++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ภาวะอภิรักษ์วันนี้ : หยดหมึกดำบนผ้าขาว

โดย สามารถ มังสัง 17 พฤศจิกายน 2551 16:55 น.

4 ปีในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ภาวะหรือความเป็นไปโดยทั่วไปของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ถือได้ว่าเป็นบุคลากรทางการเมืองที่มีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของประชาชนชาว กทม. ทั้งในด้านผลงาน การวางตัว และภาพลักษณ์ในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ จะเห็นได้จากการที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้งด้วยคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งอย่างมาก จึงน่าจะคาดการณ์ได้ จากจุดนี้เป็นต้นไป เส้นทางการเมืองของนักการเมืองผู้นี้คงจะก้าวต่อไปอีกไกลในยุคผลัดใบของพรรค ประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
      
        แต่วันนี้และเวลานี้ เส้นทางการเมืองของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดูเหมือนจะไม่ราบรื่นและอาจถึงขั้นต้องยุติลงอย่างถาวรก็เป็นได้ เมื่อ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม.มูลค่า 6,800 ล้านบาท ในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และปรากฏว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นหนึ่งในจำนวนหลายคนที่เข้าข่ายกระทำผิดในคดีนี้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อไปแล้ว
      
        แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอนำข่าวนี้มาเสนออีกครั้ง โดยสรุปเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
      
        ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม. ด้วยคะแนน 9 ต่อ 0 ว่าคดีนี้มีมูลความผิด โดยมีผู้ที่เข้าข่ายมีมูลความผิดตามนัยแห่งกฎหมายและลักษณะการกระทำผิดแบ่งเ ป็นกลุ่มได้ดังนี้ คือ
      
       1. กระทำผิดในขณะที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 13 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้แก่ นายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม.
      
       2. มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 152 ได้แก่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและ กทม. และฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และบริษัทSteyr-Daimler-Puch Speziealfahrzeug AG&CO KGเนื่องจากไม่มีฐานะเป็นพนักงาน แต่กระทำการเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่เจ้าหน้าที่พนักงานกระทำผิด
      
       3. ผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้แก่ คุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีตปลัด กทม.ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 84 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ กทม. พ.ศ. 2528 แต่ไม่มีมูลความผิดทางอาญา พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอันเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง และฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 84 วรรคแรก
      
        ส่วนนายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ มีความผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 84 วรรคแรก
      
        โดยสรุปดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าในคดีนี้มีทั้งผู้ที่เข้าข่ายมีมูลความผิดทางอาญา และทางวินัย ซึ่งมีทั้งผิดอย่างร้ายแรง และไม่ร้ายแรง
      
        ส่วนว่าในขั้นตอนการตัดสินของศาลจะมีผลการตัดสินออกมาเป็นอย่างไรนั้น จะต้องรอดูกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
      
        แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้ทุกคนที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลว่ามีความผิดถือได้ว่าตกเป็นจำเลยทางสังคมในข้อหาขาดคุณธรรม และจริยธรรมไปแล้วระดับหนึ่ง ตามความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน ป.ป.ช.และบุคคลทั้งหมดที่ว่านี้ ถ้ามองในแง่จริยธรรมแล้วเป็นคนด่างพร้อยในแง่ของชื่อเสียงของตนเอง และวงศ์ตระกูล ยิ่งกว่านี้ ผู้ที่เป็นนักการเมืองซึ่งมาจากการเลือกตั้งจะตกเป็นเหยื่อแห่งการวิพากษ์วิ จารณ์ โจมตีจากนักการเมืองด้วยกัน แต่ยืนอยู่คนละฟากกันเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
      
       และนี่เองคือประเด็นที่ทำให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เลือกการลาออกแทนการพักการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บางคนในพรรคประชาธิปัตย์ได้พ ูดก่อนหน้านี้
      
       การที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลาออกทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้อะไร และเสียอะไรถ้าไม่ลาออก?
      
       เกี่ยวกับประเด็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อะไร ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูนักการเมืองที่ตกเป็นผู้ต้องหาในขั ้นตอนการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. และการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในกรณีของการไปทำข้อตกลงกับประเทศกัมพูชา โดยไม่ผ่านสภาฯ และไม่มีนักการเมืองคนใดลาออก ก็จะเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อะไรจากการลาออกของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะผู้คนในสังคมได้มีทัศนคติในทางลบต่อพรรค และนักการเมืองที่ยึดติดตำแหน่ง ไม่ยอมลาออกในทันทีที่ตกเป็นผู้ต้องหาว่าเป็นผู้ไม่มีความรับผิดชอบ และขาดจริยธรรมที่นักการเมืองจะพึงมีพึงเป็นเมื่อเทียบกับมาตรฐานทางการเมือ งในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ยอมลาออกเพียงมีคนมาเดินขบวนเรียกร้องยังไม่ถึงขั้นตกเป็นผู้ต้องหาแต่อย ่างใด
      
       ดังนั้น การที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลาออกจึงเท่ากับสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองให้แก่วงการเมืองไทย และการกระทำเช่นนี้เชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ชื่อเสียง ส่วนประเด็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเสียอะไร ถ้านายอภิรักษ์ ไม่ลาออก แต่เลือกหยุดการทำงานเพื่อรอผลการตัดสินของศาลนั้น ถ้าย้อนไปดูทัศนคติในทางลบของประชาชน และสื่อมวลชนที่มีปฏิกิริยาต่อบรรดานักการเมืองที่ตกเป็นผู้ต้องหาแล้วไม่ลา ออก ก็จะรู้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อะไรจากการไม่ทำเช่นนั้น และนี่คือสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เสีย ถ้านายอภิรักษ์ ไม่ลาออกหรือพูดง่ายๆ ก็คือ เสียโอกาสที่จะได้ชื่อเสียงจากการสร้างบรรทัดฐานให้การเมืองนั่นเอง
      
       อีกประการหนึ่ง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะเสียถ้านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ไม่ลาออก ก็คือ ทำให้การต่อสู้ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในเดือนมกราคม ยากขึ้นด้วย
      
       จากการชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ ป.ป.ช.จะเป็นโอกาสให้ ป.ป.ช.ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองกอบโกยชื่อเสียงให ้ตัวเองแล้ว การชี้มูลความผิดในครั้งนี้ทำให้ข้าราชการประจำ และผู้ประกอบการธุรกิจได้บทเรียนอันมีค่าต่อการให้ความร่วมมือกับนักการเมือ งกอบโกยผลประโยชน์จากรัฐในทางมิชอบในลักษณะ 3 ประสาน ได้คิด และหยุดการกระทำในลักษณะนี้ลงได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่จะให้หมดไปจากวงการเมืองไทยคงจะยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
      
       1. การเมืองไทยยังคงดำเนินไปภายใต้การครอบงำของนายทุนทางการเมืองที่ลงทุนแล้วต้องถอนคืน
      
       2. ประชาชนเองก็ไม่ตระหนักถึงความหายนะจากการถอนทุนด้วยการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
      
       3. นักการเมืองที่ขาดหิริ และโอตตัปปะยังมีอยู่ดาษดื่นในเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น