++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

จดหมายจาก "คนใน"ชำแหละ"แดนสนธยา" อสมท ล้างอิทธิพล "มาเฟีย" ป้องกันนักการเมืองหาประโยชน์

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 22:05:14 น. มติชนออนไลน์ อ่านล่าสุด 2016 คน

จดหมายจาก "คนใน"ชำแหละ"แดนสนธยา" อสมท ล้างอิทธิพล "มาเฟีย" ป้องกันนักการเมืองหาประโยชน์

เ มื่อบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ระดับรองปลดเกษียณไป แต่พนักงานบางคนกลับมองว่ายากที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเวลานี้พวกเขาเตรียมตั้ง “ทายาทอสูร” กันไว้แล้ว

หมายเหตุ"มติช นออนไลน์" แม้คณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) มีมติให้เลิกจ้างนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ภายใน 30 วัน แต่มิได้หมายความว่า อสมท จะปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง เพราะ อสมท นอกจากเป็นกระบอกเสียงอย่างดีให้แก่ผุ้มีอำนาจในทางการเมืองแล้ว ยังเป็นแหลางผลประโยชน์มหาศาลของทั้งนักการเมืองและผู้ประกอบกิจการวิทยุกระ จายเสียงและโทรทัศน์รวมถึง ผู้ผลิตรายการรายใหญ่ที่ต่างช่วงชิงเวลาการออกอากาศจาก อสมท

ต่อไปนี ้เป็นจดหมายที่พนักงาน อสมท รายหนึ่งเขียนมาเล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใน อสมท รวมทั้งความเห็นที่อาจเป็นประโยชน์กับผู้บริหารที่หวังดีกับ อสมท จริงๆ มิใช่มองว่า เป็นแหล่งแสวงหาผลประโนยชน์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ด ิฉันคิดทบทวนอยู่พอสมควรว่า จะเขียนจดหมายนี้ดีหรือไม่ เพราะโดยนิสัยและวัฒนธรรมขององค์กรที่สังกัดอยู่ ทำให้ไม่อยากยุ่งเท่าใด เพราะดิฉันก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรมากนักทางกายภาพ

แม้สถานการณ์ตลอดเว ลาหลายเดือนที่ผ่านมาทำให้รู้สึกไม่สบายใจ และที่ทำให้ต้องตัดสินใจ ก็เพราะสะดุดกับคำแถลงของเครือข่ายสานเสวนา ที่ออกมาปกป้องดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา โดยแถลงว่า ถ้าหากเราไม่ปกป้องคนกล้าคนดี อีกหน่อยก็คงไม่มีใครกล้าแสดงความคิดเห็น ดิฉันถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ตาสว่าง และที่เขียนถึง"มติชนออนไลน์" เพราะดูเหมือนที่นี่จะติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอสมทอย่างใกล้ชิด ซึ่งดิฉันมีความจริงบางด้านที่อยากจะสานเสวนาด้วย

หลายคนอาจจะเข้าใจ ผิดคิดว่า เมื่อ อสมท เข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วจะทำให้ลดการแทรกแซงทางการเมืองลง ดิฉันในฐานะคนในขอยืนยันว่า อสมท เคยเป็นแดนสนธยาอย่างไรก็ยังคงเป็นอย่างนั้น

สมัยผอ.มิ่งฯ (มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) อาจทำให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นภาพลวงค่ะ ผอ.มิ่งฯไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่แก้ไขแก่นปัญหาขององค์กรเลย จุดที่ดีที่สุดเห็นจะเป็นช่วงสุดท้ายก่อนลาออกที่สามารถคุมบรรดารองผอ.ที่เค ยมีอิทธิฤทธิ์มาทุกยุคทุกสมัยให้หมดฤทธิ์เดชไปได้

พอถึงสมัยหลัง 19 กันยา การเมืองอาจจะแทรกแซง อสมท น้อยกว่าทุกยุค แต่ก็น่าเสียดายที่คุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ซึ่งเข้าไปเป็นบอร์ดและต่อมารักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีปัญหาท่าที แม้จะสามารถมัดตราสังบรรดาผู้มีอิทธิพลในองค์กรได้ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในองค์กร อย่างที่ทราบกันดีอยู่

ท ั้งนี้อาจเป็นเพราะท่าทีอันแข็งกร้าวและเกรี้ยวกราดของรักษาการคนก่อนหน้านี ้ก็เป็นได้ ที่ทำให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ที่ได้รับการสรรหามาคนหลังสุด (วสันต์ ภัยหลีกลี้) ที่มีท่าทีนุ่มนวลและอ่อนน้อมถ่อมตนจึงได้รับการต้อนรับอย่างค่อนข้างอบอุ่น

แ ต่ผอ.วสันต์ด้วยการสนับสนุนของบอร์ดในเวลานั้นก็พลาดอย่างฉกาจฉกรรจ์ที่ไปเน ้นการสร้างความสมานฉันท์ ด้วยการคลายตราสังที่มัดบรรดาผู้ทรงอิทธิพลของ อสมทไว้ เปิดโอกาสให้พวกกลุ่มอิทธิพลใน อสมทได้กลับมาแสดงอิทธิฤทธิ์อีก และกลายเป็นปัญหาขององค์กรที่คาราคาซังอยู่ในเวลานี้

เป็นที่รู้กันด ีว่า ยุครัฐบาลสมัครปรากฏว่า การเมืองกลับเข้ามาแทรกแซง อสมท อย่างโจ่งแจ้งอีกครั้ง แม้กระทั่งจะเปลี่ยนรัฐบาลและเปลี่ยนรัฐมนตรีในเวลาต่อมา แต่บอร์ดก็ยังเป็นชุดเดิม ที่ดำเนินการแทรกแซงและล้วงลูกอย่างไม่เกรงใจใครหน้าไหนทั้งสิ้น

ดิฉ ันอาจจะโชคดีที่อยู่ในตำแหน่งที่ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้อย่างค่อนข้างเป ็นรูปธรรมว่า ตั้งแต่บอร์ดชุดนี้เข้ามาตั้งแต่เมื่อแรก มีภารกิจที่ทำกันอย่างแข็งขันอยู่ 2 อย่าง

หนึ่ง) คือรื้ออนุกรรมการทุกชุดและดำเนินการก้าวล่วงล้วงลึกในงานด้านต่าง ๆ มากกว่าเพียงการกำกับนโยบาย กับ

ส อง) พยายามบีบให้ผอ.คนปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทุกวิถีทาง จนกระทั่งลืมพูดจากันในเรื่องสาระสำคัญเชิงนโยบายและการพัฒนาองค์กรแบบยั่งย ืนซึ่งการเอาการเอางานข้างต้นนั้น บอร์ดได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหารบางคนที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลและถนัดในการเชื้อเชิญการเมืองเข้ามาใน อสมท เพื่อที่จะรักษาความทรงอิทธิพลของตนไว้

คน อสมท เองไม่แปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เพราะรู้ฤทธิ์รู้เดชของ “เธอ” ดี แต่น่าเศร้าใจที่คนในบอร์ดที่เป็นถึงระดับปลัดหรือเป็นรองปลัดกระทรวง กลับยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลดังกล่าว

เรื่องนี้บางคนใน อสมท มองว่า อาจเป็นเรื่องของทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกันกับบอร์ดในเรื่องของผลประโยชน์ต่าง ๆ (เรื่องผลประโยชน์ของ อสมท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรูวิชั่นส์ เรื่องช่อง 3 และอื่น ๆ ที่หมกอยู่ใน อสมท อย่างเรื่องไร่ส้มและเรื่องที่ดิน 50 ไร่นั้น ดิฉันขออนุญาตเล่าสู่กันวันหลังดีกว่านะคะ)

ด้วยสถานการณ์ที่ดิฉันเล ่ามาข้างต้นและภายใต้โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้ ทำให้แม้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่จะขยันขันแข็งแค่ไหนก็ทำงานยาก ต้องเผชิญกับนิทานอีสปเรื่อง “หมาป่ากับลูกแกะ” อยู่บ่อย ๆ

ดีแต่ว่า พนักงานส่วนใหญ่ที่ อสมท เขาพอใจกับท่าทีของผอ.วสันต์ โดยเฉพาะการไม่มีผลประโยชน์ ไม่เล่นพรรคเล่นพวก รวมทั้งความพยามสร้างระบบที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงทำให้ไม่ค่อยมีแรงต้านจากคนทำงานซึ่งรวมถึงสหภาพแรงงานฯ แตกต่างจากผู้บริหารคนก่อนหน้านี้

ดิฉันขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมข องการทำงานที่ยากให้ฟังสักเรื่อง เนื่องจากเวลานี้การแข่งขันในเรื่องข่าวโทรทัศน์มีสูง คนทำงานระดับปฏิบัติงานส่วนใหญ่นั้นพร้อมที่จะทำงานพร้อมที่จะแข่งขัน แต่ระดับผู้รับผิดชอบฝ่ายข่าว (สำนักข่าวไทย) กลับคิดอีกแบบ คือคิดคับแคบ ไม่เปิดใจรับคนใหม่ โดยเฉพาะคนที่มีศักยภาพ เกรงว่า หากมีคนใหม่เข้ามาจะมาแย่งเก้าอี้ (จนคนใหม่ที่เข้ามาในองค์กรไม่สามารถอยู่ร่วมงานได้)

ขณะเดียวกัน ยังมีลักษณะการทำงานที่ในวงการสื่อเรียกกันว่า self-censorship คือ การเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะเกรงความผิดพลาด อีกทั้งขาดการให้ความร่วมมือกับส่วนงานอื่น ในลักษณะที่เรียกว่า บูรณาการ หรือ synergy ซึ่งองค์กรใหญ่และองค์กรที่ทันสมัยพึงมี ผู้ปฏิบัติงานคนใดไปให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น มักจะถูกตำหนิ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังไม่มี

ความตื่นตัวต่อข่าว ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งผิดวิสัยคนที่รับผิดชอบงานด้านนี้

ท ุกครั้งที่มีเหตุการณ์ (ข่าว) สำคัญเกิดขึ้น คนทำงานข่าวต้องคอยลุ้นว่า ผอ.สำนักข่าวไทยจะส่งทีมงานหรือรถถ่ายทอดสดออกไปหรือไม่ หรือมีการประสานงานกับสำนักโทรทัศน์ในเรื่องการแทรกรายการหรือรายการพิเศษหร ือไม่

หลายครั้งที่บรรดาผู้ปฏิบัติงานต้องต่อสายหรือขอความช่วยเหลือ จากผอ.ใหญ่ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ผอ.ใหญ่มีความรู้เรื่องข่าวและมีนโยบายสนับสนุนงานข่าวอย่างจริงจัง แต่ผอ.วสันต์ก็เป็นคนมากมารยาท ยึดหลักการเป็นสรณะ เนื่องจากไม่ต้องการแทรกแซง พยายามแก้ปัญหาด้วยการบอกกล่าวหรือแนะนำด้วยความสุภาพ แทนการทุบโต๊ะสั่งการ ซึ่งทำให้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง

ท้ายที่สุดผู ้ปฏิบัติงานข่าวซึ่งมีกรรมการสหภาพฯบางส่วนได้รวมตัวกันเข้าพบผอ.วสันต์ สรุปปัญหา และขอให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงผอ.สำนักข่าวไทยก่อนที่จะไม่สามารถแข่งขันกับสถา นีโทรทัศน์ช่องอื่น หรือหมดกำลังใจทำงานกันเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร

ท้ายที่สุด ผอ.ใหญ่ได้เสนอเรื่องโยกย้ายผอ.สำนักข่าวไทยเข้าบอร์ดเมื่อหลายเดือนก่อน โดยไม่ได้ตำหนิใคร เพียงแค่เพื่อความเหมาะสม ปรากฏว่า เรื่องโดนตีกลับ เหตุผลหนึ่งเพราะมีการให้ข้อมูลกับบอร์ดไปอีกทางหนึ่ง แม้เมื่อผู้แทนพนักงานและสหภาพฯ จำนวนหนึ่งได้ขอเข้าพบประธานบอร์ดและกรรมการบางคน เพื่อชี้แจงถึงปัญหาของสำนักข่าวไทย ก็ไม่เป็นผล

บอร์ดขอให้ผอ.วสันต ์นำเรื่องกลับไปคุยกับ รองผอ.ใหญ่ทั้ง 3 และนำเรื่องเสนอมาพร้อมกับการโยกย้ายประจำปี ผลลัพธ์นั้นเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ นั่นคือยังไม่มีการโยกย้ายใด ๆ ขณะเดียวกันก็มีคำพูดที่แพร่ไปทั้งอสมทเวลานี้ว่า “รองสามคนเวลานี้จับมือกัน (บล็อกผอ.ใหญ่) แล้ว ใครจะเอาด้วยบ้าง”

ส าเหตุที่ทำให้รองผอ.ทั้งหมดฮึกเหิม ก็เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาบอร์ดไล่บี้ผอ.วสันต์ไม่เลิกรา อีกทั้ง ผอ.วสันต์เป็นคนไม่มีปากไม่มีเสียง ซึ่งต่างจากสมัยผอ.มิ่งฯ และอาจารย์ป๋อง (พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร) ซึ่งยุคนั้นรองทั้งสามคนไม่ได้โงหัว แม้จะโดนวาทกรรมเกรี้ยวกราดทุกครั้งที่มีการประชุม แต่รองทั้งสามกลับนิ่งเป็นเป่าสาก

พนักงานจำนวนไม่น้อยปรารภกันว่า สถานการณ์ของอสมทในอีกปีสองปีน่าจะดีขึ้น เมื่อบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ระดับรองปลดเกษียณไป แต่พนักงานบางคนกลับมองว่ายากที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเวลานี้พวกเขาเตรียมตั้ง “ทายาทอสูร” กันไว้แล้ว และพยายามกีดกันคนใหม่ที่มีคุณภาพ ไม่ให้เข้ามาในองค์กร เพราะนั่นจะเป็นการปิดกั้นการเติบโตสำหรับคนของพวกเขา

พูดถึงเรื่องส ำนักข่าวไทย น่าเสียดายอยู่อย่างหนึ่งที่หนึ่งในบอร์ดชุดปัจจุบันของ อสมท เคยเป็นโปรดิวเซอร์ของซีเอ็นเอ็นประจำประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ก่อนที่จะลาออกเมื่อไม่นานมานี้ และรับรู้ปัญหาของสำนักข่าวไทยดี แต่กลับไม่ได้เข้ามามีบทบาทช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศของสำนักข่าวไทยยังคงเน้นการแปลมากกว่าการทำข่าวในภา คสนาม ไม่ต่างจากเมื่อสามสี่ทศวรรษก่อน

แม้ภาพภายนอกสำนักข่าวไทยจะย ังดูดี ได้รับการยอมรับอยู่ไม่น้อย แต่เบื้องหลังการถ่ายทำนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในฐานะพนักงานคนหนึ่งที่รับรู้ข้อเท็จจริงขอยืนยันว่า การที่สำนักข่าวไทยได้รับการยอมรับนั้น เป็นความร่วมแรงร่วมใจกันของทีมงานในระดับปฏิบัติเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นเพราะผอ.สำนักข่าวไทยและระดับรองแต่อย่างใด

แต่น่าเสียใจท ี่บอร์ดรับข้อมูลผิด ๆ และกลับยกเครดิตให้กับผอ.สำนักข่าวไทยโดยไม่รับฟังความเห็นและข้อเรียกร้องข องคนทำงานด้านข่าว หรือคนอื่น ๆ ในองค์กร

โดยสรุปก็คือ การแทรกแซงของฝ่ายการเมืองที่ทำเกินหน้าที่และการให้ท้ายอย่างผิด ๆ กับผู้บริหารบางคนที่รับใช้ฝ่ายการเมือง ทำให้สถานการณ์ของ อสมท เป็นอย่างทุกวันนี้

บอกตรง ๆ ค่ะว่า ก่อนหน้านี้ เวลาใครถามถึงเรื่องที่เกิดขึ้นใน อสมท ดิฉันอายที่จะเล่าความจริงให้พวกเขาฟัง แต่มาถึงวันนี้ ดิฉันอาจจะอายมากกว่า ถ้าไม่ได้พูดความจริงออกมาเสียบ้าง

วันนี้ขอเล ่าสู่กันฟังแค่นี้ก่อน ถ้ามีโอกาสดิฉันจะขอเล่าเรื่องอื่น ๆ ให้ฟังเพิ่มเติม เพื่อที่คนภายนอกจะได้เข้าใจองค์กรที่เป็นมหาชนแห่งนี้อย่างคม ชัด ลึกมากขึ้น
ชำแหละ อสมท.แดนสนธยาของนังอ้วนจ้อข่าวค่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น