++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

จุดยืนต่อ “แอ๊ด คาราบาว”/อำนาจ

โดย อำนาจ เกิดเทพ     30 มกราคม 2552 16:07 น.



ด้วยชื่อเสียงและสถานะที่ไม่อาจจะเอามาเปรียบเทียบกันได้ เป็นเหตุให้ผมตัดสินใจอยู่นานเลยครับที่จะเขียนถึงชายคนนี้
      
        ผู้ชายคนที่ชื่อ “แอ๊ด คาราบาว”
      
        เพราะไม่ว่าจะมองมุมไหน? หรือจะเขียนถึงประเด็นอะไร มันก็ชวนให้อดคิดไม่ได้ว่า กระผมกระทาชายคนธรรมดาๆ คนหนึ่งเอาชื่อของนักร้องนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้มาทำมาหากินเรียกร้องความ สนใจ
      
        ทว่า หลังจากพิจารณาถึงความชอบส่วนตัว ผมว่ามันคงไม่ใช่เรื่องผิดอะไรนัก (ใช่มั้ยครับ?) หากผมจะขอบันทึกเรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึก ของผมที่มีต่อชายคนนี้ในฐานะแฟนเพลงคนหนึ่งของ “คาราบาว” (ที่อาจจะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ถึงขนาดที่จะไปทราบถึงประวัติ(ความเป็นมา) ของวงดนตรีวงนี้อย่างละเอียด อาทิ จนถึงปัจจุบันสมาชิกคาราบาวมีใครบ้าง?, ผลงานที่ผ่านมามี่กี่อัลบัม-กี่เพลง?, เพลงนี้เคยอยู่ในอัลบัมอะไร? ใครใช้กีตาร์ยี่ห้ออะไร? เวลาว่างของพี่เทียรี่ชอบทำอะไร, พี่เล็กทำหนวดนานมั้ยก่อนขึ้นเวที? ฯลฯ)
      
        ไม่ต้องเกริ่นอะไรกันมากมาย เชื่อว่า หลายคนคงรู้จักพื้นฐานของวงดนตรีวงนี้เป็นอย่างดี
      
        จากบันทึกประวัติศาสตร์ที่เป็นความทรงจำส่วนตัวของผม คาราบาวหรืออีกนัยส่วนใหญ่ก็คือ ตัวของ แอ๊ด คาราบาว เองเริ่มถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก นับตั้งแต่อัลบัม “สาวเบียร์ช้าง” ที่ออกมาในราวๆ เดือนธันวาคม 2544 ก่อนจะต่อเนื่องด้วยอัลบัมนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2545
      
        สาเหตุที่สำคัญก็คงจะเป็นเพราะงานอัลบัมที่ผ่านๆ มานั้น เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่ของคาราบาวถูกเขียนขึ้นมาด้วยสายตาระนาบเดียวของ “คนติดดิน” ด้วยสายตาระนาบเดียวกับของคนที่ถูกระบบราชการ นักการเมือง เรื่อยไปจนถึงความเป็น “ทุนนิยม” อันหมายถึงความเจริญในเรื่องของวัตถุ เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งแนวคิดค่านิยมสมัยใหม่ เบียดเบียน แสวงหาผลประโยชน์ และกดขี่ให้กลายเป็นเพียง “คนตัวเล็ก” ที่ไร้ค่า ไร้ปากไร้เสียง ไร้ซึ่งสิทธิอำนาจการต่อรองในสังคม
      
        จะมีมากก็เพียงอย่างเดียว ก็คือ “แรงงาน” หรือผลิตภัณฑ์ที่แลกด้วย ค่าเหนื่อย ที่ถูกตอบแทนด้วยอัตราค่าว่าจ้าง ค่าใช้จ่ายในราคาถูก
      
        คนเหล่านั้นที่ประกอบไปด้วย ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ กรรมการ สาวโรงงาน คนที่ทำมาหากินเพียงเพื่อประทังชีวิตไปวันๆ หรือแม้กระทั่งขี้เมา คนเร่ร่อน ฯ ที่ต่างก็ได้รับกำลังใจ หรืออย่างน้อยๆ ก็รู้สึกว่ามีเสียงเพลงของคาราบาวเป็นเพื่อนที่รู้ใจ มีคนที่พูดคุยในภาษาเดียวกันรู้เรื่อง
      
        ด้วยเหตุผลที่ว่าบทเพลงของคาราบาวในการรับรู้ระยะแรกๆ จึงมิใช่เพียง “สินค้า” ทางอารมณ์เท่านั้น หากแต่ยังกินใจก้าวไกลไปถึง “แนวคิดทางสังคม” ในความรู้สึกของใครหลายๆ คนที่ย่อมจะคาดหวังไปถึงว่าตัวตนของนักร้องนักดนตรีเองก็น่าจะเป็นอย่างที่เ ขาถ่ายทอดออกมาด้วย
      
        ในอัลบัมสาวเบียร์ช้าง และนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ (และอีกหลายชุดต่อมา) แม้เนื้อหาของงานเพลงส่วนใหญ่จะยังคงพยายามเดินตามในแนวรอยทางเส้นเดิม แต่เพราะการที่ตัวของแอ๊ดเอง ซึ่งชีวิตจริงหันไปวางตัวใกล้ชิดกับระบบทุนมากขึ้น ทั้งการรับหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งการก้าวเลยไปเป็นเจ้าของเครื่องดื่มบำรุงกำลังนั่นเองที่ก่อใ ห้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงขึ้นมาทันที
      
        เป็นความขัดแย้งระหว่างงาน (เพลง) ที่เขาทำ กับสิ่งที่เขาเป็นในสายตาของคนทั่วไป
      
        นับจากนั้น เรื่องราวที่เป็น “ตรงกันข้าม” ที่ว่าของแอ๊ด ก็ปรากฏออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงให้คนไทยใช้สินค้าไทยราคาถูกๆ (มากด้วยคุณภาพ) แต่ตนเองกลับใช้ของนอกราคาแพงๆ, เรียกร้องให้ช่วยกันอนุรักษ์ป่ารักษาเขา แต่ตนเองกลับเคยมีข่าวเกี่ยวกับปลูกบ้านรุกพื้นที่อุทยาน (รวมถึงเป็นเจ้าของที่ดินในอีกหลายจังหวัด), เคยร้องเพลงต่อว่าพวกที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ว่า เป็นการทำมาหากินเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน เป็นเครื่องดื่มที่ไร้ประโยชน์ แต่ตนกลับมาทำขายเสียเอง, ชอบวิพากษ์วิจารณ์การโกงกินคอร์รัปชัน นายทุนหน้าเหลือ ขณะที่ตนเองก็มีข่าวพัวกันกับนักการเมืองคนนั้น-ผู้มีอิทธิพลคนนี้-นักธุรกิ จคนโน้น
      
        หรือแม้กระทั่งเรื่องของบทเพลงการต่อสู้เรียกร้องความชอบธรรมทางการเมือง ที่ว่ากันว่า เขาไม่เคยลง “สนามจริง” สักครั้งเดียว จนนำมาซึ่งข้อสงสัยของใครบางคนในคำว่า “เพลงเพื่อชีวิต” กับ “อุดมการณ์”
      
        ข้ามจากข้อสงสัยแรก มากันที่คำว่า “อุดมการณ์” ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่หลายคนยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์เพื่อหาเห ตุผลที่จะชอบหรือไม่ชอบคาราบาวในยุคปัจจุบัน
      
        “ผมไม่มีอุดมการณ์อะไร มีแต่ทำงานเพลงเพื่อสังคม ไม่มีอุดมการณ์อะไรทั้งสิ้น” เป็นคำพูดหนึ่งที่แอ๊ดเคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ ซึ่งน่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่าเขามอง “อุดมการณ์” ในทิศทางเช่นไร
      
        ซึ่งในสัมภาษณ์เดียวกัน แอ๊ด ได้พูดถึงการแต่งเพลงให้กับกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพลงหาเสียงให้กับนักการเมืองหรือเมื่อครั้งที่ตนเองยังทำธุรกิจเครื่องดื่ม บำรุงกำลังอยู่ โดยเจ้าตัวสรุปว่า ทั้งหมดนั้น “คือ การหาอยู่หากิน”
      
        “ เรื่องนี้ (คาราบาวแดง) มันไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ เป็นเรื่องทำมาหากิน ผมขี่มอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์มีอุดมการณ์ไหม ผมตีไก่มีอุดมการณ์ไหม”
      
        ข้ามมาหลายปี 19 ธันวาคม 2551 แอ๊ด คาราบาว ได้ออกแถลงการณ์ที่ชื่อว่า “กับสถานการณ์หลังม็อบหยุดลงและรัฐบาลใหม่” ผ่านเว็บไซต์คาราบาวดอตเน็ต (www.carabao.net) โดยเนื้อหาหลักๆ นั้น เจ้าตัวได้พูดถึงเหตุผลกรณีที่ไม่ไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย รวมถึงจุดยืนที่เขามีต่อกลุ่มคนเสื้อแดง
      
        ผมเองเห็นด้วยครับในหลายๆ คำพูดของแถลงการณ์ อาทิ คำกล่าวที่ว่า...อยากให้บ้านเมืองสงบ, การชุมนุมทำได้แค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะการเมืองจะต้องแก้แบบบูรณาการ, ม็อบของผมเป็นม็อบสอนให้คนรักใคร่ ปรองดอง สันติวิธี ใช้ความคิดมากกว่าความโกรธ เกรี้ยวกราด ด่าทอ ใส่ไข่ใส่ความ ฯ (เพียงแต่ต้องพ่วงย้ำเข้าไปด้วยว่า ในกรณีของใครที่ทำผิดกฏหมายก็จะต้องถูกลงโทษ ไม่เว้นแม้แต่คนที่มียศ-ตำแหน่งใหญ่โต หรือเศรษฐีคนรวยที่มีเงินเป็นหมื่นๆ ล้าน)
      
        จะมาติดใจก็กับคำแถลงการณ์ตอนหนึ่งที่ว่า...“ถ้าสังคมไทยวันนี้จะมีสมองเหมื อนแม่ยก คือ เลือกที่จะรักจะเชื่อโดยไม่ดูเหตุดูผล เราจะไปทำอะไรได้ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันไป แล้วสักวันหนึ่งคนคงจะได้เห็นความจริงด้วยตนเอง”...ที่ผมเองรู้สึกว่ามันช่า งเป็นการ “ตัดสินคน” จากมุมมองภายนอกที่แย่มากๆ
      
        คนเราถ้าไม่อยากให้ใครมองเราว่าเป็นอย่างไร ตัวเองก็มิสมควรที่จะไปมองคนอื่นในลักษณะเช่นนั้น ใช่หรือไม่?
      
        ผมเองก็เป็นคนหนึ่งครับที่อยู่ห่างไกลเหลือเกินกับคำว่า มี “อุดมการณ์” แต่ชีวิตคนเราจะไม่เข้าไปเกี่ยวพันกับมันเลยก็ดูจะเป็นไปไม่ได้
      
        อย่างน้อยๆ ขอให้มีความจริงจังในการกระทำที่ไม่ทรยศต่อคำพูดอันจริงใจของตนเองก็ยอดเยี่ ยมและน่านับถือแล้วครับ ไม่ใช่ทำตัวปากก็ว่า ตาก็ขยิบ หรือเปลี่ยนสีตัวเองได้ตลอดเวลาเพียงเพราะต้องการแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวในแ ต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
      
        มากอัลบัมหลายบทเพลงของคาราบาว (ตรงนี้ขอเว้นการที่จะพูดถึงที่มา) อาจจะมีเนื้อหาสร้างสรรค์จรรโลงสังคม รวมถึงมีแนวคิดที่ดีๆ ให้กับคนส่วนใหญ่ได้ซึมซับ ทว่าบางทีผมก็อดรู้สึกไม่ได้ว่า สิ่งดีๆ ทั้งหลายแหล่เหล่านั้นดูเหมือนว่ามันจะไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปถึงคนที่ถือปากกาเ ขียนมันขึ้นมาแต่อย่างใด
      
        มากันที่คำว่าเพลงเพื่อชีวิต
      
        โดยส่วนตัวของผม ในคำว่าเพลงเพื่อชีวิตนั้นไม่มีความหมายอะไรให้ขบคิดเลยครับ
      
        เนื่องจากที่ผ่านมาผมมองว่าเพลงของคาราบาว คือ เพลงสามช่า (เป็นหลัก) ที่ต้องมีเนื้อหาซึ่งค่อนข้างจะโดดเด่นในการเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือเหตุการณ์ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย กินใจ จะบีบให้ฮึกเหิมก็ได้ จะบังคับให้ซึ้งก็ไม่ยาก (แม้ในระยะหลังๆ แทบจะไม่มีอะไรที่แปลกใหม่ เดาทางได้ง่าย แต่อย่างไรผมก็ยังต้องขอ “ซูฮก” ให้กับการแต่งเพลงของผู้ชายคนนี้) ดังนั้น ผมจึงไม่ขอยกเอาคำว่าเพื่อชีวิตใคร หรือเพื่อชีวิตมัน หรือเพื่อชีวิตแอ๊ด มาเปรียบเปรย
      
        เพราะผมรู้สึกว่าเวลาผมนึกอยากจะฟังเพลงคาราบาวครั้งใด ตอนนั้นเสียงเพลงดังกล่าวมันก็เป็นเพลงเพื่อ (จรรโลง) ชีวิตผมเท่านั้นเองครับ
       ...
       หมายเหตุ : สมารถคลิคอ่านแถลงการณ์ของ "แอ๊ด คาราบาว" ได้ที่ กับสถานการณ์หลังม็อบหยุดลงและรัฐบาลใหม่ http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000009272 และสามารถคลิคอ่านบทความที่มีส่วนเกี่ยวกับแถลงการณ์ดังกล่าว เขียนโดย "สุรวิชช์ วีรวรรณ" ได้ที่ฝันของแอ๊ดบาวและราคาของมาร์ค http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000151667



ชอบบทเพลงก่อนๆของแอ๊ดหลายเพลง
แต่เดี๋ยวนี้เริ่มเห็นชัดใน"ตัวตน"ที่แท้จริง

แอ๊ดเก่งในสายงานอาชีพคนดนตรีเพื่อชีวิต
แต่คําร้องทํานองไม่ได้สะท้อนตัวตนตามความจริง
อาจแค่แวบนึงที่โหยหาอดีต ความคิดที่"เคย"บริสุทธิ์กว่าตอนนี้

และต้องยอมรับกันว่า"คนเก่ง"
ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องเป็น"คนดี"เสมอไป

ลองดูตัวอย่างทักษิณ
หรือใกล้แนวดนตรีหน่อยก็มาดอนน่า หรือบริทนีย์ สเปียร์

แต่ขออย่างคืออย่าให้คนเก่งแต่เลวได้มีอํานาจ
ประเทศชาติจะย่อยยับเพราะไม่นําความรู้ไปใช้ให้ถูกทาง
กลับนําไปหาช่องทางคดโกง หลอกลวงแบบหาทางจับผิดยาก

แอ๊ด บริทนีย์ มาดอนน่า จะทําตัวอย่างไรอย่าไปสนใจมาก
ชอบบทเพลงก็จงชอบแค่บทเพลง
แต่คอยเตือนตนอย่าไปหลงคิดว่านั่นคือตนแท้ของศิลปิน
ก็แค่คนเดินดิน ขี้เหม็นคนนึง

    คาราบาว Vol สุดท้ายคือ "ประชาธิปไตย" เพราะคาราบาวคือ
1. แอ็ด
2. อ๊อด
3. เที่ยรรี่
4. เล็ก
5. เขียว
6. เป้า
7. ธนิส

ห ลังจากนั้น เมื่อวงแตก ทุกอย่างก็แตกตาม ก่อนหน้านั้นผมคลั่งใคล้และชอบคาราบาวมาก แม้นจะมีการพยายามฟอร์มวงใหม่ แต่ทุกอย่างก็ไม่ใช่แล้ว
rock


    แอ๊ดและคาราบาวเหรอ

เ ราก็คงเหมือนหลายๆคน เคยเป็นแฟนเหนียวแน่น ตั้งแต่สมัย ม.5 ตอนนั้นคาราบาวเพิ่งดัง จากนั้นก็ตามผลงาน รู้จักหมดทุกเพลง เหมือนเขาช่างพูดตรงจริงๆในเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ เรื่องปากท้อง

เหมือนว่าเขาพูดตรง พูดจริงนี่แหละ ที่ทำให้เป็นแฟนเหนียวแน่น

แ ต่ตอนนี้ ไม่มีอีกแล้ว เห็นธาตุแท้แล้ว ผิดหวังมาก เหมือนถูกหลอกให้เทิดทูน พอรู้ว่าเพลงที่แต่งเป็นแค่เกาะกระแส กระโดนมาทางโน้นที ทางนี้ที แต่งเพลงด่าแต่เป็นซะเอง ความศรัทธามันก็หดหาย ตอนนี้ไม่ฟัง ไม่แม้แต่จะฮัมเพลงคาราบาวที่เคยชอบ ยิ่งรักก็ยิ่งแค้นมาก

ใ ครอยากจะเป็นแฟนเพลงเขา เชิญเถอะ แต่สำหรับ คนๆนี้ไม่มีคุณค่า หมดศรัทธา อย่าเรียกตัวเองว่าศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเลย มันสูงเกินไป แค่เรียกว่านักร้องคนนึงที่หากินหาอยู่ก็พอ ทำได้ทุกอย่างเพื่อเงิน ไร้อุดมการณ์ หาผลประโยชน์จากสถานการณ์การเมือง

ยังมีศิลปินเพื่อชีว ิตอีกมากมายให้ศรัทธา ของจริงๆอย่างพี่หงา คาราวาน ครอบครัวโฮป แฮมเมอร์ จุ๋ม ด่านเกวียน ฯลฯ ศรัทธาซื้อด้วยเงินไม่ได้
อดีตแฟนคาราบาว


    รู้จัก และชอบฟังเพลงของคาราบาวมาตั้งแต่วัยรุ่น

เกือบสามสิบปีที่แล้ว

ชื่นชอบในเนื้อหา ของบทเพลง และชื่นชอบในตัวบุคคล

แต่ไม่นาน พอรู้ว่าตัวตนเขาตรงข้ามกับสิ่งที่นำเสนอ

เลยเลิกฟัง นับแต่บัดนั้น

จนกระทั่งบัดนี้ ไม่ว่าจะเพลงเพื่อชีวิตขอวงไหน ๆ ก็ไม่ฟัง

ผมผิดรึเปล่าครับ?
xios



    แอ๊ดจะเป็นยังไง จะเชื่ออะไร อาจจะไม่ถูกตั้งคำถามมากหากอยู่ในภาวะปกติ

แ ต่ในช่วงวิกฤติ แอ๊ดถูกตั้งความหวังว่าจะต้องแสดงจุดยืน หรือถ้าไม่กล้า อย่างน้อยควรจะต้องอยู่นิ่งๆ ทำมาหากินของตัวเองไป บนอุดมการณ์และจุดยืนบนส้นเท้าที่ไม่น่า "ยืนยง" และยืดยาวมากกว่าไปกว่าเงาของตัวเอง

แต่นี่ไม่ใช่ เพราะแอ๊ดโฉบไปมาตลอด เขาจึงดูเหมือนไม่มีจุดยืน ไม่มั่นคงเหมือนกับที่ได้แสดงออกมาผ่านบทเพลงตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

แ อ๊ดฉลาดที่จะยืนอยู่ข้างผู้ชนะเท่านั้น หลังจากฝุ่นตลบจางหาย เพราะฉะนั้นแอ๊ดจึงไม่เคยแพ้ และเก็บกินดอกผลจากสังคม ผ่านผลงานเพลงและธุรกิจ โดยไม่ต้องเปลืองตัวเอาตัวเข้าแลกเหมือนรุ่นพี่ๆ อย่างคาราวาน

สงครามครั้งนี้แอ๊ดก็ฉลาดพอที่จะไม่เปิดหน้าไพ่เล่น แต่หากโมเมนตั้มของสถานการณ์คงที่มากกว่านี้ เราคงได้ยินเขาแต่งเพลงให้เราฟังอีก เหมือนกับเพลงสมภารเซ้งโบสถ์ ที่เขาแต่งขึ้นหลังทักษิณเซถลา

ส่วนเราก็ฉลาดพอจะรู้จักตัวตนของแอ๊ด ผ่านสิ่งเราเห็น วันนี้เราจึงมีข้อสรุปให้กับตัวเองว่า แอ๊ดเป็น "นักร้องเพลงเพื่อชีวิต" และพ่อค้า หาใช่ "ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต" แต่อย่างใดไม่ สิ่งที่เราอยากเห็นก็คืออย่างน้อยแอ๊ดควรเลิกสร้างภาพเป็นศิลปินได้แล้ว และควรซื่อสัตย์กับเพื่อนร่วมชาติให้มากสมกับอายุอานามที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ หลายคนคงสบายใจมากขึ้นที่ฟังเรื่องราวเพื่อชีวิตในเพลงของคุณ
แฟนเพลงคนหนึ่ง




    ลองสังเกตุดูครับ
แอ๊ดร้องเพลงโฆษณารถ ก็อตจักรพรรณก็ร้องเพลงโฆษณารถ
แล้วรู้ไหมทำไมคนถึงด่าแต่แอ๊ด
ก ็เพราะเมื่อก่นอทำตัวเป็นเหมือนมีอุดมการณ์ ทำตัวติดดิน ชีวิตลำเค็ญ สร้างภาพให้คนเห็นว่ารักสังคม ปกป้องธรรมชาติ แต่ดูพฤติกรรมปัจจุบัน ตรงข้ามกับที่พูดหมด
ส่วนก็อต เค้าเป็นนักร้อง ทำมาหากินบนเสียงเพลง ไม่ว่าเค้ารอ้งเพลงอะไรก็เพื่อให้คนฟังได้ฟังเพลงที่ไพเราะ นั่นคืออาชีพแท้ๆของเขา ทุกคนเข้าใจ ปัจจับันเขาก็ร้องเพลงหากินอยู่ ด้วยน้ำเพสียงและบุคลิคเดิม คนจึงยังนิยมชมชอบเขาอยู่ไม่ว่าไปร้องเพลงที่ใดต่อให้เอาเพลงเก่ามาร้อง คนก็จะยังฟังและติดตามอยู่ตลอด ไม่เหมือนแอ๊ดซึ่งเปลี่ยนจากหน้ามือไปหลังมือ หมดศรัทธาแล้วครับ
ข้อแตกต่าง



    แอ๊ด ก็อยากรวย เหมือน อากู๋
แอ๊ด ก็อยากรวย เหมือน เฮียฮ้อ

แ ละ แอ๊ด ก็รู้ว่า ตัวเอง มีจุดแข็ง อยู่ตรงไหน ก็เลยใช้จุดแข็ง ของตนเอง สร้าง Connection กับเจ้าสัว ( ซีพี และ เบียร์ช้าง และอื่น ๆ ..... ) เพื่อให้ตัวเอง เติบโต รวยขึ้น ๆ เหมือน กู๋ & เฮีย ... ข้างต้น

กิเลส ตัณหา ยังคงมีอยู่ในมนุษย์ ทุกคน แอ๊ด ก็ไม่แตกต่างอะไร กับ มนุษย์ คนอื่น ๆ ..

เ พราะฉะนั้น คนฟังเพลง หรือ แฟน ๆ (แอ๊ด) ก็คงต้องเข้าใจ ว่าสิ่งที่ แอ๊ดทำ ที่ผ่านมา ก็เป็นเรื่องจริงบ้าง โกหกบ้าง ทั้งหมด ทั้งปวง ก็เพื่อตอบสนอง ความอยาก .... ทั้งหมด ทั้งปวง.

สุดท้าย คนฟังเพลง และหรือ แฟน ๆ (แอ๊ด) ก็คงเข้าใจ ไม่ไปคาดหวัง กับ ชายคนหนึ่ง ที่เหมือนกับ มนุษย์ (ทั่ว ๆไป) คนหนึ่ง.

ขอบคุณครับ.

ม นุษย์ เรียนรุ้จากสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และนำมันมา วิเคราะห์ ถึงที่มา ที่ไป เหตุ และผล พร้อมนำมันไปปรับใช้ ในอนาคต สิ่งที่จะแตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ก็คือ เมื่อถึงจุดสำเร็จ จุดหนึ่งแล้ว มนุษย์คนนั้น รู้จักคำว่า "พอ" หรือไม่ และมนุษย์ (ที่ประสบความสำเร็จ) คนนั้น ต้องการทำอะไร เพื่อส่วนตนเองต่อไป หรือ ต้องการทำคุณประโยชน์ เพื่อแผ่นดิน หรือ เพื่อส่วนรวม ของประเทศชาติ หรือ ไม่ ?

ตรงนี้ เป็นประเด็น ที่ทำให้คน แตกต่างกัน ( ส่วนตน หรือ ส่วนรวม )

ขอบคุณครับ.
คนการตลาด

1 ความคิดเห็น: