก็ยังพอมีให้เห็น
       อีกหนึ่งตำนานก็ว่า แต่เดิมผาแห่งนี้ชื่อ “ผาถีบเมีย” แต่ฟังไม่รื่นหูเลยเปลี่ยนเป็นชื่อ “ผาเดียวดาย”แทน แต่จากการที่สอบถามเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง แม้แต่คนที่คลุกคลีกับเขาใหญ่มานานหลายสิบปี ก็บอกว่าเห็นผาเดียวดาย โดดเดี่ยวอยู่ในชื่อนี้มาแล้วเนิ่นนาน “ตะลอนเที่ยว”เดาว ่าคงตั้งชื่อให้เท่ห์ไปอย่างนั้น หรืออาจเป็นความรู้สึกของคนที่ยืนอยู่ที่นี่เพียงลำพัง มันเลยเกิดอารมณ์เปล่าเปลี่ยวเดียวดายเลยเกิดชื่อผาเดียวดายขึ้นมา
      
       อ้อ...นักท่องเที่ยวที่มาผาเดียวดายเขาถือเคล็ดกันด้วยนะว่า ต้องมาเป็นคู่หรือมาเมื่อมีคู่ หากเป็นหนุ่มสาวโสดมาเยือน จะต้องไร้คู่อยู่เดียวดายตลอดกาล
      
       ก่อนพาเที่ยวที่ต่อไปขอครวญเพลงก่อน “........ ใต้แสงดวงเดือน เลื่อนลอยล่องลำตะคอง จากแล้วเหลียวมอง ผางามเขาล้อมน้อมก้ม กราบภูผา ฉันมาพร้อมความระทม เอาความตรอมตรม ฝังจมที่ผาตรอมใจ”
      
       เนื้อเพลงบางส่วนจากเพลง “ผาตรอมใจ” ที่ร้องโดย พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ จากเนื้อเพลงพอจะเดากันได้ไหมว่าเราจะไปที่ไหนกันต่อ ก็ต้องที่“ผาตรอมใจ” อย่างไรเล่า ที่นี่เป็นจุดชมทิวทัศน์เช่นเดียวกันกับผาเดียวดาย แต่ผาตรอมใจเป็นบริเวณที่สูงที่สุดของภาคกลาง

กลางวันเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานฯปางสีดา กลางคืนแปลงกายมาเป็นนักดนตรี
       ประวัติของชื่อผาแห่งนี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดเช่นเดียวกับผาเดียวดาย แต่ถ้าจะว่าตามเนื้อเพลงที่ “ตะลอนเที่ยว”ร ้องไปเมื่อครู่ ก็เป็นเรื่องราวความรักที่ผิดหวังของทหารที่ต้องออกรบต้องพลัดพลาดหญิงที่รั กมาอยู่ที่ผาตรอมใจ ละเรื่องประวัติผาตรอมใจ มาชมทิวทัศน์ยามเย็นที่นี่งดงามและหนาวเย็นใช้ได้ทีเดียว
      
       จบวันแรกด้วย ผาตรอมใจ ก่อนเราจะเริ่มวันใหม่ที่ “อุทยานฯทับลาน” จ.ปราจีนบุรี ที่นี่เรียกได้ว่าเป็นป่าลานผืนใหญ่ผืนสุดท้ายของประเทศและในเอเซียที่ยังสมบูรณ์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
      
       ต้นลานเป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นตรงและแข็งมีก้านรอบลำตัวเป็นชั้นๆใบก ลมรูปพัด จัดเป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีใบใหญ่ที่สุดในโลก ต้นลานที่มีอายุระหว่าง 20-80 ปี จะออกดอกในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. ดอกสีเหลืองนับล้านดอกจะส่งกลิ่นหอมทั่ว ถัดมาอีกปีจะออกผลกลมสีเขียว เมื่อแก่จัดจะร่วงสู่พื้นรอขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่

จุดชมวิวที่อุทยานฯปางสีดา
       ประมวล มาหาญ หัวหน้าวิชาการอุทยานแห่งชาติทับลาน เล่าให้ฟังว่า ทางอุทยานฯทับลานแห่งนี้ ได้มีการร่วมมือกับทางชุมชนเป็นอย่างดี เพราะต้นลานมักถูกนำไปให้ในการแปรรูปผลผลิตของชาวบ้าน เช่น ไม้สนุกเกอร์ ตะเกียบ
      
       ดังนั้นเพื่อกันต้นลานหร่อยหรอ จึงต้องจัดโครงการคืนลานสู่ป่า ซึ่งภายในเวลาเพียง 3 - 4ปีสามารถเพิ่มปริมาณไม้ลูกลานได้ไม่ต่ำกว่า 200,000 ลูก ชาวบ้านรอบฯอุทยานก็ได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ใบลานไปพร้อมกั นด้วย
      
       เมื่อสมควรแก่เวลาจึงอำลาป่าลาน สู่ผืนป่าอีกแห่งหนึ่งที่ “อุทยานฯปางสีดา”จ. สระแก้ว ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามของเหล่าผีเสื้อนานาพันธุ์ แต่ว่าเมื่อเราเดินทางมานอกฤดูผีเสื้อ จึงพบผีเสื้อได้น้อยแต่ก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างเช่นกัน เมื่อเดินลงมาบริเวณน้ำตกปางสีดา
      
       จากนั้นเตรียมตัวพบกับเส้นทางหลุมพระจันทร์และฝุ่นสีแดง เมื่อเราจะมุ่งหน้าไปสัมผัส “จุดชมวิวปางสีดา”ท ี่บริเวณ กม.25 นั่งรถเอนซ้ายที ขวาที แต่แสนคุ้มค่าเมื่อมาถึง เพราะที่นี่เราจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์มุมกว้างที่อุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญ าเย็น

น้ำตกปางสีดา ยามหน้าหนาว
       กลับจากจุดชมวิวก็เย็นย่ำ คืนนี้จึงขอค้างคืนภายในอุทยานฯปางสีดา ระหว่างกินข้าวก็มีบริการดนตรีเพราะๆจากพี่ๆเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่มาบรรเลงข ับกล่อมช่วยให้มื้อค่ำนี้พิเศษกว่าที่เคย
      
       เช้าวันรุ่งขึ้นตื่นแต่เช้าท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ที่นี่หากดวงดีจะเจอนกเงือกเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ให้เห็น ก่อนจะจากอุทยานฯปางสีดาไปปิดท้ายทริปนี้ โดยแวะเวียนเข้ามายลสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่เรียกว่า “ละลุ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ทะลุ” 1 ใน อันซีนไทยแลนด์
      
       ละลุกินเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ อยู่ติดกับ “อุทยานฯตาพระยา” อยู่ที่เขต ต.ทัพราช เกิดจากการยุบตัวหรือพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัว เมื่อถูกลมกัดกร่อน จึงมีลักษณะเป็นรูปต่างๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา คล้ายคลึงกับที่ “แพะเมืองผี” ที่จังหวัดแพร่ และ "เสาดินนาน้อย" (ฮ่อมจ๊อม) จ.น่าน

ละลุ มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติที่อุทยานฯตาพระยา
       การเดินทางชมละลุเราต้องอาศัยนั่งรถอีแต๊ก จากหมู่บ้านเข้าไปไม่ไกลนัก อากาศแบบชนบทแสนบริสุทธิ์แบบนี้คนเมืองคงได้แต่อิจฉา ตื่นตาตื่นใจกับละลุอยู่นานก่อนลากลับกรุงเทพเข้าป่าคอนกรีตเผชิญโชคในเมือง ใหญ่ต่อไป.
      
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
      
       สนใจท่องเที่ยวติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท.ภาคกลางเขต8 โทร.0-3731-2282 , 0 - 3731 -2284

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000010171

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น