++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตามไปดูหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรรู้ทีเด็ด “ลุงง้วง” สร้างเงินหมื่นด้วย “หมู”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
ลุงง้วง ศรีจันทร์ ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร
       ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา “โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” ได้พลิกฟื้นชีวิตของเกษตรกรที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ จำนวน 64 ครอบครัว จากที่เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ มีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ ให้กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ สามารถมีรายได้ เลี้ยงตัวเองและครอบครัวให้อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันด้วยการเลี้ยงหมู แม้เศรษฐกิจจะไม่ดีเพียงใดพวกเขาเหล่านี้ก็ยังสามารถที่จะดำเนินชีวิตไปได้อ ย่างราบรื่น
      
       แล้วโครงการดังกล่าวคืออะไร เหตุไฉนถึงได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้ขึ้นมา
      
       “ลุงง้วง ศรีจันทร์” ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกถึงความเป็นมาของ โครงการว่า จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 บนเนื้อที่ 4,000 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ ส่วนราชการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ธนาคารกรุงเทพ (มหาชน) สาขากำแพงเพชร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด กลุ่มเกษตรที่เป็นสมาชิกโครงการ

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรมที่ทำกระยาสารทเป็นอาชีพเสริ
       สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ต้องการให้ชาวบ้านมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง มีโอกาสที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการปลูกพืช ตลอดจนการนำระบบการจัดการที่ครบวงจรมาใช้ในการดำเนินโครงการ และสร้างแนวคิดในกระบวนการผลิตแบบผสมผสาน คือ การเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรได้มีรายได้เพิ่มเติมสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
      
       ทั้งนี้ โครงการที่ว่านี้สามารถนำวิชาการการเกษตรสมัยใหม่ เครื่องจักรกล ตลอดจนระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร ให้มีคุณค่าแห่งชีวิตและเป็นความหวังในอนาคตของบุตรหลาน โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งสิ้น 64 ครอบครัว

โรงเลี้ยงสุกรของหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร
       ลุงง้วง เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้วประสบกับความยากลำบากมาก โดยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ มีรายได้เพียงวันละ 20-25 บาทเท่านั้น แถมยังมีลูกอีก 2 คน ที่จะต้องเลี้ยงดูอีก ซึ่งตอนนั้นกลัวว่าจะไม่สามารถส่งเสียให้ลูกทั้ง 2 คนเรียนหนังสือได้ โดยเฉพาะลูกคนเล็ก
      
       เมื่อพอทราบข่าวว่าจะมีการจัดตั้งโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ขึ้น จึงรีบมาสมัคร ซึ่งเงื่อนไขของโครงการนั้นจะต้องเป็นคนยากจน ไม่มีที่ดินกินทำกินเป็นของตัวเอง ตอนแรกที่เข้ามานั้นมีเพียงเสื่อผืนหมอนใบเท่านั้น แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ อดทน และขยันหมั่นเพียร ทำมาเรื่อยๆ จากที่ไม่มีอะไรเลย รายได้ก็มีเพียง 20-25 บาทเท่านั้น ตอนนี้กลับมีรายได้ 30,000-40,000 บาทต่อเดือน สามารถที่จะเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ส่งลูกให้เรียนจบได้ และตอนนี้มีทั้งบ้าน รถ 6 ล้อ 2 คัน มีมอเตอร์ไซค์ รถปิกอัพ โทรทัศน์ มีเหมือนกับคนอื่นๆถึงแม้เศรษฐกิจในปีนี้ และในปีหน้าจะเป็นอย่างไรก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
      
       “ตอนนี้ลูกลุงทั้ง 2 คนเรียนจบปริญญาตรี โดยลูกคนโต จบจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สาขา การตลาด ส่วนลูกคนเล็ก จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาการตลาดเช่นเดียวกัน”
      
       ลุงง้วง เล่าเพิ่มว่า ตอนที่เข้ามาแรกๆ นั้น เลี้ยงสุกรพันธุ์จำนวน 36 แม่ รายได้ก็อยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 บาท ทำมาเรื่อยๆ ก็ขยับจำนวนแม่พันธุ์จาก 36 แม่มาเป็น 40 แม่และ 60จนถึง 80 แม่ โดย 1 แม่จะออกลูกประมาณ 92 ตัว ซึ่งเกษตรกรในหมู่บ้านทั้งหมด 64 ครอบครัวก็จะประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพหลักเช่นกัน

การเลี้ยงปลาดุกของเกษตรที่เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
       นอกจากนี้แล้ว อาชีพเสริมของเกษตรกรที่นี่ คือ การเลี้ยงปลาดุกที่อยู่ข้างๆ โรงเลี้ยงสุกร ซึ่งลุงง้วง บอกว่า จะมีรายได้ประมาณ 60,000-70,000 บาทต่อเดือน ส่วนการปลูกผักกระเฉดน้ำ ในบ่อปลาดุก ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่รายได้ดีและมีตลาดรองรับที่แน่นอน โดยรายได้ก็ตกอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาทต่อปี
      
       ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ การจำหน่ายมูลสุกรแห้ง ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรต่างหันมาใช้มูลสุกรแทนปุ๋ยเคมี เพราะมีราคาแพง ทำให้มูลสุกรโดยมูลสุกรนั้นจะตากแห้งและบรรจุไปขายถุงละ 50 บาท รายได้ในส่วนนี้ก็อยู่ที่ 9,000 บาท นอกจาก 3 อาชีพเสริมที่ได้กล่าวไปแล้ว เกษตรกรเหล่านี้ยังมีที่ดินไว้สำหรับปลูกยางพารา ในบริเวณรอบๆ ฟาร์มสุกร และปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ว่างเปล่าข้างฟาร์มสุกรอีกด้วย
      
       เช่นเดียวกับ นางศรีนวล (ขอสงวนนามสกุล) ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรพันธุ์ที่เล่าว่า เมื่อก่อนนั้นไม่ค่อยมีรายได้เท่าไร ประสบกับความยากลำบากมาก แต่พอได้มาสมัครเข้าโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมแล้วประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรพันธ ุ์ซึ่งเป็นอาชีพหลัก ก็ทำให้มีรายได้ดีขึ้นมาก สำหรับรายได้ในตอนนี้ก็ตกอยู่ประมาณเดือนละ 30,000 บาท
      
       จ ะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ของโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ได้พลิกฟื้นชีวิตคุณลุงง้วงจากที่ไม่มีอะไรเลย ต้องหาเช้ากินค่ำมีรายได้เพียงไม่กี่สิบเท่านั้น แต่มาวันนี้เขามีรายได้ถึงหลักหมื่น แม้จะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ พวกเขาก็ไม่เดือดร้อนเพราะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความพอเพียง ภายใต้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004780

    เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงถือเป็นรากฐานของครอบครัว ทำให้พอกินในครอบครัว เหลือแล้วแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินซื้อทุกอย่าง....
ปัจจุบัน เกษตรกรมีที่ดินทำกิน แต่ต้องซื้อทุกอย่างทำให้ไม่ม่เงินเหลือเก็บและยังเป็นหนี้.....
ร ัฐบาล...ถ้าอยากให้ประชาชนมีเงินและเศรษฐกิจประเทศดีขึ้น เพียงแต่คุณส่งเสริมปชช. ด้วยวิถีเดิมๆ แต่อย่า ลด แลก แจก แถม เลย มันทำให้คนขี้เกียจและประเทศชาติก็จะขี้เกียจไปด้วย
gust48

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น