++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บีโอไอ:การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน

โดย วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์    
สิทธิประโยชน์เพื่อการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงท ุน หรือบีโอไอ มิได้มีเพียงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรเท่านั้น ยังครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรด้วย
      
       การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี อากรสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หมายถึง ผู้ได้รับบัตรส่งเสริมตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 โดยที่ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นบริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ ตามมาตรา 17 สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้ตามมาตร า 27 ที่จะให้แก่ผู้ได้รับการส่งเสริมที่มีหุ้นถือโดยคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน หรือมีจำนวนผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
      
        ผู้ได้รับการส่งเสริมตามที่บัตรส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 27 สามารถยื่นขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งสำหรับเป็นที่ตั้งโรงงาน สำนักงาน ที่พักอาศัยของผู้บริหารหรือผู้ชำนาญการ และที่พักอาศัยของคนงาน
      
       ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2551 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้นิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนถือกรร มสิทธิ์ที่ดิน สำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานและที่พักอาศัย กำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมแต่ละรายถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน สำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานได้ไม่เกิน 5 ไร่ สำหรับเป็นที่พักอาศัยของผู้บริหารหรือผู้ชำนาญการไม่เกิน 10 ไร่ สำหรับเป็นที่พักอาศัยของคนงานไม่เกิน 20 ไร่ โดยที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงาน และที่พักอาศัยจะอยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่ดินอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือไม่ก็ได้
      
       อย่างไรก็ตาม กรณีมีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษ บีโอไออาจจะพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมเป็นกรณีไป และหากหมดสถานะของการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ว่าจะโดยถูกเพิกถอนบัตรส่ง เสริม หรือผู้ได้รับการส่งเสริมขอยกเลิกบัตรส่งเสริมก็ตาม จะต้องจำหน่ายหรือโอนที่ดินภายใน 1 ปี ประกาศนี้ใช้บังคับสำหรับคำขออนุญาตที่ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เท่านั้น
      
        บัตรส่งเสริมการลงทุนไม่กำหนดอายุบัตร ตราบเท่าที่ไม่ถูกเพิกถอนโดยบีโอไอ เนื่องจากปฏิบัติผิดเงื่อนไขภายใต้บัตรส่งเสริม หรือผู้ได้รับการส่งเสริมขอยกเลิกบัตรส่งเสริม อาจเนื่องจากเลิกดำเนินกิจการส่วนที่ได้รับการส่งเสริม หรือเลิกกิจการทั้งหมด
      
        นอกจากนั้น ผู้ได้รับการส่งเสริมยังสามารถยื่นขออนุญาตใช้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือก รรมสิทธิ์เพื่อการอื่น (ได้แก่ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ให้ผู้อื่นใช้ผลิตชิ้นส่วนสนับสนุนการผลิตหรือประกอบการ ใช้ติดตั้งสาธารณูปโภค และให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกันใช้) การขออนุญาตจำนองที่ดิน การขออนุญาตจำหน่ายที่ดิน การขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้สิทธิ์ร่วมกับบัตรส่งเสริมฉบับเดิม (ได้แก่ โครงการขยายซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกับที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ตามบัตรส่งเสริมฉ บับเดิม) การอำนวยความสะดวกโดยการรับรองการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม (ได้แก่ การขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของนิติบุคคลที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 27 การขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดของนิติบุคคลต่างด้าว และการขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดของบุคคลต่างด้าว) เป็นต้น
      
        เมื่อผู้ได้รับการส่งเสริมถือกรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้บีโอไอ เพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม หากจะดำเนินการใดในที่ดินนี้ จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อบีโอไอก่อนการดำเนินการทุกครั้ง
      
        บางธุรกิจบริการมีผู้ถือหุ้นไทยข้างมาก และถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่เดิม ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นเป็นคนต่างชาติถือหุ้นข้างมาก ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถประกอบธุรกิจที่ประกอบการอยู่ หากเป็นธุรกิจตามบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ครอบคลุมธุรกิจหลายประเภท และธุรกิจบริการทั้งหมด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากกระทรวงพาณิชย์ หรือได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
      
       “ผู้ได้รับการส่งเสริมรายใดที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
       มาตั้งแต่เป็นนิติบุคคลไทย ปัจจุบันเป็นนิติบุคคลต่างด้าว
       และยังไม่ได้ขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไป ควรรีบดำเนินการทันที”
      
        เมื่อผู้ได้รับการส่งเสริมเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 27 หากได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว ยังต้องมายื่นเรื่องขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถืออยู่แล้วนั้น ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมหลายรายไม่ทราบ ทำให้การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นไม่ชอบ หากกรมที่ดินตรวจพบก็จะถูกบังคับให้จำหน่ายที่ดินนั้นตามที่อธิบดีกรมที่ดิน กำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่า 180 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี หากไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น ตามมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
      
       ดังนั้น ผู้ได้รับการส่งเสริมรายใดที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมาตั้งแต่เป็นนิติบุคคลไทย ปัจจุบันเป็นนิติบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับการส่งเสริม และยังไม่ได้ขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไปภายใต้สถานภาพใหม่นี้ ควรรีบดำเนินการทันที
      
       อย่างไรก็ตาม หลายกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจการบริการ ที่ไม่ต้องการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพียงเช่าอาคารสำนักงานก็เพียงพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องต่อบีโอไอ
      
       การยื่นเรื่องต่างๆ ต่อบีโอไอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในระบบงานใด เช่น การขอรับการส่งเสริมการลงทุน การแก้ไขโครงการ ระบบงานบัตรส่งเสริม การนำเข้าเครื่องจักร การนำเข้าวัตถุดิบ และระบบงานที่ดิน เป็นต้น สามารถโหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของบีโอไอที่ http://www.boi.go.th/thai/services/boi_forms.asp ซึ่งในบางระบบงานมีคำชี้แจงในการกรอกฟอร์ม บางแบบฟอร์มมีคำอธิบายอยู่แล้วในบางส่วนของฟอร์มนั้น โดยให้ยื่นเรื่องที่สำนักบริหารการลงทุน 1 ถึง 4 ตามประเภทกิจการ
      
        นอกจากการติดต่อสำนักบริหารการลงทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว หากมีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อศูนย์บริการลงทุน โทร. 0-2537-8111 ต่อ 1101 – 1108 โทรสาร 0-2537-8177 หรือ E-mail: head@boi.go.th ได้อีกทางหนึ่งด้วย
      
        ก ารถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ได้รับการส่งเสริมที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของคนต ่างด้าวข้างมาก จึงเป็นนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนทางหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้นักลงทุน สามารถประกอบธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมได้ตามเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานภายในประเทศ รวมทั้งช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
      
       ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2552 เวลา 01:34

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 เมษายน 2552 เวลา 23:32

    ขอบคุนนะคะ
    ได้ประโยชน์จริงๆ

    ตอบลบ